คำต่อคำ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ในการกล่าวเปิดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2549
ณ โรงแรมดิเอมเมอรัล 20 กค. 2550
กรรมการบริหารพรรค ท่านอดีตส.ส. ผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น ท่านประธานและกรรมการสาขาพรรค พี่น้องชาวประชาธิปัตย์ และพี่น้องประชาชนที่เคารพทุกท่าน ก่อนที่ผมจะดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระก็คงจะขอถือโอกาสนี้ได้พูดคุยกับเพื่อนสมาชิกชาวประชาธิปัตย์ ถึงสถานการณ์และแนวทางการทำงานของพรรคในเบื้องต้น ในช่วงบ่ายและในช่วงเช้าของวันพรุ่งนี้เราคงจะมีเวลาที่จะพูดคุยกันถึงเรื่องของนโยบายค่อนข้างมาก และผมจะได้มีโอกาสกล่าวต่อที่ประชุมแห่งนี้ และพี่น้องประชาชนในเรื่องของนโยบาย เป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าที่อยากจะพูดคุยกับท่านทั้งหลายในช่วงเช้านี้ ก็ต้องยอมรับว่าการประชุมใหญ่สามัญของพรรคในปีนี้ คงแตกต่างจากปีก่อน ๆ ที่ทำมา ถือได้ว่าหลายสิบปี ทุกท่านคงทราบว่าทุกครั้งเราจะประชุมใหญ่สามัญพรรคในช่วงประมาณเดือนเมษายน เพราะว่า ตามกฎหมายก็คือจะต้องมีการประชุมภายใน 120 วันนับจากวันสิ้นปีในทางบัญชีของพรรค แต่ว่าปีนี้ในเดือนเมษายน เราประชุมไม่ได้ ที่ประชุมไม่ได้ก็เพราะว่ามีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 ที่ห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
สำหรับผมและเพื่อนอดีต ส.ส. จำนวนมาก ซึ่งเข้ามาอยู่ในการเมืองประมาณ 15 ปี ปีนี้ก็เป็นปีแรกครับที่เราต้องมาประชุมกันภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองซึ่งใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว คือหลังการปฏิวัติรัฐประหาร ปีที่แล้วถ้าพวกเราจำได้ว่า ในการประชุมใหญ่สามัญนั้น เราเพิ่งผ่านพ้นการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน ซึ่งพรรคได้ตัดสินใจแสดงจุดยืนไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และก็อยู่ในช่วงที่ปัญหาการฉ้อฉลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครั้งนั้นกำลังได้รับการคลี่คลายโดยกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง และผมก็ได้ประกาศต่อที่ประชุมเมื่อปีที่แล้วว่า เมื่อการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรมถูกคลี่คลายไป เราก็พร้อมที่จะเดินหน้ากลับมาสู่กระบวนการของการแข่งขันในการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นหลายท่านก็คงจะจำได้ว่าเราก็ได้เริ่มต้นในกระบวนการของการสร้างวาระประชาชน มีการนำเสนอออกไปแต่ว่าเป็นระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ประมาณ 1 เดือน ที่ได้ปรากฏต่อสาธารณะ และในที่สุดก็เกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร ซึ่งสำหรับพวกเราหลายคนนั้นไม่เคยคิดว่าบ้านเมืองจะต้องย้อนกลับมาสู่สถานการณ์อย่างนี้
เราพูดชัดตั้งแต่วันแรกว่า สำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ด้วยจุดยืนด้วยอุดมการณ์ที่เราสืบทอด สืบสานมา เราไม่อาจเห็นด้วยกับวิธีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะนี้ได้ แต่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งที่เรายึดถือเป็นจุดยืนที่สำคัญก็คือว่า ทำอย่างไร เราจะฟื้นฟูประชาธิปไตย กลับคืนมาโดยเร็ว ด้วยความราบรื่นให้สังคมไม่มีความวุ่นวายอยู่บนหลักของความสมานฉันท์อย่างแท้จริง ฉะนั้นในช่วงตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ยึดมั่นในจุดยืนตรงนี้ ตราบเท่าที่คณะปฏิรูปซึ่งต่อมากลายสภาพมาเป็น คมช. และรัฐบาล ยังคงยึดถือกรอบเวลาที่ได้สัญญากับประชาชนเอาไว้ในการคืนอำนาจสู่ประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีส่วนร่วมในการที่จะทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย และมีความพร้อมที่จะกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว
