สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผยมติ ครม. ให้ยืดเวลาการดำเนินโครงการตลาดกลางฯ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แจ้งมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549 ในพื้นที่ 11 อำเภอ คือ จังหวัดปัตตานี 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมายอ ทุ่งยางแดง และโคกโพธิ์ จังหวัดยะลา 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอรามัน บันนังสตา ธารโต ยะหา และเบตง จังหวัดนราธิวาสอีก 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสาคร รือเสาะ และระแงะ
เริ่มดำเนินการรับซื้อตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549 ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00 น. โดยกำหนดรับซื้ออำเภอละ 2 วัน / สัปดาห์ ส่วนแนวทางการซื้อขายยางแผ่นดิบของตลาดกลางฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนเดิมที่เคยปฏิบัติ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ให้การสนับสนุนการจดทะเบียนและลงทะเบียนขายยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้การสนับสนุนรถยกรวมทั้งแผงเหล็กรองยาง ด้านกรมวิชาการเกษตร ดำเนินการบริหารจัดการตลาด และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ทำหน้าที่ในการประเมินผลโครงการดังกล่าว
นางยินดี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับงบประมาณดำเนินการจะใช้เงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการซื้อขายยางพาราวงเงิน 30 ล้านบาท โดยจัดสรรให้จังหวัดยะลา 20 ล้านบาท จังหวัดปัตตานี 5 ล้านบาท และจังหวัดนราธิวาส 5 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แจ้งมติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549 ในพื้นที่ 11 อำเภอ คือ จังหวัดปัตตานี 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมายอ ทุ่งยางแดง และโคกโพธิ์ จังหวัดยะลา 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอรามัน บันนังสตา ธารโต ยะหา และเบตง จังหวัดนราธิวาสอีก 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีสาคร รือเสาะ และระแงะ
เริ่มดำเนินการรับซื้อตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2549 ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00 น. โดยกำหนดรับซื้ออำเภอละ 2 วัน / สัปดาห์ ส่วนแนวทางการซื้อขายยางแผ่นดิบของตลาดกลางฯ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนเดิมที่เคยปฏิบัติ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ให้การสนับสนุนการจดทะเบียนและลงทะเบียนขายยาง สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้การสนับสนุนรถยกรวมทั้งแผงเหล็กรองยาง ด้านกรมวิชาการเกษตร ดำเนินการบริหารจัดการตลาด และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ทำหน้าที่ในการประเมินผลโครงการดังกล่าว
นางยินดี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับงบประมาณดำเนินการจะใช้เงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการซื้อขายยางพาราวงเงิน 30 ล้านบาท โดยจัดสรรให้จังหวัดยะลา 20 ล้านบาท จังหวัดปัตตานี 5 ล้านบาท และจังหวัดนราธิวาส 5 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-