1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13 — 18 ก.พ. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 906.22 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 454.54 ตัน สัตว์น้ำจืด 451.68 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.83 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.91 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 91.05 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.07 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.64 ตัน
การตลาด
โครงการเลี้ยงกุ้งครบวงจร
นายอนุรัตน์ โคว้คาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด เปิดเผยว่าปัจจุบันเงื่อนไขการส่งออกสินค้าอาหารและเกษตร มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยที่มีต่อผู้บริโภค ดังนั้นทางบริษัทจึงได้จัดทำโครงการ “กุ้งครบวงจร” ขึ้นมา โดยร่วมกับเกษตรกรในเขตภาคตะวันออก ใต้ และกลาง จำนวน 13 ราย 172 บ่อ พื้นที่ 10,000 ไร่ บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตอาหารสัตว์ บริษัทซาย อาคควา สยาม จำกัด ผู้ผลิตลูกกุ้ง โดยการดำเนินการทั้งหมด ได้รับความเห็นชอบจากบริษัทผู้นำเข้าในสหรัฐฯ คือ Aqus star,inc” Seattle, Washington, USA และบริษัท Kyokuyo Co.,ltd.,TOKyo,Japan โดยกุ้งที่เข้าร่วมโครงการนี้ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ผลผลิตปลอดภัย 100% คาดว่ากุ้งรอบการผลิตแรก จะออกสู่ตลาดได้ภายในเดือน พฤษภาคม — มิถุนายน นี้ อย่างไรก็ตามการทำโครงการกุ้งครบวงจรเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกร จึงมีผู้เข้าร่วมโครงการน้อย โดยจาก จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 13 รายนั้นแม้ว่าจะมีพื้นที่มากถึง 1 หมื่นไร่ แต่มีบ่อกุ้งที่ทำคอนแทรคท์ ฟาร์มมิ่ง เพียงไม่ถึง 1% แต่จากที่บริษัทประกันราคารับซื้อ ในอัตราที่แน่นอนเหมาะสมและมีการซื้อขายล่วงหน้า ในอนาคตเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกับบริษัทมากขึ้น ทั้งนี้ การประกันราคารับซื้อจะทำสัญญากับเกษตรกรต่อรอบการผลิตแต่ละครั้ง ในรอบแรกประกันราคารับซื้อกุ้งล่วงหน้าสูงสุดกิโลกรัมละ 227 บาท ต่ำสุด 88 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนั้น จะคัดเลือกจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP หรือมาตรการการเลี้ยงสัตว์น้ำ CoC จากกรมประมง ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีบันทึก รวบรวมข้อมูลการเลี้ยงที่ดี เป็นระบบ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุม มาตรฐานการเลี้ยงทุกขั้นตอน
“โครงการเลี้ยงกุ้งครบวงจร จะทำให้เกิดการบริหารงาน ตลอดสายการผลิต เกษตรกรจะได้รับผลประโยชน์โดยตรง จากการดำเนินการและการค้าที่เป็นธรรม” สำหรับการส่งออกกุ้งของบริษัท ยูเนี่ยนฯ ตลาดหลักยังเป็นสหรัฐฯในอัตรา 50% สหภาพยุโรป (อียู) 30% และญี่ปุ่น 20% โดยปีที่ผ่านมาสามารถส่งออกได้ ประมาณ 4 หมื่นตัน มูลค่า 4,500 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 6 หมื่นตัน มูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยส่วนเพิ่มขึ้นมาจากการจำหน่ายกุ้งในโครงการกุ้งครบวงจร ส่วนกุ้งที่ทางบริษัทรับซื้อนอกเหนือจากกุ้งในโครงการบริษัทจะใช้การตรวจสอบอย่างเข้มงวด มีห้องปฏิบัติการเป็นของตนเองสามารถตรวจสอบสาร ไนโตรฟูแรนส์ และคลอแรมเฟมิคอล ได้อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเมื่อสินค้าถึงปลายทาง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.59 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 157.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.23 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.77 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 124.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.09 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.04 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. — 3 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 27-5 มีนาคม 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13 — 18 ก.พ. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 906.22 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 454.54 ตัน สัตว์น้ำจืด 451.68 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.83 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.91 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 91.05 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.07 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 42.64 ตัน
