ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ออกเกณฑ์ผ่อนผันการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามในประกาศ ธปท.เรื่องผ่อนผันให้ ธพ.มอบอำนาจให้คณะกรรมการสินเชื่อ หรือคณะกรรมการบริหาร
เป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อหรือการลงทุนในกิจการที่ ธพ. หรือกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของ ธพ.มีส่วนเกี่ยวข้องในสินเชื่อ 3 ประเภท
จากเดิมที่จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ธพ.อย่างเป็นเอกฉันท์ โดยสินเชื่อ 3 ประเภทที่ได้รับการผ่อนผัน ได้แก่ การให้สินเชื่อหรือลงทุน
ในกิจการที่ ธพ.ถือหุ้นโดยตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ของหุ้นบริษัทที่จำหน่ายออกไปแล้ว ในส่วนของบริษัทลูกที่ทำธุรกิจให้สินเชื่อ รวมถึงสินเชื่อที่ปล่อยให้
หรือลงทุนในบริษัทจำกัดที่ ก.คลัง หรือส่วนราชการมีอำนาจในการควบคุมกิจการหรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นที่ออกจำหน่าย และสินเชื่อที่
ได้รับการผ่อนผันประเภทสุดท้าย คือ การให้สินเชื่อหรือการลงทุนในกิจการที่ ธพ. หรือกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของ ธพ. มีผลประโยชน์
เกี่ยวข้อง หรือการให้สินเชื่อกับผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร โดยผ่อนผันเฉพาะลูกค้ารายเดิมที่เคยผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการ
ธพ.มาแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ตลาดตราสารหนี้อนุมัติรับพันธบัตร ธปท.เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนมูลค่า 20,000 ล้านบาท ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้
(Bond Electronic Exchange — BEX) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.อนุมัติรับพันธบัตร ซึ่งออกโดยธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดตราสารหนี้จำนวน 1 รุ่น ที่ตราไว้หน่วยละ 1,000 บาท รวมมูลค่า
20,000 ล้านบาท เข้าจดทะเบียนและซื้อขายใน BEX วันที่ 17 ต.ค.49 ทั้งนี้ พันธบัตร ธปท.งวดที่ S3/11/49 ชื่อย่อ “CB06O30A” เป็น
พันธบัตรรุ่นพิเศษระยะสั้น ชุดที่ 2 มูลค่า 20,000 ล้านบาท อายุ 11 วัน ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 30 ต.ค.49 ซึ่งการเข้าจดทะเบียนของพันธบัตร
ธปท.ครั้งนี้ทำให้มูลค่าตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐเพิ่มขึ้นเป็น 3.009 ล้านล้านบาท (ร้อยละ 90.52 ของตราสารหนี้จดทะเบียนใน BEX)
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังเตรียมเสนอ งปม.ปี 50 แบบขาดดุลประมาณ 1 แสนล้านบาทตต่อ ครม.วันนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สรุปกรอบวงเงิน งปม.ปี 50 เสร็จแล้ว ซึ่งจะจัดทำ งปม.แบบขาดดุลร้อยละ 1.5
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยจะเสนอต่อที่ประชุม ครม.วันนี้ (17 ต.ค.49) ทั้งนี้ งปม.รายจ่ายที่จะเสนอ
ครม.อยู่ที่ 1.52 ล้านล้านบาท งปม.รายได้ 1.42 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ งปม.ขาดดุล 1 แสนล้านบาท ขณะที่ส่วนราชการขอเสนอ งปม.เกิน
กว่าที่รัฐบาลจะจัดสรรให้กว่า 4 แสนล้านบาท ส่วนการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล งปม.ปี 50 นั้น สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ยังไม่ได้
จัดทำแผนการกู้เงินดังกล่าว เพราะต้องรอให้ พ.ร.บ. งปม.ปี 50 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งในเบื้องต้นจะกู้เงินในประเทศทั้งหมด
1 แสนล้านบาท โดยออกพันธบัตรระยะยาว (โลกวันนี้)
4. คนไทยเป็นหนี้ปี 49 จำนวน 1.18 แสนบาทต่อครัวเรือน รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยถึงสรุปผลการสำรวจปี
49 พบว่า ครัวเรือนส่วนบุคคลในประเทศไทยเกินครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 64.7 มีหนี้สินเฉลี่ย 118,434 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็น 6.9 เท่า เพิ่มขึ้น
จากปี 47 ร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ต่อปี โดยร้อยละ 35.2 เป็นการก่อหนี้เพื่อ
ซื้อบ้านและที่ดิน รองลงมาใช้ในการอุปโภคบริโภคร้อยละ 24.6 ใช้ทำธุรกิจร้อยละ 19.9 ใช้ทำการเกษตรร้อยละ 13.8 และหนี้เพื่อการศึกษา
ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีรายได้ต่ำสุด กลับมีอัตราการเพิ่มของหนี้สินสูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ
12.3 ต่อปี รองลงมาคือ ภาคใต้ร้อยละ 10.4 กรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดโดยรอบ (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
ภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และภาคกลางมีหนี้สินลดลงจากร้อยละ 22.9 เป็นลบร้อยละ 0.9 (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. มูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 ลดลงร้อยละ 2.1 ต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีครึ่ง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
13 ต.ค.49 ทางการ สรอ.เปิดเผยว่า มูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 ลดลงร้อยละ 2.1 ต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีครึ่ง หลังจาก
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้ออาจผ่อนคลายลง ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ย.ที่ชะลอลง
เป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงครั้งใหญ่นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 โดยราคาน้ำมันลดลงถึงร้อยละ 10.3 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเมื่อไม่รวม
ผลิตภัณฑ์น้ำมันในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ส่วนมูลค่าการนำเข้าในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 และ 7.2 ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ส.ค.และ ก.ค.49 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย.ลดลงร้อยละ
0.5 ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 ที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.6 และเป็นการลดลงต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.4 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีทซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์)
2. คาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ก.ย. จะลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 49 ผลการ
สำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 77 คนโดยรอยเตอร์ คาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่ในเดือน ก.ย. จะลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการยังคงไม่มั่นใจ
ในทิศทางตลาดแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงก็ตาม ทั้งนี้คาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่จะมีจำนวนเฉลี่ย 1.640 ล้านหลัง ลดลงจากจำนวน
1.665 ล้านหลังในเดือน ส.ค. ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างมาก และอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่คำขออนุญาตก่อสร้าง
บ้านในเดือน ก.ย. คาดว่าจะมีจำนวน 1.702 ล้านหน่วย ลดลงจากจำนวน 1.722 ล้านหน่วย เดือน ส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี
ทั้งนี้ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ตลาดบ้านขยายตัวอย่างมาก ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันว่า
ตลาดบ้านกำลังชะลอตัวลงจากที่เคยขยายตัวอย่างมากทำสถิติสูงสุด ซึ่งบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
30 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือน ก.ย. อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.40 ลดลงจากร้อยละ 6.52 ในเดือน
ส.ค. เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.08 ลดลงจากร้อยละ 6.20 ในเดือน ส.ค. อย่างไรก็ตามนัก
เศรษฐศาสตร์จำนวนมากมองว่าตลาดบ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการดำเนินนโยบายของ ธ.กลางสรอ. ซึ่งการที่ตลาดบ้านชะลอตัวส่งผลต่อการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าธ.กลางจะนำไปใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายการเงินในการประชุมนโยบายการเงินคราวหน้าในวันที่
24 — 25 ต.ค. นี้ (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียไม่จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการบริโภค รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่
16 ต.ค.49 Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียไม่จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการบริโภค
ภายในประเทศ เนื่องจากดัชนีชี้วัดหลายตัวแสดงให้เห็นว่าการบริโภคกำลังขยายตัวและเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง ส่วนปัจจัยแวดล้อมก็เป็นไปในทิศทาง
ที่ดีมาก ธ.กลางมาเลเซียจึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อผ่อนคลายลงทำให้
มาเลเซียมีช่วงเวลาพอที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคและนักธุรกิจมีการใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียคง
อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในเอเชียในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อเดือนก่อนและส่งสัญญาณ
