วันที่ 14 พ.ค. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่กกต. ยังอยู่ในอำนาจหน้าที่ต่อไปนั้น ย่อมส่งผลต่อความเชื่อถือเชื่อมั่นของประชาชน จากการพิจารณาของพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าการที่กกต.ยังไม่พิจารณาตัวเอง และไม่ยอมที่จะฟังเสียงเรียกร้องจากสังคมนั้น อาจเป็นเพราะกกต. กลัวการตรวจสอบย้อนหลังในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. เรื่องการใช้จ่ายงบประมาณของกกต. 2. เรื่องการพิจารณาให้และไม่ให้ใบเหลือง หรือใบแดง โดยไม่สุจริต เที่ยงธรรม 3. กกต.ดำเนินการจัดการเลือกตั้งที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งและขาดเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญหลายประการ
“สิ่งที่ กกต. ควรต้องคำนึงถึงคือ อำนาจหน้าที่ที่กกต. ได้รับตามกฎหมายนั้น ไม่ได้มีความหมายมากไปกว่าความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น หรือการยอมรับจากสังคมในการที่จะทำหน้าที่ต่อไป เพราะกกต.ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ อยู่ในคณะเดียวกัน ดังนั้น กกต. ควรจะมีความเป็นอิสระสูงมากกว่าปกติ และสำคัญที่สุดคือต้องมีสำนึกที่สูงสุด มุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เมื่อใดก็ตามสำนึกต่อส่วนรวมกลายเป็นความประพฤติสำส่อนเพื่อส่วนตัวของ กกต. ในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ย่อมส่งผลสะเทือนต่อการทำหน้าที่ และการยอมรับ รวมทั้งเป็นความน่าสะพึงกลัวที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจได้ตั้งข้อสังเกตว่า การที่กกต.ไม่ยอมลาออก อาจเพราะว่ามีอำนาจแฝงอยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของกกต.หรือมีใครชักใยกกต. ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ต่อไปเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองจากบางพรรคการเมืองบางพรรคหรือไม่ หากปล่อยให้ กกต. ที่ไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองทำหน้าที่เหมือนกับเป็นพนักงานบริษัทของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด ก็จะไม่มีความเป็นกลาง และที่สำคัญที่สุด กกต. คือด่านหน้าและเป็นด่านแรก ที่จะคัดกรองนักการเมืองให้นำไปสู่อำนาจ ฉะนั้นหาก กกต. ไม่มีความน่าเชื่อ ไม่มีความสุจริต เที่ยงธรรมแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่ กกต. จะปล่อยให้มีนักการเมืองสีเทา เข้าไปสู่อำนาจ และนักการเมืองสีเทา เหล่านี้ก็จะใช้วิธีการทุจริตเลือกตั้งในการซื้อเสียง และเมื่อนักการเมืองเหล่านี้เข้าไปสู่อำนาจแล้วก็จะเข้าไปกอบโกย โกงกิน เข้าไปถอนทุน นี่ก็จะเป็นวัฏจักร วงจรอุบาทว์ทางการเมืองต่อไป
พร้อมกันนี้นายองอาจยังเห็นว่า ขณะนี้ กกต. ควรจะได้ใบแดง หลังจากที่กกต. ให้ใบแดงคนอื่นมามากแล้ว เพราะพฤติกรรมความประพฤติการทำงานของกกต.นั้นเป็นการทำงานที่สมควรได้ ใบแดง เป็นอย่างยิ่ง
จากการที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยได้ออกมากล่าวถึงปัญหาของบ้านเมืองในขณะนี้ ว่าต้องการให้พรรคร่วมฝ่ายค้านไปร่วมประชุมกับ กกต. และกล่าวว่าปัญหามาจากพรรคร่วมฝ่ายค้านบอยคอตการเลือกตั้ง และเสนอมาตรา 7 นั้น
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์โดยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่า การบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ และการประกาศใช้มาตรา 7 นั้นไม่ได้เป็นหนทางที่นำไปสู่ปัญหาแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามจะเห็นได้ว่าการประกาศบอยคอตนั้นเป็นการกระทำตามรัฐธรรมนูญ และไม่ได้เป็นการกระทำที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เช่นเดียวกับที่คุณหญิงสุดารัตน์พยายามพูดถึงมาตรา 7 คือมาตรา 7 ที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงนั้นได้ใช้มาตรา 7 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน แต่เป็นการใช้ตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี อันจะทำให้ประเทศชาติเกิดสุญญากาศ และนำไปสู่การใช้มาตรา 7 ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นเพราะประเทศอยู่ในช่วงวิกฤตและมองไม่เห็นทางออกอื่น ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ และสถานการณ์ในขณะนั้นกำลังนำไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นข้อเสนอของเราจึงเป็นข้อเสนอที่จะแก้ไขความรุนแรง
