ตั้งแต่ผมเข้ามารับหน้าที่ นโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่ถือปฏิบัติตลอดมาก็คือ การดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ขืนต่อแนวโน้มในระยะยาว แต่จะดูแลให้เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ขณะใดที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะต้องอ่อนลงหรือแข็งขึ้นตามพื้นฐานของเศรษฐกิจ ตามสภาวะอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ หรือตามสภาวะการไหลเข้าออกของเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะดูแลให้ค่อยๆ อ่อนลง หรือค่อยๆ แข็งขึ้น เพื่อให้คนค้าขายปรับตัวได้ทัน
ในครั้งนี้ก็เช่นกัน แนวโน้มที่ค่าเงินจะแข็งขึ้นพร้อมกันทั้งเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียทุกสกุลอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวอย่างต่อเนื่องมีผลให้นักลงทุนต่างชาติทยอยย้ายเงินที่ลงทุนในสหรัฐที่เป็นดอลลาร์เข้ามาสู่ประเทศต่างๆ ในเอเชีย เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินของเอเชีย ประเทศไทยก็ได้รับอานิสงส์จากเงินทุนที่ไหลเข้ามาสู่เอเชียนี้ และได้รับค่อนข้างมากกว่าประเทศอื่น (เมื่อคิดตามสัดส่วนของขนาดของเศรษฐกิจ) ทั้งนี้ เพราะสภาวะการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มขยับตัวดีขึ้นประการหนึ่ง และเพราะ P/E ratio ในตลาดหุ้นของไทยต่ำกว่าตลาดอื่น โอกาสทำกำไรมีมากกว่า เงินจึงไหลเข้ามากกว่า อัตราการไหลเข้าของเงินทุนเร่งตัวและมีปริมาณสูงกว่าที่เคยเป็นมาในช่วงเวลาตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้นจนถึงวันนี้เงินทุนไหลเข้ามาแล้ว 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดจากการค้าและบริการ ซึ่งก็ยังมียอดสุทธิเป็นบวก) ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนสูงมากเป็นประวัติการณ์ เงินทุนที่ไหลเข้านี้สร้างแรงกดดันให้เงินบาทและเงินสกุลอื่น ๆ ในเอเชียแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทยติดตามสถานการณ์โดยตลอด และได้เข้าแทรกแซงเพื่อดูแลมิให้ค่าเงินบาทแข็งเร็วเกินไปจนกระทบถึงการค้าอย่างรุนแรง แต่ด้วยปริมาณเงินที่ไหลเข้าจำนวนมากและรวดเร็วเช่นนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าเงินบาทจะไม่แข็งขึ้นเลย คราวนี้เงินบาทแข็งขึ้นเร็วกว่าครั้งก่อน แต่ทั้งนี้ เป็นเพราะแนวโน้มของเงินที่ไหลเข้ารวดเร็วกว่าทุกคราว
ในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของประเทศใหญ่ การจะแข็งขืนไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเลย น่าจะเป็นอันตรายในภายหลัง เมื่อมีความจำเป็นต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างรุนแรงในที่สุด ซึ่งจะทำให้คนค้าขายปรับตัวได้ไม่ทันและขาดทุนอย่างรุนแรงเมื่อถึงวันนั้น
ผมขอเรียนไปยังผู้ส่งออกว่า การเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทในครั้งนี้ เป็นไปอย่างรวดเร็ว และจริงจังกว่าทุกครั้ง เนื่องจากสหรัฐมีความต้องการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของตนเอง กลไกตลาดของเงินดอลลาร์สหรัฐมีพลังสูงมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดูแลรับแรงกดดันไว้เท่าที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหาย และให้เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากที่สุด แต่ภาคส่งออกก็จำเป็นต้องเข้าใจแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น และต้องเตรียมปรับตัวเพื่อรับมือกับแนวโน้มที่เป็นไป เพื่อมิให้เกิดความเสียหายในที่สุด ขอให้สบายใจได้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดูแลให้การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ท่านมีเวลาปรับตัวได้ทันต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ขณะใดที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะต้องอ่อนลงหรือแข็งขึ้นตามพื้นฐานของเศรษฐกิจ ตามสภาวะอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ หรือตามสภาวะการไหลเข้าออกของเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะดูแลให้ค่อยๆ อ่อนลง หรือค่อยๆ แข็งขึ้น เพื่อให้คนค้าขายปรับตัวได้ทัน
