เมื่อเวลา 15.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธีอมร รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า น่าเป็นห่วงและผิดหวัง เนื่องจากเป็นมาตรการมิติเดียวเน้นแต่กระตุ้นผู้บริโภค ใช้เงินของประชาชน ยืดหนี้ และลดดอกเบี้ยเฉพาะบางกลุ่ม โดยเฉพาะการจัดงบประมาณ 80 ล้านบาทในการจัดซื้อผลผลิตส่วนเกิน ในเรื่องสัปปะรดล้นตลาด 2 แสนตัน ซึ่งแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เพราะปัญหาเกิดจากกระจายสินค้าหรือการผลิตที่เกินความต้องการของการบริโภคภายในประเทศ หรือการส่งออกที่เกิดจากการตอบโต้ทางการตลาด ส่วนมาตรการควบคุมการส่งออกและนำเข้ามันสำปะหลังและปาล์มน้ำมัน เป็นการแก้ผิดทาง เพราะปัญหาเกิดจากการลักลอบนำเข้าปาล์มน้ำมัน เนื่องจากราคาต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่ามาเลเซีย สำหรับมันสำปะหลังนั้น ประเทศลาวและกัมพูชามีการเพิ่มผลผลิตขึ้นมาก ดังนั้นหากไม่มีการลดต้นทุนการผลิตยังปล่อยให้ต้นทุนการผลิตสูงอยู่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และทำให้ผู้บริโภคในประเทศบริโภคสินค้าที่แพงขึ้น
นายเกียรติ กล่าวว่า การลดต้นทุนภาคการเกษตร เป็นการลดดอกเบี้ยเพียง 1 % และมาตรการปลดล็อคผูกขาดปุ๋ยและยา ไม่น่าเป็นมาตรการที่ถูกต้องในระยะยาว ซึ่งแสดงรัฐบาลรู้ล่วงหน้าว่ามีการผูกขาดเรื่องดังกล่าว แล้วเหตุใดไม่ใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาดที่มีอยู่แล้วมาบังคับใช้ และในการหาเสียงปี2547 รัฐบาลเคยสัญญาว่าจะทำปุ๋ยราคาถูก แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการดำเนินการ ส่วนการลดค่าไฟให้ภาคอุตสาหกรรมรายใหญ่ 20% นั้นขอถามว่าลดให้บางส่วนหรือทั้งประเทศ แล้วส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบ ทั้งนี้ราคาน้ำมันในประเทศที่สูงก็สูงกว่าราคาตลาดโลก ในเมื่อครึ่งปีหลังรัฐบาลมั่นใจว่าราคาน้ำมันจะลดลง เหตุใดไม่ชลอการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมัน หากชลอการนำเงินเข้ากองทุนจะทำให้นราคาน้ำมันลดประมาณ 1-1.50 บาทต่อลิตร
“ชี้ให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นมาตรการที่หลงทาง เพราะภาคเกษตรต้องเน้นการเพิ่มผลการผลิต แต่5ปีที่ผ่านมาไม่ได้ทำเลย และปัญหาการผูกขาดของผู้ผลิตรายใหญ่ก็ไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นอยากเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาให้ถูกจุดมากกว่านี้” นายเกียรติ กล่าว
รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจปชป. กล่าวว่า ผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศที่ชะลอการลงทุน เพราะไม่มั่นใจว่าไทยมีความพร้อมที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งปัญหาคือรัฐบาลรักษาการยังไม่มีนโยบายลงทุนที่ชัดเจนที่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะด้านพลังงานและเทคโนโลยี แต่เวลาพูดถึงการลงทุนรัฐบาลชุดนี้เน้นแต่เมกะโปรเจกต์อย่างเดียว จะเห็นได้ว่าการลงทุนที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกลับพบว่ามีจำนวนที่ลดลงจากเดิม 1.3 แสนล้านบาท เหลือ 8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศไปลงทุนในประเทศจีน ขณะเดียวกันรัฐบาลบอกว่ามีนโยบายส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขัน แต่กลับพบว่าการลงทุนไม่มีศักยภาพพอที่จะไปแข่งขันได้ ที่สำคัญนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยได้หมดวาระลงแล้วตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก(ดับบลิวทีโอ) แต่ขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่จะมาทดแทน ทำให้การลงทุนในประเทศชลอตัวและส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยชลอตัวด้วย
นายเกียรติ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย เพราะสินค้าหลายอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันต้องแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่รัฐบาลประกาศเป็นนโยบายไว้ หากสามารถแก้ปัญหานี้ได้จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 %
รองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจปชป. ยังกล่าวถึงกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ จะเดินหน้าเจรจาทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ( FTA ) กับอเมริกา และญี่ปุ่นว่า เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลยังไปแนวทางเดิม ซึ่งตนอยากเรียกร้องให้ทบทวนของเดิมเสียก่อนว่า มีผลกระทบอะไร และมีการแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะกรณีเอฟทีเอที่ผ่านมา ยังไม่มีการเยียวยาผลกระทบต่อเกษตรกร และอยากให้ทบทวนกรณีเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ( AFTA ) เพราะที่ผ่านมา เพิ่งมีการใช้สิทธิประโยชน์ไม่ถึง 20%
นายเกียรติ กล่าวว่า ในส่วนของเอฟทีเอไทยญี่ปุ่นนั้น ความจริงเป็นยุทธศาสตร์ในเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่จะรวมกับเกาหลี ญี่ปุ่น จีน ต่อไป แต่กรอบที่จะเซ็นเอฟทีเอกับญี่ปุ่นเป็นเพียงกรอบหนึ่งในอาฟต้า ซึ่งไม่ตรงกับที่ลงนามในเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งอาจเกิดปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอได้ ทั้งนี้ตนอยากเรียกร้องซ้ำให้การทำเอฟทีเอ ทั้งญี่ปุ่น และอเมริกา ต้องผ่านขั้นตอนสภา ตามมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญ และไม่ใช่ลงนามโดยรัฐบาลรักษาการ โดยเฉพาะของอเมริกา ยังไม่มีการทำประชาพิจารณ์กับผู้อาจได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ต้องชัดเจนเรื่องการปรับโครงสร้างภายในประเทศ โดยการเฉพาะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จึงเชื่อว่า ถ้าลงนามไปจะเกิดปัญหา และอย่าไปขู่ประชาชนว่า ถ้าไม่รีบเซ็น คู่สัญญาเขาจะไปทำกับประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นหนังสือถึงสหรัฐอเมริกา ขอให้ชะลอเวลาจนกว่าจะผ่านขั้นตอนสภา อีกทั้งไม่อยากให้ใช้ประเด็นเรื่อง นายจุนอิจิโร่ โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะหมดวาระเดือน ก.ย.มาเร่งรัดเอฟทีเอ เพราะไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้ประเทศไทยไม่ต้องทำตามรัฐธรรมนูญ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 มิ.ย. 2549--จบ--
นายเกียรติ กล่าวว่า การลดต้นทุนภาคการเกษตร เป็นการลดดอกเบี้ยเพียง 1 % และมาตรการปลดล็อคผูกขาดปุ๋ยและยา ไม่น่าเป็นมาตรการที่ถูกต้องในระยะยาว ซึ่งแสดงรัฐบาลรู้ล่วงหน้าว่ามีการผูกขาดเรื่องดังกล่าว แล้วเหตุใดไม่ใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาดที่มีอยู่แล้วมาบังคับใช้ และในการหาเสียงปี2547 รัฐบาลเคยสัญญาว่าจะทำปุ๋ยราคาถูก แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการดำเนินการ ส่วนการลดค่าไฟให้ภาคอุตสาหกรรมรายใหญ่ 20% นั้นขอถามว่าลดให้บางส่วนหรือทั้งประเทศ แล้วส่วนต่างราคาที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบ ทั้งนี้ราคาน้ำมันในประเทศที่สูงก็สูงกว่าราคาตลาดโลก ในเมื่อครึ่งปีหลังรัฐบาลมั่นใจว่าราคาน้ำมันจะลดลง เหตุใดไม่ชลอการนำเงินเข้ากองทุนน้ำมัน หากชลอการนำเงินเข้ากองทุนจะทำให้นราคาน้ำมันลดประมาณ 1-1.50 บาทต่อลิตร
“ชี้ให้เห็นว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมาเป็นมาตรการที่หลงทาง เพราะภาคเกษตรต้องเน้นการเพิ่มผลการผลิต แต่5ปีที่ผ่านมาไม่ได้ทำเลย และปัญหาการผูกขาดของผู้ผลิตรายใหญ่ก็ไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นอยากเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาให้ถูกจุดมากกว่านี้” นายเกียรติ กล่าว
รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจปชป. กล่าวว่า ผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศที่ชะลอการลงทุน เพราะไม่มั่นใจว่าไทยมีความพร้อมที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งปัญหาคือรัฐบาลรักษาการยังไม่มีนโยบายลงทุนที่ชัดเจนที่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะด้านพลังงานและเทคโนโลยี แต่เวลาพูดถึงการลงทุนรัฐบาลชุดนี้เน้นแต่เมกะโปรเจกต์อย่างเดียว จะเห็นได้ว่าการลงทุนที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกลับพบว่ามีจำนวนที่ลดลงจากเดิม 1.3 แสนล้านบาท เหลือ 8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศไปลงทุนในประเทศจีน ขณะเดียวกันรัฐบาลบอกว่ามีนโยบายส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขัน แต่กลับพบว่าการลงทุนไม่มีศักยภาพพอที่จะไปแข่งขันได้ ที่สำคัญนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยได้หมดวาระลงแล้วตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก(ดับบลิวทีโอ) แต่ขณะนี้รัฐบาลยังไม่มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่จะมาทดแทน ทำให้การลงทุนในประเทศชลอตัวและส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยชลอตัวด้วย
นายเกียรติ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย เพราะสินค้าหลายอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันต้องแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่รัฐบาลประกาศเป็นนโยบายไว้ หากสามารถแก้ปัญหานี้ได้จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจโตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1 %
รองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจปชป. ยังกล่าวถึงกรณีที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ จะเดินหน้าเจรจาทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี ( FTA ) กับอเมริกา และญี่ปุ่นว่า เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลยังไปแนวทางเดิม ซึ่งตนอยากเรียกร้องให้ทบทวนของเดิมเสียก่อนว่า มีผลกระทบอะไร และมีการแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะกรณีเอฟทีเอที่ผ่านมา ยังไม่มีการเยียวยาผลกระทบต่อเกษตรกร และอยากให้ทบทวนกรณีเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ( AFTA ) เพราะที่ผ่านมา เพิ่งมีการใช้สิทธิประโยชน์ไม่ถึง 20%
นายเกียรติ กล่าวว่า ในส่วนของเอฟทีเอไทยญี่ปุ่นนั้น ความจริงเป็นยุทธศาสตร์ในเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่จะรวมกับเกาหลี ญี่ปุ่น จีน ต่อไป แต่กรอบที่จะเซ็นเอฟทีเอกับญี่ปุ่นเป็นเพียงกรอบหนึ่งในอาฟต้า ซึ่งไม่ตรงกับที่ลงนามในเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งอาจเกิดปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอได้ ทั้งนี้ตนอยากเรียกร้องซ้ำให้การทำเอฟทีเอ ทั้งญี่ปุ่น และอเมริกา ต้องผ่านขั้นตอนสภา ตามมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญ และไม่ใช่ลงนามโดยรัฐบาลรักษาการ โดยเฉพาะของอเมริกา ยังไม่มีการทำประชาพิจารณ์กับผู้อาจได้รับผลกระทบทุกกลุ่ม ต้องชัดเจนเรื่องการปรับโครงสร้างภายในประเทศ โดยการเฉพาะเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จึงเชื่อว่า ถ้าลงนามไปจะเกิดปัญหา และอย่าไปขู่ประชาชนว่า ถ้าไม่รีบเซ็น คู่สัญญาเขาจะไปทำกับประเทศอื่น อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่นหนังสือถึงสหรัฐอเมริกา ขอให้ชะลอเวลาจนกว่าจะผ่านขั้นตอนสภา อีกทั้งไม่อยากให้ใช้ประเด็นเรื่อง นายจุนอิจิโร่ โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะหมดวาระเดือน ก.ย.มาเร่งรัดเอฟทีเอ เพราะไม่ใช่ประเด็นที่จะทำให้ประเทศไทยไม่ต้องทำตามรัฐธรรมนูญ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 มิ.ย. 2549--จบ--