การขาดดุล กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3768 (2968)
เมื่อเร็วๆ นี้สหรัฐได้ประกาศตัวเลขการขาดดุลการค้าของสหรัฐ ซึ่งขาดดุลสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ คือในปี 2548 สหรัฐขาดดุลการค้าปีเดียวถึง 726,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นประวัติการณ์ เดือนธันวาคมเดือนเดียวสหรัฐขาดดุลถึง 65,700 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าเดือนพฤศจิกายนซึ่งขาดดุลถึง 64,700 ล้านดอลลาร์ ขณะนี้ตัวเลขการนำเข้าของอเมริกาสูงกว่าตัวเลขการส่งออกถึง 60 เปอร์ เซ็นต์ การขาดดุลการค้าของอเมริกาคิดเป็น 5.8 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ อเมริกานอกจากจะขาดดุลการค้าอย่างมากแล้ว ตัวเลขดุลบริการซึ่งรวมทั้งดอกเบี้ยรับหักด้วยดอกเบี้ยจ่าย รวมทั้งเงินปันผลรับและเงินปันผลจ่าย และรายรับรายจ่ายที่รับขาดและจ่ายขาดแล้วก็ยังขาดดุล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกายิ่งขาดดุลมากยิ่งขึ้นกล่าวคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกาขาดดุลถึง 6.5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ การขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น สื่อมวลชนอเมริกันวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะราคาน้ำมันในตลาดโลก เพิ่มขึ้นประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งอเมริกาขาดดุลกับประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น เพราะการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นในปี 2548 ที่ผ่านมา 1 ใน 3 เป็นเพราะการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นกับประเทศจีน ที่เหลือเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ซึ่งทำให้สภาคองเกรสของอเมริกาเริ่มพูดถึงเรื่องค่าเงินหยวนอีกแล้ว
การขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกาจะทำให้มีการเปิดประเด็นเรื่องค่าเงินหยวนที่จะถูกกดดันให้เพิ่มค่าขึ้น ประเด็นเรื่องความไม่สมดุลของการค้าระหว่างภูมิภาคก็คงจะเป็นประเด็นเพิ่มขึ้นอีก แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวเรื่องการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา ดูจะไม่ได้รับความสนใจจากชาวโลกมากนัก ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะอเมริกาขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมาเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นประเทศอื่นก็คงจะล้มละลายไปนานแล้ว หรือไม่ค่าเงินดอลลาร์ก็คงจะเสื่อมค่าไม่มีราคา กลายเป็นเศษกระดาษไปนานแล้ว เพราะเงินดอลลาร์นั้นเป็นเงินที่ไม่ใช้ทองคำหรืออะไรหนุนหลังเลย เป็นกระดาษโดยแท้ แต่ทำไมค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ เช่น เงินยูโร หรือเงินเยน เมื่อปีที่แล้วกลับไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนลงเลย แต่กลับมีค่าแข็งขึ้นด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นเงินประเทศอื่นป่านนี้ค่าคงตกลงอย่างมโหฬารไปแล้ว ปีที่แล้วโดยเฉลี่ยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีค่าแข็งขึ้นถึง 3.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเงินประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการค้ากับประเทศนั้นๆ
