ปชป. เปิดนโยบายขนส่งมวลชน กทม. ชู “รถไฟฟ้าปชป.” เดินหน้าสร้างส่วนต่อขยาย 7 เส้นทางเป็นวงแหวน ใช้งบ 2.6 แสนล้านบาท เปลี่ยนแนวใหม่ รัฐบาลก่อสร้าง-เอกชนบริหารจัดการ ดึง กทม.ร่วมพัฒนาโครงข่ายโอน ขสมก.ให้รับผิดชอบหวังทำครบวงจร .....
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้(27 ส.ค.49) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค ทีมงานด้าน กทม. และอดีต ส.ส. อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรค นายเกียรติ สิทธีอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรค ม.ล.อภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรค นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค รวมทั้งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ได้เปิดตัวนโยบายด้านขนส่งมวลชนในคอนเซ็ปต์ “รถไฟฟ้าประชาธิปัตย์” โดยมีคณะของพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมงานอย่างคับคั่ง
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ และคณะได้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสจากสถานีหมอชิตไปยังสถานีพญาไท โดยขบวนรถไฟฟ้าที่คณะโดยสารนั้นได้ตกแต่งสกรีนนโยบายวาระประชาชนทั่วทั้งภายนอก และภายในรถไฟฟ้าทั้งขบวน ทำให้เป็นที่สนใจของประชาชนตลอดเส้นทาง
พร้อมกันนี้ นายอภิสิทธิ์ แถลงว่า หลังจากมีนโยบายวาระประชาชนเฉพาะด้านออกมาแล้ว พรรคยังมีวาระประชาชนในมิติของพื้นที่ด้วย คือนโยบายสำหรับคน กทม. และแยกตามภาคต่างๆ โดยจะพูดประเด็นปัญหาเฉพาะของแต่ละแห่ง ซึ่งครั้งนี้ในวาระประชาชนของชาว กทม.ปัญหาสำคัญคือด้านการจราจร
ปัญหานี้ได้กระทบต่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านเศรษฐกิจของประเทศ เพราะวันนี้ปริมาณยานพาหนะที่กระจุกตัวอย่างแน่นหนาใน กทม. เฉพาะรถสี่ล้อมีประมาณ 2.5 ล้านคันต่อวัน ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานมาก เฉพาะในกทม.มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นทั้งเบนซิน ดีเซล ถึง 40-50 % ทำให้สูญเสียงบประมาณในเรื่องนี้สูงมาก
รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดทำให้ยิ่งสิ้นเปลืองพลังงาน ซึ่งพรรคได้รวบรวมข้อมูลปัญหาการจราจร และบริเวณสี่แยกที่มีรถหนาแน่นมากๆเพื่อปรับเป็นนโยบายขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับประชาชน และไม่ใช่เรื่องโต้แย้งที่จะกลายเป็นประเด็นการเมือง หรือเป็นโครงการเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ธุรกิจเชิงพาณิชย์แอบแฝง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า วาระประชาชนด้านขนส่งมวลชนของพรรคอยู่บนหลักคิดที่ต้องครอบคลุมทั่วพื้นที่เป็นโครงข่าย มีระบบหลัก ระบบรองที่จะป้อนผู้โดยสารเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายเพื่อให้เข้าถึงระบบได้สะดวก ที่สำคัญค่าโดยสารต้องเป็นไปตามระยะทาง และเป็นอัตราที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ ทั้งนี้ 4 ปีที่ผ่านมาระบบขนส่งมวลชนยังไม่มีการพัฒนาเป็นรูปธรรมที่ทำได้มีเพียงส่วนต่อขยาย 2.2 กิโลเมตร สะพานตากสิน-ฝั่งธนบุรีเท่านั้น
เมื่อพิจารณาการดำเนินการจริงๆของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี มีโอกาสทำงาน 5 ปี แต่ไม่มีการดำเนินการด้านขนส่งมวลชนเลย มีเพียงช่วงใกล้เลือกตั้งเมื่อปี 2548 ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ในโครงการเมกะโปรเจคพอถึงเวลาจริงลดลงเหลือ 7 สาย และถึงขณะนี้เหลือเพียง 3 สาย
และวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนของโครงการว่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อีกทั้งยังมีปัญหาการเมืองภายในพรรคเองทำให้เป็นอุปสรรค จึงมีเพียงขนส่งมวลชนที่เชื่อมไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเท่านั้น ไม่มีความชัดเจนเรื่องขนส่งมวลชนทั้งระบบ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งแรกที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการทันทีตามนโยบายด้านขนส่งมวลชน ถ้าได้เป็นรัฐบาลคือจัดเก็บค่าโดยสารอย่างเป็นธรรม ยกเลิกการจัดเก็บค่าโดยสารซ้ำซ้อน และจะเก็บเพียงครั้งเดียว เพราะขณะนี้ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าโดยสารสองต่อเมื่อเปลี่ยนจากโครงการหนึ่งไปอีกโครงการหนึ่ง เช่น จากรถไฟฟ้าไปขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินเท่ากับเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า วาระประชาชนด้านขนส่งมวลชนเร่งด่วนของพรรคคือการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางขนส่งมวลชน 7 สาย จำนวน 139 กิโลเมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 265,150 ล้านบาท หรือคิดเป็นงบฯลงทุน 1,908 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ซึ่งทั้ง 7 สาย มีรายละเอียดเงินลงทุน ระยะเวลาเริ่มต้น ก่อสร้างและเสร็จสิ้น
รวมทั้งมีหน่วยงานใดรับผิดชอบชัดเจน โดยเส้นทางทั้งหมดเชื่อมโยงครอบคลุมทั่วพื้นที่ ประกอบด้วย 1.สายรังสิต-หัวลำโพง ระยะทาง 37 กิโลเมตร งบฯลงทุน 54,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่าง 2550-2552 2.พญาไท-อโศก-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 26.50 กิโลเมตร งบฯลงทุน 56,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่าง 2548-2551 3.ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-สำโรง ระยะทาง 8.90 กิโลเมตร งบฯ 16,900 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2549-2552
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า 4.สายหมอชิต-เกษตร-สะพานใหม่ ระยะทาง 12.10 กิโลเมตร งบฯลงทุน 22,500 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่าง 2550-2553 5.สะพานตากสิน-บางแค ระยะทาง 13 กิโลเมตร งบฯลงทุน 20,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2549-2553 6.บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง ระยะทาง 19 กิโลเมตร งบฯลงทุน 53,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2550-2554 และ 7.เตาปูน-แคราย-บางใหญ่ ระยะทาง 22.50 กิโลเมตร งบฯลงทุน 42,750 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2551-2554
ทั้งนี้ทั้ง 7 สายจะเชื่อมต่อเป็นวงแหวน และมีขาต่อขยายไปทิศต่างๆอยู่บนหลักการที่ทำให้มีการขนส่งคนในกทม.ได้มากที่สุด โครงการทั้ง 7 สาย จึงเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะขนส่งประชาชนได้เพิ่มขึ้น 1.5-2 ล้านคนต่อวัน รวมทั้งประหยัดพลังงาน และแก้ปัญหาจราจรใน กทม.
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า วิธีการลงทุนใน 7 โครงการนี้ พรรคประชาธิปัตย์ขอเสนอแนวทางใหม่โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นหน้าที่ของรัฐบาลแทน เพราะถ้าให้เอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นักลงทุนมักต้องการผลตอบแทนรวมประมาณร้อยละ 10-15 และต้องรับภาระทั้งก่อสร้างโครงสร้างหลัก งานระบบ การวางรากสถานี และซื้อรถไฟ จะทำให้โอกาสคุ้มทุนเป็นไปได้ต่ำมาก และไม่มีใครกล้าลงทุน