แม้หลายเรื่องที่เกิดขึ้นเราจะไม่เห็นด้วย เราก็จะแสดงออกในรูปแบบวิธีการที่จะไม่ไปเพิ่มปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติ และเราไม่เชื่อครับว่า การเติมเชื้อของการเผชิญหน้า หรือความรุนแรงเข้าไปในสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ จะช่วยให้เราได้ประชาธิปไตยกลับคืนมาด้วยความรวดเร็วและราบรื่น อันนี้คือสิ่งซึ่งผมเชื่อว่า พวกเราชาวประชาธิปัตย์ เห็นตรงกัน และเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเราต้องยืนยันกับสังคมว่า เรามีจุดยืนอย่างนี้ด้วยความชอบธรรม เพราะอะไร ผมทราบดีว่า หลายฝ่ายอาจจะมองไม่ตรงกับเรา หรือหลายฝ่ายอาจจะมีความคิดที่พยายามจะมองเราเป็นอย่างอื่น แต่ขอยืนยันนะครับว่า สิ่งที่เราสืบทอด สืบสานกันมา 60 ปีแล้วนั้น มันไม่เปลี่ยนแปลง มันไม่หายไปไหน แต่การยึดมั่นในอุดมการณ์และการทำงานทางการเมืองนั้น จะต้องดำเนินไปด้วยความรอบคอบ สุขุม โดยยึดมั่นในประโยชน์ของอนาคตของประเทศเป็นหลัก ผมคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เป็นเรื่องแรกที่ผมอยากจะพูดกับเพื่อนสมาชิก เพื่อที่จะได้ยืนยันความเข้าใจและอุดมการณ์ของเราที่ตรงกัน
ในปัจจุบันนี้สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือการจัดทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เราก็ได้ติดตามการจัดทำรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ต้น เราได้รับความกรุณาจากท่านอดีตหัวหน้าพรรค ท่านอดีตหัวหน้าบัญญัติ จัดทำคณะทำงานซึ่งติดตามการร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ต้น อย่างละเอียดต่อเนื่อง จนทำให้เราสามารถที่จะแสดงจุดยืนต่อประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างทันทีทันควันมาโดยตลอด
ถ้าถามใจพวกเราชาวประชาธิปัตย์ อยากได้รัฐธรรมนูญที่มีที่มาอย่างนี้หรือไม่ ก็ต้องตอบตรง ๆ ว่าไม่ เพราะเราเองมีส่วนในการที่ผลักดัน ให้การมีรัฐธรรมนูญที่ดีที่เป็นประชาธิปไตย มันเป็นไปตามกระบวนการครรลองที่ยึดโยงกับประชาชนมาโดยตลอด สมัยที่เราเป็นรัฐบาลเมื่อปี 2535 ก็ได้มีความพยายามที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อเนื่องมาจนเราได้รัฐธรรมนูญปี 2540 ถามว่าแนวคิดของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่ทำกันอยู่ในช่วงที่ผ่านมานี้ เราชอบใจไม๊ ผมก็ต้องบอกว่า ส่วนตัวผม และผมเชื่ออีกหลาย ๆ ท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้ ก็ไม่ชอบใจหรอกครับ เพราะว่าหลายครั้งก็สะท้อนให้เห็นถึงอคติที่มีต่อพวกเราที่เป็นนักการเมืองเองด้วยซ้ำ ถ้าจะพูดถึงความรู้สึกส่วนตัว ก็ขมขื่นเหมือนกันเพราะมีการไปเหมารวมว่านักการเมืองทุกคนเลวร้ายหมด เหมือนกันหมด แต่ว่าเราจะเอาความรู้สึกส่วนตัวเหล่านี้ แล้วก็บอกว่า เพราะฉะนั้นเราจะต้องต่อต้านคัดค้าน คงไม่ใช่ เราก็ต้องดูตามสภาพความเป็นจริงว่าเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญที่ออกมาเป็นอย่างไร แน่นอนครับ ไม่ถูกใจทั้งหมดหรอกครับ
