ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคตว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันเริ่มลดลง ประกอบกับสงครามในตะวันออกกลางเริ่มมีทีท่าจะคลี่คลายลง จึงคาดว่าหากใน
ช่วง 6 เดือนข้างหน้า ราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดูอัตราเงินเฟ้อมีความผันผวนน้อยลง ประกอบกับก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ได้ประเมินไว้ว่า สรอ.มีแนวโน้มจะเริ่มยุติการปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ ธปท.อาจมีการพิจารณาปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลง (ผู้จัดการรายวัน)
2. ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผลผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อราคาน้ำมันและความผันผวนของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา พบว่า
อุตสาหกรรมประมงได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน เพราะมีต้นทุนจากราคาน้ำมันถึง 60-70% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขนส่งสินค้า ซบเซาตามภาวะ
เศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้างและสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนภาคการเงินการธนาคารพบว่าสินเชื่อในช่วงครึ่งปีแรกต่ำกว่า
เป้าหมาย โดยสินเชื่อที่ยังขยายตัวดีคือ กลุ่มสินเชื่อเพื่อการบริโภค ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อธุรกิจมีแนวโน้มชะลอตัว ส่วนสินเชื่อเพื่อการ
ลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ เห็นสัญญาณการชะลอลง และเริ่มมีสัญญาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี (มติชน)
3. ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานทุนสำรองระหว่าง
ประเทศ ณ วันที่ 18 ส.ค.49 ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 59,900 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงสุดเป็น
ประวัติการณ์ เป็นผลจากเงินทุนไหลเข้า และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตีมูลค่าสินทรัพย์จากสกุลเงินต่างๆ ในตะกร้าเงิน ซึ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ
ดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท.คาดว่าค่าเงินบาทจะยังคงผันผวนในทิศทางแข็งค่า
ไปจนถึงปีหน้า จึงจำเป็นที่ ธปท.ต้องเข้าไปดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้แกว่งตัวมากเกินไป จนกระทบต่อการส่งออกที่เป็นปัจจัยสำคัญในการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้และต่อเนื่องถึงปีหน้า (ไทยโพสต์ 26)
4. คาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมปี 49 จะขยายตัวลดลงจากปีก่อน ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการวิเคราะห์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ไทยปี 49 โดยคาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมเฉลี่ยทั้งปีจะขยายตัวอยู่ที่ 6.18% ลดลงจากปีก่อนที่ระดับ 8.77% เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญปัจจัย
เสี่ยงทั้งปัญหาการเมือง ราคาน้ำมัน ดอกเบี้ยสูงต่อเนื่อง เงินบาทแข็งค่า และปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ ส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมลดลงตามทิศทางการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและจะกระทบต่อเนื่องไปถึงปี 50 สำหรับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาอย่างต่อเนื่องคือ อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาค
เอกชน รวมทั้งปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมช่วง 6 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 7.55% มูลค่าการส่งออก
ขยายตัว 16.6% โดยมีอุตสาหกรรมยานยนต์กับอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวผลักดัน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.49 จะชะลอตัวลง
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 25 ส.ค. 49 ประมาณการเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีซึ่งได้จากการรวบรวมตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของรัฐทั้ง
6 รัฐชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.49 ชะลอตัวลงเกินกว่าที่คาดไว้โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 1.7 ต่อปี ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยหากคำนวณตามวิธีการของสหภาพยุโรปแล้ว อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ส.ค.49 จะชะลอตัวลงร้อยละ
0.2 เป็นร้อยละ 1.9 ต่อปี ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.49 ทั้งนี้เป็นผลจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่ลดลงร้อยละ 4.3 และ 5.1 ตามลำดับ
และจากการที่ตัวเลขของเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรปมีสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปหรือ Euro zone นักวิเคราะห์จึงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ส.ค.49 ซึ่งมีกำหนดจะรายงานตัวเลขเบื้องต้นในวันที่
31 ส.ค.49 นี้จะลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.1 เป็นร้อยละ 2.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์
