หลังจากข้อตกลงว่าด้วยสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (Agreement on Textile and Clothing: ATC) ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ส่งผลให้การค้าสิ่งทอของโลกจะเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้นเนื่องจากประเทศสมาชิกของ WTO 148 ประเทศ ต้องยกเลิกการกำหนดโควตานำเข้าสิ่งทอทั้งหมด ทั้งนี้ คาดว่าจีนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอโลกในครั้งนี้ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำและเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกในปัจจุบัน
ภาวะการค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของจีน
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 จีนส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มได้สูงถึง 68.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ผ้าผืน เสื้อสูท และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตลาดส่งออกหลัก คือ ฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 18 ของมูลค่าส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมดของจีน โดยส่วนใหญ่ฮ่องกงนำเข้าเพื่อส่งออกต่อ รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 16.9 EU ร้อยละ 10.9 และสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 9.9
จีนจะเป็นผู้ครองตลาดหลังเปิดเสรีสิ่งทอโลก
ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าหลังเปิดเสรีสิ่งทอโลกจีนจะมีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2553 ขณะที่ WTO คาดการณ์ว่าจีนจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดใน EU และสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ
ตลาด EU WTO คาดว่าสัดส่วนการนำเข้าสิ่งทอจากจีนจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12 ในปี 2546 เป็น ร้อยละ 29 และเครื่องนุ่งห่มจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 18
ตลาดสหรัฐฯ WTO คาดว่าสัดส่วนการนำเข้าสิ่งทอจากจีนจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 18 และเครื่องนุ่งห่มจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 50 ขณะที่ The American Textile Manufactures Institution คาดว่าสัดส่วนการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากจีนของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 71 ในปี 2549 หรือประมาณ 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ การยกเลิกการจำกัดโควตานำเข้าสิ่งทอยังช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของผู้ส่งออกจีนเนื่องจากเดิมผู้ส่งออกที่ไม่ได้รับจัดสรรโควตาจะต้องซื้อโควตาต่อจากผู้ที่ได้รับการจัดสรรทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น
อุปสรรคการส่งออกสิ่งทอของจีน
แม้จีนจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอโลกแต่ยังมีปัจจัยสำคัญบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายการส่งออกในระยะต่อไป อาทิ การรับจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ทำให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ สามารถใช้มาตรการ Safeguard เพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าจากจีนได้หากการนำเข้าส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของตน โดยสามารถกำหนดโควตานำเข้าสำหรับสินค้าที่ไม่ได้ทำจากผ้าขนสัตว์ให้ขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 7.5 และสินค้าที่ทำจากผ้าขนสัตว์ให้ขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของปริมาณการนำเข้าจากจีน อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของโควตานำเข้าสิ่งทอและระยะเวลาที่ใช้ในการกำหนดโควตาจริงย่อมขึ้นกับการเจรจาต่อรองระหว่างกัน โดย WTO อนุญาตให้ใช้มาตรการนี้กับสิ่งทอจากจีนในช่วงเพียง 4 ปีหลังเปิดเสรีสิ่งทอ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวย่อมเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของจีน ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯ มีทีท่าว่าจะพิจารณาใช้มาตรการ Safeguard กับสิ่งทอหลายรายการที่นำเข้าจากจีนจำนวนมาก อาทิ ด้ายฝ้าย กางเกงผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าปูที่นอนใยฝ้าย เป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศผู้นำเข้าสำคัญทั้งสหรัฐฯ และ EU อาจเพิ่มความเข้มงวดสำหรับสินค้าที่นำเข้าด้วยการนำมาตรการทางการค้ารูปแบบใหม่ๆ มาบังคับใช้เพิ่มขึ้น อาทิ มาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภคและมาตรฐานสินค้าที่เน้นการรักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น ขณะเดียวกันจีนอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากอินเดียและเวียดนามที่เป็นคู่แข่งสำคัญในปัจจุบันที่ต่างเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตของตนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จีนได้กำหนดแผนการที่จะรับมือกับปัญหาเหล่านี้แล้ว อาทิ การเตรียมเก็บภาษีการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มบางรายการเพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตสิ่งทอที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและขยายตลาดสินค้าระดับบน (High-end) ซึ่งจะทำให้สินค้ามีตลาดรองรับหลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังให้การสนับสนุนการสร้างตราสินค้า ส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และการออกแบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการพัฒนาระดับมาตรฐานของสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2548--
