รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ "บัญญัติ บรรทัดฐาน"เห็นด้วยหากการลงสัตยาบัน ช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมย้ำ พรรคประชาธิปัตย์ มีจุดยืนชัดเจน "ต่อต้านการซื้อสิทธิ-ขายเสียงทุกรูปแบบ"
วันนี้(31 ส.ค.50)นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการลงสัตยาบันว่าเพื่อไม่ให้มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหา เพราะพรรคประชาธิปัตย์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นอะไรที่คิดว่าจะเป็นการช่วยให้เรื่องนี้ได้ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะคนที่ทุจริต ก็คิดหาช่องทางกันไปได้เรื่อยๆ แต่ว่าถ้าเห็นว่าการลงสัตยาบันจะช่วยได้ตนคิดว่าเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่าการลงสัตยาบันต้องลงทุกพรรคการเมืองหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่าตนเข้าใจว่าคงเป็นการชวนทุกพรรค และพรรคใดไม่ไปลงก็คงเป็นที่จับตาของสังคม ดังนั้นตนคิดว่าคงไปกันทุกพรรค แต่ว่าไปแล้วจะมีกรณีที่บางพรรคอาจจะรับสารภาพในใจกันก่อน ก่อนที่จะพูดจาลงสัตยาบันตามเพื่อน ตนคิดว่าอันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่พรรคประชาธิปัตย์ ตนกล้ายืนยันว่าไม่มีปัญหา ยืนยันได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จริงใจ เพราะพรรคต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียงมาตลอด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องการแบ่งเขต แบ่งโซนเริ่มชัดเจนขึ้น แต่มีคนวิเคราะห์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะเสียเปรียบ เพราะภาคใต้ ในส่วนสัดส่วนอาจได้ไม่ถึง 10 คน ส่วนภาคอื่นก็เป็นไปได้อยาก นายบัญญัติ กล่าวว่า จากการประชุมหารือเห็นว่าไม่มีความแตกต่างกันเท่าไร คือส่วนที่ได้มากก็อาจจะได้ไม่เต็ม ด้วยการคิดคำนวณของคณะกรรมธิการยกร่างที่กำลังพิจารณาอยู่ แต่ส่วนที่ได้น้อยก็คิดว่าน่าจะได้เพิ่มขึ้น แต่ดูโดยรวมคิดว่า น่าจะมีความแตกต่างไม่มากนัก และตนคิดว่าระบบนี้ก็มีข้อดีอยู่ในตัว คือ การแบ่ง ส.ส. แบบบัญชีพรรคแต่เดิม ซึ่งเน้นความเป็นพรรคชัดเจน แล้วเปลี่ยนมาเป็นใช้ระบบสัดส่วนเป็นโซน ทำให้การเน้นพรรคน้อยลง แต่ในขณะเดียวกัน ข้อดีคือ คนที่อยู่ในบัญชีสัดส่วน จะต้องเป็นคนทำงานหนัก เพราะพื้นที่รับผิดชอบเป็นโซนชัดเจนมาก กรณีการทำงานหนักของคนที่ลงสมัครในระบบการเลือกตั้งนี้ ก็อาจจะมีผลในการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น และมีความตื่นตัวที่จะออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดคนลงสมัครมีผลกระทบหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า การจัดผู้สมัครของพรรค ไม่มีปัญหาอะไรมากหนัก เพราะก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา พรรคได้ คัดเลือกผู้สมัคร 80-90 % แล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังคงที่ ส่วนที่มีการขยับขยายไปลงพื้นที่อื่นแทบจะไม่มี อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบเลือกตั้งเปลี่ยน เป็นระบบโซน พรรคก็ต้องพิจารณากันใหม่ แต่ก็ยอมรับว่าในระบบนี้ก็มีข้อดีเหมือนกัน ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ในทันที่รัฐธรรมนูญผ่าน และมีความชัดเจนว่า มีการเลือกตั้งในระบบ สามคนต่อหนึ่งเขต ทำให้มีคนเก่งกล้าลงเล่นการเมืองมากขึ้น และที่สำคัญพอเขตใหญ่ขึ้น ก็ทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ส่วนนี้เป็นส่วนที่เราต้องเอามาปรับกับของเดิมที่มีอยู่ แต่บอกได้เลยว่าของประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหา ระบบการทำงานของพรรค ใช้ระบบโซนที่ว่าเป็นการกระจายอำนาจโดยให้แต่ละโซนไปดูแลตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในเขตนั้นๆ กว่าจะขึ้นมาถึงคณะกรรมการใหญ่ ที่มีตนเป็นประธาน ก็จะผ่านการกลั่นกรองมาจากตรงนี้ ตอนนี้พิจารณาได้ถึง 60-70 % ซึ่งส่วนนี้ไม่มีปัญหา ซึ่งที่นัดประชุมก็เหลืออีก 2 นัด คือต้นเดือนก.ย.กับปลาย ก.ย. และคาดว่าปลายเดือนก.ย.ที่อย่างจะเรียบร้อย ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฏีกาเลือกตั้ง วันนั้นประชาธิปัตย์ก็คงจะเรียบร้อย ไม่มีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองว่า การใช้เงินอาจจะรุนแรง มากเป็นพิเศษ นายบัญญัติ กล่าวว่า แน่นอนเพราะว่าเริ่มมีเค้ารางให้เห็นแล้ว ซึ่งความจริงก็มีการพูดถึงค่าตัวผู้สมัคร บางที่บางแห่งถึง 30-40 ล้านบาท ตนเห็นว่าเมื่อหลายปีก่อนก็มีการพูดแบบนี้ เพียงแต่ว่าหาพยานหลักฐานยาก แต่นักการเมืองได้ยินก็ต้องตกใจ แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ตนคิดว่ามีการเดิมพันสูง พูดกันแบบตรงไปตรงมา ใครจะอมพระมาพูด พ.ต.ท.ทักษิณ หยุดเล่นการเมือง และไม่สนับสนุนท่อน้ำลี้ยงนั้น ตนไม่เชื่อ เพราะยังมีผลประโยชน์ส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ อีกมากมายที่ต้องปกป้อง ประกอบกับเป็นคนที่เคยมีอำนาจทางการเมืองและใช้อำนาจทางการเมืองได้ผลมาแล้ว ย่อมมีความเชื่อถือว่าการใช้อำนาจทางการเมือง จะมีส่วนช่วยในการต่อร่องหรือปกป้องตัวเองได้ กรณีเช่นนี้ จึงเชื่อว่ามีการอุดหนุนช่วยเหลือกันอยู่บ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะทันเกมกับบรรดานักการเมืองหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า กกต.ต้องใช้ความพยายามศึกษาเรียนรู้ติดตาม อย่างน้อย ควรหาโอกาสพูดจากับผู้มีประสบการณ์ทั้งกับ กกต ชุดแรก รวมทั้งข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเก่าๆ ที่มีประสบการณ์ ตนคิดว่า ทุกอย่างสามารถเรียนรู้ได้ แต่ตนคิดว่า ครั้งนี้ กกต.ต้องทำงานหนักเป็นพิเศษ ซึ่งกกต.ก็ได้มีโอกาสซ้อมมือในครั้งการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อถามว่า เท่าที่ดูคิดว่า กกต.ชุดนี้ จะจัดการเลือกตั้งผ่านหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า เท่าที่ดูมือใหม่ คิดว่าผ่าน แต่มีสิ่งบอกเหตุที่กกต.ต้องไปดูในส่วนที่มีปัญหาเพิ่มเติมอีกหลายจุด ตนเชื่อว่า ขณะนี้กกต.