เรายืนยันมาตลอดว่าเราอยากเห็นวุฒิสภาที่มีอำนาจถึงขั้นที่มาถอดถอนคนมาจากการเลือกตั้งได้ว่า ควรจะต้องมาจากการเลือกตั้ง เราอยากให้พรรคการเมืองมีสิทธิ เสรีภาพมากกว่านี้ในการกำหนดนโยบาย โดยไม่ต้องถูกผูกมัดโดยรัฐธรรมนูญซึ่งเขียนละเอียดจนเกินไป แต่ขณะเดียวเราก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่า ร่างฉบับปี 2550 ก็แก้ไขปรับปรุงอะไร หลายต่อหลายอย่าง ซึ่งมันเป็นจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือการที่รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกบิดเบือนไป สิทธิเสรีภาพ มีความชัดเจนขึ้น มีผลบังคับ ในลักษณะที่น่าจะเป็นจริงในทางปฏิบัติมากขึ้น และก็สิทธิ เสรีภาพในบางเรื่อง ซึ่งคนอาจจะมองข้ามไป แต่ว่าถูกจำกัดอย่างรุนแรงในปี 2540 ซึ่งมาตรฐานสากลคงยอมรับยาก เช่น การไม่ยอมให้คนไม่จบปริญญาสมัครผู้แทนได้ เหล่านี้ก็ได้รับการแก้ไข การใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในเรื่องของการทุจริต คอร์รัปชั่นและการแทรกแซงองค์กรต่าง ๆ ก็ต้องยอมรับว่าเที่ยวนี้เขาก็จริงจังมากขึ้น ในการที่จะปรับดุลอำนาจให้มีความเหมาะสม อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีง่ายขึ้น ประชาชนเข้าชื่อเพื่อถอดถอน ตรวจสอบ ง่ายขึ้น ตรงนี้คนที่เป็นนักการเมืองที่จะไปมีอำนาจ เขาจะบอกว่า คงไม่ชอบ แต่ที่จริงสำหรับเราไม่ใช่ สำหรับเราประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือเป็นฝ่ายค้านเรายืนยันมาตลอดว่า สิทธิ ของการตรวจสอบต้องเข้มแข็ง วันที่เราเป็นรัฐบาล วันที่อดีตหัวหน้าชวน เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง ไม่เคยมีปีไหนครั้งไหนเลย ที่เรากลัวการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่เคยมีช่วงไหนเลยที่เรากลัวการตั้งกระทู้ถามในสภา เพราะเราถือว่า การตรวจสอบที่เข้มแข็งจะทำให้ได้รัฐบาลที่ดี จะไม่ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแม้มีเสียงข้างมากนั้น เหลิงอำนาจ ลุแก่อำนาจ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังเขียนมาตรการอีกหลายอย่างซึ่งจะช่วยคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความจำเป็นที่ฝ่ายบริหารจะต้องมีความละเอียดในข้อมูลที่ต้องแสดงเวลาที่จะผ่านงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นการเอาสนธิ สัญญาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน มาให้ตัวแทนของประชาชนรับรอง รวมไปถึงการติดตามตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้กระบวนการของการกระจายอำนาจ มันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย และยังมีการปรับบางเรื่องให้มีความเหมาะสมกับระบบรัฐสภาที่แท้จริงด้วยเช่น การไม่บังคับให้ ส.ส.ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีผลทำให้รัฐบาลกับสภามีความห่างเหินกัน และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสาระที่เรามองเห็นแล้วว่า มันไปได้ รับได้ มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาว่า พรรคประชาธิปัตย์กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญหรือคมช. หรือรัฐบาล ไปมีความสัมพันธ์อย่างไร เราว่าไปตามข้อเท็จจริง เนื้อหาสาระ คณะทำงานของท่านอดีตหัวหน้า และหลังจากที่เราได้ปรึกษาหารือกันแล้ว เราก็เห็นว่า โดยเนื้อหาสาระรับได้ ไม่สมบูรณ์ หลายเรื่องมันไม่มีทางถูกใจพวกเราอยู่แล้วครับ ลดจำนวน ส.ส. เราก็เดือดร้อน บัญชีรายชื่อแบบ 8 เขต เขตละ 10 คน เราก็มีความรู้สึกว่า ไม่ค่อยเหมาะ แต่ว่าเราเอาเรื่องเหล่านี้มาใหญ่กว่าภาพรวมการเดินหน้าของประเทศไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือการประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 นี้ ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผ่านความเห็นชอบ บรรยากาศของความแน่นอนทางการเมืองเกิดขึ้น เราจะมีกำหนดการที่ชัดเจนว่า กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และหลังจากนั้นจะต้องมีการเลือกตั้งภายในเมื่อไหร่ ซึ่งคำนวณออกมาแล้วก็คือ ประมาณปลายเดือนธันวาคมนี้ สิ่งนี้มีความสำคัญไม่น้อยเลยนะครับ ไม่ใช่ในแง่ของระบบการเมืองหรอกครับ แต่มีความสำคัญต่อการที่จะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าและประชาชนพ้นจากทุกของเขาในทุกวันนี้