คาดว่าการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในต้นปี 50 จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ
2.0 ต่อปีในเดือน ม.ค.50 (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี ที่ร้อยละ 3.9 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
28 ส.ค.49 บริษัทที่ปรึกษาที่อยู่อาศัย Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ร้อยละ
3.9 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 อนึ่ง การประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษ
เมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา (3 ส.ค.49) สร้างความประหลาดใจอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและระดับกิจกรรมความเคลื่อนไหว
ของตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ผลสำรวจของ บ. Hometrack ครอบคลุม 16 วันแรกของเดือน สำหรับราคาบ้านในอังกฤษเมื่อเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 167,200 ปอนด์ ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 4 เดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ ตัวเลขชี้วัดดังกล่าว
ยังไม่ได้ปรับปัจจัยความผันผวนทางฤดูกาล (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ปี 50 จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 4.5 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาลหีใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค.49
Kwon O-kyo รมว.คลังของเกาหลีใต้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 50 อาจจะขยายตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 4.5 จากที่
คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อย 5.1 ในปีนี้ โดยสถานการณ์ในปีหน้าจะมีความยุ่งยากมากขึ้น ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของ
สำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่า เศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะเติบโตลดลงอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.6 ในปี 50 โดยเป็นผลมาจากความต้องการ
บริโภคสินค้าทั้งในและนอกประเทศชะลอตัวลง รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศทั่วโลก ด้าน ธ.กลางของเกาหลีใต้พยากรณ์ว่า
เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อปี 48 เทียบกับเป้าหมายปีนี้ที่ ก.คลังตั้งไว้ที่ร้อยละ 5.1 ทั้งนี้
ธ.กลางเกาหลีใต้ยังกล่าวว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะชะลอตัว ขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีที่
ร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 จะสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค. จะลดลงเนื่องจากผลผลิตเทคโนโลยีลดลง รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่
25 ส.ค. 49 ผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ในเดือน ก.ค. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์จะชะลอตัวหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในเดือน มิ.ย. เนื่องจากผลผลิตในภาคอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงจากปริมาณความต้องการสินค้าของสรอ. ลดลง โดยคาดว่าผลผลิตโรงงานใน
เดือน ก.ค. จะชะลอลงเฉลี่ยร้อยละ 7.0 จากที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเกือบร้อยละ 20 ในเดือน มิ.ย. และเมื่อเทียบต่อปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.4 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ในเดือน มิ.ย. นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ดัชนี book-to-bill สำหรับ
เซมิคอนดัคเตอร์ซึ่งเป็นตัวเลขชี้วัดภาคเทคโนโลยีในเมืองในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 1.06 ลดลงจาก 1.14 ในเดือน มิ.ย. ส่งสัญญานอย่างชัดเจน
ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนที่ดัชนี book-to-bill ลดลง ทั้งนี้ Lim Su Sian
นักเศรษฐศาสตร์จาก DBS Bank กล่าวว่าการลดลงของสัดส่วน book-to-bill ดังกล่าวทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังปีนี้ภาคอิเล็กทรอนิกส์จะ
ชะลอตัว ทั้งนี้ สรอ. เป็นตลาดส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของสิงคโปร์รองจากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้า
เทคโนโลยีที่สำคัญของสิงคโปร์ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์เป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของ GDP ของ
ประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ส.ค. 49 25 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.671 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.4647/37.7650 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1175 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 689.13/9.05 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,050/11,150 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.08 68.58 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ส.ค. 49 28.99*/27.54 29.39*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในอนาคตว่า ขณะนี้ราคาน้ำมันเริ่มลดลง ประกอบกับสงครามในตะวันออกกลางเริ่มมีทีท่าจะคลี่คลายลง จึงคาดว่าหากใน
