อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะ ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่
สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 38.72 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มี
อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.93 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.87 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มี
ปริมาณการผลิต 2.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.32 และ 8.76
ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 75.98 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
4.30 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตรา การขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.06 และ 6.20 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกขยายตัวลด
ลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้
ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 40.26 ล้านตารางเมตร เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.48 และ 4.13 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มี
ปริมาณการจำหน่าย 1.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 2.08 และ
10.57 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความ
ต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง (ตาราง ที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 84.24 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มี
ปริมาณ 2.44 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.23 และ 7.37 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจาก
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงจากปัญหาต่าง ๆ ทั้งราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคชะลอ
การตัดสินใจซื้อ ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาลง
การจำหน่ายเซรามิกมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศที่แข่งขันกันเอง และจากสินค้าต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากงาน
สถาปนิก’ 49 ที่มีบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก แม้ว่าการจัดงานสถาปนิกแต่ละปีจะเป็นเวทีการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ผู้ผลิตจะนำ
เสนอสินค้า ทั้งด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยี มาแสดงในงาน และปกติผู้ประกอบการในประเทศจะให้ความ สำคัญในการเข้าร่วมงานเป็น
จำนวนมาก แต่จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องเพิ่มความระมัดระวังในการวางกลยุทธ์การตลาดมากขึ้น จึงตัดสินใจ
ไม่เข้าร่วมงานดังกล่าว
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 167.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยาย
ตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.79 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.28 (ตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการขยาย
ตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สำหรับผลิตภัณฑ์ที่การ
ส่งออกขยายตัวลดลง ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และของชำร่วยเครื่อง ประดับ ซึ่งขยายตัวลดลงจากตลาดหลักดังกล่าว
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียสหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ เยอรมนี แคนาดา และ
ประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีมูลค่ารวม 327.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกัน ของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.72 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง ขยายตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดอาเซียน และเครื่องสุขภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา สำหรับผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
ขยายตัวลดลงในตลาดสหภาพยุโรป และของชำร่วยเครื่องประดับ ขยายตัวลดลงเกือบทุกตลาด ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหภาพ
ยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.51 และ 0.24 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีมูลค่า 81.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.50 (ตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้อง
ปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง มีการขยายตัวลด
ลง จากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับในช่วงไตร
มาสที่ 2 และ 3 ของปีเป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ความต้องการใช้ในประเทศจึงลดลง ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต่างมุ่งเน้นตลาดส่งออกเพิ่มมาก
ขึ้น สำหรับการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ยังมีตลาดของการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และตลาดของ
คอนโดมิเนียมเข้ามาทดแทนการชะลอตัวของตลาดบ้านจัดสรรที่มีราคาแพง และหากปัญหาการเมืองในประเทศคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีจะทำให้เศรษฐกิจ
ของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้างตามไปด้วย
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่ง
ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีแนวโน้มขยายตัวลดลงมาตลอด จึงจำเป็นที่ผู้ผลิต
ไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้สามารถแข่งขันได้โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 39,064,575 37,259,571 38,724,878 76,026,338 75,984,449
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.93
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.87 -0.06
การจำหน่ายในประเทศ 41,992,454 43,987,229 40,256,502 86,164,488 84,243,731
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.48
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.13 -2.23
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 2,352,863 2,153,637 2,146,671 4,584,412 4,300,308
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.32
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.76 -6.2
การจำหน่ายในประเทศ 1,350,379 1,233,284 1,207,623 2,635,039 2,440,907
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.08
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.57 -7.37
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 29.9 26.2 25.8 50 52
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.53
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -13.71 4
เครื่องสุขภัณฑ์ 26.5 25.5 27.8 51.6 53.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.02
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.91 3.29
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 44.9 38.8 46.10 86.6 84.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 18.81
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.67 -1.96
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8 7.4 6.3 16.6 13.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -14.86
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -21.25 -17.47
ลูกถ้วยไฟฟ้า 3.7 6.3 5.3 7 11.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -15.87
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.24 65.71
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 57.9 56.7 55.7 89.8 112.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.76
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.8 25.17
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 170.9 160.9 167 301.6 327.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.79
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.28 8.72
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ช่วงเวลา
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 15 13.6 14 31.3 27.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.94
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.67 -11.82
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 26.2 23.3 30.3 46.4 53.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 30.04
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.65 15.52
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 41.2 39.9 41.3 77.7 81.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.24 4.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 38.72 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มี
อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.93 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.87 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มี
ปริมาณการผลิต 2.15 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.32 และ 8.76
ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 75.98 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ
4.30 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตรา การขยายตัวลดลง ร้อยละ 0.06 และ 6.20 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกขยายตัวลด
ลงจากภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้
ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ การจำหน่าย 40.26 ล้านตารางเมตร เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 8.48 และ 4.13 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มี
ปริมาณการจำหน่าย 1.21 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 2.08 และ
10.57 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ ฤดูฝน ตลอดจนภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซา ทำให้ความ
ต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง (ตาราง ที่ 1 และ 2)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 84.24 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มี
ปริมาณ 2.44 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.23 และ 7.37 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจาก
ภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงจากปัญหาต่าง ๆ ทั้งราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนปัญหาทางการเมือง ทำให้ผู้บริโภคชะลอ
การตัดสินใจซื้อ ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศซบเซาลง
การจำหน่ายเซรามิกมีการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ผลิตในประเทศที่แข่งขันกันเอง และจากสินค้าต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากงาน
สถาปนิก’ 49 ที่มีบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก แม้ว่าการจัดงานสถาปนิกแต่ละปีจะเป็นเวทีการเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ผู้ผลิตจะนำ
เสนอสินค้า ทั้งด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยี มาแสดงในงาน และปกติผู้ประกอบการในประเทศจะให้ความ สำคัญในการเข้าร่วมงานเป็น
จำนวนมาก แต่จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องเพิ่มความระมัดระวังในการวางกลยุทธ์การตลาดมากขึ้น จึงตัดสินใจ
ไม่เข้าร่วมงานดังกล่าว
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 167.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยาย
ตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.79 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.28 (ตารางที่ 3) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการขยาย
ตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป สำหรับผลิตภัณฑ์ที่การ
ส่งออกขยายตัวลดลง ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และของชำร่วยเครื่อง ประดับ ซึ่งขยายตัวลดลงจากตลาดหลักดังกล่าว
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียสหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ เยอรมนี แคนาดา และ
ประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีมูลค่ารวม 327.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะ
เดียวกัน ของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.72 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง ขยายตัวเพิ่มขึ้นใน
ตลาดอาเซียน และเครื่องสุขภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา สำหรับผลิตภัณฑ์ที่การส่งออกขยายตัวลดลง ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
ขยายตัวลดลงในตลาดสหภาพยุโรป และของชำร่วยเครื่องประดับ ขยายตัวลดลงเกือบทุกตลาด ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกา ตลาดญี่ปุ่น และตลาดสหภาพ
ยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์
เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 มีมูลค่า 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.51 และ 0.24 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีมูลค่า 81.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.50 (ตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้อง
ปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง มีการขยายตัวลด
ลง จากภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับในช่วงไตร
มาสที่ 2 และ 3 ของปีเป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ความต้องการใช้ในประเทศจึงลดลง ทำให้ผู้ผลิตหลายรายต่างมุ่งเน้นตลาดส่งออกเพิ่มมาก
ขึ้น สำหรับการผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังมีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ยังมีตลาดของการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และตลาดของ
คอนโดมิเนียมเข้ามาทดแทนการชะลอตัวของตลาดบ้านจัดสรรที่มีราคาแพง และหากปัญหาการเมืองในประเทศคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีจะทำให้เศรษฐกิจ
ของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้างตามไปด้วย
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่ง
ตลาดหลักที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีแนวโน้มขยายตัวลดลงมาตลอด จึงจำเป็นที่ผู้ผลิต
ไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้สามารถแข่งขันได้โดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา
ตารางที่ 1 การผลิต และจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ปริมาณ (ตารางเมตร) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 39,064,575 37,259,571 38,724,878 76,026,338 75,984,449
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.93
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.87 -0.06
การจำหน่ายในประเทศ 41,992,454 43,987,229 40,256,502 86,164,488 84,243,731
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -8.48
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.13 -2.23
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 11 โรงงาน
ตารางที่ 2 การผลิต และจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์
ปริมาณ (ชิ้น) ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
การผลิต 2,352,863 2,153,637 2,146,671 4,584,412 4,300,308
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -0.32
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -8.76 -6.2
การจำหน่ายในประเทศ 1,350,379 1,233,284 1,207,623 2,635,039 2,440,907
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -2.08
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -10.57 -7.37
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานเครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ช่วงเวลา
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 29.9 26.2 25.8 50 52
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.53
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -13.71 4
เครื่องสุขภัณฑ์ 26.5 25.5 27.8 51.6 53.3
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 9.02
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.91 3.29
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 44.9 38.8 46.10 86.6 84.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 18.81
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.67 -1.96
ของชำร่วยเครื่องประดับ 8 7.4 6.3 16.6 13.7
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -14.86
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -21.25 -17.47
ลูกถ้วยไฟฟ้า 3.7 6.3 5.3 7 11.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -15.87
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 43.24 65.71
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 57.9 56.7 55.7 89.8 112.4
% D เทียบกับไตรมาสก่อน -1.76
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.8 25.17
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 170.9 160.9 167 301.6 327.9
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.79
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -2.28 8.72
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
ตารางที่ 4 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ช่วงเวลา
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส ปี 2548 ปี 2549
2/2548 1/2549 2/2549 (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.)
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 15 13.6 14 31.3 27.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 2.94
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -6.67 -11.82
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 26.2 23.3 30.3 46.4 53.6
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 30.04
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.65 15.52
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 41.2 39.9 41.3 77.7 81.2
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 3.51
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.24 4.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่ โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง
ในบ้านเรือน พิกัด 6913 และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในพิกัด 6914 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-