ทุกข์ของประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจ ทุกข์ของประชาชนในเรื่องความไม่สงบ ความขัดแย้ง คลายไม่ได้ แก้ไม่ได้หรอกครับ ถ้าเราไม่หวนกลับคืนสู่วิถีทางปกติ ตามระบอบประชาธิปไตย ผมไปพบพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ผมเดินทางไปต่างประเทศ ชาวไทย ชาวต่างชาติ มองไม่ต่างกันว่าความจำเป็นที่จะต้องมีการเลือกตั้งโดยเร็วแน่นอน เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนของเรา ผมคงไม่สามารถไปพูดได้หรอกครับว่า ถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้ แล้วผมก็เคารพผู้ใดก็ตามที่มีเหตุมีผลของตัวเองในการที่จะไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ผมพูดได้ว่า ถ้าไม่รับความความไม่แน่นอนเกิดขึ้นและบรรยากาศของความไม่แน่นอน ซึ่งอาจจะนำไปสู่อะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง ผมมั่นใจว่าไม่ได้เป็นผลดีกับอนาคตของประเทศชาติบ้านเมือง และประชาชน ผมบอกแล้วว่า ถ้าเลือกเขียนรัฐธรรมนูญได้ เราก็คงไม่เขียนอย่างนี้ ถ้าเลือกได้ว่าจะให้รัฐธรรมนูญมาอย่างไร เราก็คงไม่อยากให้มาอย่างนี้ แต่ผมก็บอกได้เช่นเดียวกันครับว่า ถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ใครจะเป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ ก็ คมช. กับรัฐบาล ซึ่งผมก็ประกาศได้เช่นเดียวกันว่า ผมก็ไม่ต้องการให้ คมช. กับรัฐบาล มาเขียนรัฐธรรมนูญโดยการปรับปรุงจากฉบับใด ฉบับหนึ่ง ในระยะเวลา 30 วันแล้วไม่ต้องมาผ่านความเห็นชอบของประชาชนอีก จะเป็นกระบวนการที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองประเทศชาติ เพราะฉะนั้นจุดยืนที่พรรคประกาศออกไป คือจุดยืนที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ คือจุดยืนที่สอดคล้องกับหลักที่เราประกาศว่า ประชาชนต้องมาก่อน
วันข้างหน้าครับ จะเป็นฉบับนี้หรือจะเป็นฉบับไหนก็ตาม จะต้องมีการแก้ไขโดยคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว ดังนั้นภาระเฉพาะหน้าของพวกเราจำนวนมากซึ่งจะต้องออกไปพบปะกับประชาชนนั้นก็คงจะต้องได้ให้ข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อพี่น้องประชาชนในการตัดสินใจประกอบเรื่องของการทำประชามติด้วย และเราก็หวังว่า ปีหน้าเมื่อเรามาประชุมอย่างนี้อีก ความชัดเจนของกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งจะเดินหน้าไปสู่การปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกติกาให้ดีขึ้นนั้น ก็คงจะเป็นที่เข้าใจและมั่นใจและอุ่นใจ ของประชาชนโดยรวม
พี่น้องชาวประชาธิปัตย์ครับ 1 ปีที่ผ่านมานั้น ก็ต้องถือว่าพรรคต้องฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคมาก ผลพวงจากการเลือกตั้ง 2 เมษา ก็ทำให้เราเข้าสู่การเมืองที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน ซึ่งถ้าหากว่า พี่น้องชาวประชาธิปัตย์ไม่สมัครสมานสามัคคีกัน ไม่เดินร่วมกันด้วยความเข้มแข็ง พวกเราคงไม่ได้มานั่งอยู่ตรงนี้ สิ่งที่ผ่านพ้นมาชัดเจนที่สุดก็คือกรณีของคดียุบพรรค เรื่องนี้ก็ต้องถือโอกาสอีกครั้งหนึ่งในการขอบพระคุณท่านอดีตหัวหน้าทั้ง 2 ท่าน ซึ่งได้มีบทบาทสำคัญมากในการเตรียมและต่อสู้คดี (เสียงปรบมือ)
แต่ว่าถ้าท่านถามท่านผู้ว่าคดี คือท่านประธานที่ปรึกษาพรรค ว่าอะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้เราชนะคดี ท่านจะตอบได้สั้น ๆ เลยครับ เราไม่ได้ทำผิด เราบริสุทธิ์ (เสียงปรบมือ)
