สศอ.เจาะลึกโครงสร้างภาษีภาคอุตฯ ทั้งระบบ หวังเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ก้าวทันโลกเปลี่ยนแปลง ส่งผู้เชี่ยวชาญศึกษาเชิงลึกรอบด้าน ลดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้ลงมือศึกษาการปรับโครงสร้างพิกัดอัตราภาษีศุลกากร สำหรับภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษี ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเปิดเสรีการค้า ภายใต้ความตกลงทวิภาคี พหุภาคี และกรอบ WTO และเพื่อนำผลศึกษาครั้งนี้ไปเสนอแนะแนวทาง ยุทธศาสตร์ และแผนการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรภาคอุตสาหกรรม ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ภาคอุตสาหกรรมไทยจะต้องเผชิญกับผลกระทบจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรตามกรอบการค้าเสรีที่ทั่วโลกได้ทำข้อตกลงการค้าระหว่างกัน รวมถึงอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีที่ประเทศคู่ค้าได้กำหนดขึ้นมาเพื่อปกป้องสินค้าของประเทศตน
"ในอดีตโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรของไทยมีความซับซ้อนเป็นอย่างมากและมีหลายอัตรา โดยเฉพาะอัตราอากรขาเข้าของไทยที่ค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีความเจริญในระดับเดียวกัน ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการและผู้นำเข้า ในการที่จะจำแนกให้เป็นรายการพิกัดสินค้าเพื่อจะนำมาคำนวณภาษีอากร โดย สศอ.ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงได้เร่งทำการศึกษาโครงสร้างพิกัดอัตราภาษีศุลกากรภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยหลังจากจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจะทำให้มีแนวทางที่ชัดเจนในการกำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันได้ต่อไป"
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นภาคการผลิตหลักของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้รอบด้าน โดยเฉพาะเรื่องฐานข้อมูลซึ่งหลังจากการศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จ คาดว่าประเทศไทยจะมีระบบฐานข้อมูลโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรภาคอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และสามารถนำฐานข้อมูลนี้ไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายด้านภาษีที่เหมาะสมและมีความสมดุล ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกๆ มิติของภาคอุตสาหกรรมไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศอ.ได้ลงมือศึกษาการปรับโครงสร้างพิกัดอัตราภาษีศุลกากร สำหรับภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดปัญหาความลักลั่นของโครงสร้างภาษี ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการเปิดเสรีการค้า ภายใต้ความตกลงทวิภาคี พหุภาคี และกรอบ WTO และเพื่อนำผลศึกษาครั้งนี้ไปเสนอแนะแนวทาง ยุทธศาสตร์ และแผนการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรภาคอุตสาหกรรม ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่อาจปฏิเสธได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ภาคอุตสาหกรรมไทยจะต้องเผชิญกับผลกระทบจากการปรับลดอัตราภาษีศุลกากรตามกรอบการค้าเสรีที่ทั่วโลกได้ทำข้อตกลงการค้าระหว่างกัน รวมถึงอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีที่ประเทศคู่ค้าได้กำหนดขึ้นมาเพื่อปกป้องสินค้าของประเทศตน
"ในอดีตโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรของไทยมีความซับซ้อนเป็นอย่างมากและมีหลายอัตรา โดยเฉพาะอัตราอากรขาเข้าของไทยที่ค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีความเจริญในระดับเดียวกัน ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการและผู้นำเข้า ในการที่จะจำแนกให้เป็นรายการพิกัดสินค้าเพื่อจะนำมาคำนวณภาษีอากร โดย สศอ.ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงได้เร่งทำการศึกษาโครงสร้างพิกัดอัตราภาษีศุลกากรภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยหลังจากจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจะทำให้มีแนวทางที่ชัดเจนในการกำหนดมาตรการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันได้ต่อไป"
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยเป็นภาคการผลิตหลักของประเทศ จึงจำเป็นจะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้รอบด้าน โดยเฉพาะเรื่องฐานข้อมูลซึ่งหลังจากการศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จ คาดว่าประเทศไทยจะมีระบบฐานข้อมูลโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรภาคอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และสามารถนำฐานข้อมูลนี้ไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายด้านภาษีที่เหมาะสมและมีความสมดุล ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกๆ มิติของภาคอุตสาหกรรมไทยต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-