-พห-
ภาวะการค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของจีน
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 จีนส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่มได้สูงถึง 68.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ผ้าผืน เสื้อสูท และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตลาดส่งออกหลัก คือ ฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 18 ของมูลค่าส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งหมดของจีน โดยส่วนใหญ่ฮ่องกงนำเข้าเพื่อส่งออกต่อ รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 16.9 EU ร้อยละ 10.9 และสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 9.9
จีนจะเป็นผู้ครองตลาดหลังเปิดเสรีสิ่งทอโลก
ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าหลังเปิดเสรีสิ่งทอโลกจีนจะมีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2553 ขณะที่ WTO คาดการณ์ว่าจีนจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดใน EU และสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ
ตลาด EU WTO คาดว่าสัดส่วนการนำเข้าสิ่งทอจากจีนจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12 ในปี 2546 เป็น ร้อยละ 29 และเครื่องนุ่งห่มจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 18
ตลาดสหรัฐฯ WTO คาดว่าสัดส่วนการนำเข้าสิ่งทอจากจีนจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 18 และเครื่องนุ่งห่มจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 50 ขณะที่ The American Textile Manufactures Institution คาดว่าสัดส่วนการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากจีนของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 71 ในปี 2549 หรือประมาณ 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ การยกเลิกการจำกัดโควตานำเข้าสิ่งทอยังช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของผู้ส่งออกจีนเนื่องจากเดิมผู้ส่งออกที่ไม่ได้รับจัดสรรโควตาจะต้องซื้อโควตาต่อจากผู้ที่ได้รับการจัดสรรทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น
อุปสรรคการส่งออกสิ่งทอของจีน
แม้จีนจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสิ่งทอโลกแต่ยังมีปัจจัยสำคัญบางประการที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขยายการส่งออกในระยะต่อไป อาทิ การรับจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ทำให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ สามารถใช้มาตรการ Safeguard เพื่อจำกัดการนำเข้าสินค้าจากจีนได้หากการนำเข้าส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของตน โดยสามารถกำหนดโควตานำเข้าสำหรับสินค้าที่ไม่ได้ทำจากผ้าขนสัตว์ให้ขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 7.5 และสินค้าที่ทำจากผ้าขนสัตว์ให้ขยายตัวได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของปริมาณการนำเข้าจากจีน อย่างไรก็ตาม อัตราการขยายตัวของโควตานำเข้าสิ่งทอและระยะเวลาที่ใช้ในการกำหนดโควตาจริงย่อมขึ้นกับการเจรจาต่อรองระหว่างกัน โดย WTO อนุญาตให้ใช้มาตรการนี้กับสิ่งทอจากจีนในช่วงเพียง 4 ปีหลังเปิดเสรีสิ่งทอ การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวย่อมเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของจีน ซึ่งขณะนี้สหรัฐฯ มีทีท่าว่าจะพิจารณาใช้มาตรการ Safeguard กับสิ่งทอหลายรายการที่นำเข้าจากจีนจำนวนมาก อาทิ ด้ายฝ้าย กางเกงผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าปูที่นอนใยฝ้าย เป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศผู้นำเข้าสำคัญทั้งสหรัฐฯ และ EU อาจเพิ่มความเข้มงวดสำหรับสินค้าที่นำเข้าด้วยการนำมาตรการทางการค้ารูปแบบใหม่ๆ มาบังคับใช้เพิ่มขึ้น อาทิ มาตรฐานความปลอดภัยของผู้บริโภคและมาตรฐานสินค้าที่เน้นการรักษาสภาพแวดล้อม เป็นต้น ขณะเดียวกันจีนอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากอินเดียและเวียดนามที่เป็นคู่แข่งสำคัญในปัจจุบันที่ต่างเร่งพัฒนาศักยภาพการผลิตของตนเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม จีนได้กำหนดแผนการที่จะรับมือกับปัญหาเหล่านี้แล้ว อาทิ การเตรียมเก็บภาษีการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มบางรายการเพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตสิ่งทอที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและขยายตลาดสินค้าระดับบน (High-end) ซึ่งจะทำให้สินค้ามีตลาดรองรับหลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังให้การสนับสนุนการสร้างตราสินค้า ส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และการออกแบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการพัฒนาระดับมาตรฐานของสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและมาตรฐานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2548--
-พห-