เพียงแต่ว่า ความเข้มแข็งของท่านก็คือการเอาความจริงที่เป็นความบริสุทธิ์นี้ ไปให้เป็นที่ประจักษ์ต่อศาล และต่อสาธารณะ ผมทราบดีว่า เพื่อนสมาชิกจำนวนมากเมื่อเราผ่านพ้นคดีมาได้ ดีใจ บางคนอาจต้องใช้คำว่า ถึงขั้นคึกคะนอง แต่ผมอยากจะเตือนนะครับ การผ่านพ้นคดียุบพรรคมานั้น เราอาจจะคิดว่าเป็นชัยชนะแต่ว่า มันก็เพียงแค่บอกว่าเราสามารถที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้เท่านั้น และคำเตือนของประธานที่ปรึกษาที่บอกว่า อย่าลำพองนั้น เป็นสิ่งที่ผมขอย้ำกับเพื่อนสมาชิกทุกท่าน และคำกล่าวของผมในวันที่มีการตัดสินคดีนั้น ผมขอให้ยึดถือเป็นธงของพี่น้องชาวประชาธิปัตย์ทุกคนว่า ชัยชนะในคดีวันนั้น เราจะต้องนำมาใช้ให้เป็นชัยชนะของประชาชน อุปสรรคปัญหาที่เราฟันฝ่ามา 1 ปีที่ผ่านมานั้น มันไม่หนักหนาเท่ากับ 1 ปีข้างหน้าที่เป็นอุปสรรคปัญหาทั้งของพรรค และของประเทศชาติและประชาชน ใครที่คิดว่าเราผ่านจุดที่ยากลำบากที่สุดมาแล้ว ไม่ใช่ครับ
บ้านเมืองเรา สังคมเรา ในขณะนี้เผชิญกับปัญหาที่หนักหน่วงที่สุดยุคหนึ่ง เพราะสิ่งที่มันเคยเป็นจุดแข็ง ความดีงามในสังคมของเรา หลายจุด ขณะนี้สั่นคลอน ไม่เคยมียุคไหนที่ประชาชนคนไทยมีความขัดแย้ง มีความแตกแยก และยอมรับเรื่องของการใช้ความรุนแรง เท่ากับยุคนี้ ไม่มียุคไหนที่ความท้าทายทางเศรษฐกิจต่อคนไทย ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ พ่อค้า หรือใครก็ตาม มันรุนแรงเท่ากับยุคนี้ และไม่มียุคไหนหรอกครับที่ต้องการภาวะการนำที่เข้มแข็งที่มั่นคง ที่รอบรู้ และพร้อมจะเรียนรู้กับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองและในโลก รวมไปถึงการยึดมั่นในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ความถูกต้อง เท่ากับยุคนี้ ไม่ใช่เรื่องเล่นหรอกครับ
เราในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองที่มีประสบการณ์ยาวนาน ยืนหยัดกับประชาชนมาต่อเนื่องที่สุด เราต้องทำให้ตัวเองหยิบยื่นสิ่งนี้ให้กับประชาชนได้ นั่นคือภาระที่หนักหน่วงมาก แต่ว่า เราก็ต้องยืนยันกับพี่น้องประชาชนว่า เรามีความมั่นใจ และเรามีความหวัง ท่ามกลางปัญหาต่าง ๆ เวลาผมออกไปพบปะกับประชาชนในช่วงที่ผ่านมา เพื่อที่จะจัดทำ วาระประชาชน ผมก็ยังมีความมั่นใจและมีความหวังอย่างเต็มเปี่ยม เพราะผมเชื่อในคุณค่าและความสามารถของคนไทย ผมเชื่อว่าเรามีอะไรดี ๆ อยู่หลายอย่าง ซึ่งเราไม่ได้นำมาใช้เพราะว่าเราไม่ได้หยิบยื่นโอกาสให้กับคนของเราเท่าที่ควร ความหวังตรงนี้ ความมั่นใจตรงนี้ครับ เป็นเรื่องที่เราต้องร่วมสร้าง พร้อม ๆ ไปกับประชาชน เพราะผมได้บอกแล้วว่า สภาพปัญหาอย่างที่เป็นอยู่นั้น ไม่มีรัฐบาลชุดไหน รัฐมนตรีคนใด แก้ไขได้ ถ้าประชาชนไม่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเดินไปด้วย
แต่ว่าคนที่คิดจะเป็นรัฐบาลชุดต่อไป จะไปรอนับหนึ่งวันเริ่มต้นเป็นรัฐบาลไม่ได้ครับ ผมถึงเรียกร้องว่าทุกพรรคการเมืองมาทำอย่างที่เราทำ เมื่อรัฐบาล เมื่อสนช. เปิดโอกาสให้จัดตั้งพรรคการเมืองกันได้แล้ว ขอให้เร่งทำเถิดครับ จัดตั้งขึ้นมาแล้วรวมกันเดินเข้าหาประชาชนเพื่อบอกกับประชาชนว่าทางเลือกสำหรับอนาคตของประเทศมีอะไรบ้าง แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ ผมบอกได้เลยว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะพึงพอใจมาก ประชาธิปัตย์ต้องการการแข่งขัน และต้องการการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ และจะไม่มีวันกลัวการแข่งขันตราบเท่าที่การเลือกตั้งสุจริต เที่ยงธรรม (เสียงปรบมือ)