“การที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ พยายามเอาเรื่อง ม.7 มากล่าวใส่ร้ายป้ายสีพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าพรรคอยู่เสมอนั้น จึงเป็นการใส่ร้ายป้ายสีทางการเมือง ทั้ง ๆ ที่คุณสุดารัตน์คงเข้าใจอยู่แล้วว่าข้อเท็จ ในเรื่องนี้เป็นอย่างไร แต่ผมคิดว่าหากคุณหญิงสุดารัตน์ ยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ไปเปิดอ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ชัดเจน และไปเปิดดูคำประกาศของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะมีความเข้าใจมากขึ้น และคิดว่าคุณหญิงสุดารัตน์คงมีความฉลาดพอที่จะอ่านรัฐธรรมนูญออก ” นายองอาจกล่าว
พร้อมกันนี้นายองอาจยังฝากเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า คนที่มีส่วนในปัญหาของบ้านเมืองเป็นอย่างมาก น่าจะเป็นคนที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์มั่ว ประกอบด้วย มั่วที่ 1 คือ มั่วยุบสภา เพื่อฟอกตัวเอง หลีกเลี่ยงการอธิบายเรื่องซื้อขายหุ้นชินคอร์ปซึ่งกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้น โดยหวังว่าเมื่อ มั่วยุบสภาไปแล้ว คนจะลืมเรื่องการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป มั่วที่ 2 คือ ไปมั่วกันกำหนดการเลือกตั้ง เพื่อเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น มั่วที่ 3 คือ พยายามใช้วิธีการมั่ว ๆ ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคเดียว ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มั่วที่ 4 มั่วด้วยการจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคใหญ่บางพรรคไม่ต้องไปต่อสู้กับ 20% และมั่วที่ 5 คือพยายามมั่วที่จะดันทุรังเปิดสภา ทั้ง ๆ ที่ส.ส. ไม่ครบ 500 คน และ ถึงขนาดที่ประชุมครม. เตรียมจะเสนอกฤษฎีกาเปิดสภาโดยไม่ลงวันที่ ฉะนั้นทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ “แม้ว ม.มั่ว” นั่นเอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 พ.ค. 2549--จบ--
“สิ่งที่ กกต. ควรต้องคำนึงถึงคือ อำนาจหน้าที่ที่กกต. ได้รับตามกฎหมายนั้น ไม่ได้มีความหมายมากไปกว่าความน่าเชื่อถือ เชื่อมั่น หรือการยอมรับจากสังคมในการที่จะทำหน้าที่ต่อไป เพราะกกต.ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ อยู่ในคณะเดียวกัน ดังนั้น กกต. ควรจะมีความเป็นอิสระสูงมากกว่าปกติ และสำคัญที่สุดคือต้องมีสำนึกที่สูงสุด มุ่งทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เมื่อใดก็ตามสำนึกต่อส่วนรวมกลายเป็นความประพฤติสำส่อนเพื่อส่วนตัวของ กกต. ในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ย่อมส่งผลสะเทือนต่อการทำหน้าที่ และการยอมรับ รวมทั้งเป็นความน่าสะพึงกลัวที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง” นายองอาจกล่าว
นอกจากนี้ พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายองอาจได้ตั้งข้อสังเกตว่า การที่กกต.ไม่ยอมลาออก อาจเพราะว่ามีอำนาจแฝงอยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของกกต.หรือมีใครชักใยกกต. ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ต่อไปเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองจากบางพรรคการเมืองบางพรรคหรือไม่ หากปล่อยให้ กกต. ที่ไม่มีความเป็นกลางทางการเมืองทำหน้าที่เหมือนกับเป็นพนักงานบริษัทของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใด ก็จะไม่มีความเป็นกลาง และที่สำคัญที่สุด กกต. คือด่านหน้าและเป็นด่านแรก ที่จะคัดกรองนักการเมืองให้นำไปสู่อำนาจ ฉะนั้นหาก กกต. ไม่มีความน่าเชื่อ ไม่มีความสุจริต เที่ยงธรรมแล้ว ก็มีความเป็นไปได้ที่ กกต. จะปล่อยให้มีนักการเมืองสีเทา เข้าไปสู่อำนาจ และนักการเมืองสีเทา เหล่านี้ก็จะใช้วิธีการทุจริตเลือกตั้งในการซื้อเสียง และเมื่อนักการเมืองเหล่านี้เข้าไปสู่อำนาจแล้วก็จะเข้าไปกอบโกย โกงกิน เข้าไปถอนทุน นี่ก็จะเป็นวัฏจักร วงจรอุบาทว์ทางการเมืองต่อไป
