สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.59 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.82 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.95 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.62 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 25.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ รณรงค์ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนนำไก่มาขึ้นทะเบียนครั้งใหญ่ ทั่วประเทศ วันที่ 28 ธันวาคม 2548 ซึ่งผู้เลี้ยงไก่ชนยังไปขึ้นทะเบียนต่ำกว่าเป้าหมาย จึงต้องรณรงค์อีกครั้งเพื่อเดินหน้าตามแผนการจัดระเบียบต่อไป ขณะนี้มีเจ้าของไก่ชนนำไก่มาขึ้นทะเบียนถึง 114,309 ตัว จากเกษตรกร 48,595 ราย สนามไก่ชนมาขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้เปิดแล้ว 23 จังหวัด 216 แห่ง สนามประลองไก่ได้มาขออนุญาต 647 แห่ง และขณะนี้สนามชนไก่ที่ขอเปิดนำร่องก่อนปีใหม่ 2549 จำนวน 91 แห่ง เป็นสนามตัวอย่างที่ถูกสุขลักษณะ หากสนามไหนพร้อมก็สามารถเปิดได้ โดยให้เป็นอำนาจผู้ว่าราชการตัดสินใจ โดยก่อนขึ้นชนจะต้องมีการตรวจสมุดประจำตัวไก่ชนทุกตัว
เวียดนามเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชนิด H5N1 มากที่สุดเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2546 ถึงปัจจุบัน การแพร่ระบาดได้ลุกลามไปใน 25 จังหวัดจากทั้งหมด 64 จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของประเทศมีการแพร่ระบาดที่รุนแรงที่สุดใน 18 จังหวัด ประชาชนที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ 93 คน ได้เสียชีวิตลง 42 คน ซึ่งบรรดาแพทย์ในเวียดนามต่างก็วิตกกังวลมากขึ้นเมื่อพบว่า ยาทามิฟลู ซึ่งเป็นยาเพียงชนิดเดียวในโลกที่มีสรรพคุณในการต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดนกได้ อาจใช้ไม่ได้ผล เมื่อพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกชาวเวียดนาม 2 ราย เสียชีวิตลง เพราะการรักษาด้วยยาทามิฟลูนั้นล้มเหลว เนื่องจากเชื้อโรคเกิดการดื้อยา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.67 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.37 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 13.50 บาท ลดลงจากตัวละ 15.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 12.90
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 39.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่ความต้องการบริโภคก็เพิ่มขึ้นด้วยเนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลปีใหม่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 216 บาท สูงขึ้นจาก ร้อยฟองละ 213 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 197 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 256 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 204 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 15 บาท ลดลงจากตัวละ 17 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 13.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 283 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 285 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 234 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 285 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 294 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.34 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.32 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 54.57 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 46.62 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.72 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.75 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 ธันวาคม 2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.59 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 50.82 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 46.95 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.62 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 45บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 25.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น เพราะเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ รณรงค์ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนนำไก่มาขึ้นทะเบียนครั้งใหญ่ ทั่วประเทศ วันที่ 28 ธันวาคม 2548 ซึ่งผู้เลี้ยงไก่ชนยังไปขึ้นทะเบียนต่ำกว่าเป้าหมาย จึงต้องรณรงค์อีกครั้งเพื่อเดินหน้าตามแผนการจัดระเบียบต่อไป ขณะนี้มีเจ้าของไก่ชนนำไก่มาขึ้นทะเบียนถึง 114,309 ตัว จากเกษตรกร 48,595 ราย สนามไก่ชนมาขึ้นทะเบียนและอนุญาตให้เปิดแล้ว 23 จังหวัด 216 แห่ง สนามประลองไก่ได้มาขออนุญาต 647 แห่ง และขณะนี้สนามชนไก่ที่ขอเปิดนำร่องก่อนปีใหม่ 2549 จำนวน 91 แห่ง เป็นสนามตัวอย่างที่ถูกสุขลักษณะ หากสนามไหนพร้อมก็สามารถเปิดได้ โดยให้เป็นอำนาจผู้ว่าราชการตัดสินใจ โดยก่อนขึ้นชนจะต้องมีการตรวจสมุดประจำตัวไก่ชนทุกตัว
เวียดนามเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชนิด H5N1 มากที่สุดเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2546 ถึงปัจจุบัน การแพร่ระบาดได้ลุกลามไปใน 25 จังหวัดจากทั้งหมด 64 จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของประเทศมีการแพร่ระบาดที่รุนแรงที่สุดใน 18 จังหวัด ประชาชนที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ 93 คน ได้เสียชีวิตลง 42 คน ซึ่งบรรดาแพทย์ในเวียดนามต่างก็วิตกกังวลมากขึ้นเมื่อพบว่า ยาทามิฟลู ซึ่งเป็นยาเพียงชนิดเดียวในโลกที่มีสรรพคุณในการต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดนกได้ อาจใช้ไม่ได้ผล เมื่อพบว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดนกชาวเวียดนาม 2 ราย เสียชีวิตลง เพราะการรักษาด้วยยาทามิฟลูนั้นล้มเหลว เนื่องจากเชื้อโรคเกิดการดื้อยา
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 31.67 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.37 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 13.50 บาท ลดลงจากตัวละ 15.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 12.90
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 39.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่ความต้องการบริโภคก็เพิ่มขึ้นด้วยเนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลปีใหม่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 216 บาท สูงขึ้นจาก ร้อยฟองละ 213 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 197 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 256 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 204 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 232 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 15 บาท ลดลงจากตัวละ 17 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 13.33
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 196.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 283 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 285 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 234 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 285 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 294 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 49.34 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.32 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 54.57 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 46.62 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.72 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 50.75 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 ธันวาคม 2548--
-พห-