และสำหรับเพื่อนสมาชิก ผมก็อยากจะบอกว่า อุปสรรคทางการเมืองมีมากครับ เราสัมผัสมาโดยตลอด เราก็รู้วันที่พรรคประชาธิปัตย์ ผ่านพ้นคดีมา บางฝ่ายก็ผิดหวัง วันที่เราเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ก็มีหลายคนที่ผิดหวัง และในยามที่ผม และพรรคประชาธิปัตย์กำลังท้าทายหลายเรื่องซึ่งเป็นเหมือนสารพิษตกค้างจากการเมืองเก่านั้น ก็ย่อมมีปฏิกิริยาที่รุนแรงจากบางฝ่าย เราต้องพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคปัญหาเหล่านี้ครับ
นักวิเคราะห์นักวิจารณ์ สื่อสาร บางกลุ่มบางคน เราก็เห็นอยู่ครับ เขียนถึงเรา เขียนถึงผมเปิดมาก็เดาได้ว่าไม่ดีหรอก ไม่เป็นไรครับ อย่างน้อยประชาธิปัตย์ให้สิทธิ์ท่านในการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าเราจะเป็นหรือไม่เป็นรัฐบาล (เสียงปรบมือ)
แต่อยากจะบอกเช่นเดียวกันว่าเราไม่หวั่นไหวหรอกครับ วันนี้ผมก็เห็นพาดพิงมาอีก บ้านเมืองมันแย่ นักการเมืองที่เก่ง ที่ฉลาด ที่ช่ำชอง ที่มีกึ๋นทั้งหลาย ก็คงปล่อยให้พรรคประชาธิปัตย์ และอภิสิทธิ์ไปเป็นเหยื่อไป บังเอิญเราไม่ได้มองการเมืองอย่างนั้นครับ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์และผมจะต้องนำพาประเทศชาติไปนะครับ แล้วเกิดวิกฤตแล้วเราพาประเทศรอด แต่ตัวผมไม่รอด ผมยินดีทำ (เสียงปรบมือ)
และผมไม่คิดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคซึ่งจะปฏิเสธความรับผิดชอบเวลาปัญหาของบ้านเมืองหนัก แล้วก็รอคอยเพียงแค่ว่า ในช่วงใดก็ตามที่ต้องแก้วิกฤตแล้วทำอะไรที่มันขัดใจคนบ้าง ก็ปล่อยคนอื่นเขาทำแล้วฉวยโอกาส มาเสวยสุข จากการตัดสินใจที่ยากลำบากของคนที่เขาแก้วิกฤต เราไม่ใช่อย่างนั้น และผมคิดว่าแม้ว่าในบางช่วง บางยุค บางขณะ พอเราทำอย่างนั้นเราก็ต้องเผชิญปัญหาทางการเมืองอย่างรุนแรง คะแนนความนิยมตกหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เราอยู่รอดและบ้านเมืองไม่เคยวิกฤตในมือเรา (เสียงปรบมือ)
ฉะนั้น 1 ปีข้างหน้า ขอให้เรายึดมั่นขอให้เรามั่น ขอให้เรามั่นใจในแนวทางและอุดมการณ์ของเรา ผมเชื่อครับว่า เราจะมีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตทำให้พี่น้องประชาชนลืมตาอ้าปาก ทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้อีก แต่ว่าสิ่งเหล่านี้เราต้องทำงานหนัก ในช่วง 2 วันข้างหน้า ในช่วงของการประชุมที่เราจะทำกิจกรรมนั้น ขอให้พวกเราทุ่มเทอย่างเต็มที่ และจากนี้ไปอีกหลายเดือนก็ต้องขยันมากขึ้นอีกหลายเท่าในการที่จะเข้าไปถึงจิตใจของพี่น้องประชาชน เพื่อดึงพลังทั้งหลายที่มีอยู่ในทุกส่วนของประเทศไทย และคนไทยทุกคนออกมา เพื่อผลักดันประเทศเดินไปข้างหน้าให้ได้
และผมขอถือโอกาสนี้พูดผ่านไปยังพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ 60 กว่าล้านคนว่าขอเชิญชวนเถิดครับ ท่านจะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกพรรค ท่านจะเป็นผู้สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนพรรคก็ตาม ประชาธิปัตย์ต้องการความร่วมมือจากท่านในการเดินหน้าประเทศไทย และเราได้ประกาศไปแล้วว่า หลักการของเรา คำขวัญของเราคือ “ประชาชนต้องมาก่อน” ซึ่งหมายถึงประชาชนทุกคน ตรงนี้ผมมั่นใจว่าเป็นธง ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนกับเราสามารถร่วมกันทำงานเพื่อความผาสุกของคนไทยทั้งประเทศต่อไปได้
ผมขอเปิดการประชุมใหญ่สามัญพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2549 ณ บัดนี้ครับ (เสียงปรบมือ)
*********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.ค. 2550--จบ--
ในการกล่าวเปิดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2549
ณ โรงแรมดิเอมเมอรัล 20 กค. 2550
