สศอ.เดินหน้าผลักดันแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรเต็มที่ หวังทำตลาดเชิงพาณิชย์ ที่มีมูลค่าการตลาดในประเทศประมาณ 10,000 ล้านบาท และทดแทนการนำเข้า พร้อมเดินหน้าสู่ขั้นแข่งขันตลาดส่งออก ซึ่งมีมูลค่าการตลาดกว่า 1,500 ล้านบาท
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ สศอ.ร่วมกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยได้รุดหน้าไปมาก โดยได้รับงบประมาณประจำปี 2549 และได้เร่งจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อเดินสู่จุดหมายอย่างชัดเจน โดยจะได้มีการจัดประชุมเพื่อระดมสมองจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนเป็นระยะๆต่อไป ซึ่งหากผลการดำเนินงานโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สศอ.จะได้นำเสนอผลการศึกษาที่มีทั้งแนวทาง และแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเครื่องจักรกลของประเทศที่เหมาะสมพร้อมทั้งมีทิศทางที่ชัดเจน และยังจะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม ที่สอดคล้องและสนับสนุนการผลิตภาคเกษตรอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลการคัดเลือกหรือกำหนดในชนิดของผลิตภัณฑ์เครื่องจักกลการเกษตรนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป
นอกจากนี้ผลที่ได้จากการศึกษาจะมีการนำเสนอเป็นโครงการนำร่องเครื่องจักรกลต้นแบบที่สามารถพัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เช่น เครื่องสีข้าวแบบเคลื่อนที่ขนาดเล็ก รถไถเดินตามแบบมาตรฐาน หรือโรงเรือนเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรไทยได้ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลต้นแบบที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยฝีมือของคนไทย
“การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นหนึ่งในโครงการภายแผนยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าและสามารถสนับสนุนการผลิตภาคเกษตรกรรมของประเทศ โดยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งในอนาคตจะสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้นำการส่งออกเครื่องจักรกลในภูมิภาคอาเซียน และขยายตัวสู่ภูมิภาคอื่นๆต่อไป ทั้งนี้ สศอ.และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมระดมสมองเพื่อบูรณาการทางความคิด ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในหมวดเครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมมาสนับสนุนและพัฒนาให้ครบวงจร ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร โดยคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจนำต้นแบบที่เสนอไปผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป”
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลการเกษตรต้นแบบชนิดต่างๆ ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานได้วิจัยพัฒนาขึ้นมา แต่ยังไม่มีการนำมาผลิตเพื่อการใช้งานได้จริงเนื่องจากติดขัดเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้ค่อนข้างสูง ดังนั้นภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักกลการเกษตร จึงได้เน้นการต่อยอดงานวิจัยที่มีอยู่แล้วและดูที่ความเหมาะสมของเครื่องจักรกลด้านการเกษตร เพื่อนำมาผลิตให้ใช้งานได้จริง ซึ่งจำเป็นจะต้องประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนหลายหน่วยงาน และจับมือกับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์ให้เกษตรกรไทยได้ใช้เครื่องจักกลการเกษตรในราคาที่ไม่สูงนัก อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของเกษตรไทย ซึ่งในอนาคตจะได้มีการส่งเสริมให้เกิดการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการหลายรายได้ให้ความสนใจที่จะนำเครื่องต้นแบบไปผลิตในเชิงพาณิชย์ด้วยแล้ว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ สศอ.ร่วมกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยได้รุดหน้าไปมาก โดยได้รับงบประมาณประจำปี 2549 และได้เร่งจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อเดินสู่จุดหมายอย่างชัดเจน โดยจะได้มีการจัดประชุมเพื่อระดมสมองจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนเป็นระยะๆต่อไป ซึ่งหากผลการดำเนินงานโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ สศอ.จะได้นำเสนอผลการศึกษาที่มีทั้งแนวทาง และแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเครื่องจักรกลของประเทศที่เหมาะสมพร้อมทั้งมีทิศทางที่ชัดเจน และยังจะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม ที่สอดคล้องและสนับสนุนการผลิตภาคเกษตรอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลการคัดเลือกหรือกำหนดในชนิดของผลิตภัณฑ์เครื่องจักกลการเกษตรนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป
นอกจากนี้ผลที่ได้จากการศึกษาจะมีการนำเสนอเป็นโครงการนำร่องเครื่องจักรกลต้นแบบที่สามารถพัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เช่น เครื่องสีข้าวแบบเคลื่อนที่ขนาดเล็ก รถไถเดินตามแบบมาตรฐาน หรือโรงเรือนเกษตรกรรม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เกษตรไทยได้ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลต้นแบบที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยฝีมือของคนไทย
“การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นหนึ่งในโครงการภายแผนยุทธศาสตร์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าและสามารถสนับสนุนการผลิตภาคเกษตรกรรมของประเทศ โดยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งในอนาคตจะสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้นำการส่งออกเครื่องจักรกลในภูมิภาคอาเซียน และขยายตัวสู่ภูมิภาคอื่นๆต่อไป ทั้งนี้ สศอ.และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยจะเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมระดมสมองเพื่อบูรณาการทางความคิด ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ในหมวดเครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมมาสนับสนุนและพัฒนาให้ครบวงจร ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร โดยคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจนำต้นแบบที่เสนอไปผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป”
ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลการเกษตรต้นแบบชนิดต่างๆ ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานได้วิจัยพัฒนาขึ้นมา แต่ยังไม่มีการนำมาผลิตเพื่อการใช้งานได้จริงเนื่องจากติดขัดเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้ค่อนข้างสูง ดังนั้นภายใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักกลการเกษตร จึงได้เน้นการต่อยอดงานวิจัยที่มีอยู่แล้วและดูที่ความเหมาะสมของเครื่องจักรกลด้านการเกษตร เพื่อนำมาผลิตให้ใช้งานได้จริง ซึ่งจำเป็นจะต้องประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนหลายหน่วยงาน และจับมือกับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์ให้เกษตรกรไทยได้ใช้เครื่องจักกลการเกษตรในราคาที่ไม่สูงนัก อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของเกษตรไทย ซึ่งในอนาคตจะได้มีการส่งเสริมให้เกิดการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป ซึ่งขณะนี้ได้มีผู้ประกอบการหลายรายได้ให้ความสนใจที่จะนำเครื่องต้นแบบไปผลิตในเชิงพาณิชย์ด้วยแล้ว
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-