ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การนำข้อมูลลูกค้าเข้าเครดิตบูโรควรพิจารณาอย่างรอบคอบ นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน
ธปท. กล่าวว่า การที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) จะนำข้อมูลลูกค้าที่ค้างจ่ายค่าโทรศัพท์และเช็คเข้าไปในเครดิตบูโรควรพิจารณา
อย่างรอบคอบ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นผลเสียกับระบบ เพราะปกติแล้วลูกหนี้สินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ที่จะส่งไปขึ้นบัญชีเครดิตบูโรต้องเป็นเอ็นพีแอลหรือค้าง
ชำระเกิน 3 เดือน คงตัดสินไม่ได้ด้วยเหตุผลแค่ค้างจ่ายค่าโทรศัพท์เท่านั้น แต่ควรมีเงื่อนไขที่ดีพอ เช่น ถ้าค้างจ่าย 1 เดือน ก็ไม่น่าจะส่งเข้า
เครดิตบูโรทันที เพราะถ้าไม่จ่ายค่าโทรศัพท์หรือค่าสาธารณูปโภค ทางผู้ให้บริการก็จะมีมาตรการในการตัดการให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะไม่จำ
เป็นต้องส่งรายชื่อก็ได้ หรือถ้าส่งไปแล้วก็ต้องมีระบบที่ให้ประชาชนออกมาได้ และสามารถกู้หรือมีเครดิตในระบบสถาบันการเงินด้วย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ส่งข้อมูลตรวจสอบเอสเอ็มอีแบงก์ให้ ก.คลังแล้ว นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้เข้าไปตรวจสอบบัญชีของ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่ง
รายงานข้อมูลทั้งหมดไปให้ ก.คลังเมื่อ 1 เดือนก่อน แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดที่ตรวจสอบแล้วพบการปล่อยกู้ผิดปกติหรือเกี่ยวข้องกับ
นักการเมืองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ก.คลังจะดำเนินการต่อไป โดย ธปท. ไม่ได้เจาะจงตรวจเรื่องเอ็นพีแอลจะสูงหรือต่ำ เพราะเอสเอ็มอีแบงก์จำ
เป็นต้องปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลจนทำให้มีเอ็นพีแอลสูงหรือไม่ แต่สิ่งที่ ธปท. ดูและให้ความสำคัญตามหลักการปล่อยกู้คือ
การปล่อยกู้ที่รอบคอบ มีความระมัดระวัง ปล่อยแบบมืออาชีพหรือไม่ เพราะถ้าทำเช่นนี้แล้วยังมีหนี้เสียมากเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ที่ตรวจไปแล้ว
ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทั้งนี้ การปล่อยกู้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ต้องยอมรับว่า ธ.พาณิชย์ก็พิจารณารอบคอบตามหลักเกณฑ์แล้ว แต่เกิดปัญหา
เศรษฐกิจภาพรวมทำให้เงินกู้ที่ปล่อยไปกลายเป็นเอ็นพีแอลทั้งระบบ ซึ่งอย่างนี้ไม่เป็นไร เพราะเป็นภาวะที่สุดวิสัยและเป็นทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม
การตรวจสอบบัญชีของเอสเอ็มอีแบงก์เป็นการตรวจตามวาระปกติทุกปี ไม่ได้เข้าไปตรวจเพราะมีเอ็นพีแอลสูงหรือเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล
โดยการดูว่าเอ็นพีแอลร้อยละ 20 ของเอสเอ็มอีแบงก์สูงไปไหมก็ต้องดูว่าปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยเท่าไร เพราะถ้าสมมติปล่อยกู้ดอกเบี้ยร้อยละ
10 ต่อปี แต่หนี้เสียสูงเกินรายได้หรือดอกเบี้ยที่จะได้รับแล้วธนาคารจะอยู่อย่างไร (โพสต์ทูเดย์)
3. ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจไทยปี 50 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ธนาคารโลกระบุในรายงานภาพรวมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกโดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.6 แต่ภาคการส่งออกจะชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เริ่มซบเซา
ในปีหน้า ส่วนในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในระดับร้อยละ 4.5 โดยปัจจัยหลักมาจากแรงหนุนของภาคการส่งออก แม้ว่าความต้องการภาย
ในประเทศจะชะลอตัวลงตลอดทั้งปี เนื่องจากภาวะราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนทางการเมือง
ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งอัตราการขยายตัวให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อลดระดับความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม โดยอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมีปัจจัยมาจากการปรับราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพิ่มปริมาณการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต นอกจากนี้
ไทยยังจำเป็นต้องลดระเบียบทางการค้า ปรับปรุงทักษะของแรงงานให้เทียบเท่ากับแรงงานในจีน เวียดนาม อินเดีย และประเทศคู่แข่งอื่น
รวมถึงการถือครองสินทรัพย์ของชาวต่างชาติ และเร่งหาข้อสรุปให้กับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่นและ สรอ. (โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. เงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 8 ปี นักค้าเงินจาก ธ.พาณิชย์เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.) ค่าเงินบาทในระหว่างการ
ซื้อขายแข็งค่าสุดที่ระดับ 36.38 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าสูงสุดในช่วงเกือบ 8 ปี แต่ได้ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาปิดตลาดที่
36.40 — 36.43 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเงินบาทแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวแข็งค่าเช่นเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากทางการจีน
ออกมาระบุว่าจะปรับสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ในทุนสำรองระหว่างประเทศ ด้าน รมว.คลัง กล่าวว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง
จะกระทบกับการส่งออก เนื่องจากไทยลอยตัวค่าเงินบาทแล้วทำให้กระทบกับเศรษฐกิจบ้าง แม้ว่า ธปท. จะเข้าไปดูแล แต่หากไม่ขยับบ้างก็คงจาก
อย่างไรก็ตาม ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาการส่งออกขยายตัวร้อยละ 16.3 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจับตาดูสถานการณ์
อย่างใกล้ชิดแล้ว ส่วน น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย คาดว่าการส่งออกในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ
6 จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปีหน้าอีก 1.00 — 1.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจะกระทบกับการส่งออก
ของไทย (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 ลดลงระดับเดียวกับ 5 ปีก่อนที่ร้อยละ 1.6 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
14 พ.ย.49 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. (ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดด้านราคาของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม)
ในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นการลดลงอยู่ในระดับเดียวกับเมื่อเดือน ต.ค.44 และหากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานแล้ว
ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.9 ตั้งแต่เดือน ส.ค.36 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ สรอ.ยังรายงานตัวเลขยอดขายปลีกในเดือน
ต.ค.49 ว่า ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันลดลงแต่
การลดลงของการใช้จ่ายของผู้บริโภคไม่ว่าด้านใดก็ตาม จะทำให้ตลาดการเงินเกิดความกังวล เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคคิดเป็นสัดส่วนถึง
2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม บริษัทใหญ่ในวอลล์สตรีทกล่าวว่าการที่ผู้บริโภคควบคุมการใช้จ่าย ทำให้ต้องลดตัวเลข
การเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ.ลง โดย Goldman Sachs คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.จะขยายตัวร้อยละ
2 ในไตรมาส 4 ของปีนี้ และขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรกของปี 50 (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของจีนในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.3 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 49
ทางการจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. ยอดค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.3 แสดงถึงการใช้จ่ายมี
แนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมากกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดค้าปลีกในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 14.0
จากร้อยละ 13.9 ในเดือน ก.ย. ทั้งนี้การขยายตัวของยอดค้าปลีกเป็นไปอย่างแข็งแกร่งที่สุดในปีนี้เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วและ
ต่อเนื่องของรายได้ และมาตรการของรัฐบาลจีน อาทิการยกเว้นภาษีในแถบชนบทเพื่อให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนและการใช้จ่ายในชนบท
ซึ่งนักวิเคราะห์จากหลักทรัพย์ CITIC ในปักกิ่งกล่าวว่า การขยายตัวของยอดค้าปลีกอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องให้ความระมัดระวัง
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับการส่งออก และการลงทุน การบริโภคยังคงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร คาดว่าการเพิ่มขึ้นเพียง
ไม่มากเช่นนี้จะไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ ขณะที่ JPMorgan กล่าวว่า การขยายตัวของรายได้ ประกอบกับการปฏิรูป
โครงสร้างพื้นฐานทางชนบทและเครือข่ายประกันสังคมของทางการจีนจะช่วยส่งเสริมการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของ
ยอดค้าปลีกยังคงมีข้อจำกัดเนื่องจากประชาชนวิตกเกี่ยวกับต้นทุนทางการศึกษาและสุขภาพที่สูงขึ้น ขณะที่การบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่องเริ่มมี
สัญญานภาวะเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายลงทุนขยายตัวอย่างรวดเร็วส่งผลให้การเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นทำให้ยากที่ธ.กลางจะจัดการอุปทานของเงิน
ทั้งนี้ในเดือน ต.ค. จีนเกินดุลการค้าที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดถึง 23.83 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. แนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนียังสดใสแม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 49 ชะลอตัวลง รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 14 พ.ย.49
สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 49 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.6 หลังจากขยายตัวร้อยละ
1.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 49 ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 43 และขยายตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรกปี 49 โดย
เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน นับเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา
ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกและการบริโภคและการลงทุนในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การลงทุนและการจ้างงานขยายตัว
ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า นักวิเคราะห์จึงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ โดยก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดว่าการขึ้นภาษีที่เรียกเก็บ
จากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในปี 50 ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะส่งผลให้การบริโภคในประเทศซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60
ของระบบเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งนี้รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 1.8 และคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 2.6 ในปี 49 สูงสุด
ในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ต.ค.49 คงที่ที่ระดับร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 14 พ.ย.49
The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบ
ต่อเดือน และคงที่ที่ระดับร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 โดยข้อมูล
ดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวนับเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษไม่เร่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ทั้งนี้ ONS กล่าวว่า การ
เพิ่มอัตราค่าบำรุงการศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 แต่ก็ยังคงต่ำกว่าที่
ธ.กลางอังกฤษเคยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.25 อย่างไรก็ตาม การลดลงอย่างมากของต้นทุนการขนส่ง สามารถบรรเทา
ผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราค่าบำรุงการศึกษาต่อดัชนีราคาผู้บริโภคได้ สำหรับดัชนีราคาขายปลีก (Retail price inflation) กลับเพิ่มขึ้น
ที่ระดับร้อยละ 3.7 สูงสุดในรอบกว่า 8 ปี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ทางการอังกฤษกำหนดมาตรการในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของรายได้ เพื่อรักษา
ระดับอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 โดยอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษได้เพิ่มขึ้นเหนือระดับเป้าหมายมาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 พ.ย. 49 14 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.427 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.2360/36.5273 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.87/20.48 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.46 56.8 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. การนำข้อมูลลูกค้าเข้าเครดิตบูโรควรพิจารณาอย่างรอบคอบ นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน
ธปท. กล่าวว่า การที่บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) จะนำข้อมูลลูกค้าที่ค้างจ่ายค่าโทรศัพท์และเช็คเข้าไปในเครดิตบูโรควรพิจารณา
อย่างรอบคอบ ไม่เช่นนั้นอาจเป็นผลเสียกับระบบ เพราะปกติแล้วลูกหนี้สินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ที่จะส่งไปขึ้นบัญชีเครดิตบูโรต้องเป็นเอ็นพีแอลหรือค้าง
ชำระเกิน 3 เดือน คงตัดสินไม่ได้ด้วยเหตุผลแค่ค้างจ่ายค่าโทรศัพท์เท่านั้น แต่ควรมีเงื่อนไขที่ดีพอ เช่น ถ้าค้างจ่าย 1 เดือน ก็ไม่น่าจะส่งเข้า
เครดิตบูโรทันที เพราะถ้าไม่จ่ายค่าโทรศัพท์หรือค่าสาธารณูปโภค ทางผู้ให้บริการก็จะมีมาตรการในการตัดการให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะไม่จำ
เป็นต้องส่งรายชื่อก็ได้ หรือถ้าส่งไปแล้วก็ต้องมีระบบที่ให้ประชาชนออกมาได้ และสามารถกู้หรือมีเครดิตในระบบสถาบันการเงินด้วย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ส่งข้อมูลตรวจสอบเอสเอ็มอีแบงก์ให้ ก.คลังแล้ว นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้เข้าไปตรวจสอบบัญชีของ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และส่ง
รายงานข้อมูลทั้งหมดไปให้ ก.คลังเมื่อ 1 เดือนก่อน แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดที่ตรวจสอบแล้วพบการปล่อยกู้ผิดปกติหรือเกี่ยวข้องกับ
นักการเมืองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ก.คลังจะดำเนินการต่อไป โดย ธปท. ไม่ได้เจาะจงตรวจเรื่องเอ็นพีแอลจะสูงหรือต่ำ เพราะเอสเอ็มอีแบงก์จำ
เป็นต้องปล่อยกู้ให้ผู้ประกอบการเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลจนทำให้มีเอ็นพีแอลสูงหรือไม่ แต่สิ่งที่ ธปท. ดูและให้ความสำคัญตามหลักการปล่อยกู้คือ
การปล่อยกู้ที่รอบคอบ มีความระมัดระวัง ปล่อยแบบมืออาชีพหรือไม่ เพราะถ้าทำเช่นนี้แล้วยังมีหนี้เสียมากเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ที่ตรวจไปแล้ว
ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ทั้งนี้ การปล่อยกู้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ต้องยอมรับว่า ธ.พาณิชย์ก็พิจารณารอบคอบตามหลักเกณฑ์แล้ว แต่เกิดปัญหา
เศรษฐกิจภาพรวมทำให้เงินกู้ที่ปล่อยไปกลายเป็นเอ็นพีแอลทั้งระบบ ซึ่งอย่างนี้ไม่เป็นไร เพราะเป็นภาวะที่สุดวิสัยและเป็นทั้งระบบ อย่างไรก็ตาม
การตรวจสอบบัญชีของเอสเอ็มอีแบงก์เป็นการตรวจตามวาระปกติทุกปี ไม่ได้เข้าไปตรวจเพราะมีเอ็นพีแอลสูงหรือเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล
โดยการดูว่าเอ็นพีแอลร้อยละ 20 ของเอสเอ็มอีแบงก์สูงไปไหมก็ต้องดูว่าปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยเท่าไร เพราะถ้าสมมติปล่อยกู้ดอกเบี้ยร้อยละ
10 ต่อปี แต่หนี้เสียสูงเกินรายได้หรือดอกเบี้ยที่จะได้รับแล้วธนาคารจะอยู่อย่างไร (โพสต์ทูเดย์)
3. ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจไทยปี 50 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ธนาคารโลกระบุในรายงานภาพรวมเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกโดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.6 แต่ภาคการส่งออกจะชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เริ่มซบเซา
ในปีหน้า ส่วนในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในระดับร้อยละ 4.5 โดยปัจจัยหลักมาจากแรงหนุนของภาคการส่งออก แม้ว่าความต้องการภาย
ในประเทศจะชะลอตัวลงตลอดทั้งปี เนื่องจากภาวะราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น มีแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนทางการเมือง
ซึ่งไทยจำเป็นต้องเร่งอัตราการขยายตัวให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อลดระดับความยากจนและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม โดยอัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นมีปัจจัยมาจากการปรับราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพิ่มปริมาณการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต นอกจากนี้
ไทยยังจำเป็นต้องลดระเบียบทางการค้า ปรับปรุงทักษะของแรงงานให้เทียบเท่ากับแรงงานในจีน เวียดนาม อินเดีย และประเทศคู่แข่งอื่น
รวมถึงการถือครองสินทรัพย์ของชาวต่างชาติ และเร่งหาข้อสรุปให้กับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่นและ สรอ. (โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. เงินบาทแข็งค่าสูงสุดในรอบ 8 ปี นักค้าเงินจาก ธ.พาณิชย์เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.) ค่าเงินบาทในระหว่างการ
ซื้อขายแข็งค่าสุดที่ระดับ 36.38 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าสูงสุดในช่วงเกือบ 8 ปี แต่ได้ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยมาปิดตลาดที่
36.40 — 36.43 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเงินบาทแข็งค่าตามค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวแข็งค่าเช่นเดียวกันทั้งหมด เนื่องจากทางการจีน
ออกมาระบุว่าจะปรับสัดส่วนการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ในทุนสำรองระหว่างประเทศ ด้าน รมว.คลัง กล่าวว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง
จะกระทบกับการส่งออก เนื่องจากไทยลอยตัวค่าเงินบาทแล้วทำให้กระทบกับเศรษฐกิจบ้าง แม้ว่า ธปท. จะเข้าไปดูแล แต่หากไม่ขยับบ้างก็คงจาก
อย่างไรก็ตาม ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมาการส่งออกขยายตัวร้อยละ 16.3 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจับตาดูสถานการณ์
อย่างใกล้ชิดแล้ว ส่วน น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย คาดว่าการส่งออกในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ
6 จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าในปีหน้าอีก 1.00 — 1.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งจะกระทบกับการส่งออก
ของไทย (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 ลดลงระดับเดียวกับ 5 ปีก่อนที่ร้อยละ 1.6 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
14 พ.ย.49 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. (ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดด้านราคาของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม)
ในเดือน ต.ค.49 ลดลงร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นการลดลงอยู่ในระดับเดียวกับเมื่อเดือน ต.ค.44 และหากไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานแล้ว
ดัชนีราคาผู้ผลิตลดลงร้อยละ 0.9 ตั้งแต่เดือน ส.ค.36 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ สรอ.ยังรายงานตัวเลขยอดขายปลีกในเดือน
ต.ค.49 ว่า ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.8 ในเดือน ก.ย.49 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้บริโภคมีค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันลดลงแต่
การลดลงของการใช้จ่ายของผู้บริโภคไม่ว่าด้านใดก็ตาม จะทำให้ตลาดการเงินเกิดความกังวล เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคคิดเป็นสัดส่วนถึง
2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สรอ. อย่างไรก็ตาม บริษัทใหญ่ในวอลล์สตรีทกล่าวว่าการที่ผู้บริโภคควบคุมการใช้จ่าย ทำให้ต้องลดตัวเลข
การเติบโตทางเศรษฐกิจของ สรอ.ลง โดย Goldman Sachs คาดการณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของ สรอ.จะขยายตัวร้อยละ
2 ในไตรมาส 4 ของปีนี้ และขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรกของปี 50 (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของจีนในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.3 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 49
ทางการจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. ยอดค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็วเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.3 แสดงถึงการใช้จ่ายมี
แนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมากกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดว่ายอดค้าปลีกในเดือน ต.ค. จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 14.0