เงินดอลลาร์สหรัฐนั้น นอกจากจะเป็นเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐปล่อยออกมาเป็นเงิน เพื่อใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ภายในประเทศอเมริกาแล้ว ยังเป็นเงินสกุลเดียวที่สามารถใช้ชำระหนี้กันระหว่างประเทศด้วยโดยที่ไม่มีกฎหมายอะไรรองรับ แต่เป็นเพราะทั่วโลกยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐว่าสามารถใช้ชำระหนี้ได้ทั่วโลก คำถามที่น่าถามก็คือ เมื่ออเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมากๆ ติดต่อกันมาเป็นเวลานานถึง 30-40 ปี จนมีเงินดอลลาร์อยู่ในมือของต่างประเทศมากมายกว่า 2 ใน 3 ของเงินดอลลาร์ทั้งหมดที่หมุนเวียนอยู่ในโลกแล้ว ทำไมค่าเงินดอลลาร์จึงไม่เสื่อมลงจนกลายเป็นเศษกระดาษในที่สุด
ประเด็นนี้สื่อมวลชนตะวันตกรวมทั้งสื่อมวลชนอเมริกาก็พูดกันมากเมื่อปีสองปีที่แล้ว แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้นอย่างที่หวั่นวิตกกันแต่อย่างใด เงินดอลลาร์นั้นผู้ที่สร้างปริมาณให้มากขึ้นหรือน้อยลงก็คืออเมริกา การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา กล่าวคือถ้าอเมริกาไม่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินดอลลาร์ในโลกก็หยุดเพิ่มขึ้น ถ้าอเมริกาเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เงินดอลลาร์ในตลาดโลกก็จะน้อยลง ดังนั้นอเมริกาเองเป็นคนทำให้อุปทานของเงินดอลลาร์ในโลก จะมีมากขึ้นหรือน้อยลงสำหรับระยะยาว เมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกาเป็นเครื่องจักรปล่อยเงินออก หรือดูดเงินเข้าอเมริกาเป็นหลักในระยะยาว ก็คงต้องมีความต้องการถือเงินดอลลาร์ของชาวโลกเอาไว้ เงินดอลลาร์จึงจะมีค่ามีราคาได้ ถ้าไม่มีคนต้องการถือเงินดอลลาร์ มีแต่ผู้ปล่อยเงินดอลลาร์ออกมา ดอลลาร์ก็จะกลายเป็นกระดาษที่ไม่มีค่า
ความต้องการถือดอลลาร์ก็ต้องมีวัตถุประสงค์ในการถือ เหมือนๆ กับมีความต้องการถือเงินบาทไว้ เงินบาทจึงมีค่า ถ้าคนไทยไม่ต้องการถือเงินบาทไว้ เงินบาทก็คงหมดค่าไปทันที ความต้องการถือดอลลาร์ของชาวโลกก็ต้องเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ พอๆ กับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา ถ้ามากกว่าเป็นเวลานานๆ ค่าเงินดอลลาร์ก็จะแข็งขึ้น หรือน้อยกว่าเป็นเวลานานๆ ค่าเงินดอลลาร์ ก็จะต้องอ่อนลงในระยะยาวเป็นธรรมดา ความต้องการเงินดอลลาร์ของชาวโลกที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ นี้ เราพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประการใหญ่ๆ คือ
ประการแรก ความต้องการเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการทั้งในอเมริกาและในตลาดโลก ตำราเศรษฐศาสตร์การเรียกความต้อง การถือเงินดอลลาร์ประเภทนี้ว่า "transaction demand" ตราบใดที่เศรษฐกิจของ อเมริกาและของโลกยังขยายตัว การค้าของโลกยังขยายตัวอยู่ปีละ 3-5 เปอร์ เซ็นต์ ความต้องการเงินดอลลาร์ เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศก็ยังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นตัวรองรับการเพิ่มขึ้นของเงินดอลลาร์ ในตลาดโลกที่สำคัญ ตราบใดที่ทองคำ เงินยูโร และเงินเยน ซึ่งก็ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้เหมือนกัน เพราะชาวโลกยอมรับยังมีจำนวนจำกัด และไม่สะดวกที่จะใช้เป็นสื่อกลาง เป็นเครื่องมือในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
ตราบใดที่การค้าของโลกยังขยายตัวอยู่ เพราะเศรษฐกิจของโลกยังขยายตัว ความต้องการเงินดอลลาร์ของชาวโลก เพื่อใช้เป็นสื่อกลางหรือเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนก็จะยังเพิ่มขึ้นตลอดไปจนกว่าจะหาอย่างอื่นมาทดแทนได้