ก็กำลังพยายามอยู่ และที่น่ายินดีคือ การสรรหา กกต.จังหวัดครั้งล่าสุดเท่าที่ดูเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของกฎหมายลูกที่ออกมา และเพิ่มเติมบทลงโทษ จะมีส่วนช่วยได้หรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า พรรคไม่ขัดข้องในเรื่องนี้ แต่พรรคก็ได้ให้ข้อสังเกตว่าต้องระมัดระวัง เพราะในทางการเมือง โดยเฉพาะการแข่งขันในสนามเลือกตั้ง หลายครั้งมีการสร้างเรื่องแทนกัน เช่น มีการส่งคนออกไปซื้อเสียงแทนคู่ต่อสู้ ด้วยเหตุผลว่าต้องการเล่นงานคู่ต่อสู้ ตนคิดว่า กรณีเช่นนี้ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะเขียนมาต้องมีทางออกที่ดีเช่นกัน ในส่วนของพรรคไม่กังวลเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะพรรคมีจุดยืนชัดเจนอยู่แล้วว่า พรรคต่อต้านการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงทุกรูปแบบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนสัดส่วนกกต.มีผลหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการเปลี่ยนสัดส่วนกกต. เพราะเดิมหลักของการเปลี่ยน และการออกเสียงเอกฉันท์ ในทางกลับกัน กลายเป็นว่าไม่ใช่เสียงมากที่กำหนด แต่กลับเป็นเสียงข้างน้อยที่กำหนด เมื่อถามว่า หลังการเลือกตั้งการเมืองจะเปลี่ยนแปลงมองอย่างไร นายบัญญัติ กล่าวว่า เราต้องมีความหวัง แม้ว่าจะมองเห็นปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพราะประชาธิปไตยอยู่ได้ด้วยความหวัง ตนคิดว่าความหวังที่ดีของระบอบประชาธิปไตย คือ ทำอย่างไรให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง หรือได้มีความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และที่สำคัญรู้ทันนักการเมืองมากขึ้น คือทำให้ประชาชนเห็นว่า เรื่องเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญ เท่ากับว่า มอบอำนาจบ้านเมืองไว้อยู่ในมือของคนบางกลุ่ม และถ้าคนกลุ่มนี้มีความซื่อสัตย์สุจริต จัดการผลประโยชน์ เพื่อคนส่วนใหญ่ของบ้านเมืองก็ดีไป แต่ถ้าเป็นคนทุจริต โดยเฉพาะ ทุจริตนโยบาย เหมือนที่ผ่านมา คือ ทุจริต โดยชอบด้วยกฎหมายด้วยแล้ว ก็สามารถที่จะฮุบเอาทรัพยากรธรรมชาติของบ้านเมืองไปเป็นของตนและพวกพ้อง ในที่สุดคนส่วนใหญ่ของประเทศก็จมลง เศรษฐกิจก็จมลง ถ้าทำให้คนเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ตนจึงเรียกร้องเสมอว่า อยากเห็นนายกรัฐมนตรี ประกาศการเลือกตั้งที่สุจริตยุติธรรม เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนองค์การภาครัฐ และเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม โดยจัดงบประมาณให้พวกเขาอย่างเพียงพอ และใช้สื่อของรัฐในการสร้างความเข้าใจ กับประชาชนทั้งประเทศ ตนคิดว่า ถ้าช่วยกันได้เต็มที่อย่างนี้ น่าจะดีขึ้น เวลาที่เหลืออยู่ก็อยู่ในวิสัยที่จะทำได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า บรรดากลุ่มการเมืองที่กำลังจะจัดตั้งพรรคการเมือง ดูภาพเป็นนอมินี นายบัญญัติ กล่าวว่า ขณะนี้พรรคก็ติดตามดูอยู่ แต่คงจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรไม่ได้มากนัก เพราะยังไม่ชัดเจน ตนเคยเรียกร้องตั้งนานแล้ว ว่าให้รีบเปิดให้มีการจดทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งขณะนี้ก็เปิดแล้ว ก็คิดว่า อีกไม่ช้าไม่นานทุกกลุ่มก็จะชัดเจนมากขึ้น ใครจะเป็นตัวจริงเป็นตัวแทน จะเริ่มชัดมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าอย่างอดีต พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม ควรจะประกาศชัดเจนถึงจุดยืนร่วมกัน คือ อยู่ฝั่งตรงข้ามพ.ต.ท.ทักษิณ นายบัญญัติ กล่าวว่า ก็มีการประกาศไปบ้างแล้ว อย่างพรรคประชาธิปัตย์ ก็ประกาศชัดเจน ว่าเรายืนอยู่คนละฝ่ายแน่นอน คือคนยังสับสนกันอยู่ บางคนมีความเห็นว่า การประกาศเป็นขั้วการเมืองเช่นนี้ จะทำให้บ้านเมืองมีปัญหาขัดแยก สมานฉันท์กันไม่ได้ ตนเห็นว่าไม่ใช่ การเมืองต้องเป็นขั้วกันอยู่แล้ว ถ้าแนวความคิดคนละอย่างและวิธีการคนและแบบต้องไปคนละขั้ว เพียงแต่การแข่งขันที่ว่า ไม่ใช่การแข่งขันที่จะเอาเลือดเนื้อชีวิตเดิมพัน แต่เป็นการแข่งขันที่เป็นพื้นฐานของการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชน ตัดสินเลือกจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ตรงนี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน อย่างไปมองว่าจะทำให้สังคมแตกแยก ตรงกันข้ามถ้าเราไปร่วมกับคนที่เราร่วมมือไม่ได้ เพราะมีการทุจรติคอรัปชั่น ทำบ้านเมืองเสียหาย อย่างนั้น ต่างหากที่ไม่ใช่การสมานฉันท์แต่เป็นสมานกิน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 ส.ค. 2550--จบ--
วันนี้(31 ส.ค.50)นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการลงสัตยาบันว่าเพื่อไม่ให้มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงว่าในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหา เพราะพรรคประชาธิปัตย์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นอะไรที่คิดว่าจะเป็นการช่วยให้เรื่องนี้ได้ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะคนที่ทุจริต ก็คิดหาช่องทางกันไปได้เรื่อยๆ แต่ว่าถ้าเห็นว่าการลงสัตยาบันจะช่วยได้ตนคิดว่าเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่าการลงสัตยาบันต้องลงทุกพรรคการเมืองหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่าตนเข้าใจว่าคงเป็นการชวนทุกพรรค และพรรคใดไม่ไปลงก็คงเป็นที่จับตาของสังคม ดังนั้นตนคิดว่าคงไปกันทุกพรรค แต่ว่าไปแล้วจะมีกรณีที่บางพรรคอาจจะรับสารภาพในใจกันก่อน ก่อนที่จะพูดจาลงสัตยาบันตามเพื่อน ตนคิดว่าอันนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่พรรคประชาธิปัตย์ ตนกล้ายืนยันว่าไม่มีปัญหา ยืนยันได้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จริงใจ เพราะพรรคต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียงมาตลอด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เรื่องการแบ่งเขต แบ่งโซนเริ่มชัดเจนขึ้น แต่มีคนวิเคราะห์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะเสียเปรียบ เพราะภาคใต้ ในส่วนสัดส่วนอาจได้ไม่ถึง 10 คน ส่วนภาคอื่นก็เป็นไปได้อยาก นายบัญญัติ กล่าวว่า จากการประชุมหารือเห็นว่าไม่มีความแตกต่างกันเท่าไร คือส่วนที่ได้มากก็อาจจะได้ไม่เต็ม ด้วยการคิดคำนวณของคณะกรรมธิการยกร่างที่กำลังพิจารณาอยู่ แต่ส่วนที่ได้น้อยก็คิดว่าน่าจะได้เพิ่มขึ้น แต่ดูโดยรวมคิดว่า น่าจะมีความแตกต่างไม่มากนัก และตนคิดว่าระบบนี้ก็มีข้อดีอยู่ในตัว คือ การแบ่ง ส.ส. แบบบัญชีพรรคแต่เดิม ซึ่งเน้นความเป็นพรรคชัดเจน แล้วเปลี่ยนมาเป็นใช้ระบบสัดส่วนเป็นโซน ทำให้การเน้นพรรคน้อยลง แต่ในขณะเดียวกัน ข้อดีคือ คนที่อยู่ในบัญชีสัดส่วน จะต้องเป็นคนทำงานหนัก เพราะพื้นที่รับผิดชอบเป็นโซนชัดเจนมาก กรณีการทำงานหนักของคนที่ลงสมัครในระบบการเลือกตั้งนี้ ก็อาจจะมีผลในการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าใจการเมืองมากขึ้น และมีความตื่นตัวที่จะออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดคนลงสมัครมีผลกระทบหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า การจัดผู้สมัครของพรรค ไม่มีปัญหาอะไรมากหนัก เพราะก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา พรรคได้ คัดเลือกผู้สมัคร 80-90 % แล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังคงที่ ส่วนที่มีการขยับขยายไปลงพื้นที่อื่นแทบจะไม่มี อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบเลือกตั้งเปลี่ยน เป็นระบบโซน พรรคก็ต้องพิจารณากันใหม่ แต่ก็ยอมรับว่าในระบบนี้ก็มีข้อดีเหมือนกัน ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ในทันที่รัฐธรรมนูญผ่าน และมีความชัดเจนว่า มีการเลือกตั้งในระบบ สามคนต่อหนึ่งเขต ทำให้มีคนเก่งกล้าลงเล่นการเมืองมากขึ้น และที่สำคัญพอเขตใหญ่ขึ้น ก็ทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ส่วนนี้เป็นส่วนที่เราต้องเอามาปรับกับของเดิมที่มีอยู่ แต่บอกได้เลยว่าของประชาธิปัตย์ไม่มีปัญหา ระบบการทำงานของพรรค ใช้ระบบโซนที่ว่าเป็นการกระจายอำนาจโดยให้แต่ละโซนไปดูแลตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในเขตนั้นๆ กว่าจะขึ้นมาถึงคณะกรรมการใหญ่ ที่มีตนเป็นประธาน ก็จะผ่านการกลั่นกรองมาจากตรงนี้ ตอนนี้พิจารณาได้ถึง 60-70 % ซึ่งส่วนนี้ไม่มีปัญหา ซึ่งที่นัดประชุมก็เหลืออีก 2 นัด คือต้นเดือนก.ย.กับปลาย ก.ย. และคาดว่าปลายเดือนก.ย.ที่อย่างจะเรียบร้อย ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฏีกาเลือกตั้ง วันนั้นประชาธิปัตย์ก็คงจะเรียบร้อย ไม่มีปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองว่า การใช้เงินอาจจะรุนแรง มากเป็นพิเศษ นายบัญญัติ กล่าวว่า แน่นอนเพราะว่าเริ่มมีเค้ารางให้เห็นแล้ว ซึ่งความจริงก็มีการพูดถึงค่าตัวผู้สมัคร บางที่บางแห่งถึง 30-40 ล้านบาท ตนเห็นว่าเมื่อหลายปีก่อนก็มีการพูดแบบนี้ เพียงแต่ว่าหาพยานหลักฐานยาก แต่นักการเมืองได้ยินก็ต้องตกใจ แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ตนคิดว่ามีการเดิมพันสูง พูดกันแบบตรงไปตรงมา ใครจะอมพระมาพูด พ.