สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 รายงานผลโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จังหวัดยะลาครองแชมป์มีผู้นำยางมาขายมากที่สุด ตามติดด้วยจังหวัดปัตตานี สุดท้ายที่จังหวัดนราธิวาส ไม่มีผู้นำยางมาขายเลย ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายน้อย เหตุเพราะราคาท้องถิ่นใกล้เคียงกับราคาตลาดกลาง
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 เห็นชอบการแก้ไขปัญหายางพาราจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขยายโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับอำเภอ เฉพาะ 11 อำเภอที่เกษตรกรนำยางมาจำหน่าย ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 3 อำเภอ (อำเภอมายอ ทุ่งยางแดง และโคกโพธิ์) จังหวัดยะลา 5 อำเภอ (อำเภอรามัน บันนังสตา ธารโต ยะหา และเบตง) และจังหวัดนราธิวาส 3 อำเภอ (อำเภอศรีสาคร รือเสาะ และระแงะ) ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549 โดยตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับอำเภอ เปิดตลาดทำการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2549 นั้น
บัดนี้โครงการฯสิ้นสุดลงแล้ว มีผู้นำยางพาราแผ่นดิบมาขาย 47 ราย ปริมาณ 17,099 กก. คิดเป็นมูลค่า 917,653 บาท โดยจังหวัดยะลามีผู้นำยางมาขายมากที่สุดจำนวน 44 ราย ปริมาณ 14,510 กก. คิดเป็นมูลค่า 763,474 บาท จังหวัดปัตตานี มีผู้นำยางมาขาย 3 ราย ปริมาณ 2,589 กก. คิดเป็นมูลค่า 154,179 บาท ส่วนจังหวัดนราธิวาสไม่มีผู้นำยางพารามาขาย ส่งผลให้ปริมาณยางมีการซื้อขายน้อย เนื่องจากราคาท้องถิ่นมีความใกล้เคียงกับราคาตลาดกลาง นางยินดี กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 เห็นชอบการแก้ไขปัญหายางพาราจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยขยายโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับอำเภอ เฉพาะ 11 อำเภอที่เกษตรกรนำยางมาจำหน่าย ได้แก่ จังหวัดปัตตานี 3 อำเภอ (อำเภอมายอ ทุ่งยางแดง และโคกโพธิ์) จังหวัดยะลา 5 อำเภอ (อำเภอรามัน บันนังสตา ธารโต ยะหา และเบตง) และจังหวัดนราธิวาส 3 อำเภอ (อำเภอศรีสาคร รือเสาะ และระแงะ) ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549 โดยตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับอำเภอ เปิดตลาดทำการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2549 นั้น
บัดนี้โครงการฯสิ้นสุดลงแล้ว มีผู้นำยางพาราแผ่นดิบมาขาย 47 ราย ปริมาณ 17,099 กก. คิดเป็นมูลค่า 917,653 บาท โดยจังหวัดยะลามีผู้นำยางมาขายมากที่สุดจำนวน 44 ราย ปริมาณ 14,510 กก. คิดเป็นมูลค่า 763,474 บาท จังหวัดปัตตานี มีผู้นำยางมาขาย 3 ราย ปริมาณ 2,589 กก. คิดเป็นมูลค่า 154,179 บาท ส่วนจังหวัดนราธิวาสไม่มีผู้นำยางพารามาขาย ส่งผลให้ปริมาณยางมีการซื้อขายน้อย เนื่องจากราคาท้องถิ่นมีความใกล้เคียงกับราคาตลาดกลาง นางยินดี กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-