ประการที่ 2 ต้องการถือเงินดอลลาร์ไว้ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรทั้งในอเมริกาเองและระหว่างประเทศ ในตำราเรียกความต้องการชนิดนี้ว่า "speculative demand" เพราะว่าราคาทรัพย์สินทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น ราคาพันธบัตร ทั้งของรัฐบาลและเอกชนรวมไปถึงราคาสินค้าบริการต่างๆ มีราคาขึ้นลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตามการคาดหมายของตลาดอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์กับทองคำและเงินตราสกุลอื่นๆ มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา เครื่องมือที่สำคัญที่จะใช้ในการเก็งกำไรทั้งในอเมริกาและระหว่างประเทศที่สำคัญก็คือ เงิน เงินดอลลาร์ เพราะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ทุกวันนี้สินค้าและบริการต่างๆ ล้วนแต่มีการซื้อขายกันล่วงหน้าก่อนการส่งมอบทั้งนั้น การซื้อขายสินค้า และบริการจึงมีส่วนของการเก็งกำไรเข้ามาเกี่ยว ข้องอย่างมาก มีคนกลางเข้ามาจัดการให้ ตลาดเงินตลาดทุนก็พัฒนามากขึ้นเมื่อมีการใช้ดาวเทียม และเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ตลาดที่มีการเก็งกำไรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีขนาดมหาศาล การเก็งกำไรซึ่งเริ่มจากสินค้าเกษตรมาสู่สินค้าหลักที่เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน โลหะ แร่ธาตุอื่นๆ มีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับตราสารทางการเงิน รวมทั้งเงินตราสกุลต่างๆ ของโลก เมื่อปริมาณของกิจกรรมการเก็งกำไรมีสูงขึ้น ก็ทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมเก็งกำไรมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ปัจจุบันกล่าวกันว่า ความต้องการเงินดอลลาร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรนั้นมีสูงกว่าความต้องการเงินดอลลาร์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเสียอีก แต่จะมีเท่าไรอย่างไรยังไม่เคยเห็นใครประ มาณการเอาไว้
ประการที่ 3 ชาวโลกรวมทั้งธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็มีความต้อง การถือเงินดอลลาร์ไว้เพื่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงินของตน เพราะเมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจเปลี่ยนไปในยามฉุกเฉิน ในยามลำบากจะได้มีเงินดอลลาร์ไว้ใช้สอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ไม่ต้องไปพึ่งไอเอ็มเอฟ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จึงต้องถือทุนสำรองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วยเหตุผลดังกล่าว เคยมีผู้คนบอกว่าเมื่อใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแล้ว ความจำเป็นจะต้องถือทุนสำรองควรจะหมดไปก็ไม่เป็นความจริง การถือเงินดอลลาร์สำรองไว้ยิ่งทำให้เครดิตดีขึ้น ถ้าถือน้อยเครดิตก็ยิ่งลดลง
ความต้องการเงินดอลลาร์สำหรับธนาคารกลาง และธนาคารพาณิชย์เพื่อถือเป็นเงินสำรองก็ย่อมมีมากขึ้นตามปริมาณการค้า และธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมที่เป็นการเก็งกำไร ความต้องการเงินดอลลาร์ไปเป็นทุนสำรองขณะนี้มีปริมาณมาก บางทีธนาคารกลางเองก็ใช้ทุนสำรอง มาเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทาง การเงินของตน รวมทั้งเก็งกำไรในตลาดการเงินเองด้วย ญี่ปุ่นมีทุนสำรองที่เป็นดอลลาร์มากที่สุด รองลงมาคือ จีน ตามด้วยยุโรป และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และตะวันออกกลาง เอเชียรวมกันก็เลยกลายเป็นภูมิภาคที่มีเงินดอลลาร์มากที่สุด เมื่อความต้องการเงินดอลลาร์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วรวมกันก็เป็นปริมาณมหาศาล และเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยระยะยาวไม่น้อยกว่าการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา จึงเป็นตัวพยุงค่าเงินดอลลาร์ในตลาดโลกไว้ไม่ให้ตกลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ และทองคำ ไม่ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นเศษกระดาษ ส่วนในระยะสั้น ภายใน 6-12 เดือนก็มีเงินดอลลาร์ไหลเข้าไหลออกไปลงทุนในตลาดสหรัฐในรูปต่างๆ ถ้าไหลเข้ามากกว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงินของอเมริกาก็จะเกินดุล ดอลลาร์ก็จะแข็งขึ้น ถ้าไหลเข้าน้อยกว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงินก็จะขาดดุลดอลลาร์ก็จะอ่อนลงบ้าง การไหลเข้าออกของดอลลาร์ในตลาดอเมริกาก็ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยในอเมริกาบ้าง การเก็งกำไรบ้าง ข่าวลือเรื่องต่างๆ บ้าง แล้วแต่นักปั่นตลาดซึ่งได้แก่ กองทุนต่างๆ จะสร้างขึ้น หรือแล้วแต่ธนาคารกลางของประเทศใหญ่ๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน ยุโรป จะออกมาซื้อขายสินทรัพย์หรือเงินดอลลาร์บ้าง ซึ่งเป็นข่าวเสมอ ซึ่งก็ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ขึ้นลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่างๆ รวมทั้งทองคำด้วย แต่ในระยะยาวเงินดอลลาร์ก็ยังมีค่ามีราคาอยู่ แม้ว่าจะเป็นเพียงตัวเลขหรือเป็นเพียงกระดาษเท่านั้น แต่การที่สหรัฐสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไปได้เรื่อยๆ จากความต้องการเงินดอลลาร์ของชาวโลกยังมีอยู่ก็ตาม แต่ทุกดอลลาร์ที่อเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็เท่ากับอเมริกาเป็นหนี้ชาวโลกเท่านั้น อเมริกาก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย เงินปันผล และอื่นๆ ให้กับชาวโลกที่ถือดอลลาร์ในรูปต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น ดอกเบี้ยแพงขึ้นก็ต้องชำระดอกเบี้ยมากขึ้น บริษัทห้างร้านมีกำไรมากขึ้นก็ต้องจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างประเทศมากขึ้นเหมือนกัน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ยากที่จะมีเงินตราสกุลอื่นมาทดแทนเงินดอลลาร์ได้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของอเมริกาก็เป็นเศรษฐกิจของชาวโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
คอลัมน์ คนเดินตรอก โดย วีรพงษ์ รามางกูร ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3768 (2968)
เมื่อเร็วๆ นี้สหรัฐได้ประกาศตัวเลขการขาดดุลการค้าของสหรัฐ ซึ่งขาดดุลสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ คือในปี 2548 สหรัฐขาดดุลการค้าปีเดียวถึง 726,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นประวัติการณ์ เดือนธันวาคมเดือนเดียวสหรัฐขาดดุลถึง 65,700 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าเดือนพฤศจิกายนซึ่งขาดดุลถึง 64,700 ล้านดอลลาร์ ขณะนี้ตัวเลขการนำเข้าของอเมริกาสูงกว่าตัวเลขการส่งออกถึง 60 เปอร์ เซ็นต์ การขาดดุลการค้าของอเมริกาคิดเป็น 5.8 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ อเมริกานอกจากจะขาดดุลการค้าอย่างมากแล้ว ตัวเลขดุลบริการซึ่งรวมทั้งดอกเบี้ยรับหักด้วยดอกเบี้ยจ่าย รวมทั้งเงินปันผลรับและเงินปันผลจ่าย และรายรับรายจ่ายที่รับขาดและจ่ายขาดแล้วก็ยังขาดดุล ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกายิ่งขาดดุลมากยิ่งขึ้นกล่าวคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกาขาดดุลถึง 6.5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ การขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น สื่อมวลชนอเมริกันวิเคราะห์ว่าเป็นเพราะราคาน้ำมันในตลาดโลก เพิ่มขึ้นประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งอเมริกาขาดดุลกับประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น เพราะการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นในปี 2548 ที่ผ่านมา 1 ใน 3 เป็นเพราะการขาดดุลที่เพิ่มขึ้นกับประเทศจีน ที่เหลือเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ซึ่งทำให้สภาคองเกรสของอเมริกาเริ่มพูดถึงเรื่องค่าเงินหยวนอีกแล้ว
การขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกาจะทำให้มีการเปิดประเด็นเรื่องค่าเงินหยวนที่จะถูกกดดันให้เพิ่มค่าขึ้น ประเด็นเรื่องความไม่สมดุลของการค้าระหว่างภูมิภาคก็คงจะเป็นประเด็นเพิ่มขึ้นอีก แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวเรื่องการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา ดูจะไม่ได้รับความสนใจจากชาวโลกมากนัก ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะอเมริกาขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดมาเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเป็นประเทศอื่นก็คงจะล้มละลายไปนานแล้ว หรือไม่ค่าเงินดอลลาร์ก็คงจะเสื่อมค่าไม่มีราคา กลายเป็นเศษกระดาษไปนานแล้ว เพราะเงินดอลลาร์นั้นเป็นเงินที่ไม่ใช้ทองคำหรืออะไรหนุนหลังเลย เป็นกระดาษโดยแท้ แต่ทำไมค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ เช่น เงินยูโร หรือเงินเยน เมื่อปีที่แล้วกลับไม่มีทีท่าว่าจะอ่อนลงเลย แต่กลับมีค่าแข็งขึ้นด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นเงินประเทศอื่นป่านนี้ค่าคงตกลงอย่างมโหฬารไปแล้ว ปีที่แล้วโดยเฉลี่ยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีค่าแข็งขึ้นถึง 3.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเงินประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณการค้ากับประเทศนั้นๆ
เงินดอลลาร์สหรัฐนั้น นอกจากจะเป็นเงินที่ธนาคารกลางสหรัฐปล่อยออกมาเป็นเงิน เพื่อใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ภายในประเทศอเมริกาแล้ว ยังเป็นเงินสกุลเดียวที่สามารถใช้ชำระหนี้กันระหว่างประเทศด้วยโดยที่ไม่มีกฎหมายอะไรรองรับ แต่เป็นเพราะทั่วโลกยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐว่าสามารถใช้ชำระหนี้ได้ทั่วโลก คำถามที่น่าถามก็คือ เมื่ออเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมากๆ ติดต่อกันมาเป็นเวลานานถึง 30-40 ปี จนมีเงินดอลลาร์อยู่ในมือของต่างประเทศมากมายกว่า 2 ใน 3 ของเงินดอลลาร์ทั้งหมดที่หมุนเวียนอยู่ในโลกแล้ว ทำไมค่าเงินดอลลาร์จึงไม่เสื่อมลงจนกลายเป็นเศษกระดาษในที่สุด
ประเด็นนี้สื่อมวลชนตะวันตกรวมทั้งสื่อมวลชนอเมริกาก็พูดกันมากเมื่อปีสองปีที่แล้ว แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้นอย่างที่หวั่นวิตกกันแต่อย่างใด เงินดอลลาร์นั้นผู้ที่สร้างปริมาณให้มากขึ้นหรือน้อยลงก็คืออเมริกา การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา กล่าวคือถ้าอเมริกาไม่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินดอลลาร์ในโลกก็หยุดเพิ่มขึ้น ถ้าอเมริกาเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เงินดอลลาร์ในตลาดโลกก็จะน้อยลง ดังนั้นอเมริกาเองเป็นคนทำให้อุปทานของเงินดอลลาร์ในโลก จะมีมากขึ้นหรือน้อยลงสำหรับระยะยาว เมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกาเป็นเครื่องจักรปล่อยเงินออก หรือดูดเงินเข้าอเมริกาเป็นหลักในระยะยาว ก็คงต้องมีความต้องการถือเงินดอลลาร์ของชาวโลกเอาไว้ เงินดอลลาร์จึงจะมีค่ามีราคาได้ ถ้าไม่มีคนต้องการถือเงินดอลลาร์ มีแต่ผู้ปล่อยเงินดอลลาร์ออกมา ดอลลาร์ก็จะกลายเป็นกระดาษที่ไม่มีค่า
ความต้องการถือดอลลาร์ก็ต้องมีวัตถุประสงค์ในการถือ เหมือนๆ กับมีความต้องการถือเงินบาทไว้ เงินบาทจึงมีค่า ถ้าคนไทยไม่ต้องการถือเงินบาทไว้ เงินบาทก็คงหมดค่าไปทันที ความต้องการถือดอลลาร์ของชาวโลกก็ต้องเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ พอๆ กับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา ถ้ามากกว่าเป็นเวลานานๆ ค่าเงินดอลลาร์ก็จะแข็งขึ้น หรือน้อยกว่าเป็นเวลานานๆ ค่าเงินดอลลาร์ ก็จะต้องอ่อนลงในระยะยาวเป็นธรรมดา ความต้องการเงินดอลลาร์ของชาวโลกที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ นี้ เราพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประการใหญ่ๆ คือ