ต.ท.ทักษิณ หยุดเล่นการเมือง และไม่สนับสนุนท่อน้ำลี้ยงนั้น ตนไม่เชื่อ เพราะยังมีผลประโยชน์ส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ อีกมากมายที่ต้องปกป้อง ประกอบกับเป็นคนที่เคยมีอำนาจทางการเมืองและใช้อำนาจทางการเมืองได้ผลมาแล้ว ย่อมมีความเชื่อถือว่าการใช้อำนาจทางการเมือง จะมีส่วนช่วยในการต่อร่องหรือปกป้องตัวเองได้ กรณีเช่นนี้ จึงเชื่อว่ามีการอุดหนุนช่วยเหลือกันอยู่บ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง จะทันเกมกับบรรดานักการเมืองหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า กกต.ต้องใช้ความพยายามศึกษาเรียนรู้ติดตาม อย่างน้อย ควรหาโอกาสพูดจากับผู้มีประสบการณ์ทั้งกับ กกต ชุดแรก รวมทั้งข้าราชการกระทรวงมหาดไทยเก่าๆ ที่มีประสบการณ์ ตนคิดว่า ทุกอย่างสามารถเรียนรู้ได้ แต่ตนคิดว่า ครั้งนี้ กกต.ต้องทำงานหนักเป็นพิเศษ ซึ่งกกต.ก็ได้มีโอกาสซ้อมมือในครั้งการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เมื่อถามว่า เท่าที่ดูคิดว่า กกต.ชุดนี้ จะจัดการเลือกตั้งผ่านหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า เท่าที่ดูมือใหม่ คิดว่าผ่าน แต่มีสิ่งบอกเหตุที่กกต.ต้องไปดูในส่วนที่มีปัญหาเพิ่มเติมอีกหลายจุด ตนเชื่อว่า ขณะนี้กกต.ก็กำลังพยายามอยู่ และที่น่ายินดีคือ การสรรหา กกต.จังหวัดครั้งล่าสุดเท่าที่ดูเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในส่วนของกฎหมายลูกที่ออกมา และเพิ่มเติมบทลงโทษ จะมีส่วนช่วยได้หรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า พรรคไม่ขัดข้องในเรื่องนี้ แต่พรรคก็ได้ให้ข้อสังเกตว่าต้องระมัดระวัง เพราะในทางการเมือง โดยเฉพาะการแข่งขันในสนามเลือกตั้ง หลายครั้งมีการสร้างเรื่องแทนกัน เช่น มีการส่งคนออกไปซื้อเสียงแทนคู่ต่อสู้ ด้วยเหตุผลว่าต้องการเล่นงานคู่ต่อสู้ ตนคิดว่า กรณีเช่นนี้ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะเขียนมาต้องมีทางออกที่ดีเช่นกัน ในส่วนของพรรคไม่กังวลเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะพรรคมีจุดยืนชัดเจนอยู่แล้วว่า พรรคต่อต้านการซื้อสิทธิ์ ขายเสียงทุกรูปแบบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปลี่ยนสัดส่วนกกต.มีผลหรือไม่ นายบัญญัติ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการเปลี่ยนสัดส่วนกกต. เพราะเดิมหลักของการเปลี่ยน และการออกเสียงเอกฉันท์ ในทางกลับกัน กลายเป็นว่าไม่ใช่เสียงมากที่กำหนด แต่กลับเป็นเสียงข้างน้อยที่กำหนด เมื่อถามว่า หลังการเลือกตั้งการเมืองจะเปลี่ยนแปลงมองอย่างไร นายบัญญัติ กล่าวว่า เราต้องมีความหวัง แม้ว่าจะมองเห็นปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เพราะประชาธิปไตยอยู่ได้ด้วยความหวัง ตนคิดว่าความหวังที่ดีของระบอบประชาธิปไตย คือ ทำอย่างไรให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง หรือได้มีความตื่นตัวในการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง และที่สำคัญรู้ทันนักการเมืองมากขึ้น คือทำให้ประชาชนเห็นว่า เรื่องเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญ เท่ากับว่า มอบอำนาจบ้านเมืองไว้อยู่ในมือของคนบางกลุ่ม และถ้าคนกลุ่มนี้มีความซื่อสัตย์สุจริต จัดการผลประโยชน์ เพื่อคนส่วนใหญ่ของบ้านเมืองก็ดีไป แต่ถ้าเป็นคนทุจริต โดยเฉพาะ ทุจริตนโยบาย เหมือนที่ผ่านมา คือ ทุจริต โดยชอบด้วยกฎหมายด้วยแล้ว ก็สามารถที่จะฮุบเอาทรัพยากรธรรมชาติของบ้านเมืองไปเป็นของตนและพวกพ้อง ในที่สุดคนส่วนใหญ่ของประเทศก็จมลง เศรษฐกิจก็จมลง ถ้าทำให้คนเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ ถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ตนจึงเรียกร้องเสมอว่า อยากเห็นนายกรัฐมนตรี ประกาศการเลือกตั้งที่สุจริตยุติธรรม เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนองค์การภาครัฐ และเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม โดยจัดงบประมาณให้พวกเขาอย่างเพียงพอ และใช้สื่อของรัฐในการสร้างความเข้าใจ กับประชาชนทั้งประเทศ ตนคิดว่า ถ้าช่วยกันได้เต็มที่อย่างนี้ น่าจะดีขึ้น เวลาที่เหลืออยู่ก็อยู่ในวิสัยที่จะทำได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า บรรดากลุ่มการเมืองที่กำลังจะจัดตั้งพรรคการเมือง ดูภาพเป็นนอมินี นายบัญญัติ กล่าวว่า ขณะนี้พรรคก็ติดตามดูอยู่ แต่คงจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรไม่ได้มากนัก เพราะยังไม่ชัดเจน ตนเคยเรียกร้องตั้งนานแล้ว ว่าให้รีบเปิดให้มีการจดทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่งขณะนี้ก็เปิดแล้ว ก็คิดว่า อีกไม่ช้าไม่นานทุกกลุ่มก็จะชัดเจนมากขึ้น ใครจะเป็นตัวจริงเป็นตัวแทน จะเริ่มชัดมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มองว่าอย่างอดีต พรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม ควรจะประกาศชัดเจนถึงจุดยืนร่วมกัน คือ อยู่ฝั่งตรงข้ามพ.ต.ท.ทักษิณ นายบัญญัติ กล่าวว่า ก็มีการประกาศไปบ้างแล้ว อย่างพรรคประชาธิปัตย์ ก็ประกาศชัดเจน ว่าเรายืนอยู่คนละฝ่ายแน่นอน คือคนยังสับสนกันอยู่ บางคนมีความเห็นว่า การประกาศเป็นขั้วการเมืองเช่นนี้ จะทำให้บ้านเมืองมีปัญหาขัดแยก สมานฉันท์กันไม่ได้ ตนเห็นว่าไม่ใช่ การเมืองต้องเป็นขั้วกันอยู่แล้ว ถ้าแนวความคิดคนละอย่างและวิธีการคนและแบบต้องไปคนละขั้ว เพียงแต่การแข่งขันที่ว่า ไม่ใช่การแข่งขันที่จะเอาเลือดเนื้อชีวิตเดิมพัน แต่เป็นการแข่งขันที่เป็นพื้นฐานของการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชน ตัดสินเลือกจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ตรงนี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน อย่างไปมองว่าจะทำให้สังคมแตกแยก ตรงกันข้ามถ้าเราไปร่วมกับคนที่เราร่วมมือไม่ได้ เพราะมีการทุจรติคอรัปชั่น ทำบ้านเมืองเสียหาย อย่างนั้น ต่างหากที่ไม่ใช่การสมานฉันท์แต่เป็นสมานกิน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31 ส.ค. 2550--จบ--