ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท. แถลงนโยบาย ดร.ธาริษา วัฒนเกส ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ ธปท. อย่างเป็นทางการแล้ว
พร้อมเปิดแถลงนโยบายเมื่อวันที่ 15 พ.ย.49 โดยกล่าวว่า ผู้บริหารและพนักงาน ธปท. ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับ 5 ปีข้างหน้าไว้ว่า ธปท.
จะเป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล พนักงานมีความสามารถสูง และอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น ด้านนโยบายสถาบัน
การเงินจะเน้นดูแลใน 5 ข้อ คือ 1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน โดยการกำกับดูแลตามมาตรฐานสากลมากขึ้น 2) ให้ความ
สำคัญกับระบบธรรมาภิบาล ทั้งในแง่โครงสร้างคณะกรรมการของสถาบันการเงิน คุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนการเปิดเผย
ข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ฝากเงิน ลูกหนี้ หรือผู้ลงทุน สามารถตัดสินใจใช้บริการได้อย่างถูกต้อง 3) เร่งให้สถาบันการเงิน
ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยเฉพาะในด้านการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรองรับการเปิดเสรี
การเงิน 4) จัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ฉบับที่ 2 ซึ่งเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว มีเป้าหมายหลักที่จะเร่งการปรับตัว กระตุ้นให้มีการ
แข่งขันมากขึ้น ซึ่งในที่สุดจะต้องทยอยเปิดให้มีผู้เล่นมากขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยต่อไปอาจจะเปิดให้มีการนำบุคลากรในต่าง
ประเทศมาทำงานในสถาบันการเงินได้ และเสนอให้ต่างชาติถือหุ้นในสถาบันการเงินได้ร้อยละ 49 จากเดิมร้อยละ 25 และ 5) กระตุ้นให้ทุกฝ่าย
ช่วยกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงินให้แก่ประชาชน สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับสถาน
ภาพตัวเอง ส่วนด้านนโยบายการเงินกำลังศึกษาว่า เป้าหมายของเงินเฟ้อที่ใช้อยู่เหมาะสมหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้หลายฝ่ายเสนอว่ากรอบ
เงินเฟ้อที่ร้อยละ 0 — 3.5 กว้างเกินไป แต่ถ้าปรับเป้าหมายเงินเฟ้อแคบลงในแต่ละช่วงไตรมาสอาจจำเป็นจะต้องมีการปรับดอกเบี้ยบ่อยครั้งขึ้น
อาจจะไม่เหมาะสมกับไทย สำหรับนโยบายการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนจะยึดตามกลไกตลาด ดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะจาก
เงินทุนระยะสั้น รวมถึงจะปรับปรุงการนำเงินออกไปต่างประเทศเพื่อลดแรงกดดันเงินบาท ประกอบด้วย 1) ลดขั้นตอนถือครองเงินตราต่าง
ประเทศ โดยลดขั้นตอนและเอกสารจำนวนมาก พร้อมให้ธุรกิจฝากเงินได้ง่ายขึ้นจะช่วยลดต้นทุน 2) แก้ไขการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้
ง่ายขึ้น โดยจะเปิดให้นักธุรกิจนำเงินไปลงทุนในธุรกิจของตนได้ เช่น หากมีธุรกิจในประเทศที่เป็นแหล่งวัตถุดิบหรือแรงงานราคาต่ำกว่าก็สามารถ
นำเงินออกไปได้เลย 3) เตรียมผ่อนผันการถือครองเงินตราต่างประเทศได้นานขึ้น จากปัจจุบันถือครองเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกิน 7 วัน
แต่ต่อไปอาจเป็น 15 วัน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารได้ดีขึ้น 4) ขยายขอบเขตในการลงทุนในต่างประเทศ โดยขยายประเภทของผู้
ลงทุนและเพิ่มประเภทหลักทรัพย์และตราสาร ทั้งนี้ ต่อไปการนำเงินออกนอกประเทศจะทำได้มากขึ้น เช่น อาจจะให้นักธุรกิจสามารถฝาก
เงินตราต่างประเทศใน ธ.พาณิชย์ได้ ไม่ต้องเสียเวลาและจ่ายค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน หรือแลกเปลี่ยนสกุลเงินไปมา นอกจากนี้ จะให้ความ
สำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ คาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง
ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มทรงตัว ปัญหาทางการเมืองที่คลี่คลาย และนโยบายการคลังของภาครัฐ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังเตรียมกำหนดหลักเกณฑ์การอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวในงาน
รัฐวิสากิจดีเด่นประจำปี 49 ว่า รัฐบาลเตรียมกำหนดหลักเกณฑ์การอุดหนุนรัฐวิสาหกิจที่ทำงานในเชิงพาณิชย์และสังคม สามารถแยกบัญชีให้มี
ความชัดเจนระหว่างผลการดำเนินงานตามปกติ กับผลการดำเนินงานตามโครงการของรัฐบาล เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นรัฐบาลจะต้องเป็น