พร้อมกันนี้นายองอาจยังเห็นว่า ขณะนี้ กกต. ควรจะได้ใบแดง หลังจากที่กกต. ให้ใบแดงคนอื่นมามากแล้ว เพราะพฤติกรรมความประพฤติการทำงานของกกต.นั้นเป็นการทำงานที่สมควรได้ ใบแดง เป็นอย่างยิ่ง
จากการที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทยได้ออกมากล่าวถึงปัญหาของบ้านเมืองในขณะนี้ ว่าต้องการให้พรรคร่วมฝ่ายค้านไปร่วมประชุมกับ กกต. และกล่าวว่าปัญหามาจากพรรคร่วมฝ่ายค้านบอยคอตการเลือกตั้ง และเสนอมาตรา 7 นั้น
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์โดยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่า การบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ และการประกาศใช้มาตรา 7 นั้นไม่ได้เป็นหนทางที่นำไปสู่ปัญหาแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามจะเห็นได้ว่าการประกาศบอยคอตนั้นเป็นการกระทำตามรัฐธรรมนูญ และไม่ได้เป็นการกระทำที่นอกเหนือรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เช่นเดียวกับที่คุณหญิงสุดารัตน์พยายามพูดถึงมาตรา 7 คือมาตรา 7 ที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงนั้นได้ใช้มาตรา 7 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน แต่เป็นการใช้ตามเงื่อนไขที่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อขอยุติการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี อันจะทำให้ประเทศชาติเกิดสุญญากาศ และนำไปสู่การใช้มาตรา 7 ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นเพราะประเทศอยู่ในช่วงวิกฤตและมองไม่เห็นทางออกอื่น ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ และสถานการณ์ในขณะนั้นกำลังนำไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นข้อเสนอของเราจึงเป็นข้อเสนอที่จะแก้ไขความรุนแรง
“การที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ พยายามเอาเรื่อง ม.7 มากล่าวใส่ร้ายป้ายสีพรรคประชาธิปัตย์ และหัวหน้าพรรคอยู่เสมอนั้น จึงเป็นการใส่ร้ายป้ายสีทางการเมือง ทั้ง ๆ ที่คุณสุดารัตน์คงเข้าใจอยู่แล้วว่าข้อเท็จ ในเรื่องนี้เป็นอย่างไร แต่ผมคิดว่าหากคุณหญิงสุดารัตน์ ยังไม่เข้าใจ ก็ขอให้ไปเปิดอ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ชัดเจน และไปเปิดดูคำประกาศของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็จะมีความเข้าใจมากขึ้น และคิดว่าคุณหญิงสุดารัตน์คงมีความฉลาดพอที่จะอ่านรัฐธรรมนูญออก ” นายองอาจกล่าว
พร้อมกันนี้นายองอาจยังฝากเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า คนที่มีส่วนในปัญหาของบ้านเมืองเป็นอย่างมาก น่าจะเป็นคนที่ก่อให้เกิดปรากฎการณ์มั่ว ประกอบด้วย มั่วที่ 1 คือ มั่วยุบสภา เพื่อฟอกตัวเอง หลีกเลี่ยงการอธิบายเรื่องซื้อขายหุ้นชินคอร์ปซึ่งกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนั้น โดยหวังว่าเมื่อ มั่วยุบสภาไปแล้ว คนจะลืมเรื่องการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป มั่วที่ 2 คือ ไปมั่วกันกำหนดการเลือกตั้ง เพื่อเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น มั่วที่ 3 คือ พยายามใช้วิธีการมั่ว ๆ ด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคเดียว ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มั่วที่ 4 มั่วด้วยการจ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคใหญ่บางพรรคไม่ต้องไปต่อสู้กับ 20% และมั่วที่ 5 คือพยายามมั่วที่จะดันทุรังเปิดสภา ทั้ง ๆ ที่ส.ส. ไม่ครบ 500 คน และ ถึงขนาดที่ประชุมครม. เตรียมจะเสนอกฤษฎีกาเปิดสภาโดยไม่ลงวันที่ ฉะนั้นทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ “แม้ว ม.มั่ว” นั่นเอง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 พ.ค. 2549--จบ--