ดังนั้น นโยบายของพรรคคือรัฐบาลทำโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนจะเปิดให้เช่าระบบโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวจากรัฐบาล และสามารถจะต่อเติมส่วนที่เหลือ อาทิ ราง หัวรถไฟ ระบบต่างๆและการบริหารจัดการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแหล่งเงินทุนที่รัฐบาลจะก่อสร้างเองนั้นจะกู้เงินจากสถาบันการเงินข้ามชาติ อาทิ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จากเจบิก (Japan Bank for International Cooperation) หรือจากงบฯของประเทศ และงบฯกทม. จากนั้นเมื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 7 สายเสร็จ จะสามารถใช้เป็นทุนให้เกิดรายได้ และพัฒนาให้เป็นงบฯลงทุนส่วนต่อขยายได้อีก คือ
1.ให้เอกชนเช่าโครงสร้าง 7 สาย เพื่อนำรายได้จากการเช่ามาต่อยอดทำส่วนต่อขยาย 2.นำโครงสร้างพื้นฐานนี้มาทำเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 3.นำมาเป็นหลักทรัพย์ในการกู้เงิน 4.ใช้เป็นหลักทรัพย์ออกพันธบัตร 5.แปลงรายได้เป็นหุ้น ทั้งนี้เมื่อรวมกับเงินลงทุนจากภาคเอกชน และเงินกู้จากสถาบันการเงินพิเศษหรือรัฐบาลจะทำให้สร้างส่วนต่อขยายได้ครอบคลุมทั่วพื้นที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนเอกชนจะเป็นผู้มีส่วนบริหารแต่ละเส้นโดยตรง ซึ่งรัฐบาลจะจัดให้มีผู้ควบคุมอิสระเข้ามาควบคุมระบบต่างๆโดยจะดูแลทั้งในด้านผลตอบแทนที่สมควรแก่นักลงทุน และค่าใช้บริการที่เหมาะสมกับประชาชน โดยจะคำนวณค่าสัมปทานแบบใหม่เพื่อตัดโอกาสไม่ให้เจ้าของสัมปทานทำกำไรมากเกินควรจากประชาชน นั่นคือแบ่งค่าสัมปทานเป็น 2 ส่วน คือ 1.องค์กรกำกับดูแลของรัฐเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร 2.ผู้ประกอบการมีรายได้จากระบบสัมปทานเหมือนที่ใช้กับอุตสาหกรรมไฟฟ้า
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการแก้ปัญหาจราจรระบบรองนโยบายที่จะผลักดันทันทีคือนำรถเมล์ด่วน (บีอาร์ที) เข้ามาทดแทนรถโดยสารปรับอากาศบนเส้นทางสายหลักเพื่อให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน รวมทั้งปรับแนวเส้นทางรถ ขสมก.ที่ทับซ้อนใหม่ อาทิ สุขุมวิท พหลโยธิน พญาไท เป็นต้น และทำระบบตั๋วต่อตั๋วระหว่างขสมก. กับระบบรถไฟฟ้ามาใช้ ซึ่งถ้าประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลจะโอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขสมก.ให้กทม.ดูแลเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง และทำเส้นทางรถไฟฟ้ากับขสมก.ให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่าย
ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวว่า กทม.จะผลักดันโครงการเชื่อมต่อเส้นทางเพื่อสอดรับกับนโยบาย อาทิ ปรับสภาพผิวทางเท้า บาทวิถีเพื่อให้สะดวกต่อผู้ขับขี่จักรยาน หรือผู้ที่โดยสารรถขสมก. และต่อระบบรถไฟฟ้า
ช่วงท้ายเป็นการเปิดให้ซักถาม โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าวาระประชาชนด้านขนส่งมวลชนของประชาธิปัตย์เน้นการเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับกทม.เป็นหลัก แต่หากในอนาคต กทม.เปลี่ยนแปลงผู้บริหารไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์จะทำให้เกิดอุปสรรคในการพัฒนาโครงข่าย เช่นปัญหาที่เกิดกับรัฐบาลไทยรักไทยกับกทม.ขณะนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนผู้บริหารกทม.ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะส่วนใหญ่กทม.ของบฯสนับสนุนจากรัฐ
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าถ้าเป็นรัฐบาลไม่ว่าผู้ว่าฯกทม.จะสังกัดพรรคอื่น หรือเป็นสายอิสระไม่สังกัดพรรคใด จะไม่เป็นปัญหาในการดำเนินการ ที่ผ่านมารัฐบาลประชาธิปัตย์สามารถทำงานกับผู้ว่าฯที่ไม่ได้สังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาเช่นกัน ซึ่งนโยบายขนส่งมวลชนทั้ง 7 สาย ปฏิเสธไม่ได้ในเชิงเหตุผลที่จะไม่ดำเนินการ ดังนั้นไม่ว่าผู้ว่าฯจะอยู่พรรคใดก็น่าจะสนับสนุนโครงการนี้
เอกสารประกอบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ส.ค. 2549--จบ--
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้(27 ส.ค.49) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค ทีมงานด้าน กทม. และอดีต ส.ส. อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรค นายเกียรติ สิทธีอมร คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรค ม.ล.อภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรค นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค รวมทั้งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นต้น ได้เปิดตัวนโยบายด้านขนส่งมวลชนในคอนเซ็ปต์ “รถไฟฟ้าประชาธิปัตย์” โดยมีคณะของพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมงานอย่างคับคั่ง
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ และคณะได้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสจากสถานีหมอชิตไปยังสถานีพญาไท โดยขบวนรถไฟฟ้าที่คณะโดยสารนั้นได้ตกแต่งสกรีนนโยบายวาระประชาชนทั่วทั้งภายนอก และภายในรถไฟฟ้าทั้งขบวน ทำให้เป็นที่สนใจของประชาชนตลอดเส้นทาง
พร้อมกันนี้ นายอภิสิทธิ์ แถลงว่า หลังจากมีนโยบายวาระประชาชนเฉพาะด้านออกมาแล้ว พรรคยังมีวาระประชาชนในมิติของพื้นที่ด้วย คือนโยบายสำหรับคน กทม. และแยกตามภาคต่างๆ โดยจะพูดประเด็นปัญหาเฉพาะของแต่ละแห่ง ซึ่งครั้งนี้ในวาระประชาชนของชาว กทม.ปัญหาสำคัญคือด้านการจราจร
ปัญหานี้ได้กระทบต่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านเศรษฐกิจของประเทศ เพราะวันนี้ปริมาณยานพาหนะที่กระจุกตัวอย่างแน่นหนาใน กทม. เฉพาะรถสี่ล้อมีประมาณ 2.5 ล้านคันต่อวัน ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานมาก เฉพาะในกทม.มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นทั้งเบนซิน ดีเซล ถึง 40-50 % ทำให้สูญเสียงบประมาณในเรื่องนี้สูงมาก
รวมทั้งปัญหาการจราจรติดขัดทำให้ยิ่งสิ้นเปลืองพลังงาน ซึ่งพรรคได้รวบรวมข้อมูลปัญหาการจราจร และบริเวณสี่แยกที่มีรถหนาแน่นมากๆเพื่อปรับเป็นนโยบายขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับประชาชน และไม่ใช่เรื่องโต้แย้งที่จะกลายเป็นประเด็นการเมือง หรือเป็นโครงการเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเมือง หรือผลประโยชน์ธุรกิจเชิงพาณิชย์แอบแฝง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า วาระประชาชนด้านขนส่งมวลชนของพรรคอยู่บนหลักคิดที่ต้องครอบคลุมทั่วพื้นที่เป็นโครงข่าย มีระบบหลัก ระบบรองที่จะป้อนผู้โดยสารเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายเพื่อให้เข้าถึงระบบได้สะดวก ที่สำคัญค่าโดยสารต้องเป็นไปตามระยะทาง และเป็นอัตราที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ ทั้งนี้ 4 ปีที่ผ่านมาระบบขนส่งมวลชนยังไม่มีการพัฒนาเป็นรูปธรรมที่ทำได้มีเพียงส่วนต่อขยาย 2.2 กิโลเมตร สะพานตากสิน-ฝั่งธนบุรีเท่านั้น
เมื่อพิจารณาการดำเนินการจริงๆของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี มีโอกาสทำงาน 5 ปี แต่ไม่มีการดำเนินการด้านขนส่งมวลชนเลย มีเพียงช่วงใกล้เลือกตั้งเมื่อปี 2548 ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการรถไฟฟ้า 10 สาย ในโครงการเมกะโปรเจคพอถึงเวลาจริงลดลงเหลือ 7 สาย และถึงขณะนี้เหลือเพียง 3 สาย
และวันนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนของโครงการว่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ อีกทั้งยังมีปัญหาการเมืองภายในพรรคเองทำให้เป็นอุปสรรค จึงมีเพียงขนส่งมวลชนที่เชื่อมไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเท่านั้น ไม่มีความชัดเจนเรื่องขนส่งมวลชนทั้งระบบ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สิ่งแรกที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินการทันทีตามนโยบายด้านขนส่งมวลชน ถ้าได้เป็นรัฐบาลคือจัดเก็บค่าโดยสารอย่างเป็นธรรม ยกเลิกการจัดเก็บค่าโดยสารซ้ำซ้อน และจะเก็บเพียงครั้งเดียว เพราะขณะนี้ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าโดยสารสองต่อเมื่อเปลี่ยนจากโครงการหนึ่งไปอีกโครงการหนึ่ง เช่น จากรถไฟฟ้าไปขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินเท่ากับเสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า วาระประชาชนด้านขนส่งมวลชนเร่งด่วนของพรรคคือการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางขนส่งมวลชน 7 สาย จำนวน 139 กิโลเมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 265,150 ล้านบาท หรือคิดเป็นงบฯลงทุน 1,908 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ซึ่งทั้ง 7 สาย มีรายละเอียดเงินลงทุน ระยะเวลาเริ่มต้น ก่อสร้างและเสร็จสิ้น
รวมทั้งมีหน่วยงานใดรับผิดชอบชัดเจน โดยเส้นทางทั้งหมดเชื่อมโยงครอบคลุมทั่วพื้นที่ ประกอบด้วย 1.สายรังสิต-หัวลำโพง ระยะทาง 37 กิโลเมตร งบฯลงทุน 54,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่าง 2550-2552 2.พญาไท-อโศก-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 26.50 กิโลเมตร งบฯลงทุน 56,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่าง 2548-2551 3.ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-สำโรง ระยะทาง 8.90 กิโลเมตร งบฯ 16,900 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2549-2552
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า 4.สายหมอชิต-เกษตร-สะพานใหม่ ระยะทาง 12.10 กิโลเมตร งบฯลงทุน 22,500 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่าง 2550-2553 5.สะพานตากสิน-บางแค ระยะทาง 13 กิโลเมตร งบฯลงทุน 20,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2549-2553 6.บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง ระยะทาง 19 กิโลเมตร งบฯลงทุน 53,000 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2550-2554 และ 7.เตาปูน-แคราย-บางใหญ่ ระยะทาง 22.50 กิโลเมตร งบฯลงทุน 42,750 ล้านบาท ก่อสร้างระหว่างปี 2551-2554
ทั้งนี้ทั้ง 7 สายจะเชื่อมต่อเป็นวงแหวน และมีขาต่อขยายไปทิศต่างๆอยู่บนหลักการที่ทำให้มีการขนส่งคนในกทม.ได้มากที่สุด โครงการทั้ง 7 สาย จึงเป็นประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจะขนส่งประชาชนได้เพิ่มขึ้น 1.5-2 ล้านคนต่อวัน รวมทั้งประหยัดพลังงาน และแก้ปัญหาจราจรใน กทม.
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า วิธีการลงทุนใน 7 โครงการนี้ พรรคประชาธิปัตย์ขอเสนอแนวทางใหม่โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเป็นหน้าที่ของรัฐบาลแทน เพราะถ้าให้เอกชนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน นักลงทุนมักต้องการผลตอบแทนรวมประมาณร้อยละ 10-15 และต้องรับภาระทั้งก่อสร้างโครงสร้างหลัก งานระบบ การวางรากสถานี และซื้อรถไฟ จะทำให้โอกาสคุ้มทุนเป็นไปได้ต่ำมาก และไม่มีใครกล้าลงทุน