ผู้รับผิดชอบและจะต้องนำเสนอ ครม. ให้พิจารณาต่อไป ส่วนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะให้ ธปท. เข้าตรวจสอบผลบัญชีเหมือนกับ
ธ.พาณิชย์ และเตรียมให้ธนาคารเร่งจัดชั้นหนี้และตั้งสำรองให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจใน
ระยะสั้น แต่เชื่อว่าในระยะยาวจะช่วยให้ฐานะทางการเงินเข้มแข็งได้ ด้านนายวิชัย จึงรักเกียรติ ผอ.สนง.คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
กล่าวว่า จะเสนอ ก.คลัง เรื่องการตั้งเกณฑ์ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะต้องมีการวางกรอบวัดผลงาน เนื่องจากที่ผ่านมาจะใช้แต่วิธีการ
ตั้ง งปม.ชดเชยเพียงอย่างเดียว (โพสต์ทูเดย์)
3. ยอดการลงทุนจากต่างประเทศช่วง 10 เดือนปีนี้ลดลงกว่าร้อยละ 33 นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการ สนง.คณะ
กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมของนักลงทุนต่างประเทศ หรือ FDI รอบ 10 เดือน
ลดลงกว่าร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงเนื่องจากไม่มีโครงการขนาดใหญ่เข้ามา อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ลดลง
ไม่ถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะอุตสาหกรรมเป้าหมายยังคงเข้าขอรับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้า ทั้ง
อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เกษตร ปิโตรเคมี และบริการ คาดว่ายอดขอบีโอไอทั้งปีจะเป็นไปตามเป้า 5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ บีโอไอมี
นโยบายชัดเจนจะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุนและการรับช่วงการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่ง
นอกจากจะมีการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแล้ว ยังเชื่อมโยงเอสเอ็มอีไทยกับกิจการขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประสบความ
สำเร็จสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายชิ้นส่วนของเอสเอ็มอีได้ถึง 1.8 หมื่นล้านบาท ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น บีโอไอจะเดินหน้ากิจกรรมจับคู่
ธุรกิจต่อไปเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าให้ได้ 3 หมื่นล้านบาท ภายใน 5 ปี (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปจนถึงเดือน ม.ค.50 รายงานจาก
ชิคาโกเมื่อ 15 พ.ย.49 ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปจนถึงเดือน ม.ค.50 โดย
มีโอกาสร้อยละ 14 ที่ ธ.กลาง สรอ.จะลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 40
เมื่อวันที่ 14 พ.ย.49 ที่ผ่านมา หลังจากในวันนี้ได้มีการเผยแพร่รายงานการประชุมของ ธ.กลาง สรอ.ที่แสดงให้เห็นว่า ธ.กลาง สรอ.ให้
ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในขณะที่มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังชะลอตัวลง โดยนักวิเคราะห์บาง
คนคาดว่า ธ.กลาง สรอ.อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีประมาณ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ที่ผ่านมาจนถึงกลางปี 50 หลังจาก
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง 17 ครั้งในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือน ก.ย.49 ลดลงเกินความคาดหมายร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน รายงานจาก
บรัสเซลส์เมื่อ 15 พ.ย.49 European Union statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศเขต
เศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร(ยูโรโซน) ในเดือน ก.ย.49 ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่ง
คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 โดยผลผลิตสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 3.3 และผลผลิตสินค้ากึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 2.2 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์
กล่าวว่า การลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. ดังกล่าวอาจส่งผลให้ผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปีลดลงเป็นครั้งแรก
แต่ก็คาดหมายว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 49 จะได้รับปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเยอรมนี
ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากก่อนที่จะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเมื่อเทียบต่อปีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.3 ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ Eurostat ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 ที่ร้อยละ 0.5 ลดลงจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า แม้
จีดีพีในช่วงไตรมาส 3 จะถูกคาดการณ์ว่าอาจขยายตัวชะลอลง แต่เชื่อว่าการขยายตัวของจีดีพีทั้งปี 49 จะอยู่ที่ระดับเป้าหมายของ
ธ.กลางสหภาพยุโรปคือร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ส่งสัญญาณว่า
อาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน ธ.ค.49 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์
เชื่อว่าหลังจากนั้น (ECB) จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.พ.หรือ มี.ค.50 เพื่อยับยั้งภาวะเงินเฟ้อซึ่งได้รับผลกระทบจากการ
ขยายตัวอย่างรุนแรงของสินเชื่อ (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปีกว่าที่ระดับ +48.1 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 16 พ.ย.49 The Royal Institution of Chartered Surveyors (RICS) เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในรอบ 3 เดือนสิ้นสุด
เดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งสูงสุดในรอบ 4 ปีกว่า (ตั้งแต่เดือน ก.ย.45) ที่ระดับ +48.1 จากระดับ +45.7 ในรอบ 3 เดือน
ก่อนหน้าสิ้นสุดเดือน ก.ย.49 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าของอัตราเฉลี่ยระยะยาว (ที่อยู่ที่ระดับ +21) สำหรับอัตราส่วนยอดขายต่อบ้านคงคลัง
(ซึ่งนักวิเคราะห์ถือเป็นเครื่องชี้วัดความแข็งแกร่งของตลาดที่เชื่อถือได้) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +40.9 จากระดับ +39.1 ซึ่งเป็นอัตราส่วนสูงสุดใน
รอบมากกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม โฆษกของ RICS กล่าวว่า แม้ ธ.กลางอังกฤษจะประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25
มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่นักวิเคราะห์ยังคงเชื่อมั่นว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะยังคงเฟื่องฟูจนถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 จนถึงปีหน้า รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
15 พ.ย. 49 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 47 คนของรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0
จนถึงปีหน้าหลังจากที่ผู้ดำเนินนโยบายการเงินได้ปรับคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อแล้ว อย่างไรก็ตามยังคงมีโอกาสที่ ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน ก.พ. หากค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยในรายงานเงินเฟ้อที่เผยแพร่เมื่อ
วันพุธที่ผ่านมา ว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงอยู่ในเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างรวดเร็ว ทำให้คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
5.0 ไปจนถึงปีหน้า ขณะที่ Amit Kara นักเศรษฐศาสตร์จาก UBS ในลอนดอนกล่าวว่าประเด็นสำคัญคือการปรับเพิ่มค่าจ้างจะทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์หรือไม่ซึ่งตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาชี้ว่าการเติบโตของรายได้ชะลอลงอย่างผิดคาด แม้ว่า
ราคาค้าปลีกจะเพิ่มสูงชึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปีก็ตาม จึงคาดว่าค่าจ้างจะยังคงไม่ปรับเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 พ.ย. 49 15 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.525 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3277/36.6300 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 734.05/19.19 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.85 56.46 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผู้ว่าการ ธปท. แถลงนโยบาย ดร.ธาริษา วัฒนเกส ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการ ธปท. อย่างเป็นทางการแล้ว
พร้อมเปิดแถลงนโยบายเมื่อวันที่ 15 พ.ย.49 โดยกล่าวว่า ผู้บริหารและพนักงาน ธปท. ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์สำหรับ 5 ปีข้างหน้าไว้ว่า ธปท.