ช่วง 6 เดือนข้างหน้า ราคาน้ำมันซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดูอัตราเงินเฟ้อมีความผันผวนน้อยลง ประกอบกับก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ได้ประเมินไว้ว่า สรอ.มีแนวโน้มจะเริ่มยุติการปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ ธปท.อาจมีการพิจารณาปรับลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลง (ผู้จัดการรายวัน)
2. ผลการสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผลผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อราคาน้ำมันและความผันผวนของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา พบว่า
อุตสาหกรรมประมงได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน เพราะมีต้นทุนจากราคาน้ำมันถึง 60-70% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมขนส่งสินค้า ซบเซาตามภาวะ
เศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้างและสินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนภาคการเงินการธนาคารพบว่าสินเชื่อในช่วงครึ่งปีแรกต่ำกว่า
เป้าหมาย โดยสินเชื่อที่ยังขยายตัวดีคือ กลุ่มสินเชื่อเพื่อการบริโภค ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อธุรกิจมีแนวโน้มชะลอตัว ส่วนสินเชื่อเพื่อการ
ลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ เห็นสัญญาณการชะลอลง และเริ่มมีสัญญาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เกิดขึ้นในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี (มติชน)
3. ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานทุนสำรองระหว่าง
ประเทศ ณ วันที่ 18 ส.ค.49 ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 59,900 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงสุดเป็น
ประวัติการณ์ เป็นผลจากเงินทุนไหลเข้า และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตีมูลค่าสินทรัพย์จากสกุลเงินต่างๆ ในตะกร้าเงิน ซึ่งแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ
ดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธปท.คาดว่าค่าเงินบาทจะยังคงผันผวนในทิศทางแข็งค่า
ไปจนถึงปีหน้า จึงจำเป็นที่ ธปท.ต้องเข้าไปดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้แกว่งตัวมากเกินไป จนกระทบต่อการส่งออกที่เป็นปัจจัยสำคัญในการ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้และต่อเนื่องถึงปีหน้า (ไทยโพสต์ 26)
4. คาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมปี 49 จะขยายตัวลดลงจากปีก่อน ปลัด ก.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการวิเคราะห์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ไทยปี 49 โดยคาดว่าดัชนีอุตสาหกรรมเฉลี่ยทั้งปีจะขยายตัวอยู่ที่ 6.18% ลดลงจากปีก่อนที่ระดับ 8.77% เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมต้องเผชิญปัจจัย
เสี่ยงทั้งปัญหาการเมือง ราคาน้ำมัน ดอกเบี้ยสูงต่อเนื่อง เงินบาทแข็งค่า และปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกรอบใหม่ ส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมลดลงตามทิศทางการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและจะกระทบต่อเนื่องไปถึงปี 50 สำหรับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาอย่างต่อเนื่องคือ อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของภาค
เอกชน รวมทั้งปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมช่วง 6 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ 7.55% มูลค่าการส่งออก
ขยายตัว 16.6% โดยมีอุตสาหกรรมยานยนต์กับอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวผลักดัน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ตัวเลขเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.49 จะชะลอตัวลง
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 25 ส.ค. 49 ประมาณการเบื้องต้นอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีซึ่งได้จากการรวบรวมตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของรัฐทั้ง
6 รัฐชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ส.ค.49 ชะลอตัวลงเกินกว่าที่คาดไว้โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 1.7 ต่อปี ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยหากคำนวณตามวิธีการของสหภาพยุโรปแล้ว อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ส.ค.49 จะชะลอตัวลงร้อยละ
0.2 เป็นร้อยละ 1.9 ต่อปี ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.49 ทั้งนี้เป็นผลจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่ลดลงร้อยละ 4.3 และ 5.1 ตามลำดับ
และจากการที่ตัวเลขของเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรปมีสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของเขตเศรษฐกิจ
ยุโรปหรือ Euro zone นักวิเคราะห์จึงคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ส.ค.49 ซึ่งมีกำหนดจะรายงานตัวเลขเบื้องต้นในวันที่
31 ส.ค.49 นี้จะลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.1 เป็นร้อยละ 2.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์
คาดว่าการขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในต้นปี 50 จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ
2.0 ต่อปีในเดือน ม.ค.50 (รอยเตอร์)
2. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี ที่ร้อยละ 3.9 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
28 ส.ค.49 บริษัทที่ปรึกษาที่อยู่อาศัย Hometrack เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ร้อยละ
3.9 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ย.47 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 อนึ่ง การประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางอังกฤษ
เมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา (3 ส.ค.49) สร้างความประหลาดใจอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและระดับกิจกรรมความเคลื่อนไหว
ของตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ผลสำรวจของ บ. Hometrack ครอบคลุม 16 วันแรกของเดือน สำหรับราคาบ้านในอังกฤษเมื่อเทียบต่อเดือนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.4 หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 167,200 ปอนด์ ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 4 เดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ ตัวเลขชี้วัดดังกล่าว
ยังไม่ได้ปรับปัจจัยความผันผวนทางฤดูกาล (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจเกาหลีใต้ปี 50 จะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 4.5 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาลหีใต้ เมื่อวันที่ 28 ก.ค.49
Kwon O-kyo รมว.คลังของเกาหลีใต้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในปี 50 อาจจะขยายตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 4.5 จากที่
คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อย 5.1 ในปีนี้ โดยสถานการณ์ในปีหน้าจะมีความยุ่งยากมากขึ้น ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของ
สำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่า เศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะเติบโตลดลงอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 4.6 ในปี 50 โดยเป็นผลมาจากความต้องการ
บริโภคสินค้าทั้งในและนอกประเทศชะลอตัวลง รวมทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศทั่วโลก ด้าน ธ.กลางของเกาหลีใต้พยากรณ์ว่า
เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.0 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อปี 48 เทียบกับเป้าหมายปีนี้ที่ ก.คลังตั้งไว้ที่ร้อยละ 5.1 ทั้งนี้
ธ.กลางเกาหลีใต้ยังกล่าวว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะชะลอตัว ขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 5 ปีที่
ร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 จะสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค. จะลดลงเนื่องจากผลผลิตเทคโนโลยีลดลง รายงานจากสิงคโปร์เมื่อวันที่
25 ส.ค. 49 ผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ในเดือน ก.ค. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์จะชะลอตัวหลังจากที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในเดือน มิ.ย. เนื่องจากผลผลิตในภาคอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงจากปริมาณความต้องการสินค้าของสรอ. ลดลง โดยคาดว่าผลผลิตโรงงานใน
เดือน ก.ค. จะชะลอลงเฉลี่ยร้อยละ 7.0 จากที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเกือบร้อยละ 20 ในเดือน มิ.ย. และเมื่อเทียบต่อปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.4 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ในเดือน มิ.ย. นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ดัชนี book-to-bill สำหรับ
เซมิคอนดัคเตอร์ซึ่งเป็นตัวเลขชี้วัดภาคเทคโนโลยีในเมืองในเดือน ก.ค. อยู่ที่ 1.06 ลดลงจาก 1.14 ในเดือน มิ.ย. ส่งสัญญานอย่างชัดเจน
ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนที่ดัชนี book-to-bill ลดลง ทั้งนี้ Lim Su Sian
นักเศรษฐศาสตร์จาก DBS Bank กล่าวว่าการลดลงของสัดส่วน book-to-bill ดังกล่าวทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังปีนี้ภาคอิเล็กทรอนิกส์จะ
ชะลอตัว ทั้งนี้ สรอ. เป็นตลาดส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของสิงคโปร์รองจากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้า
เทคโนโลยีที่สำคัญของสิงคโปร์ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสิงคโปร์เป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของ GDP ของ
ประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 ส.ค. 49 25 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.671 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.4647/37.7650 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1175 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 689.13/9.05 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,050/11,150 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.08 68.58 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 26 ส.ค. 49 28.99*/27.54 29.39*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--