วันนี้ (10 ก.ย.49) เวลา 13.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตของพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 มม./52 คาลิเบอร์ งบประมาณ 1,300 ล้านบาทว่า ในวันนี้ได้ยื่นหลักฐานต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อให้สอบสวนการจัดซื้อดังกล่าวโดย สตง.ยืนยันจะเร่งตรวจสอบให้เร็วที่สุด นอกจากนี้คณะทำงาน ยังจะส่งหลักฐานเพิ่มติเมให้กับ สตง.เกี่ยวกับรายชื่อผู้ผลิตปืนใหญ่ขนาดเดียวกันว่ามีหลายรายการเช่น Atmos ของอิสราเอล และ Denel ของแอฟริกาใต้
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกต 6 ข้อดังนี้ว่า
1.เหตุใด พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในขณะนั้นถึงยกเลิกการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เดิมแล้วอนุมัติแผนใหม่ โดยมีการเสนอซื้อปืนใหญ่อัตตาจรเข้าไปด้วยอยู่ในแผนจัดหาปี 2555
2.เหตุใดกรมสรรพาวุธทหารบกจึงเชิญบริษัทเกียต อินดัสตรี้ มาเสนอราคารายเดียวทำให้ไม่มีการเปรียบเทียบคุณภาพและราคาเท่ากับไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ
3.เหตุใด พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา จึงไม่ทักท้วงมิหน้ำซ้ำกลับเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติ
4. เหตุใด พล.อ.ธรรมรักษ์ จึงไม่ให้มีการชะลอการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจร 6 กระบอกในเมื่อ ผบ.ทบ. (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตามหนังสือ รมว.กห.ฉบับวันที่ 4 ม.ค.48 เพราะยังไม่มีความจำเป็นต้องจัดหาเนื่องจากมีปืนใหญ่ขนาดเดียวกันถึง 92 กระบอก
5.เหตุใด พล.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีถึงมีหนังสือที่ นร.0411/ลร 3/พ 1196 ลงวันที่ 15 พ.ย.2548 ถึง รมว.กห.เจาะจงเร่งรัดโครงการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตากร และ 6.ทำไมคณะรัฐมนตรีต้องเร่งรีบอนุมัติเว้นการค้าต่างตอบแทนโดยการลงนามในสัญญาซื้อขายปืนใหญ่ก่อนทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวต่อไปว่า ดูเหมือนฝ่ายการเมืองและนายทหารที่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจส่อพฤติกรรมแทรกแซงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่กองทัพไม่ต้องการในสถานการณ์ปัจจุบันที่ภัยคุกคามได้เคลื่อนไปอยู่ภายใต้ภาคตะวันตกและภาคใต้ใช้ทางตะวันออกและสะท้อนถึงการไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการเพราะไม่มีการแข่งขันเสนอราคาอย่างโปร่งใส
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ก.ย. 2549--จบ--
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกต 6 ข้อดังนี้ว่า
1.เหตุใด พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในขณะนั้นถึงยกเลิกการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เดิมแล้วอนุมัติแผนใหม่ โดยมีการเสนอซื้อปืนใหญ่อัตตาจรเข้าไปด้วยอยู่ในแผนจัดหาปี 2555
2.เหตุใดกรมสรรพาวุธทหารบกจึงเชิญบริษัทเกียต อินดัสตรี้ มาเสนอราคารายเดียวทำให้ไม่มีการเปรียบเทียบคุณภาพและราคาเท่ากับไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการ
3.เหตุใด พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา จึงไม่ทักท้วงมิหน้ำซ้ำกลับเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติ
4. เหตุใด พล.อ.ธรรมรักษ์ จึงไม่ให้มีการชะลอการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตาจร 6 กระบอกในเมื่อ ผบ.ทบ. (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตามหนังสือ รมว.กห.ฉบับวันที่ 4 ม.ค.48 เพราะยังไม่มีความจำเป็นต้องจัดหาเนื่องจากมีปืนใหญ่ขนาดเดียวกันถึง 92 กระบอก
5.เหตุใด พล.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีถึงมีหนังสือที่ นร.0411/ลร 3/พ 1196 ลงวันที่ 15 พ.ย.2548 ถึง รมว.กห.เจาะจงเร่งรัดโครงการจัดซื้อปืนใหญ่อัตตากร และ 6.ทำไมคณะรัฐมนตรีต้องเร่งรีบอนุมัติเว้นการค้าต่างตอบแทนโดยการลงนามในสัญญาซื้อขายปืนใหญ่ก่อนทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวต่อไปว่า ดูเหมือนฝ่ายการเมืองและนายทหารที่ใกล้ชิดผู้มีอำนาจส่อพฤติกรรมแทรกแซงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่กองทัพไม่ต้องการในสถานการณ์ปัจจุบันที่ภัยคุกคามได้เคลื่อนไปอยู่ภายใต้ภาคตะวันตกและภาคใต้ใช้ทางตะวันออกและสะท้อนถึงการไม่รักษาผลประโยชน์ของทางราชการเพราะไม่มีการแข่งขันเสนอราคาอย่างโปร่งใส
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ก.ย. 2549--จบ--