จะเป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล พนักงานมีความสามารถสูง และอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น ด้านนโยบายสถาบัน
การเงินจะเน้นดูแลใน 5 ข้อ คือ 1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของสถาบันการเงิน โดยการกำกับดูแลตามมาตรฐานสากลมากขึ้น 2) ให้ความ
สำคัญกับระบบธรรมาภิบาล ทั้งในแง่โครงสร้างคณะกรรมการของสถาบันการเงิน คุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนการเปิดเผย
ข้อมูลต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ฝากเงิน ลูกหนี้ หรือผู้ลงทุน สามารถตัดสินใจใช้บริการได้อย่างถูกต้อง 3) เร่งให้สถาบันการเงิน
ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยเฉพาะในด้านการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรองรับการเปิดเสรี
การเงิน 4) จัดทำแผนแม่บทพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ฉบับที่ 2 ซึ่งเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว มีเป้าหมายหลักที่จะเร่งการปรับตัว กระตุ้นให้มีการ
แข่งขันมากขึ้น ซึ่งในที่สุดจะต้องทยอยเปิดให้มีผู้เล่นมากขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยต่อไปอาจจะเปิดให้มีการนำบุคลากรในต่าง
ประเทศมาทำงานในสถาบันการเงินได้ และเสนอให้ต่างชาติถือหุ้นในสถาบันการเงินได้ร้อยละ 49 จากเดิมร้อยละ 25 และ 5) กระตุ้นให้ทุกฝ่าย
ช่วยกันเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงินให้แก่ประชาชน สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับสถาน
ภาพตัวเอง ส่วนด้านนโยบายการเงินกำลังศึกษาว่า เป้าหมายของเงินเฟ้อที่ใช้อยู่เหมาะสมหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้หลายฝ่ายเสนอว่ากรอบ
เงินเฟ้อที่ร้อยละ 0 — 3.5 กว้างเกินไป แต่ถ้าปรับเป้าหมายเงินเฟ้อแคบลงในแต่ละช่วงไตรมาสอาจจำเป็นจะต้องมีการปรับดอกเบี้ยบ่อยครั้งขึ้น
อาจจะไม่เหมาะสมกับไทย สำหรับนโยบายการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนจะยึดตามกลไกตลาด ดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะจาก
เงินทุนระยะสั้น รวมถึงจะปรับปรุงการนำเงินออกไปต่างประเทศเพื่อลดแรงกดดันเงินบาท ประกอบด้วย 1) ลดขั้นตอนถือครองเงินตราต่าง
ประเทศ โดยลดขั้นตอนและเอกสารจำนวนมาก พร้อมให้ธุรกิจฝากเงินได้ง่ายขึ้นจะช่วยลดต้นทุน 2) แก้ไขการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศได้
ง่ายขึ้น โดยจะเปิดให้นักธุรกิจนำเงินไปลงทุนในธุรกิจของตนได้ เช่น หากมีธุรกิจในประเทศที่เป็นแหล่งวัตถุดิบหรือแรงงานราคาต่ำกว่าก็สามารถ
นำเงินออกไปได้เลย 3) เตรียมผ่อนผันการถือครองเงินตราต่างประเทศได้นานขึ้น จากปัจจุบันถือครองเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกิน 7 วัน
แต่ต่อไปอาจเป็น 15 วัน เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารได้ดีขึ้น 4) ขยายขอบเขตในการลงทุนในต่างประเทศ โดยขยายประเภทของผู้
ลงทุนและเพิ่มประเภทหลักทรัพย์และตราสาร ทั้งนี้ ต่อไปการนำเงินออกนอกประเทศจะทำได้มากขึ้น เช่น อาจจะให้นักธุรกิจสามารถฝาก
เงินตราต่างประเทศใน ธ.พาณิชย์ได้ ไม่ต้องเสียเวลาและจ่ายค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน หรือแลกเปลี่ยนสกุลเงินไปมา นอกจากนี้ จะให้ความ
สำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ คาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง
ดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มทรงตัว ปัญหาทางการเมืองที่คลี่คลาย และนโยบายการคลังของภาครัฐ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ก.คลังเตรียมกำหนดหลักเกณฑ์การอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวในงาน
รัฐวิสากิจดีเด่นประจำปี 49 ว่า รัฐบาลเตรียมกำหนดหลักเกณฑ์การอุดหนุนรัฐวิสาหกิจที่ทำงานในเชิงพาณิชย์และสังคม สามารถแยกบัญชีให้มี
ความชัดเจนระหว่างผลการดำเนินงานตามปกติ กับผลการดำเนินงานตามโครงการของรัฐบาล เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นรัฐบาลจะต้องเป็น
ผู้รับผิดชอบและจะต้องนำเสนอ ครม. ให้พิจารณาต่อไป ส่วนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะให้ ธปท. เข้าตรวจสอบผลบัญชีเหมือนกับ