ดังนั้น นโยบายของพรรคคือรัฐบาลทำโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนจะเปิดให้เช่าระบบโครงสร้างพื้นฐานระยะยาวจากรัฐบาล และสามารถจะต่อเติมส่วนที่เหลือ อาทิ ราง หัวรถไฟ ระบบต่างๆและการบริหารจัดการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแหล่งเงินทุนที่รัฐบาลจะก่อสร้างเองนั้นจะกู้เงินจากสถาบันการเงินข้ามชาติ อาทิ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จากเจบิก (Japan Bank for International Cooperation) หรือจากงบฯของประเทศ และงบฯกทม. จากนั้นเมื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 7 สายเสร็จ จะสามารถใช้เป็นทุนให้เกิดรายได้ และพัฒนาให้เป็นงบฯลงทุนส่วนต่อขยายได้อีก คือ
1.ให้เอกชนเช่าโครงสร้าง 7 สาย เพื่อนำรายได้จากการเช่ามาต่อยอดทำส่วนต่อขยาย 2.นำโครงสร้างพื้นฐานนี้มาทำเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ 3.นำมาเป็นหลักทรัพย์ในการกู้เงิน 4.ใช้เป็นหลักทรัพย์ออกพันธบัตร 5.แปลงรายได้เป็นหุ้น ทั้งนี้เมื่อรวมกับเงินลงทุนจากภาคเอกชน และเงินกู้จากสถาบันการเงินพิเศษหรือรัฐบาลจะทำให้สร้างส่วนต่อขยายได้ครอบคลุมทั่วพื้นที่
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนเอกชนจะเป็นผู้มีส่วนบริหารแต่ละเส้นโดยตรง ซึ่งรัฐบาลจะจัดให้มีผู้ควบคุมอิสระเข้ามาควบคุมระบบต่างๆโดยจะดูแลทั้งในด้านผลตอบแทนที่สมควรแก่นักลงทุน และค่าใช้บริการที่เหมาะสมกับประชาชน โดยจะคำนวณค่าสัมปทานแบบใหม่เพื่อตัดโอกาสไม่ให้เจ้าของสัมปทานทำกำไรมากเกินควรจากประชาชน นั่นคือแบ่งค่าสัมปทานเป็น 2 ส่วน คือ 1.องค์กรกำกับดูแลของรัฐเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสาร 2.ผู้ประกอบการมีรายได้จากระบบสัมปทานเหมือนที่ใช้กับอุตสาหกรรมไฟฟ้า
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการแก้ปัญหาจราจรระบบรองนโยบายที่จะผลักดันทันทีคือนำรถเมล์ด่วน (บีอาร์ที) เข้ามาทดแทนรถโดยสารปรับอากาศบนเส้นทางสายหลักเพื่อให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน รวมทั้งปรับแนวเส้นทางรถ ขสมก.ที่ทับซ้อนใหม่ อาทิ สุขุมวิท พหลโยธิน พญาไท เป็นต้น และทำระบบตั๋วต่อตั๋วระหว่างขสมก. กับระบบรถไฟฟ้ามาใช้ ซึ่งถ้าประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาลจะโอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขสมก.ให้กทม.ดูแลเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยง และทำเส้นทางรถไฟฟ้ากับขสมก.ให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่าย
ด้านนายอภิรักษ์ กล่าวว่า กทม.จะผลักดันโครงการเชื่อมต่อเส้นทางเพื่อสอดรับกับนโยบาย อาทิ ปรับสภาพผิวทางเท้า บาทวิถีเพื่อให้สะดวกต่อผู้ขับขี่จักรยาน หรือผู้ที่โดยสารรถขสมก. และต่อระบบรถไฟฟ้า
ช่วงท้ายเป็นการเปิดให้ซักถาม โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าวาระประชาชนด้านขนส่งมวลชนของประชาธิปัตย์เน้นการเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับกทม.เป็นหลัก แต่หากในอนาคต กทม.เปลี่ยนแปลงผู้บริหารไม่ใช่พรรคประชาธิปัตย์จะทำให้เกิดอุปสรรคในการพัฒนาโครงข่าย เช่นปัญหาที่เกิดกับรัฐบาลไทยรักไทยกับกทม.ขณะนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนผู้บริหารกทม.ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะส่วนใหญ่กทม.ของบฯสนับสนุนจากรัฐ
ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าถ้าเป็นรัฐบาลไม่ว่าผู้ว่าฯกทม.จะสังกัดพรรคอื่น หรือเป็นสายอิสระไม่สังกัดพรรคใด จะไม่เป็นปัญหาในการดำเนินการ ที่ผ่านมารัฐบาลประชาธิปัตย์สามารถทำงานกับผู้ว่าฯที่ไม่ได้สังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาเช่นกัน ซึ่งนโยบายขนส่งมวลชนทั้ง 7 สาย ปฏิเสธไม่ได้ในเชิงเหตุผลที่จะไม่ดำเนินการ ดังนั้นไม่ว่าผู้ว่าฯจะอยู่พรรคใดก็น่าจะสนับสนุนโครงการนี้
เอกสารประกอบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ส.ค. 2549--จบ--