ว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงแล้ว ด้านผู้ส่งออกของมาเลเซียต้องการให้มีการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก
อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อทดแทนกับแนวโน้มการส่งออกที่ชะลอตัวจากการที่ภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ขะลอตัวลง
(รอยเตอร์)
4. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าชั้นนำในเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.49 ฟื้นตัวหลังจากลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 19 เดือนในเดือน
ส.ค.49 รายงานจากโซลเมื่อ 17 ต.ค.49 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้รายงานยอดขายของห้างสรรพสินค้าชั้นนำ 3 แห่งของเกาหลีใต้คือ
Lotte Shopping Co., Shinsegae Co. Ltd. และ Hyundai Department Store Co. Ltd. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในเดือน
ก.ย.49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 หลังจากลดลงร้อยละ 2.7 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 19 เดือนนับตั้งแต่
เดือน ม.ค.48 ซึ่งลดลงร้อยละ 2.8 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันกันลดราคาสินค้าเมื่อต้นเดือน ก.ย.49 ที่ผ่านมา โดยหลังการประชุมใน
วันที่ 12 ต.ค.49 ที่ผ่านมาซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม ธ.กลางเกาหลีใต้ได้พูดถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของเอเชียว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยจากหลายเดือนก่อนหน้านี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงและ
ความตึงเครียดกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ต.ค. 49 16 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.458 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.257837.5505 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 717.11/15.00 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,400/10,500 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.73 56.77 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 6 ต.ค. 49 25.59*/24.14* 25.59*/24.14* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ออกเกณฑ์ผ่อนผันการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลงนามในประกาศ ธปท.เรื่องผ่อนผันให้ ธพ.มอบอำนาจให้คณะกรรมการสินเชื่อ หรือคณะกรรมการบริหาร
เป็นผู้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อหรือการลงทุนในกิจการที่ ธพ. หรือกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของ ธพ.มีส่วนเกี่ยวข้องในสินเชื่อ 3 ประเภท
จากเดิมที่จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ธพ.อย่างเป็นเอกฉันท์ โดยสินเชื่อ 3 ประเภทที่ได้รับการผ่อนผัน ได้แก่ การให้สินเชื่อหรือลงทุน
ในกิจการที่ ธพ.ถือหุ้นโดยตรงตั้งแต่ร้อยละ 75 ของหุ้นบริษัทที่จำหน่ายออกไปแล้ว ในส่วนของบริษัทลูกที่ทำธุรกิจให้สินเชื่อ รวมถึงสินเชื่อที่ปล่อยให้
หรือลงทุนในบริษัทจำกัดที่ ก.คลัง หรือส่วนราชการมีอำนาจในการควบคุมกิจการหรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นที่ออกจำหน่าย และสินเชื่อที่
ได้รับการผ่อนผันประเภทสุดท้าย คือ การให้สินเชื่อหรือการลงทุนในกิจการที่ ธพ. หรือกรรมการ หรือผู้บริหารระดับสูงของ ธพ. มีผลประโยชน์
เกี่ยวข้อง หรือการให้สินเชื่อกับผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร โดยผ่อนผันเฉพาะลูกค้ารายเดิมที่เคยผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการ
ธพ.มาแล้ว (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ตลาดตราสารหนี้อนุมัติรับพันธบัตร ธปท.เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนมูลค่า 20,000 ล้านบาท ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้
(Bond Electronic Exchange — BEX) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.อนุมัติรับพันธบัตร ซึ่งออกโดยธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดตราสารหนี้จำนวน 1 รุ่น ที่ตราไว้หน่วยละ 1,000 บาท รวมมูลค่า
20,000 ล้านบาท เข้าจดทะเบียนและซื้อขายใน BEX วันที่ 17 ต.ค.49 ทั้งนี้ พันธบัตร ธปท.งวดที่ S3/11/49 ชื่อย่อ “CB06O30A” เป็น
พันธบัตรรุ่นพิเศษระยะสั้น ชุดที่ 2 มูลค่า 20,000 ล้านบาท อายุ 11 วัน ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 30 ต.ค.49 ซึ่งการเข้าจดทะเบียนของพันธบัตร
ธปท.ครั้งนี้ทำให้มูลค่าตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐเพิ่มขึ้นเป็น 3.009 ล้านล้านบาท (ร้อยละ 90.52 ของตราสารหนี้จดทะเบียนใน BEX)
