ยิ่งใกล้วันที่ 10 ธันวาคม เข้ามามากเพียงใด ข่าวคราวเรื่องการชุมนุมที่จะมีขึ้นที่ท้องสนามหลวง ในวันนั้นดูจะยิ่งมีการกล่าวถึงกันมากขึ้น จึงทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งในคณะรัฐบาลและคมช. ต้องหันมาเอาใจใส่ด้วยความรู้สึกวิตกกังวลกันพอสมควร
ผมเข้าใจว่า ที่ต้องมาวิตกกังวลกัน ก็เพราะว่าเคยมีการชุมนุมกันที่นั่นมาก่อนหน้านี้แล้ว พร้อมกับประกาศว่าจะมีการชุมนุมกันอีก และก็มีการให้ข่าวว่าจะมีผู้มาร่วมชุมนุมถึง 30,000 คน นี่ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งก็คือ มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวลึก ๆ ของคลื่นใต้น้ำ อันเป็นเครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่าที่สูญเสียอำนาจไป ซึ่งมีความเคลื่อนไหวอยู่เป็นครั้งคราว โดยการเปิดเผยของคมช. และโดยการเปิดโปงโดยเครือข่ายที่ขับเคลื่อนเอง ถึงขนาดว่ามีน้ำหล่อเลี้ยงมาจากใครอย่างไรจนมีการฟ้องร้องในระหว่างกันเองอีกด้วย
ผมเชื่อว่า เครือข่ายที่เรียกกันในเวลานี้ว่า คลื่นใต้น้ำ นั้นมีจริง เพราะเคยเห็นฤทธิ์เดชกันมาแล้ว ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งครั้งหลังสุด รวมทั้งการแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการประลองกำลังกับผู้ร่วมชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติซึ่งหลังสุดได้กลายเป็นความวิตกกังวลจนกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการยึดอำนาจ เมื่อ 19 ก.ย. 2549 การเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งโดยคมช. และเครือข่ายของผู้ชุมนุมในคราวนี้ จึงเป็นข้อสนับสนุนถึงความเป็นจริงในเรื่องนี้ และเป็นสัญญาณบอกเหตุทางด้านการเมืองภายในประเทศอย่างหนึ่ง
การให้ความสนใจของคมช. ต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้จึงเป็นเรื่องที่สมควรทำเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง เป็นหน้าที่โดยตรงของคมช. อย่างไรก็ตามผมคิดว่าเมื่อถึงเวลาจริง ๆ การชุมนุมที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 10 ธันวาคมนั้น ก็คงมิใช่การชุมนุมอะไรที่ใหญ่โตอะไรมากมาย เรื่องที่จะมีผู้มาชุมนุมเป็นจำนวนหมื่นนั้น เลิกพูดถึงได้เลย ถ้าเป็นจำนวนร้อย จำนวนพันยังพอเป็นเรื่องเป็นไปได้ซึ่งผู้เกี่ยวข้องของ คมช. เองก็ดูจะมีความเข้าใจในทำนองนี้อยู่แล้ว กล่าวคือ
ด้วยพระบารมีปกเกล้า ฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้มีพระราชดำรัสเป็นกำลังใจแก่นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นสติเตือนใจคนไทยโดยทั่วไปในเรื่องความมีสติปัญญาชาญฉลาด สามารถด้วยคุณธรรมความดีและด้วยความสามัคคีปรองดองที่ช่วยให้ชาติอยู่รอดได้ ได้ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองและความเร่าร้อนด้วยประการต่าง ๆ เย็นลงในทันที
การที่คมช. มุ่งสกัดแหล่งที่มาของท่อน้ำเลี้ยงคือ เงิน ที่เป็นมูลเหตุจูงใจสำคัญของผู้ขับเคลื่อนการชุมนุมและการบริหารจัดการการชุมนุมถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด
แต่ข้อสำคัญที่ คมช. ต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องเช่นเดียวกันก็คือว่า การเคลื่อนไหวด้วยประการต่าง ๆ ของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำที่มีอยู่ในทุกวันนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ด้วยความมุ่งหมายที่พอจะมองเห็นได้ 2 ประการด้วยกันคือ
1. เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความยุ่งยากต่อรัฐบาล และคมช. และเป็นการลองของเพื่อทดสอบความเข้มแข็งและรัดกุมของ คมช.
