แท็ก
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม
ทีดีอาร์ไอ
เอฟทีเอ
TDRI
สศอ.จับมือทีดีอาร์ไอ ศึกษาแสวงหาผลประโยชน์จากการทำเอฟทีเอ กับประเทศคู่สัญญาที่ได้มีผลในทางปฏิบัติแล้ว เน้นหนุนสาขาอุตฯเป้าหมาย เชื่อเป็นแนวทางสู้กับสินค้าจากทั่วโลกได้
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI จัดทำ “โครงการศึกษาแนวทางแสวงหาประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมจากการทำ FTA” นับว่าป็นสัญญาณที่ดีในการสร้างแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ภาคราชการและภาคเอกชน สามารถดำเนินนโยบายเชิงรุก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในการขยายตลาดกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ และสามารถช่วยในการวางแผนปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง และการวางแผนเชิงรุกในทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม มีทิศทางที่ชัดเจน
“ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการทำ FTA กับประเทศที่สำคัญต่างๆ โดยมีทั้ง FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ทั้งที่เป็นแบบครอบคลุม หรือ Comprehensive FTA กับประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ FTA ที่บังคับใช้แล้วบางส่วนล่วงหน้า หรือ Early Harvest FTA กับ ประเทศอินเดีย FTA โดยผ่านกลุ่มอาเซียน กับ ประเทศจีน (ASEAN-China) และ FTA ที่การเจรจาเสร็จสมบูรณ์แล้วเพียงแต่รอการลงนามของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายคือ FTA ที่จะทำกับประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมี FTA กับสหรัฐอเมริกา และสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปที่อยู่ระหว่างชะลอการเจรจา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อเตรียมการรองรับด้านต่างๆต่อไป” รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าว
ด้าน ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)กล่าวว่า สศอ.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรมไทยได้เล็งเห็นความสำคัญต่อ
ประเด็นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง FTA ของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ทั้งที่ได้ลงนามข้อตกลงไปแล้ว หรือที่กำลังเจรจา จึงได้ร่วมมือกับ TDRI เพื่อศึกษาในเรื่องนี้โดยเน้นที่การแสวงหาประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมจากข้อตกลง FTA อันจะเป็นข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันอย่างเป็นระบบ ซึ่งวัตถุประสงค์ที่สำคัญได้แก่ เพื่อติดตาม และวิเคราะห์การแสวงหาผลประโยชน์จาก FTA ที่ไทยได้ทำไปแล้ว ทั้งในภาพรวมและในรายอุตสาหกรรม และศึกษาผลกระทบจาก FTA ต่อโครงสร้างการผลิตและห่วงโซอุปทาน (supply chain) ของอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย นอกจากนี้จะได้มีการเสนอแนะทางนโยบายต่อหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะต่อกระทรวงอุตสาหกรรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เราสามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ประเทศไทยได้เข้าร่วมการเจรจา FTA กับหลายประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะมีการจัดทำ FTA กับอีกหลายกลุ่มประเทศ ซึ่งในแต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศ ก็จะมีความหลากหลายในเนื้อหาของความตกลงและรายการสินค้าที่จะเปิดเสรี โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาและประเมินอย่างจริงจังถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ ตลอดจนการหาแนวทางที่จะสามารถนำข้อตกลง FTA ที่ได้ลงนามไปแล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การร่วมกันศึกษากับ TDRI ในครั้งนี้จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เกิดความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI จัดทำ “โครงการศึกษาแนวทางแสวงหาประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมจากการทำ FTA” นับว่าป็นสัญญาณที่ดีในการสร้างแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ภาคราชการและภาคเอกชน สามารถดำเนินนโยบายเชิงรุก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในการขยายตลาดกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ และสามารถช่วยในการวางแผนปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลง และการวางแผนเชิงรุกในทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม มีทิศทางที่ชัดเจน
“ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการทำ FTA กับประเทศที่สำคัญต่างๆ โดยมีทั้ง FTA ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ทั้งที่เป็นแบบครอบคลุม หรือ Comprehensive FTA กับประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ FTA ที่บังคับใช้แล้วบางส่วนล่วงหน้า หรือ Early Harvest FTA กับ ประเทศอินเดีย FTA โดยผ่านกลุ่มอาเซียน กับ ประเทศจีน (ASEAN-China) และ FTA ที่การเจรจาเสร็จสมบูรณ์แล้วเพียงแต่รอการลงนามของรัฐบาลทั้งสองฝ่ายคือ FTA ที่จะทำกับประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมี FTA กับสหรัฐอเมริกา และสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปที่อยู่ระหว่างชะลอการเจรจา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาในเรื่องนี้อย่างจริงจังเพื่อเตรียมการรองรับด้านต่างๆต่อไป” รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าว
ด้าน ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)กล่าวว่า สศอ.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคอุตสาหกรรมไทยได้เล็งเห็นความสำคัญต่อ
ประเด็นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง FTA ของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ทั้งที่ได้ลงนามข้อตกลงไปแล้ว หรือที่กำลังเจรจา จึงได้ร่วมมือกับ TDRI เพื่อศึกษาในเรื่องนี้โดยเน้นที่การแสวงหาประโยชน์ของภาคอุตสาหกรรมจากข้อตกลง FTA อันจะเป็นข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันอย่างเป็นระบบ ซึ่งวัตถุประสงค์ที่สำคัญได้แก่ เพื่อติดตาม และวิเคราะห์การแสวงหาผลประโยชน์จาก FTA ที่ไทยได้ทำไปแล้ว ทั้งในภาพรวมและในรายอุตสาหกรรม และศึกษาผลกระทบจาก FTA ต่อโครงสร้างการผลิตและห่วงโซอุปทาน (supply chain) ของอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย นอกจากนี้จะได้มีการเสนอแนะทางนโยบายต่อหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะต่อกระทรวงอุตสาหกรรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เราสามารถใช้ประโยชน์จาก FTA ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ประเทศไทยได้เข้าร่วมการเจรจา FTA กับหลายประเทศในช่วงปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะมีการจัดทำ FTA กับอีกหลายกลุ่มประเทศ ซึ่งในแต่ละกลุ่ม แต่ละประเทศ ก็จะมีความหลากหลายในเนื้อหาของความตกลงและรายการสินค้าที่จะเปิดเสรี โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาและประเมินอย่างจริงจังถึงประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ ตลอดจนการหาแนวทางที่จะสามารถนำข้อตกลง FTA ที่ได้ลงนามไปแล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การร่วมกันศึกษากับ TDRI ในครั้งนี้จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เกิดความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-