กรุงเทพ--14 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์จากกรุงวอชิงตัน ดีซี เกี่ยวกับการเยือนสหรัฐฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การเยือนสหรัฐฯ เป็นไปตามคำเชิญของ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
โดยในระหว่างการหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้หารือกันในประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีและสถานการณ์ในภูมิภาค
2. ดร.กันตธีร์ฯ แจ้ง รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า การเจรจา FTA เป็นเรื่องที่อ่อนไหว รัฐบาลต้องการให้ภาคเอกชน NGOs ฝ่ายนิติบัญญัติ และนักวิชาการของไทย มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ ปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ประสานกัน อย่างไรก็ดี การเจรจารอบใหม่คงต้องรอจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
3. รัฐมนตรีต่างประเทศได้ขอให้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ต่ออายุ การให้สิทธิ GSP แก่ไทยออกไปก่อน แม้ว่าสหรัฐฯ จะเห็นว่าไทยมีรายได้ประชาชาติโดยเปรียบเทียบอยู่ในระดับค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่ได้รับสิทธิ GSP ไทยต้องการให้สหรัฐฯ คงสิทธิ GSP แก่ไทยไว้บางส่วน การตัด GSP จะกระทบต่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย
4. รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ สนับสนุนการมีบทบาทของไทยในการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะความช่วยเหลือที่ไทยให้แก่อัฟกานิสถานซึ่งจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถานด้วย
5. ดร.กันตธีร์ฯ ได้ขอให้สหรัฐฯ สนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
6. ดร.กันตธีร์ฯ ได้เสนอว่า การประชุม Asian Regional Forum (ARF) ปลายเดือนกรกฎาคม ศกนี้ จะเป็นโอกาสที่จะได้มีการหารือปัญหาเกาหลีเหนือ ด้วยเหตุว่าการประชุม ARF นอกจากจะมีประเทศอาเซียนเข้าร่วมประชุมแล้ว ยังมีประเทศที่ร่วมในการเจรจาปัญหาเกาหลีเหนือ 6 ฝ่ายในระดับที่สูงกว่าการประชุม 6 ฝ่ายที่จีนร่วมอยู่ด้วย ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เห็นพ้องและจะเข้าร่วมประชุมด้วย และสนใจที่จะเห็นบทบาทของไทยในการช่วยแก้ไขปัญหาเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ ดร.กันตธีร์ฯ กำหนดจะพบหารือกับ รมว.กต.เกาหลีเหนือ นอกรอบการประชุม ARF ด้วย
7. นอกจากนั้น ดร.กันตธีร์ฯ ได้พบหารือกับนาย Gordon England รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เนื่องจากรัฐมนตรีกลาโหมเดินทางไปอัฟกานิสถาน ทั้งสองฝ่ายได้เน้นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายสหรัฐฯ พอใจกับการฝึกรบร่วม Cobra Gold ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติระหว่างประเทศ โดยสหประชาชาติกำลังจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติ ซึ่งสนามบินอู่ตะเภามีความเหมาะสม
8. ดร.กันตธีร์ฯ ได้เข้าพบกับฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ ได้แก่ นาย Christopher Bond วุฒิสมาชิก พรรครีพับลิกัน มลรัฐมิสซูรี ประธานคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณ นาย Thomas Lantos สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคเดโมแครต มลรัฐแคลิฟอร์เนีย คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ และนาง Lisa Murkowski วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน มลรัฐอะแลสกา ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับปัญหาเกาหลีเหนือ พม่า และอิหร่าน โดยสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ดร. กันตธีร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ส่งจดหมายไปถึงนายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับสถานการณ์เมืองไทยว่า เนื้อหาของจดหมายเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในไทย เป็นลักษณะจดหมายส่วนบุคคล (Personal Letter) จากผู้นำประเทศหนึ่งถึงผู้นำอีกประเทศหนึ่ง ในฐานะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับประธานาธิบดีบุช มีความสนิทสนมกัน ไม่ใช่เป็นจดหมายส่วนตัว (Private Letter) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสหรัฐฯ โดยอธิบายให้สหรัฐฯ ทราบว่ารัฐบาลไทยมีความตั้งใจจะแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี (ไม่มีการใช้ความรุนแรง) ในกรอบรัฐธรรมนูญ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และมีกรอบเวลาที่จะเดินหน้าทางการเมือง โดยคาดว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 15 ต.ค. นี้ ทั้งนี้ เมื่อไทยมีรัฐบาลชุดใหม่ ก็พร้อมที่จะเดินหน้าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยจดหมายดังกล่าวทำขึ้นเพื่อเสริมความเชื่อมั่นกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีโอกาสชี้แจงสถานการณ์ภายในประเทศกับประธานาธิบดีบุชด้วยตนเอง ทั้งนี้ การสร้างความเชื่อมั่น มี 3 ส่วน 1. ยืนยันว่าเราจะเดินหน้าตามกรอบรัฐธรรมนูญ 2. ไม่มีการใช้ความรุนแรง และ 3. มีกรอบเวลาในการเดินหน้า
ต่อคำถามที่ว่า จดหมายดังกล่าวมีการกล่าวพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ในทางการเมืองนั้น ทุกคนสามารถมีข้อคิดเห็นได้ ซึ่งการส่งจดหมายดังกล่าวเป็นการอธิบายมุมมองทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงว่าสหรัฐฯ จะลดความเชื่อมั่นจากไทยไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2549 ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์จากกรุงวอชิงตัน ดีซี เกี่ยวกับการเยือนสหรัฐฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การเยือนสหรัฐฯ เป็นไปตามคำเชิญของ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