2. เพื่อสร้างความขัดแย้งระหว่าง คมช. และกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นที่จะมีการชุมนุมขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมเนื่องในวันสิทธิมนุษยชน และวันรัฐธรรมนูญ
คมช. จึงต้องรู้เขารู้เราและรู้ทันความมุ่งหมายเหล่านี้ การจำแนกผู้ชุมนุมแต่ละกลุ่มออกจากกันอย่างชัดเจนรวมทั้งการกำหนดแนวทางปฏิบัติการต่อแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งจะได้ไม่ตกอยู่ภายใต้กับดักของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งรอคอยโอกาสอยู่ กลุ่มผู้ชุมนุมอุดมการณ์ทั้งหลายก็ควรที่จะได้รับทราบและรู้ทันความมุ่งหมายซ่อนเร้นของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน
กลุ่มอำนาจเก่ายังรอคอยโอกาสอยู่จริง ๆ การเคลื่อนไหวของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำที่มีอยู่ในทุกวันนี้จึงเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น และจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นต้นไป ผมจึงใช้หัวข้อเรื่อง “10 ธันวา ไม่มีปัญหา — แต่ปีหน้าอันตราย”
ปีหน้าอันตรายเพราะคลื่นใต้น้ำจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นก็เพราะ “ภาวะวิสัย” เอื้ออำนวย กล่าวคือ
1. เป็นช่วงเวลาของการเร่งพิจารณาวินิจฉัยกรณียุบพรรคการเมือง
2. เป็นช่วงเวลาของการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีสำคัญ ๆ โดยคตส.
3. เป็นช่วงเวลาที่ปัญหาค้างคาจะสำแดงผล เช่น ปัญหาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปัญหาของกลุ่มเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาพืชผลการเกษตร ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคงจะยังไม่ลดความรุนแรงลงมากนัก
4. เป็นช่วงเวลาของการเปิดตัวสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะได้ตัวบุคคลและแนวคิดที่อาจจะไม่ถูกต้องและถูกใจกันมากเท่าที่ควร
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่สับสน และอาจใช้ขยายผลในการหาแนวร่วม ร่วมเคลื่อนไหวเพื่อรบเร้ารัฐบาลและ คมช. ให้เกิดความยุ่งยากได้ด้วยกันทั้งสิ้น และผมขอฟันธงเอาไว้ตรงนี้เลยว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมในตอนต้นปีจะเริ่มต้นด้วยปัญหา “ทุกข์ของชาวบ้าน” ก่อน
จึงเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาล และคมช. จะต้องคิดอ่านวิเคราะห์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อกรณีเหล่านี้ด้วย ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและลงมือปฏิบัติโดยทันทีมิใช่ปล่อยให้เกิดเรื่องก่อนแล้วค่อยมาคิดอ่านแก้ไขในลักษณะของการตั้งรับซึ่งอาจจะสายเกินแก้เพราะสงครามทางการเมืองนั้น เราก็เคยเห็นกันมามากแล้วว่าเรื่องเล็ก ๆ อาจบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้เสมอซึ่งผมเห็นว่า “ภูมิคุ้มกัน” ที่ได้ผลแน่นอน ก็คือการปฏิบัติการที่เป็นจริงในสิ่งที่ประชาชนตั้งความหวังไว้และอยากจะเห็นว่าเป็นเรื่องจริงตามที่ได้มีการบอกกล่าวกันไว้
เพราะฉะนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ คมช. คตส. และรัฐบาล (เรียงลำดับที่มา ตามวันเวลาที่เกิดมีขึ้น) จะต้องร่วมมือกันเป็น 3 ประสาน เพื่อเร่งรัดปฏิบัติการที่เป็นจริงในสิ่งที่เป็นความหวังของประชาชนและเร่งขจัดความสับสนด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงต่อประชาชนอย่างทั่วถึงดังนี้