การตลาด
โครงการเลี้ยงกุ้งครบวงจร
นายอนุรัตน์ โคว้คาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด เปิดเผยว่าปัจจุบันเงื่อนไขการส่งออกสินค้าอาหารและเกษตร มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยที่มีต่อผู้บริโภค ดังนั้นทางบริษัทจึงได้จัดทำโครงการ “กุ้งครบวงจร” ขึ้นมา โดยร่วมกับเกษตรกรในเขตภาคตะวันออก ใต้ และกลาง จำนวน 13 ราย 172 บ่อ พื้นที่ 10,000 ไร่ บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตอาหารสัตว์ บริษัทซาย อาคควา สยาม จำกัด ผู้ผลิตลูกกุ้ง โดยการดำเนินการทั้งหมด ได้รับความเห็นชอบจากบริษัทผู้นำเข้าในสหรัฐฯ คือ Aqus star,inc” Seattle, Washington, USA และบริษัท Kyokuyo Co.,ltd.,TOKyo,Japan โดยกุ้งที่เข้าร่วมโครงการนี้ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ผลผลิตปลอดภัย 100% คาดว่ากุ้งรอบการผลิตแรก จะออกสู่ตลาดได้ภายในเดือน พฤษภาคม — มิถุนายน นี้ อย่างไรก็ตามการทำโครงการกุ้งครบวงจรเป็นเรื่องใหม่สำหรับเกษตรกร จึงมีผู้เข้าร่วมโครงการน้อย โดยจาก จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 13 รายนั้นแม้ว่าจะมีพื้นที่มากถึง 1 หมื่นไร่ แต่มีบ่อกุ้งที่ทำคอนแทรคท์ ฟาร์มมิ่ง เพียงไม่ถึง 1% แต่จากที่บริษัทประกันราคารับซื้อ ในอัตราที่แน่นอนเหมาะสมและมีการซื้อขายล่วงหน้า ในอนาคตเกษตรกรเข้าร่วมโครงการกับบริษัทมากขึ้น ทั้งนี้ การประกันราคารับซื้อจะทำสัญญากับเกษตรกรต่อรอบการผลิตแต่ละครั้ง ในรอบแรกประกันราคารับซื้อกุ้งล่วงหน้าสูงสุดกิโลกรัมละ 227 บาท ต่ำสุด 88 เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนั้น จะคัดเลือกจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP หรือมาตรการการเลี้ยงสัตว์น้ำ CoC จากกรมประมง ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีบันทึก รวบรวมข้อมูลการเลี้ยงที่ดี เป็นระบบ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปควบคุม มาตรฐานการเลี้ยงทุกขั้นตอน
“โครงการเลี้ยงกุ้งครบวงจร จะทำให้เกิดการบริหารงาน ตลอดสายการผลิต เกษตรกรจะได้รับผลประโยชน์โดยตรง จากการดำเนินการและการค้าที่เป็นธรรม” สำหรับการส่งออกกุ้งของบริษัท ยูเนี่ยนฯ ตลาดหลักยังเป็นสหรัฐฯในอัตรา 50% สหภาพยุโรป (อียู) 30% และญี่ปุ่น 20% โดยปีที่ผ่านมาสามารถส่งออกได้ ประมาณ 4 หมื่นตัน มูลค่า 4,500 ล้านบาท คาดว่าในปีนี้จะส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 6 หมื่นตัน มูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท โดยส่วนเพิ่มขึ้นมาจากการจำหน่ายกุ้งในโครงการกุ้งครบวงจร ส่วนกุ้งที่ทางบริษัทรับซื้อนอกเหนือจากกุ้งในโครงการบริษัทจะใช้การตรวจสอบอย่างเข้มงวด มีห้องปฏิบัติการเป็นของตนเองสามารถตรวจสอบสาร ไนโตรฟูแรนส์ และคลอแรมเฟมิคอล ได้อย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเมื่อสินค้าถึงปลายทาง
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.77 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.99 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.59 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 157.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.46 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.23 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.77 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.55 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 124.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.09 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.04 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. — 3 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 27-5 มีนาคม 2549--
-พห-