โดยในระหว่างการหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้หารือกันในประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีและสถานการณ์ในภูมิภาค
2. ดร.กันตธีร์ฯ แจ้ง รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ว่า การเจรจา FTA เป็นเรื่องที่อ่อนไหว รัฐบาลต้องการให้ภาคเอกชน NGOs ฝ่ายนิติบัญญัติ และนักวิชาการของไทย มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ ปัจจุบันรัฐบาลสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ประสานกัน อย่างไรก็ดี การเจรจารอบใหม่คงต้องรอจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่
3. รัฐมนตรีต่างประเทศได้ขอให้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ต่ออายุ การให้สิทธิ GSP แก่ไทยออกไปก่อน แม้ว่าสหรัฐฯ จะเห็นว่าไทยมีรายได้ประชาชาติโดยเปรียบเทียบอยู่ในระดับค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่ได้รับสิทธิ GSP ไทยต้องการให้สหรัฐฯ คงสิทธิ GSP แก่ไทยไว้บางส่วน การตัด GSP จะกระทบต่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย
4. รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ สนับสนุนการมีบทบาทของไทยในการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะความช่วยเหลือที่ไทยให้แก่อัฟกานิสถานซึ่งจะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถานด้วย
5. ดร.กันตธีร์ฯ ได้ขอให้สหรัฐฯ สนับสนุน ดร.สุรเกียรติ์ฯ ในตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
6. ดร.กันตธีร์ฯ ได้เสนอว่า การประชุม Asian Regional Forum (ARF) ปลายเดือนกรกฎาคม ศกนี้ จะเป็นโอกาสที่จะได้มีการหารือปัญหาเกาหลีเหนือ ด้วยเหตุว่าการประชุม ARF นอกจากจะมีประเทศอาเซียนเข้าร่วมประชุมแล้ว ยังมีประเทศที่ร่วมในการเจรจาปัญหาเกาหลีเหนือ 6 ฝ่ายในระดับที่สูงกว่าการประชุม 6 ฝ่ายที่จีนร่วมอยู่ด้วย ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เห็นพ้องและจะเข้าร่วมประชุมด้วย และสนใจที่จะเห็นบทบาทของไทยในการช่วยแก้ไขปัญหาเกาหลีเหนือ ทั้งนี้ ดร.กันตธีร์ฯ กำหนดจะพบหารือกับ รมว.กต.เกาหลีเหนือ นอกรอบการประชุม ARF ด้วย
7. นอกจากนั้น ดร.กันตธีร์ฯ ได้พบหารือกับนาย Gordon England รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ เนื่องจากรัฐมนตรีกลาโหมเดินทางไปอัฟกานิสถาน ทั้งสองฝ่ายได้เน้นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายสหรัฐฯ พอใจกับการฝึกรบร่วม Cobra Gold ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติระหว่างประเทศ โดยสหประชาชาติกำลังจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือกรณีภัยพิบัติ ซึ่งสนามบินอู่ตะเภามีความเหมาะสม
8. ดร.กันตธีร์ฯ ได้เข้าพบกับฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภาสหรัฐฯ ได้แก่ นาย Christopher Bond วุฒิสมาชิก พรรครีพับลิกัน มลรัฐมิสซูรี ประธานคณะอนุกรรมาธิการงบประมาณ นาย Thomas Lantos สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคเดโมแครต มลรัฐแคลิฟอร์เนีย คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ และนาง Lisa Murkowski วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน มลรัฐอะแลสกา ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับปัญหาเกาหลีเหนือ พม่า และอิหร่าน โดยสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยช่วยกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้
ดร. กันตธีร์ฯ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ส่งจดหมายไปถึงนายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับสถานการณ์เมืองไทยว่า เนื้อหาของจดหมายเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในไทย เป็นลักษณะจดหมายส่วนบุคคล (Personal Letter) จากผู้นำประเทศหนึ่งถึงผู้นำอีกประเทศหนึ่ง ในฐานะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับประธานาธิบดีบุช มีความสนิทสนมกัน ไม่ใช่เป็นจดหมายส่วนตัว (Private Letter) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสหรัฐฯ โดยอธิบายให้สหรัฐฯ ทราบว่ารัฐบาลไทยมีความตั้งใจจะแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี (ไม่มีการใช้ความรุนแรง) ในกรอบรัฐธรรมนูญ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และมีกรอบเวลาที่จะเดินหน้าทางการเมือง โดยคาดว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 15 ต.ค. นี้ ทั้งนี้ เมื่อไทยมีรัฐบาลชุดใหม่ ก็พร้อมที่จะเดินหน้าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยจดหมายดังกล่าวทำขึ้นเพื่อเสริมความเชื่อมั่นกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีโอกาสชี้แจงสถานการณ์ภายในประเทศกับประธานาธิบดีบุชด้วยตนเอง ทั้งนี้ การสร้างความเชื่อมั่น มี 3 ส่วน 1. ยืนยันว่าเราจะเดินหน้าตามกรอบรัฐธรรมนูญ 2. ไม่มีการใช้ความรุนแรง และ 3. มีกรอบเวลาในการเดินหน้า
ต่อคำถามที่ว่า จดหมายดังกล่าวมีการกล่าวพาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ถือว่าเหมาะสมหรือไม่ ดร. กันตธีร์ฯ กล่าวว่า ในทางการเมืองนั้น ทุกคนสามารถมีข้อคิดเห็นได้ ซึ่งการส่งจดหมายดังกล่าวเป็นการอธิบายมุมมองทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงว่าสหรัฐฯ จะลดความเชื่อมั่นจากไทยไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-