1. เร่งรัดผลการตรวจสอบกรณีการทุจริต คอร์รัปชั่น รายสำคัญ ๆ ให้เป็นผลสำเร็จโดยเร็ว เพราะจะเป็นทั้งบทพิสูจน์เหตุอ้างของการยึดอำนาจและเป็นทั้งความชอบธรรมที่จะได้ยึดเอาผลประโยชน์ของชาติคืนมาซึ่งไม่ควรจะล่าช้าเกินไปกว่า 19 ม.ค. 2550 (4 เดือนภายหลังการยึดอำนาจ) เรื่องเหล่านี้หากทำสำเร็จแล้วเมื่อใดประชาชนโดยทั่วไปจะเกิดความนิยมชมชอบและมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นในทันที
2. เร่งดำเนินการแก้ปัญหาของประชาชนที่ยังค้างคาอยู่ให้เกิดผลสำเร็จตามสมควร โดยเฉพาะปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากอุทกภัย ปัญหาราคาพืชผลของเกษตรกร เพราะเป็น “ปัญหาทุกข์ของชาวบ้าน” ที่ควรจะได้รับการแก้ไขและเพื่อลดเงื่อนไขหาแนวร่วมเพื่อการเคลื่อนไหวของคลื่นใต้น้ำ
3. การพิจารณาวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง โดยตุลาการรัฐธรรมนูญควรจะได้จัดให้มีการรายงานข่าวโดยสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ของรัฐบาลเป็นระยะ ๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อป้องกันการบิดเบือน
4. การพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่มีลักษณะของความเป็นพวกพ้องหากจะต้องเป็นเรื่องของความเหมาะสมเป็นสำคัญและต้องไม่มีแนวคิดที่ล้าหลังกว่าเดิมและสืบทอดอำนาจ
5. เร่งใช้สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ของรัฐ โดยเฉพาะที่อยู่ภายใต้การกำกับของกรมประชาสัมพันธ์เพื่อรายงานผลความก้าวหน้าในข้อ 1 — 4 สร้างความเข้าใจเพื่อลดความสับสนในประการต่าง ๆ และเสริมสร้างบรรยากาศของการปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปอย่างคึกคัก
6. ในพื้นที่ใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสร้างความเข้าใจแล้วยังไม่เป็นผลเพราะมีเครือข่ายคลื่นใต้น้ำเคลื่อนไหวสร้างความสับสนก็ควรจะได้พิจารณาส่งกำลังพลจากหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา กอ.รมน. ไปดำเนินการเสริมสร้างความเข้าใจเป็นพื้นที่ ๆ ไป
เหล่านี้ก็จะเป็น “ภูมิคุ้มกัน” อย่างสำคัญต่อกระบวนการ “ป่วนเมือง” ที่จะเกิดขึ้นในตอนต้นปีหน้าได้มิฉะนั้นแล้ว “ปีหน้าอันตรายแน่นอน”
*********************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ธ.ค. 2549--จบ--
ผมเข้าใจว่า ที่ต้องมาวิตกกังวลกัน ก็เพราะว่าเคยมีการชุมนุมกันที่นั่นมาก่อนหน้านี้แล้ว พร้อมกับประกาศว่าจะมีการชุมนุมกันอีก และก็มีการให้ข่าวว่าจะมีผู้มาร่วมชุมนุมถึง 30,000 คน นี่ประการหนึ่ง กับอีกประการหนึ่งก็คือ มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวลึก ๆ ของคลื่นใต้น้ำ อันเป็นเครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่าที่สูญเสียอำนาจไป ซึ่งมีความเคลื่อนไหวอยู่เป็นครั้งคราว โดยการเปิดเผยของคมช. และโดยการเปิดโปงโดยเครือข่ายที่ขับเคลื่อนเอง ถึงขนาดว่ามีน้ำหล่อเลี้ยงมาจากใครอย่างไรจนมีการฟ้องร้องในระหว่างกันเองอีกด้วย
ผมเชื่อว่า เครือข่ายที่เรียกกันในเวลานี้ว่า คลื่นใต้น้ำ นั้นมีจริง เพราะเคยเห็นฤทธิ์เดชกันมาแล้ว ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งครั้งหลังสุด รวมทั้งการแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการประลองกำลังกับผู้ร่วมชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติซึ่งหลังสุดได้กลายเป็นความวิตกกังวลจนกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการยึดอำนาจ เมื่อ 19 ก.ย. 2549 การเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งโดยคมช. และเครือข่ายของผู้ชุมนุมในคราวนี้ จึงเป็นข้อสนับสนุนถึงความเป็นจริงในเรื่องนี้ และเป็นสัญญาณบอกเหตุทางด้านการเมืองภายในประเทศอย่างหนึ่ง