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังเตรียมเสนอ งปม.ปี 50 แบบขาดดุลประมาณ 1 แสนล้านบาทตต่อ ครม.วันนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สรุปกรอบวงเงิน งปม.ปี 50 เสร็จแล้ว ซึ่งจะจัดทำ งปม.แบบขาดดุลร้อยละ 1.5
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) หรือประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยจะเสนอต่อที่ประชุม ครม.วันนี้ (17 ต.ค.49) ทั้งนี้ งปม.รายจ่ายที่จะเสนอ
ครม.อยู่ที่ 1.52 ล้านล้านบาท งปม.รายได้ 1.42 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ งปม.ขาดดุล 1 แสนล้านบาท ขณะที่ส่วนราชการขอเสนอ งปม.เกิน
กว่าที่รัฐบาลจะจัดสรรให้กว่า 4 แสนล้านบาท ส่วนการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล งปม.ปี 50 นั้น สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ยังไม่ได้
จัดทำแผนการกู้เงินดังกล่าว เพราะต้องรอให้ พ.ร.บ. งปม.ปี 50 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งในเบื้องต้นจะกู้เงินในประเทศทั้งหมด
1 แสนล้านบาท โดยออกพันธบัตรระยะยาว (โลกวันนี้)
4. คนไทยเป็นหนี้ปี 49 จำนวน 1.18 แสนบาทต่อครัวเรือน รายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยถึงสรุปผลการสำรวจปี
49 พบว่า ครัวเรือนส่วนบุคคลในประเทศไทยเกินครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 64.7 มีหนี้สินเฉลี่ย 118,434 บาทต่อครัวเรือน คิดเป็น 6.9 เท่า เพิ่มขึ้น
จากปี 47 ร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 ต่อปี โดยร้อยละ 35.2 เป็นการก่อหนี้เพื่อ
ซื้อบ้านและที่ดิน รองลงมาใช้ในการอุปโภคบริโภคร้อยละ 24.6 ใช้ทำธุรกิจร้อยละ 19.9 ใช้ทำการเกษตรร้อยละ 13.8 และหนี้เพื่อการศึกษา
ร้อยละ 3.4 ทั้งนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นภาคที่มีรายได้ต่ำสุด กลับมีอัตราการเพิ่มของหนี้สินสูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ เพิ่มขึ้นร้อยละ
12.3 ต่อปี รองลงมาคือ ภาคใต้ร้อยละ 10.4 กรุงเทพฯ และ 3 จังหวัดโดยรอบ (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
ภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และภาคกลางมีหนี้สินลดลงจากร้อยละ 22.9 เป็นลบร้อยละ 0.9 (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. มูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 ลดลงร้อยละ 2.1 ต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีครึ่ง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ
13 ต.ค.49 ทางการ สรอ.เปิดเผยว่า มูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 ลดลงร้อยละ 2.1 ต่ำสุดในรอบเกือบ 3 ปีครึ่ง หลังจาก
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนว่าผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้ออาจผ่อนคลายลง ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในเดือน ก.ย.ที่ชะลอลง
เป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงครั้งใหญ่นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 โดยราคาน้ำมันลดลงถึงร้อยละ 10.3 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเมื่อไม่รวม
ผลิตภัณฑ์น้ำมันในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ส่วนมูลค่าการนำเข้าในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ก.ย.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เทียบกับที่
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 และ 7.2 ในช่วง 12 เดือนสิ้นสุดเดือน ส.ค.และ ก.ค.49 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือน ก.ย.ลดลงร้อยละ
0.5 ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน พ.ย.48 ที่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.6 และเป็นการลดลงต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
0.4 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จากวอลล์สตรีทซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์)
2. คาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ก.ย. จะลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 49 ผลการ
สำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 77 คนโดยรอยเตอร์ คาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่ในเดือน ก.ย. จะลดลงเนื่องจากผู้ประกอบการยังคงไม่มั่นใจ
ในทิศทางตลาดแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงก็ตาม ทั้งนี้คาดว่ายอดการสร้างบ้านใหม่จะมีจำนวนเฉลี่ย 1.640 ล้านหลัง ลดลงจากจำนวน
1.665 ล้านหลังในเดือน ส.ค. ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้อย่างมาก และอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่คำขออนุญาตก่อสร้าง