ประการแรก ความต้องการเพื่อใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการทั้งในอเมริกาและในตลาดโลก ตำราเศรษฐศาสตร์การเรียกความต้อง การถือเงินดอลลาร์ประเภทนี้ว่า "transaction demand" ตราบใดที่เศรษฐกิจของ อเมริกาและของโลกยังขยายตัว การค้าของโลกยังขยายตัวอยู่ปีละ 3-5 เปอร์ เซ็นต์ ความต้องการเงินดอลลาร์ เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศก็ยังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นตัวรองรับการเพิ่มขึ้นของเงินดอลลาร์ ในตลาดโลกที่สำคัญ ตราบใดที่ทองคำ เงินยูโร และเงินเยน ซึ่งก็ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้เหมือนกัน เพราะชาวโลกยอมรับยังมีจำนวนจำกัด และไม่สะดวกที่จะใช้เป็นสื่อกลาง เป็นเครื่องมือในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
ตราบใดที่การค้าของโลกยังขยายตัวอยู่ เพราะเศรษฐกิจของโลกยังขยายตัว ความต้องการเงินดอลลาร์ของชาวโลก เพื่อใช้เป็นสื่อกลางหรือเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนก็จะยังเพิ่มขึ้นตลอดไปจนกว่าจะหาอย่างอื่นมาทดแทนได้
ประการที่ 2 ต้องการถือเงินดอลลาร์ไว้ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรทั้งในอเมริกาเองและระหว่างประเทศ ในตำราเรียกความต้องการชนิดนี้ว่า "speculative demand" เพราะว่าราคาทรัพย์สินทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น ราคาพันธบัตร ทั้งของรัฐบาลและเอกชนรวมไปถึงราคาสินค้าบริการต่างๆ มีราคาขึ้นลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตามการคาดหมายของตลาดอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์กับทองคำและเงินตราสกุลอื่นๆ มีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา เครื่องมือที่สำคัญที่จะใช้ในการเก็งกำไรทั้งในอเมริกาและระหว่างประเทศที่สำคัญก็คือ เงิน เงินดอลลาร์ เพราะเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ทุกวันนี้สินค้าและบริการต่างๆ ล้วนแต่มีการซื้อขายกันล่วงหน้าก่อนการส่งมอบทั้งนั้น การซื้อขายสินค้า และบริการจึงมีส่วนของการเก็งกำไรเข้ามาเกี่ยว ข้องอย่างมาก มีคนกลางเข้ามาจัดการให้ ตลาดเงินตลาดทุนก็พัฒนามากขึ้นเมื่อมีการใช้ดาวเทียม และเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ตลาดที่มีการเก็งกำไรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีขนาดมหาศาล การเก็งกำไรซึ่งเริ่มจากสินค้าเกษตรมาสู่สินค้าหลักที่เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน โลหะ แร่ธาตุอื่นๆ มีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับตราสารทางการเงิน รวมทั้งเงินตราสกุลต่างๆ ของโลก เมื่อปริมาณของกิจกรรมการเก็งกำไรมีสูงขึ้น ก็ทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมเก็งกำไรมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ปัจจุบันกล่าวกันว่า ความต้องการเงินดอลลาร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรนั้นมีสูงกว่าความต้องการเงินดอลลาร์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเสียอีก แต่จะมีเท่าไรอย่างไรยังไม่เคยเห็นใครประ มาณการเอาไว้