จากร้อยละ 13.9 ในเดือน ก.ย. ทั้งนี้การขยายตัวของยอดค้าปลีกเป็นไปอย่างแข็งแกร่งที่สุดในปีนี้เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วและ
ต่อเนื่องของรายได้ และมาตรการของรัฐบาลจีน อาทิการยกเว้นภาษีในแถบชนบทเพื่อให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนและการใช้จ่ายในชนบท
ซึ่งนักวิเคราะห์จากหลักทรัพย์ CITIC ในปักกิ่งกล่าวว่า การขยายตัวของยอดค้าปลีกอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องให้ความระมัดระวัง
อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับการส่งออก และการลงทุน การบริโภคยังคงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร คาดว่าการเพิ่มขึ้นเพียง
ไม่มากเช่นนี้จะไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ ขณะที่ JPMorgan กล่าวว่า การขยายตัวของรายได้ ประกอบกับการปฏิรูป
โครงสร้างพื้นฐานทางชนบทและเครือข่ายประกันสังคมของทางการจีนจะช่วยส่งเสริมการบริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตามการขยายตัวของ
ยอดค้าปลีกยังคงมีข้อจำกัดเนื่องจากประชาชนวิตกเกี่ยวกับต้นทุนทางการศึกษาและสุขภาพที่สูงขึ้น ขณะที่การบริโภคขยายตัวอย่างต่อเนื่องเริ่มมี
สัญญานภาวะเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายลงทุนขยายตัวอย่างรวดเร็วส่งผลให้การเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นทำให้ยากที่ธ.กลางจะจัดการอุปทานของเงิน
ทั้งนี้ในเดือน ต.ค. จีนเกินดุลการค้าที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดถึง 23.83 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
3. แนวโน้มเศรษฐกิจเยอรมนียังสดใสแม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 49 ชะลอตัวลง รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 14 พ.ย.49
สนง.สถิติกลางของเยอรมนีรายงานเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปี 49 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วขยายตัวร้อยละ 0.6 หลังจากขยายตัวร้อยละ
1.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 49 ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ปี 43 และขยายตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรกปี 49 โดย
เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน นับเป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา
ทั้งนี้เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกและการบริโภคและการลงทุนในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การลงทุนและการจ้างงานขยายตัว
ต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า นักวิเคราะห์จึงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ โดยก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดว่าการขึ้นภาษีที่เรียกเก็บ
จากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 ในปี 50 ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะส่งผลให้การบริโภคในประเทศซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60
ของระบบเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งนี้รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 1.8 และคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 2.6 ในปี 49 สูงสุด
ในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ต.ค.49 คงที่ที่ระดับร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 14 พ.ย.49
The Office for National Statistics (ONS) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบ
ต่อเดือน และคงที่ที่ระดับร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบต่อปี ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าดัชนีจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.6 โดยข้อมูล
ดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวนับเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้ ธ.กลางอังกฤษไม่เร่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง ทั้งนี้ ONS กล่าวว่า การ
เพิ่มอัตราค่าบำรุงการศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 แต่ก็ยังคงต่ำกว่าที่
ธ.กลางอังกฤษเคยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 0.25 อย่างไรก็ตาม การลดลงอย่างมากของต้นทุนการขนส่ง สามารถบรรเทา
ผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราค่าบำรุงการศึกษาต่อดัชนีราคาผู้บริโภคได้ สำหรับดัชนีราคาขายปลีก (Retail price inflation) กลับเพิ่มขึ้น
ที่ระดับร้อยละ 3.7 สูงสุดในรอบกว่า 8 ปี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ทางการอังกฤษกำหนดมาตรการในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของรายได้ เพื่อรักษา
ระดับอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 โดยอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษได้เพิ่มขึ้นเหนือระดับเป้าหมายมาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 พ.ย. 49 14 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.427 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.2360/36.5273 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 733.87/20.48 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.46 56.8 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--