บ้านในเดือน ก.ย. คาดว่าจะมีจำนวน 1.702 ล้านหน่วย ลดลงจากจำนวน 1.722 ล้านหน่วย เดือน ส.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี
ทั้งนี้ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ตลาดบ้านขยายตัวอย่างมาก ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องกันว่า
ตลาดบ้านกำลังชะลอตัวลงจากที่เคยขยายตัวอย่างมากทำสถิติสูงสุด ซึ่งบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ
30 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือน ก.ย. อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.40 ลดลงจากร้อยละ 6.52 ในเดือน
ส.ค. เช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.08 ลดลงจากร้อยละ 6.20 ในเดือน ส.ค. อย่างไรก็ตามนัก
เศรษฐศาสตร์จำนวนมากมองว่าตลาดบ้านเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการดำเนินนโยบายของ ธ.กลางสรอ. ซึ่งการที่ตลาดบ้านชะลอตัวส่งผลต่อการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าธ.กลางจะนำไปใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายการเงินในการประชุมนโยบายการเงินคราวหน้าในวันที่
24 — 25 ต.ค. นี้ (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียไม่จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการบริโภค รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่
16 ต.ค.49 Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียไม่จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการบริโภค
ภายในประเทศ เนื่องจากดัชนีชี้วัดหลายตัวแสดงให้เห็นว่าการบริโภคกำลังขยายตัวและเพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง ส่วนปัจจัยแวดล้อมก็เป็นไปในทิศทาง
ที่ดีมาก ธ.กลางมาเลเซียจึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการที่แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อผ่อนคลายลงทำให้
มาเลเซียมีช่วงเวลาพอที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคและนักธุรกิจมีการใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียคง
อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในเอเชียในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อเดือนก่อนและส่งสัญญาณ
ว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงแล้ว ด้านผู้ส่งออกของมาเลเซียต้องการให้มีการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก
อัตราดอกเบี้ยในระดับสูงและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อทดแทนกับแนวโน้มการส่งออกที่ชะลอตัวจากการที่ภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ขะลอตัวลง
(รอยเตอร์)
4. ยอดขายของห้างสรรพสินค้าชั้นนำในเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.49 ฟื้นตัวหลังจากลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 19 เดือนในเดือน
ส.ค.49 รายงานจากโซลเมื่อ 17 ต.ค.49 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้รายงานยอดขายของห้างสรรพสินค้าชั้นนำ 3 แห่งของเกาหลีใต้คือ
Lotte Shopping Co., Shinsegae Co. Ltd. และ Hyundai Department Store Co. Ltd. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในเดือน
ก.ย.49 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 หลังจากลดลงร้อยละ 2.7 ต่อปีในเดือน ส.ค.49 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 19 เดือนนับตั้งแต่
เดือน ม.ค.48 ซึ่งลดลงร้อยละ 2.8 ต่อปี ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแข่งขันกันลดราคาสินค้าเมื่อต้นเดือน ก.ย.49 ที่ผ่านมา โดยหลังการประชุมใน
วันที่ 12 ต.ค.49 ที่ผ่านมาซึ่ง ธ.กลางเกาหลีใต้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม ธ.กลางเกาหลีใต้ได้พูดถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของเอเชียว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยจากหลายเดือนก่อนหน้านี้จากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงและ
ความตึงเครียดกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ต.ค. 49 16 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.458 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.257837.5505 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 717.11/15.00 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,500/10,600 10,400/10,500 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.73 56.77 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 6 ต.ค. 49 25.59*/24.14* 25.59*/24.14* 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--