การให้ความสนใจของคมช. ต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้จึงเป็นเรื่องที่สมควรทำเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง เป็นหน้าที่โดยตรงของคมช. อย่างไรก็ตามผมคิดว่าเมื่อถึงเวลาจริง ๆ การชุมนุมที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 10 ธันวาคมนั้น ก็คงมิใช่การชุมนุมอะไรที่ใหญ่โตอะไรมากมาย เรื่องที่จะมีผู้มาชุมนุมเป็นจำนวนหมื่นนั้น เลิกพูดถึงได้เลย ถ้าเป็นจำนวนร้อย จำนวนพันยังพอเป็นเรื่องเป็นไปได้ซึ่งผู้เกี่ยวข้องของ คมช. เองก็ดูจะมีความเข้าใจในทำนองนี้อยู่แล้ว กล่าวคือ
ด้วยพระบารมีปกเกล้า ฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้มีพระราชดำรัสเป็นกำลังใจแก่นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นสติเตือนใจคนไทยโดยทั่วไปในเรื่องความมีสติปัญญาชาญฉลาด สามารถด้วยคุณธรรมความดีและด้วยความสามัคคีปรองดองที่ช่วยให้ชาติอยู่รอดได้ ได้ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองและความเร่าร้อนด้วยประการต่าง ๆ เย็นลงในทันที
การที่คมช. มุ่งสกัดแหล่งที่มาของท่อน้ำเลี้ยงคือ เงิน ที่เป็นมูลเหตุจูงใจสำคัญของผู้ขับเคลื่อนการชุมนุมและการบริหารจัดการการชุมนุมถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด
แต่ข้อสำคัญที่ คมช. ต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้องเช่นเดียวกันก็คือว่า การเคลื่อนไหวด้วยประการต่าง ๆ ของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำที่มีอยู่ในทุกวันนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น ด้วยความมุ่งหมายที่พอจะมองเห็นได้ 2 ประการด้วยกันคือ
1. เพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความยุ่งยากต่อรัฐบาล และคมช. และเป็นการลองของเพื่อทดสอบความเข้มแข็งและรัดกุมของ คมช.
2. เพื่อสร้างความขัดแย้งระหว่าง คมช. และกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นที่จะมีการชุมนุมขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมเนื่องในวันสิทธิมนุษยชน และวันรัฐธรรมนูญ
คมช. จึงต้องรู้เขารู้เราและรู้ทันความมุ่งหมายเหล่านี้ การจำแนกผู้ชุมนุมแต่ละกลุ่มออกจากกันอย่างชัดเจนรวมทั้งการกำหนดแนวทางปฏิบัติการต่อแต่ละกลุ่มอย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งจะได้ไม่ตกอยู่ภายใต้กับดักของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งรอคอยโอกาสอยู่ กลุ่มผู้ชุมนุมอุดมการณ์ทั้งหลายก็ควรที่จะได้รับทราบและรู้ทันความมุ่งหมายซ่อนเร้นของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำเหล่านี้ด้วยเช่นเดียวกัน
กลุ่มอำนาจเก่ายังรอคอยโอกาสอยู่จริง ๆ การเคลื่อนไหวของเครือข่ายคลื่นใต้น้ำที่มีอยู่ในทุกวันนี้จึงเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น และจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นต้นไป ผมจึงใช้หัวข้อเรื่อง “10 ธันวา ไม่มีปัญหา — แต่ปีหน้าอันตราย”
ปีหน้าอันตรายเพราะคลื่นใต้น้ำจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นก็เพราะ “ภาวะวิสัย” เอื้ออำนวย กล่าวคือ
1. เป็นช่วงเวลาของการเร่งพิจารณาวินิจฉัยกรณียุบพรรคการเมือง
2. เป็นช่วงเวลาของการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีสำคัญ ๆ โดยคตส.