ในครั้งนี้ก็เช่นกัน แนวโน้มที่ค่าเงินจะแข็งขึ้นพร้อมกันทั้งเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในเอเชียทุกสกุลอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวอย่างต่อเนื่องมีผลให้นักลงทุนต่างชาติทยอยย้ายเงินที่ลงทุนในสหรัฐที่เป็นดอลลาร์เข้ามาสู่ประเทศต่างๆ ในเอเชีย เพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินของเอเชีย ประเทศไทยก็ได้รับอานิสงส์จากเงินทุนที่ไหลเข้ามาสู่เอเชียนี้ และได้รับค่อนข้างมากกว่าประเทศอื่น (เมื่อคิดตามสัดส่วนของขนาดของเศรษฐกิจ) ทั้งนี้ เพราะสภาวะการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มขยับตัวดีขึ้นประการหนึ่ง และเพราะ P/E ratio ในตลาดหุ้นของไทยต่ำกว่าตลาดอื่น โอกาสทำกำไรมีมากกว่า เงินจึงไหลเข้ามากกว่า อัตราการไหลเข้าของเงินทุนเร่งตัวและมีปริมาณสูงกว่าที่เคยเป็นมาในช่วงเวลาตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้นจนถึงวันนี้เงินทุนไหลเข้ามาแล้ว 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัดจากการค้าและบริการ ซึ่งก็ยังมียอดสุทธิเป็นบวก) ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนสูงมากเป็นประวัติการณ์ เงินทุนที่ไหลเข้านี้สร้างแรงกดดันให้เงินบาทและเงินสกุลอื่น ๆ ในเอเชียแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ธนาคารแห่งประเทศไทยติดตามสถานการณ์โดยตลอด และได้เข้าแทรกแซงเพื่อดูแลมิให้ค่าเงินบาทแข็งเร็วเกินไปจนกระทบถึงการค้าอย่างรุนแรง แต่ด้วยปริมาณเงินที่ไหลเข้าจำนวนมากและรวดเร็วเช่นนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าเงินบาทจะไม่แข็งขึ้นเลย คราวนี้เงินบาทแข็งขึ้นเร็วกว่าครั้งก่อน แต่ทั้งนี้ เป็นเพราะแนวโน้มของเงินที่ไหลเข้ารวดเร็วกว่าทุกคราว
ในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของประเทศใหญ่ การจะแข็งขืนไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเลย น่าจะเป็นอันตรายในภายหลัง เมื่อมีความจำเป็นต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างรุนแรงในที่สุด ซึ่งจะทำให้คนค้าขายปรับตัวได้ไม่ทันและขาดทุนอย่างรุนแรงเมื่อถึงวันนั้น
ผมขอเรียนไปยังผู้ส่งออกว่า การเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทในครั้งนี้ เป็นไปอย่างรวดเร็ว และจริงจังกว่าทุกครั้ง เนื่องจากสหรัฐมีความต้องการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของตนเอง กลไกตลาดของเงินดอลลาร์สหรัฐมีพลังสูงมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดูแลรับแรงกดดันไว้เท่าที่จะไม่ทำให้เกิดความเสียหาย และให้เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากที่สุด แต่ภาคส่งออกก็จำเป็นต้องเข้าใจแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น และต้องเตรียมปรับตัวเพื่อรับมือกับแนวโน้มที่เป็นไป เพื่อมิให้เกิดความเสียหายในที่สุด ขอให้สบายใจได้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะดูแลให้การเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ท่านมีเวลาปรับตัวได้ทันต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--