ประการที่ 3 ชาวโลกรวมทั้งธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็มีความต้อง การถือเงินดอลลาร์ไว้เพื่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงินของตน เพราะเมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจเปลี่ยนไปในยามฉุกเฉิน ในยามลำบากจะได้มีเงินดอลลาร์ไว้ใช้สอย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ไม่ต้องไปพึ่งไอเอ็มเอฟ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จึงต้องถือทุนสำรองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วยเหตุผลดังกล่าว เคยมีผู้คนบอกว่าเมื่อใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแล้ว ความจำเป็นจะต้องถือทุนสำรองควรจะหมดไปก็ไม่เป็นความจริง การถือเงินดอลลาร์สำรองไว้ยิ่งทำให้เครดิตดีขึ้น ถ้าถือน้อยเครดิตก็ยิ่งลดลง
ความต้องการเงินดอลลาร์สำหรับธนาคารกลาง และธนาคารพาณิชย์เพื่อถือเป็นเงินสำรองก็ย่อมมีมากขึ้นตามปริมาณการค้า และธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมที่เป็นการเก็งกำไร ความต้องการเงินดอลลาร์ไปเป็นทุนสำรองขณะนี้มีปริมาณมาก บางทีธนาคารกลางเองก็ใช้ทุนสำรอง มาเป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพทาง การเงินของตน รวมทั้งเก็งกำไรในตลาดการเงินเองด้วย ญี่ปุ่นมีทุนสำรองที่เป็นดอลลาร์มากที่สุด รองลงมาคือ จีน ตามด้วยยุโรป และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และตะวันออกกลาง เอเชียรวมกันก็เลยกลายเป็นภูมิภาคที่มีเงินดอลลาร์มากที่สุด เมื่อความต้องการเงินดอลลาร์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วรวมกันก็เป็นปริมาณมหาศาล และเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยระยะยาวไม่น้อยกว่าการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของอเมริกา จึงเป็นตัวพยุงค่าเงินดอลลาร์ในตลาดโลกไว้ไม่ให้ตกลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ และทองคำ ไม่ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นเศษกระดาษ ส่วนในระยะสั้น ภายใน 6-12 เดือนก็มีเงินดอลลาร์ไหลเข้าไหลออกไปลงทุนในตลาดสหรัฐในรูปต่างๆ ถ้าไหลเข้ามากกว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงินของอเมริกาก็จะเกินดุล ดอลลาร์ก็จะแข็งขึ้น ถ้าไหลเข้าน้อยกว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการชำระเงินก็จะขาดดุลดอลลาร์ก็จะอ่อนลงบ้าง การไหลเข้าออกของดอลลาร์ในตลาดอเมริกาก็ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยในอเมริกาบ้าง การเก็งกำไรบ้าง ข่าวลือเรื่องต่างๆ บ้าง แล้วแต่นักปั่นตลาดซึ่งได้แก่ กองทุนต่างๆ จะสร้างขึ้น หรือแล้วแต่ธนาคารกลางของประเทศใหญ่ๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน ยุโรป จะออกมาซื้อขายสินทรัพย์หรือเงินดอลลาร์บ้าง ซึ่งเป็นข่าวเสมอ ซึ่งก็ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ขึ้นลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลต่างๆ รวมทั้งทองคำด้วย แต่ในระยะยาวเงินดอลลาร์ก็ยังมีค่ามีราคาอยู่ แม้ว่าจะเป็นเพียงตัวเลขหรือเป็นเพียงกระดาษเท่านั้น แต่การที่สหรัฐสามารถขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไปได้เรื่อยๆ จากความต้องการเงินดอลลาร์ของชาวโลกยังมีอยู่ก็ตาม แต่ทุกดอลลาร์ที่อเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดก็เท่ากับอเมริกาเป็นหนี้ชาวโลกเท่านั้น อเมริกาก็ต้องจ่ายดอกเบี้ย เงินปันผล และอื่นๆ ให้กับชาวโลกที่ถือดอลลาร์ในรูปต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น ดอกเบี้ยแพงขึ้นก็ต้องชำระดอกเบี้ยมากขึ้น บริษัทห้างร้านมีกำไรมากขึ้นก็ต้องจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างประเทศมากขึ้นเหมือนกัน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็ยากที่จะมีเงินตราสกุลอื่นมาทดแทนเงินดอลลาร์ได้ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของอเมริกาก็เป็นเศรษฐกิจของชาวโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-