ข้อเสนอเพื่อสนับสนุนการดับไฟใต้ :
ก้าวต่อไปหลังจาก คำขอโทษ การฟื้นศอบต. และการตั้งเขตพัฒนาพิเศษ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
www.abhisit.org
นอกเหนือจากการฟื้นฟูประชาธิปไตย และคืนอำนาจสู่ประชาชนแล้ว ภารกิจที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลคือการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ดูจะตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้ทุ่มเทเวลาที่ผ่านมามากพอสมควรในการแก้ปัญหานี้ และได้ตัดสินใจที่จะปรับโครงสร้างหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาโดยการ รื้อฟื้น ศอบต. และ พตท.๔๓ ล่าสุดได้มีการประกาศจัดตั้ง “เขตพัฒนาพิเศษ” ใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวคำ “ขอโทษ” เพื่อยอมรับความผิดพลาดในนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา
แนวทางของรัฐบาลปัจจุบัน มีความสอดคล้องในระดับหนึ่งกับรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ (กอส.) และสอดคล้องกับวาระประชาชน : วาระใต้สันติ* ที่ผมและพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศไว้ก่อนที่จะมีการรัฐประหาร อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ก็ยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเห็นได้ชัดว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้เดินหน้ายกระดับการก่อเหตุความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น แม้ว่าแนวทางที่รัฐบาลใช้น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่การแก้ไขปัญหาจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร และ การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล น่าจะต้องใช้เครื่องมือ และมาตรการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ เพื่อจะทำให้นโยบายต่างๆสัมฤทธิ์ผล
๑. สร้างความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของการสมานฉันท์
แนวทางสมานฉันท์ หรือ การใช้สันติวิธี เป็นแนวทางที่ถูกต้อง และจำเป็น เพราะ
เหตุการณ์ความรุนแรงที่บานปลาย ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้กำลัง และ วิธีการที่ผิดกฎหมายของฝ่ายรัฐเอง แต่แนวทางนี้ไม่ควรทำให้เกิดความเข้าใจว่า จะไม่มีการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ยังคงมีความสับสนในหมู่คนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดังที่ได้สะท้อนออกมาจากการเสียขวัญของชุมชนที่อพยพตนเอง โดยเฉพาะชุมชนไทยพุทธ และ ความไม่มั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ
๒. ค้นหาความจริง และ การคืนความยุติธรรมต่อเนื่องจากคำขอโทษ
แม้การกล่าวคำ “ขอโทษ” จะมีคุณค่าในการช่วยแก้ไขปัญหา แต่การกระทำผิดอันเป็น
ที่มาของการกล่าวคำดังกล่าว จำเป็นจะต้องได้รับการสะสางอย่างเร่งด่วนต่อไป รัฐบาลต้องพร้อมที่จะให้สังคมเผชิญความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ กรือเซะ ตากใบ หรือ สะบ้าย้อย รวมทั้งคดีทนายสมชาย และจะต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดรับผิดชอบ
๓. สร้างกลไกเพื่อทำให้เกิดความไว้วางใจในพื้นที่
การแก้ปัญหาโดยการสร้างความสมานฉันท์ และการบังคับใช้กฎหมาย จะไม่บรรลุผลเลย
หากระดับความไว้วางใจระหว่างประชาชน กับ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ยังอยู่ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ก่อความไม่สงบประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการทำให้ประชาชนในพื้นที่ระแวง ไม่เชื่อ และไม่ต้องการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ภาพข่าวการชุมนุมต่อต้าน การจับกุม และการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ ตอกย้ำสภาพปัญหาในปัจจุบันเป็นอย่างดี รัฐบาลควรรับข้อเสนอของอดีตสส. ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ ให้มีการจัดตั้งกลไกในพื้นที่ โดยให้มีผู้นำที่ประชาชนยอมรับ ซึ่งอาจจะเป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น หรือผู้นำศาสนา ร่วมกับฝ่ายราชการ เข้ามาตรวจสอบและสะสางข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อนำไปสู่การฟื้นความไว้วางใจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทุกฝ่าย
๔. ทำให้เขตพัฒนาพิเศษเป็นเขตที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
การให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการพัฒนาโดยการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็น
สิ่งที่ดี และดูจะเป็นการตอบสนององค์กรภาคธุรกิจในพื้นที่ แต่ลำพังการพัฒนา โดยการทุ่มเทงบประมาณ หรือการให้สิทธิประโยชน์ที่มักจะจำกัดอยู่ในวงแคบ อาจไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงประชาชนในระดับมวลชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงควรขยายแนวคิดนี้ ให้ครอบคลุม ข้อเสนอการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อให้การพัฒนาสอดคล้องกับความต้องการ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายให้การพัฒนาสร้างโอกาสแก่คนหมู่มากในพื้นที่ เช่น ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรที่จะเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล การส่งเสริมการประมง โดยการเจรจากับต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม
๕. ดำเนินการในเชิงรุกในการขอความร่วมมือ จากประเทศเพื่อนบ้านและการต่างประเทศ
นอกเหนือจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว หากรัฐบาลจะรื้อฟื้นโครงการความร่วมมือ
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจด้วย ก็จะทำให้อินโดนีเซีย และมาเลเซีย กับไทย มีผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างสันติสุขในพื้นที่ นอกจากนี้การชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประเทศมุสลิม ถึงความเปลี่ยนแปลงของนโยบาย จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการได้รับความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาอย่างฉับไวกรณี “ต้มยำกุ้ง” เป็นสัญญาณที่ดีว่า นายกรัฐมนตรีมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกของประเทศเพื่อนบ้าน และหวังว่าการกระทบกระทั่งในลักษณะนี้จะได้แปรเปลี่ยนไปเป็นความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
๖. การวางกลไกที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา
การตรากฎหมายเพื่อรองรับ ศอบต. และเขตพัฒนาเศรษฐกิจ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจใน
ความมั่นคงของทิศทางนโยบายการแก้ไขปัญหา กอส. ก็ได้เสนอให้ตรากฎหมาย โดยให้มีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาพร้อมๆ กันไปด้วย การผลักดันกฎหมายน่าจะเป็นประโยชน์ ในการได้การมีส่วนร่วมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งจะสามารถให้มุมมองที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาอีกด้วย
สำหรับฝ่ายบริหารเอง ผู้นำการขับเคลื่อนนโยบายควรจะเป็นฝ่ายการเมือง แม้ ผอ.ศอบต. และ ผอ.กอรมน. จะเป็นที่ยอมรับ แต่ก็ต้องถือว่า เป็นตัวแทนของฝ่ายราชการ และฝ่ายความมั่นคง นายกรัฐมนตรีควรมอบหมาย (หรือ แต่งตั้ง) รัฐมนตรีที่จะเข้ามารับหน้าที่นี้เป็นการเฉพาะ
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดทางนโยบายของรัฐบาลเก่า มีความรุนแรงอย่างมาก และต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขได้ ปัญหาความไม่สงบเป็นปัญหาที่ทุกคนในสังคมจะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขอย่างจริงจัง การเริ่มต้นไปในทิศทางที่ถูกต้อง จึงควรได้รับการสานต่อ และผลักดันอย่างเต็มที่จากทุกฝ่าย (เอกสารประกอบ)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ย. 2549--จบ--
ก้าวต่อไปหลังจาก คำขอโทษ การฟื้นศอบต. และการตั้งเขตพัฒนาพิเศษ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๙
www.abhisit.org
นอกเหนือจากการฟื้นฟูประชาธิปไตย และคืนอำนาจสู่ประชาชนแล้ว ภารกิจที่สำคัญที่สุดของรัฐบาลคือการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ดูจะตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้ทุ่มเทเวลาที่ผ่านมามากพอสมควรในการแก้ปัญหานี้ และได้ตัดสินใจที่จะปรับโครงสร้างหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาโดยการ รื้อฟื้น ศอบต. และ พตท.๔๓ ล่าสุดได้มีการประกาศจัดตั้ง “เขตพัฒนาพิเศษ” ใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังได้กล่าวคำ “ขอโทษ” เพื่อยอมรับความผิดพลาดในนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมา
แนวทางของรัฐบาลปัจจุบัน มีความสอดคล้องในระดับหนึ่งกับรายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ (กอส.) และสอดคล้องกับวาระประชาชน : วาระใต้สันติ* ที่ผมและพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศไว้ก่อนที่จะมีการรัฐประหาร อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ก็ยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเห็นได้ชัดว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้เดินหน้ายกระดับการก่อเหตุความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น แม้ว่าแนวทางที่รัฐบาลใช้น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่การแก้ไขปัญหาจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควร และ การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล น่าจะต้องใช้เครื่องมือ และมาตรการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ เพื่อจะทำให้นโยบายต่างๆสัมฤทธิ์ผล
๑. สร้างความเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของการสมานฉันท์
แนวทางสมานฉันท์ หรือ การใช้สันติวิธี เป็นแนวทางที่ถูกต้อง และจำเป็น เพราะ
เหตุการณ์ความรุนแรงที่บานปลาย ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้กำลัง และ วิธีการที่ผิดกฎหมายของฝ่ายรัฐเอง แต่แนวทางนี้ไม่ควรทำให้เกิดความเข้าใจว่า จะไม่มีการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ต้องยอมรับว่า ขณะนี้ยังคงมีความสับสนในหมู่คนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดังที่ได้สะท้อนออกมาจากการเสียขวัญของชุมชนที่อพยพตนเอง โดยเฉพาะชุมชนไทยพุทธ และ ความไม่มั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ
๒. ค้นหาความจริง และ การคืนความยุติธรรมต่อเนื่องจากคำขอโทษ
แม้การกล่าวคำ “ขอโทษ” จะมีคุณค่าในการช่วยแก้ไขปัญหา แต่การกระทำผิดอันเป็น
ที่มาของการกล่าวคำดังกล่าว จำเป็นจะต้องได้รับการสะสางอย่างเร่งด่วนต่อไป รัฐบาลต้องพร้อมที่จะให้สังคมเผชิญความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ กรือเซะ ตากใบ หรือ สะบ้าย้อย รวมทั้งคดีทนายสมชาย และจะต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดรับผิดชอบ
๓. สร้างกลไกเพื่อทำให้เกิดความไว้วางใจในพื้นที่
การแก้ปัญหาโดยการสร้างความสมานฉันท์ และการบังคับใช้กฎหมาย จะไม่บรรลุผลเลย
หากระดับความไว้วางใจระหว่างประชาชน กับ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ยังอยู่ในระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ก่อความไม่สงบประสบความสำเร็จอย่างมาก ในการทำให้ประชาชนในพื้นที่ระแวง ไม่เชื่อ และไม่ต้องการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ ภาพข่าวการชุมนุมต่อต้าน การจับกุม และการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ ตอกย้ำสภาพปัญหาในปัจจุบันเป็นอย่างดี รัฐบาลควรรับข้อเสนอของอดีตสส. ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ ให้มีการจัดตั้งกลไกในพื้นที่ โดยให้มีผู้นำที่ประชาชนยอมรับ ซึ่งอาจจะเป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น หรือผู้นำศาสนา ร่วมกับฝ่ายราชการ เข้ามาตรวจสอบและสะสางข้อกล่าวหาต่างๆ ที่มีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อนำไปสู่การฟื้นความไว้วางใจการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทุกฝ่าย
๔. ทำให้เขตพัฒนาพิเศษเป็นเขตที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
การให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการพัฒนาโดยการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็น
สิ่งที่ดี และดูจะเป็นการตอบสนององค์กรภาคธุรกิจในพื้นที่ แต่ลำพังการพัฒนา โดยการทุ่มเทงบประมาณ หรือการให้สิทธิประโยชน์ที่มักจะจำกัดอยู่ในวงแคบ อาจไม่เพียงพอต่อการเข้าถึงประชาชนในระดับมวลชนในพื้นที่ รัฐบาลจึงควรขยายแนวคิดนี้ ให้ครอบคลุม ข้อเสนอการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อให้การพัฒนาสอดคล้องกับความต้องการ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้ฝ่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยมีเป้าหมายให้การพัฒนาสร้างโอกาสแก่คนหมู่มากในพื้นที่ เช่น ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรที่จะเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล การส่งเสริมการประมง โดยการเจรจากับต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม
๕. ดำเนินการในเชิงรุกในการขอความร่วมมือ จากประเทศเพื่อนบ้านและการต่างประเทศ
นอกเหนือจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว หากรัฐบาลจะรื้อฟื้นโครงการความร่วมมือ
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจด้วย ก็จะทำให้อินโดนีเซีย และมาเลเซีย กับไทย มีผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสร้างสันติสุขในพื้นที่ นอกจากนี้การชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประเทศมุสลิม ถึงความเปลี่ยนแปลงของนโยบาย จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการได้รับความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาอย่างฉับไวกรณี “ต้มยำกุ้ง” เป็นสัญญาณที่ดีว่า นายกรัฐมนตรีมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกของประเทศเพื่อนบ้าน และหวังว่าการกระทบกระทั่งในลักษณะนี้จะได้แปรเปลี่ยนไปเป็นความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
๖. การวางกลไกที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหา
การตรากฎหมายเพื่อรองรับ ศอบต. และเขตพัฒนาเศรษฐกิจ จะช่วยให้เกิดความมั่นใจใน
ความมั่นคงของทิศทางนโยบายการแก้ไขปัญหา กอส. ก็ได้เสนอให้ตรากฎหมาย โดยให้มีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาพร้อมๆ กันไปด้วย การผลักดันกฎหมายน่าจะเป็นประโยชน์ ในการได้การมีส่วนร่วมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งจะสามารถให้มุมมองที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาอีกด้วย
สำหรับฝ่ายบริหารเอง ผู้นำการขับเคลื่อนนโยบายควรจะเป็นฝ่ายการเมือง แม้ ผอ.ศอบต. และ ผอ.กอรมน. จะเป็นที่ยอมรับ แต่ก็ต้องถือว่า เป็นตัวแทนของฝ่ายราชการ และฝ่ายความมั่นคง นายกรัฐมนตรีควรมอบหมาย (หรือ แต่งตั้ง) รัฐมนตรีที่จะเข้ามารับหน้าที่นี้เป็นการเฉพาะ
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดทางนโยบายของรัฐบาลเก่า มีความรุนแรงอย่างมาก และต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขได้ ปัญหาความไม่สงบเป็นปัญหาที่ทุกคนในสังคมจะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไขอย่างจริงจัง การเริ่มต้นไปในทิศทางที่ถูกต้อง จึงควรได้รับการสานต่อ และผลักดันอย่างเต็มที่จากทุกฝ่าย (เอกสารประกอบ)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 พ.ย. 2549--จบ--