แท็ก
จังหวัดบุรีรัมย์
รมต.ช่วยเกษตรฯ นำคณะผู้บริหารระดับสูง และสื่อมวลชนศึกษา ดูงานโรงเรียนแก้จนแบบคนบุรีรัมย์ ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับการเพาะเลี้ยงพันธุ์พืช เพื่อหารือแนวทางการกำหนดรูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร ที่เหมาะสมในขนาดพื้นที่ที่แตกต่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายผลในการแก้ปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรทั้งประเทศต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 ฯพณฯรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งคณะสื่อมวลชนมาศึกษาดูงานโครงการศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร (โรงเรียนแก้จนแบบคนบุรีรัมย์) ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งได้ประชุมคณะเจ้าหน้าที่ จากส่วนกลาง คณะสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่จังหวัดบุรีรัมย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการกำหนดรูปแบบกิจกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมในขนาดพื้นที่ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 1 —15 ไร่ โดยพิจารณาสภาพภูมิอากาศ ดิน น้ำ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย จะได้นำไปขยายผลในการแก้ปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรทั้งประเทศต่อไป
โดย ฯพณฯรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้กรมในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณากำหนดรูปแบบกิจกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมในขนาดเนื้อที่ตั้งแต่ 1 — 15 ไร่ สามารถทำให้เกษตรกรผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ที่พอเพียงและมั่นคง พร้อมทั้งให้จัดหาพื้นที่ที่เป็นของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในแต่ละจังหวัดที่มีขนาดตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร ให้เกษตรกรได้มาฝึกอบรมก่อนที่จะตัดสินใจเลือกรูปแบบกิจกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมกับขนาดและสภาพแปลงที่ดินของตนเอง ทั้งนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลในการขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข. 5) จังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 ฯพณฯรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งคณะสื่อมวลชนมาศึกษาดูงานโครงการศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร (โรงเรียนแก้จนแบบคนบุรีรัมย์) ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์ (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ตำบลเมืองยาง อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งได้ประชุมคณะเจ้าหน้าที่ จากส่วนกลาง คณะสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่จังหวัดบุรีรัมย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือแนวทางการกำหนดรูปแบบกิจกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมในขนาดพื้นที่ที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 1 —15 ไร่ โดยพิจารณาสภาพภูมิอากาศ ดิน น้ำ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วย จะได้นำไปขยายผลในการแก้ปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรทั้งประเทศต่อไป
โดย ฯพณฯรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้กรมในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณากำหนดรูปแบบกิจกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมในขนาดเนื้อที่ตั้งแต่ 1 — 15 ไร่ สามารถทำให้เกษตรกรผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ที่พอเพียงและมั่นคง พร้อมทั้งให้จัดหาพื้นที่ที่เป็นของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในแต่ละจังหวัดที่มีขนาดตั้งแต่ 50 ไร่ขึ้นไป เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร ให้เกษตรกรได้มาฝึกอบรมก่อนที่จะตัดสินใจเลือกรูปแบบกิจกรรมทางการเกษตรที่เหมาะสมกับขนาดและสภาพแปลงที่ดินของตนเอง ทั้งนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลในการขจัดปัญหาความยากจนให้หมดไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-