อุตสาหกรรมเซรามิก
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.01 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.56 และ 0.85 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.05 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.27 และ 8.03 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 43.47 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.16 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.06 และ 6.59 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่าย กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.60 และ 9.99 ตามลำดับ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ซบเซาทั้งปัจจัยจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องใช้กลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า โดยผู้ผลิตหลายรายได้เตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 49
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร แคนาดา เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 160.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ดังตารางที่ 3) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.63 เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลักในการส่งออก ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการขยายตัวลดลง และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ ปีก่อนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.45 จากผลิตภัณฑ์ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารนั้นยังมีแนวโน้มขยายตัวลดลงมาตลอด โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และจีน โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 39.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.84 และ 9.32 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน และนำเข้าอิฐ บล็อก กระเบื้อง ชนิดทนไฟ จากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูการขายแต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนชะลอตัวลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาจากปัจจัยทั้งด้านราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาทางการเมืองที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจ ซื้อ ซึ่งแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศจะยังคงชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจชะลอแผนขยายการลงทุนออกไป และหันไปเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต โดยเจาะตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น
สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกแม้ว่าจะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลงตามไปด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 37.01 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.56 และ 0.85 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.05 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.27 และ 8.03 ตามลำดับ (ดังตาราง ที่ 1 และ 2) ซึ่งการผลิตเซรามิกเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาอย่างต่อเนื่อง
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 43.47 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 1.16 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.06 และ 6.59 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1 และ 2) ซึ่งเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูกาลขาย แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่าย กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.60 และ 9.99 ตามลำดับ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ซบเซาทั้งปัจจัยจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อ
การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องใช้กลยุทธ์ด้านต่าง ๆ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้า โดยผู้ผลิตหลายรายได้เตรียมเปิดตัวสินค้าในงานสถาปนิก’ 49
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราช อาณาจักร แคนาดา เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 160.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ดังตารางที่ 3) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.63 เนื่องจากผลิตภัณฑ์หลักในการส่งออก ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ มีการขยายตัวลดลง และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ ปีก่อนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.45 จากผลิตภัณฑ์ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารนั้นยังมีแนวโน้มขยายตัวลดลงมาตลอด โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และจีน โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 มีมูลค่า 39.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.84 และ 9.32 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ ต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน และนำเข้าอิฐ บล็อก กระเบื้อง ชนิดทนไฟ จากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นตามตลาดในช่วงฤดูการขายแต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนชะลอตัวลงตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาจากปัจจัยทั้งด้านราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาทางการเมืองที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจ ซื้อ ซึ่งแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศจะยังคงชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการบางรายตัดสินใจชะลอแผนขยายการลงทุนออกไป และหันไปเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าด้วยดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการผลิต โดยเจาะตลาดปรับปรุงและซ่อมแซมบ้านเก่ามากขึ้น
สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกแม้ว่าจะยังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดกลับมีแนวโน้มขยายตัวลดลง โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้ อาจส่งผลให้มูลค่าการส่งออกโดยรวมของผลิตภัณฑ์เซรามิกลดลงตามไปด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-