ธ.พาณิชย์ และเตรียมให้ธนาคารเร่งจัดชั้นหนี้และตั้งสำรองให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจใน
ระยะสั้น แต่เชื่อว่าในระยะยาวจะช่วยให้ฐานะทางการเงินเข้มแข็งได้ ด้านนายวิชัย จึงรักเกียรติ ผอ.สนง.คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
กล่าวว่า จะเสนอ ก.คลัง เรื่องการตั้งเกณฑ์ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะต้องมีการวางกรอบวัดผลงาน เนื่องจากที่ผ่านมาจะใช้แต่วิธีการ
ตั้ง งปม.ชดเชยเพียงอย่างเดียว (โพสต์ทูเดย์)
3. ยอดการลงทุนจากต่างประเทศช่วง 10 เดือนปีนี้ลดลงกว่าร้อยละ 33 นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการ สนง.คณะ
กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมของนักลงทุนต่างประเทศ หรือ FDI รอบ 10 เดือน
ลดลงกว่าร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงเนื่องจากไม่มีโครงการขนาดใหญ่เข้ามา อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ลดลง
ไม่ถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะอุตสาหกรรมเป้าหมายยังคงเข้าขอรับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้า ทั้ง
อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เกษตร ปิโตรเคมี และบริการ คาดว่ายอดขอบีโอไอทั้งปีจะเป็นไปตามเป้า 5 แสนล้านบาท ทั้งนี้ บีโอไอมี
นโยบายชัดเจนจะส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุนและการรับช่วงการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่ง
นอกจากจะมีการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีแล้ว ยังเชื่อมโยงเอสเอ็มอีไทยกับกิจการขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งประสบความ
สำเร็จสามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายชิ้นส่วนของเอสเอ็มอีได้ถึง 1.8 หมื่นล้านบาท ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น บีโอไอจะเดินหน้ากิจกรรมจับคู่
ธุรกิจต่อไปเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าให้ได้ 3 หมื่นล้านบาท ภายใน 5 ปี (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปจนถึงเดือน ม.ค.50 รายงานจาก
ชิคาโกเมื่อ 15 พ.ย.49 ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปจนถึงเดือน ม.ค.50 โดย
มีโอกาสร้อยละ 14 ที่ ธ.กลาง สรอ.จะลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีจากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 40
เมื่อวันที่ 14 พ.ย.49 ที่ผ่านมา หลังจากในวันนี้ได้มีการเผยแพร่รายงานการประชุมของ ธ.กลาง สรอ.ที่แสดงให้เห็นว่า ธ.กลาง สรอ.ให้
ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในขณะที่มีสัญญาณว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังชะลอตัวลง โดยนักวิเคราะห์บาง
คนคาดว่า ธ.กลาง สรอ.อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีประมาณ 1 ปีนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 ที่ผ่านมาจนถึงกลางปี 50 หลังจาก
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง 17 ครั้งในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือน ก.ย.49 ลดลงเกินความคาดหมายร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน รายงานจาก
บรัสเซลส์เมื่อ 15 พ.ย.49 European Union statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศเขต
เศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร(ยูโรโซน) ในเดือน ก.ย.49 ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่ง
คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 0.3 โดยผลผลิตสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 3.3 และผลผลิตสินค้ากึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 2.2 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์
กล่าวว่า การลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. ดังกล่าวอาจส่งผลให้ผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสสุดท้ายของปีลดลงเป็นครั้งแรก
แต่ก็คาดหมายว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 49 จะได้รับปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเยอรมนี
ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากก่อนที่จะมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเมื่อเทียบต่อปีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.3 ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ Eurostat ได้คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์ใน
ประเทศ (จีดีพี) ในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 ที่ร้อยละ 0.5 ลดลงจากร้อยละ 0.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า แม้
จีดีพีในช่วงไตรมาส 3 จะถูกคาดการณ์ว่าอาจขยายตัวชะลอลง แต่เชื่อว่าการขยายตัวของจีดีพีทั้งปี 49 จะอยู่ที่ระดับเป้าหมายของ
ธ.กลางสหภาพยุโรปคือร้อยละ 2.6 ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สะท้อนการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ส่งสัญญาณว่า
อาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน ธ.ค.49 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์
เชื่อว่าหลังจากนั้น (ECB) จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือน ก.พ.หรือ มี.ค.50 เพื่อยับยั้งภาวะเงินเฟ้อซึ่งได้รับผลกระทบจากการ
ขยายตัวอย่างรุนแรงของสินเชื่อ (รอยเตอร์)
3. ราคาบ้านในอังกฤษในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปีกว่าที่ระดับ +48.1 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 16 พ.ย.49 The Royal Institution of Chartered Surveyors (RICS) เปิดเผยว่า ราคาบ้านในอังกฤษในรอบ 3 เดือนสิ้นสุด
เดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งสูงสุดในรอบ 4 ปีกว่า (ตั้งแต่เดือน ก.ย.45) ที่ระดับ +48.1 จากระดับ +45.7 ในรอบ 3 เดือน
ก่อนหน้าสิ้นสุดเดือน ก.ย.49 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าของอัตราเฉลี่ยระยะยาว (ที่อยู่ที่ระดับ +21) สำหรับอัตราส่วนยอดขายต่อบ้านคงคลัง
(ซึ่งนักวิเคราะห์ถือเป็นเครื่องชี้วัดความแข็งแกร่งของตลาดที่เชื่อถือได้) เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +40.9 จากระดับ +39.1 ซึ่งเป็นอัตราส่วนสูงสุดใน
รอบมากกว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม โฆษกของ RICS กล่าวว่า แม้ ธ.กลางอังกฤษจะประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25
มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่นักวิเคราะห์ยังคงเชื่อมั่นว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะยังคงเฟื่องฟูจนถึงปีหน้า (รอยเตอร์)
4. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 จนถึงปีหน้า รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่
15 พ.ย. 49 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 47 คนของรอยเตอร์คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0
จนถึงปีหน้าหลังจากที่ผู้ดำเนินนโยบายการเงินได้ปรับคาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อแล้ว อย่างไรก็ตามยังคงมีโอกาสที่ ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่ม
อัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ในเดือน ก.พ. หากค่าจ้างปรับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ธ.กลางอังกฤษเปิดเผยในรายงานเงินเฟ้อที่เผยแพร่เมื่อ
วันพุธที่ผ่านมา ว่าอัตราเงินเฟ้อลดลงอยู่ในเป้าหมายเงินเฟ้ออย่างรวดเร็ว ทำให้คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ
5.0 ไปจนถึงปีหน้า ขณะที่ Amit Kara นักเศรษฐศาสตร์จาก UBS ในลอนดอนกล่าวว่าประเด็นสำคัญคือการปรับเพิ่มค่าจ้างจะทำให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์หรือไม่ซึ่งตัวเลขทางเศรษฐกิจที่เปิดเผยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาชี้ว่าการเติบโตของรายได้ชะลอลงอย่างผิดคาด แม้ว่า
ราคาค้าปลีกจะเพิ่มสูงชึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปีก็ตาม จึงคาดว่าค่าจ้างจะยังคงไม่ปรับเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16 พ.ย. 49 15 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.525 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3277/36.6300 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 734.05/19.19 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.85 56.46 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--