3. เป็นช่วงเวลาที่ปัญหาค้างคาจะสำแดงผล เช่น ปัญหาการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปัญหาของกลุ่มเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาพืชผลการเกษตร ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคงจะยังไม่ลดความรุนแรงลงมากนัก
4. เป็นช่วงเวลาของการเปิดตัวสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะได้ตัวบุคคลและแนวคิดที่อาจจะไม่ถูกต้องและถูกใจกันมากเท่าที่ควร
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่สับสน และอาจใช้ขยายผลในการหาแนวร่วม ร่วมเคลื่อนไหวเพื่อรบเร้ารัฐบาลและ คมช. ให้เกิดความยุ่งยากได้ด้วยกันทั้งสิ้น และผมขอฟันธงเอาไว้ตรงนี้เลยว่าการเคลื่อนไหวชุมนุมในตอนต้นปีจะเริ่มต้นด้วยปัญหา “ทุกข์ของชาวบ้าน” ก่อน
จึงเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาล และคมช. จะต้องคิดอ่านวิเคราะห์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อกรณีเหล่านี้ด้วย ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและลงมือปฏิบัติโดยทันทีมิใช่ปล่อยให้เกิดเรื่องก่อนแล้วค่อยมาคิดอ่านแก้ไขในลักษณะของการตั้งรับซึ่งอาจจะสายเกินแก้เพราะสงครามทางการเมืองนั้น เราก็เคยเห็นกันมามากแล้วว่าเรื่องเล็ก ๆ อาจบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้เสมอซึ่งผมเห็นว่า “ภูมิคุ้มกัน” ที่ได้ผลแน่นอน ก็คือการปฏิบัติการที่เป็นจริงในสิ่งที่ประชาชนตั้งความหวังไว้และอยากจะเห็นว่าเป็นเรื่องจริงตามที่ได้มีการบอกกล่าวกันไว้
เพราะฉะนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ คมช. คตส. และรัฐบาล (เรียงลำดับที่มา ตามวันเวลาที่เกิดมีขึ้น) จะต้องร่วมมือกันเป็น 3 ประสาน เพื่อเร่งรัดปฏิบัติการที่เป็นจริงในสิ่งที่เป็นความหวังของประชาชนและเร่งขจัดความสับสนด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงต่อประชาชนอย่างทั่วถึงดังนี้
1. เร่งรัดผลการตรวจสอบกรณีการทุจริต คอร์รัปชั่น รายสำคัญ ๆ ให้เป็นผลสำเร็จโดยเร็ว เพราะจะเป็นทั้งบทพิสูจน์เหตุอ้างของการยึดอำนาจและเป็นทั้งความชอบธรรมที่จะได้ยึดเอาผลประโยชน์ของชาติคืนมาซึ่งไม่ควรจะล่าช้าเกินไปกว่า 19 ม.ค. 2550 (4 เดือนภายหลังการยึดอำนาจ) เรื่องเหล่านี้หากทำสำเร็จแล้วเมื่อใดประชาชนโดยทั่วไปจะเกิดความนิยมชมชอบและมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นในทันที
2. เร่งดำเนินการแก้ปัญหาของประชาชนที่ยังค้างคาอยู่ให้เกิดผลสำเร็จตามสมควร โดยเฉพาะปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากอุทกภัย ปัญหาราคาพืชผลของเกษตรกร เพราะเป็น “ปัญหาทุกข์ของชาวบ้าน” ที่ควรจะได้รับการแก้ไขและเพื่อลดเงื่อนไขหาแนวร่วมเพื่อการเคลื่อนไหวของคลื่นใต้น้ำ
3. การพิจารณาวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมือง โดยตุลาการรัฐธรรมนูญควรจะได้จัดให้มีการรายงานข่าวโดยสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ของรัฐบาลเป็นระยะ ๆ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อป้องกันการบิดเบือน
4. การพิจารณาคัดเลือกและแต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่มีลักษณะของความเป็นพวกพ้องหากจะต้องเป็นเรื่องของความเหมาะสมเป็นสำคัญและต้องไม่มีแนวคิดที่ล้าหลังกว่าเดิมและสืบทอดอำนาจ
5. เร่งใช้สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ของรัฐ โดยเฉพาะที่อยู่ภายใต้การกำกับของกรมประชาสัมพันธ์เพื่อรายงานผลความก้าวหน้าในข้อ 1 — 4 สร้างความเข้าใจเพื่อลดความสับสนในประการต่าง ๆ และเสริมสร้างบรรยากาศของการปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปอย่างคึกคัก
6. ในพื้นที่ใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสร้างความเข้าใจแล้วยังไม่เป็นผลเพราะมีเครือข่ายคลื่นใต้น้ำเคลื่อนไหวสร้างความสับสนก็ควรจะได้พิจารณาส่งกำลังพลจากหน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา กอ.รมน. ไปดำเนินการเสริมสร้างความเข้าใจเป็นพื้นที่ ๆ ไป
เหล่านี้ก็จะเป็น “ภูมิคุ้มกัน” อย่างสำคัญต่อกระบวนการ “ป่วนเมือง” ที่จะเกิดขึ้นในตอนต้นปีหน้าได้มิฉะนั้นแล้ว “ปีหน้าอันตรายแน่นอน”
*********************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ธ.ค. 2549--จบ--