นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวว่า ขณะนี้ประเทศเวียดนามได้จำกัดปริมาณการส่งออกข้าว ประกอบกับสถานการณ์ข้าวในตลาดโลกในปีหน้า คาดว่าความแปรปรวนของสภาวะอากาศที่ร้อนและแห้งแล้ง (EL Nino) จะส่งผลให้ผลผลิตธัญพืชมีแนวโน้มลดลงมาก ทำให้ประเทศ ผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญของโลก มีความจำเป็นต้องเพิ่มระดับข้าวในสต๊อกของตนให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ เพื่อป้องกันการขาดแคลนข้าว และหลายประเทศได้ให้ความสนใจที่จะนำเข้าข้าวจากไทยเป็นจำนวนมาก โดยบางประเทศได้ติดต่อเสนอซื้อข้าวในรูปรัฐบาลต่อรัฐบาล (G2G) ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างประสานหารือในรายละเอียด สำหรับการเจรจา
สำหรับการส่งออกข้าวในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีปริมาณ 0.67 ล้านตัน มูลค่า 253ล้านเหรียญสหรัฐฯ (9,370 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าใกล้เคียงกับเดือนก่อน ในจำนวนดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิไทย 0.26 ล้านตัน มูลค่า 116 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4,297 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 39 และ 46 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมด โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย อิรัก อิหร่าน แอฟริกาใต้ เบนิน ไอเวอรี่โคสต์ กานา เป็นต้น
การส่งออกข้าวของไทยในช่วงระยะนี้ตลาดที่นิยมบริโภคข้าวหอมฤดูใหม่ยังมิได้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากนัก เนื่องจากข้าวเพิ่งเริ่มเก็บเกี่ยว และยังเข้าสู่ตลาดน้อย ประกอบกับค่าเงินบาทที่ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกของไทยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องระมัดระวังในการรับคำสั่งซื้อข้าวในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี การที่ประเทศคู่แข่งขันเช่นเวียดนามได้จำกัดปริมาณการส่งออกข้าว ทำให้ประเทศผู้นำเข้าต้องหันกลับมาสั่งซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากตลาดแอฟริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งในปี 2549 คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน มูลค่า 2,520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณส่งออกเป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่มูลค่าสูงกว่าเป้าหมาย (ที่กำหนดไว้ 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ประมาณร้อยละ 5 ส่วนราคาส่งออกโดยเฉลี่ยได้ปรับตัวสูงขึ้นจากตันละ 310 เหรียญสหรัฐฯในปีก่อนเป็นตันละ 340 เหรียญสหรัฐฯหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากมาตรการบริหารจัดการข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้มีปริมาณข้าวหมุนเวียนเท่าที่จำเป็นต่อความต้องการของตลาด และการเจรจาขายข้าวในรูปของรัฐบาลต่อรัฐบาลแล้ว กรมการค้าต่างประเทศจะร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดคณะผู้แทนการค้าร่วมภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเจรจาขายข้าวในตลาดแอฟริกาเพื่อขยายและรักษาตลาด มั่นใจว่าในปี 2550 การส่งออกข้าวของไทยจะมีปริมาณไม่น้อยกว่า 8.5 ล้านตัน มูลค่า 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
สำหรับการส่งออกข้าวในเดือนพฤศจิกายน 2549 มีปริมาณ 0.67 ล้านตัน มูลค่า 253ล้านเหรียญสหรัฐฯ (9,370 ล้านบาท) ปริมาณและมูลค่าใกล้เคียงกับเดือนก่อน ในจำนวนดังกล่าวเป็นข้าวหอมมะลิไทย 0.26 ล้านตัน มูลค่า 116 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (4,297 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 39 และ 46 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมด โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ไนจีเรีย อิรัก อิหร่าน แอฟริกาใต้ เบนิน ไอเวอรี่โคสต์ กานา เป็นต้น
การส่งออกข้าวของไทยในช่วงระยะนี้ตลาดที่นิยมบริโภคข้าวหอมฤดูใหม่ยังมิได้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากนัก เนื่องจากข้าวเพิ่งเริ่มเก็บเกี่ยว และยังเข้าสู่ตลาดน้อย ประกอบกับค่าเงินบาทที่ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวส่งออกของไทยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไทยต้องระมัดระวังในการรับคำสั่งซื้อข้าวในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี การที่ประเทศคู่แข่งขันเช่นเวียดนามได้จำกัดปริมาณการส่งออกข้าว ทำให้ประเทศผู้นำเข้าต้องหันกลับมาสั่งซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากตลาดแอฟริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งในปี 2549 คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 7.5 ล้านตัน มูลค่า 2,520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณส่งออกเป็นไปตามเป้าหมาย ขณะที่มูลค่าสูงกว่าเป้าหมาย (ที่กำหนดไว้ 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ประมาณร้อยละ 5 ส่วนราคาส่งออกโดยเฉลี่ยได้ปรับตัวสูงขึ้นจากตันละ 310 เหรียญสหรัฐฯในปีก่อนเป็นตันละ 340 เหรียญสหรัฐฯหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากมาตรการบริหารจัดการข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้มีปริมาณข้าวหมุนเวียนเท่าที่จำเป็นต่อความต้องการของตลาด และการเจรจาขายข้าวในรูปของรัฐบาลต่อรัฐบาลแล้ว กรมการค้าต่างประเทศจะร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดคณะผู้แทนการค้าร่วมภาครัฐและเอกชนเดินทางไปเจรจาขายข้าวในตลาดแอฟริกาเพื่อขยายและรักษาตลาด มั่นใจว่าในปี 2550 การส่งออกข้าวของไทยจะมีปริมาณไม่น้อยกว่า 8.5 ล้านตัน มูลค่า 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-