กรรมการบริหารพรรค ท่านอดีตส.ส. ผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น ท่านประธานและกรรมการสาขาพรรค พี่น้องชาวประชาธิปัตย์ และพี่น้องประชาชนที่เคารพทุกท่าน ก่อนที่ผมจะดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระก็คงจะขอถือโอกาสนี้ได้พูดคุยกับเพื่อนสมาชิกชาวประชาธิปัตย์ ถึงสถานการณ์และแนวทางการทำงานของพรรคในเบื้องต้น ในช่วงบ่ายและในช่วงเช้าของวันพรุ่งนี้เราคงจะมีเวลาที่จะพูดคุยกันถึงเรื่องของนโยบายค่อนข้างมาก และผมจะได้มีโอกาสกล่าวต่อที่ประชุมแห่งนี้ และพี่น้องประชาชนในเรื่องของนโยบาย เป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่าที่อยากจะพูดคุยกับท่านทั้งหลายในช่วงเช้านี้ ก็ต้องยอมรับว่าการประชุมใหญ่สามัญของพรรคในปีนี้ คงแตกต่างจากปีก่อน ๆ ที่ทำมา ถือได้ว่าหลายสิบปี ทุกท่านคงทราบว่าทุกครั้งเราจะประชุมใหญ่สามัญพรรคในช่วงประมาณเดือนเมษายน เพราะว่า ตามกฎหมายก็คือจะต้องมีการประชุมภายใน 120 วันนับจากวันสิ้นปีในทางบัญชีของพรรค แต่ว่าปีนี้ในเดือนเมษายน เราประชุมไม่ได้ ที่ประชุมไม่ได้ก็เพราะว่ามีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครอง ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 ที่ห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
สำหรับผมและเพื่อนอดีต ส.ส. จำนวนมาก ซึ่งเข้ามาอยู่ในการเมืองประมาณ 15 ปี ปีนี้ก็เป็นปีแรกครับที่เราต้องมาประชุมกันภายใต้สถานการณ์บ้านเมืองซึ่งใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว คือหลังการปฏิวัติรัฐประหาร ปีที่แล้วถ้าพวกเราจำได้ว่า ในการประชุมใหญ่สามัญนั้น เราเพิ่งผ่านพ้นการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน ซึ่งพรรคได้ตัดสินใจแสดงจุดยืนไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง และก็อยู่ในช่วงที่ปัญหาการฉ้อฉลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครั้งนั้นกำลังได้รับการคลี่คลายโดยกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง และผมก็ได้ประกาศต่อที่ประชุมเมื่อปีที่แล้วว่า เมื่อการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรมถูกคลี่คลายไป เราก็พร้อมที่จะเดินหน้ากลับมาสู่กระบวนการของการแข่งขันในการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นหลายท่านก็คงจะจำได้ว่าเราก็ได้เริ่มต้นในกระบวนการของการสร้างวาระประชาชน มีการนำเสนอออกไปแต่ว่าเป็นระยะเวลาเพียงสั้น ๆ ประมาณ 1 เดือน ที่ได้ปรากฏต่อสาธารณะ และในที่สุดก็เกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร ซึ่งสำหรับพวกเราหลายคนนั้นไม่เคยคิดว่าบ้านเมืองจะต้องย้อนกลับมาสู่สถานการณ์อย่างนี้
เราพูดชัดตั้งแต่วันแรกว่า สำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ด้วยจุดยืนด้วยอุดมการณ์ที่เราสืบทอด สืบสานมา เราไม่อาจเห็นด้วยกับวิธีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะนี้ได้ แต่ว่าอย่างไรก็ตามสิ่งที่เรายึดถือเป็นจุดยืนที่สำคัญก็คือว่า ทำอย่างไร เราจะฟื้นฟูประชาธิปไตย กลับคืนมาโดยเร็ว ด้วยความราบรื่นให้สังคมไม่มีความวุ่นวายอยู่บนหลักของความสมานฉันท์อย่างแท้จริง ฉะนั้นในช่วงตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ยึดมั่นในจุดยืนตรงนี้ ตราบเท่าที่คณะปฏิรูปซึ่งต่อมากลายสภาพมาเป็น คมช. และรัฐบาล ยังคงยึดถือกรอบเวลาที่ได้สัญญากับประชาชนเอาไว้ในการคืนอำนาจสู่ประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีส่วนร่วมในการที่จะทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย และมีความพร้อมที่จะกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว
แม้หลายเรื่องที่เกิดขึ้นเราจะไม่เห็นด้วย เราก็จะแสดงออกในรูปแบบวิธีการที่จะไม่ไปเพิ่มปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติ และเราไม่เชื่อครับว่า การเติมเชื้อของการเผชิญหน้า หรือความรุนแรงเข้าไปในสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ จะช่วยให้เราได้ประชาธิปไตยกลับคืนมาด้วยความรวดเร็วและราบรื่น อันนี้คือสิ่งซึ่งผมเชื่อว่า พวกเราชาวประชาธิปัตย์ เห็นตรงกัน และเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเราต้องยืนยันกับสังคมว่า เรามีจุดยืนอย่างนี้ด้วยความชอบธรรม เพราะอะไร ผมทราบดีว่า หลายฝ่ายอาจจะมองไม่ตรงกับเรา หรือหลายฝ่ายอาจจะมีความคิดที่พยายามจะมองเราเป็นอย่างอื่น แต่ขอยืนยันนะครับว่า สิ่งที่เราสืบทอด สืบสานกันมา 60 ปีแล้วนั้น มันไม่เปลี่ยนแปลง มันไม่หายไปไหน แต่การยึดมั่นในอุดมการณ์และการทำงานทางการเมืองนั้น จะต้องดำเนินไปด้วยความรอบคอบ สุขุม โดยยึดมั่นในประโยชน์ของอนาคตของประเทศเป็นหลัก ผมคิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่เป็นเรื่องแรกที่ผมอยากจะพูดกับเพื่อนสมาชิก เพื่อที่จะได้ยืนยันความเข้าใจและอุดมการณ์ของเราที่ตรงกัน
ในปัจจุบันนี้สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือการจัดทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 เราก็ได้ติดตามการจัดทำรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ต้น เราได้รับความกรุณาจากท่านอดีตหัวหน้าพรรค ท่านอดีตหัวหน้าบัญญัติ จัดทำคณะทำงานซึ่งติดตามการร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ต้น อย่างละเอียดต่อเนื่อง จนทำให้เราสามารถที่จะแสดงจุดยืนต่อประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างทันทีทันควันมาโดยตลอด
ถ้าถามใจพวกเราชาวประชาธิปัตย์ อยากได้รัฐธรรมนูญที่มีที่มาอย่างนี้หรือไม่ ก็ต้องตอบตรง ๆ ว่าไม่ เพราะเราเองมีส่วนในการที่ผลักดัน ให้การมีรัฐธรรมนูญที่ดีที่เป็นประชาธิปไตย มันเป็นไปตามกระบวนการครรลองที่ยึดโยงกับประชาชนมาโดยตลอด สมัยที่เราเป็นรัฐบาลเมื่อปี 2535 ก็ได้มีความพยายามที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อเนื่องมาจนเราได้รัฐธรรมนูญปี 2540 ถามว่าแนวคิดของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่ทำกันอยู่ในช่วงที่ผ่านมานี้ เราชอบใจไม๊ ผมก็ต้องบอกว่า ส่วนตัวผม และผมเชื่ออีกหลาย ๆ ท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้ ก็ไม่ชอบใจหรอกครับ เพราะว่าหลายครั้งก็สะท้อนให้เห็นถึงอคติที่มีต่อพวกเราที่เป็นนักการเมืองเองด้วยซ้ำ ถ้าจะพูดถึงความรู้สึกส่วนตัว ก็ขมขื่นเหมือนกันเพราะมีการไปเหมารวมว่านักการเมืองทุกคนเลวร้ายหมด เหมือนกันหมด แต่ว่าเราจะเอาความรู้สึกส่วนตัวเหล่านี้ แล้วก็บอกว่า เพราะฉะนั้นเราจะต้องต่อต้านคัดค้าน คงไม่ใช่ เราก็ต้องดูตามสภาพความเป็นจริงว่าเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญที่ออกมาเป็นอย่างไร แน่นอนครับ ไม่ถูกใจทั้งหมดหรอกครับ
เรายืนยันมาตลอดว่าเราอยากเห็นวุฒิสภาที่มีอำนาจถึงขั้นที่มาถอดถอนคนมาจากการเลือกตั้งได้ว่า ควรจะต้องมาจากการเลือกตั้ง เราอยากให้พรรคการเมืองมีสิทธิ เสรีภาพมากกว่านี้ในการกำหนดนโยบาย โดยไม่ต้องถูกผูกมัดโดยรัฐธรรมนูญซึ่งเขียนละเอียดจนเกินไป แต่ขณะเดียวเราก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่า ร่างฉบับปี 2550 ก็แก้ไขปรับปรุงอะไร หลายต่อหลายอย่าง ซึ่งมันเป็นจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือการที่รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกบิดเบือนไป สิทธิเสรีภาพ มีความชัดเจนขึ้น มีผลบังคับ ในลักษณะที่น่าจะเป็นจริงในทางปฏิบัติมากขึ้น และก็สิทธิ เสรีภาพในบางเรื่อง ซึ่งคนอาจจะมองข้ามไป แต่ว่าถูกจำกัดอย่างรุนแรงในปี 2540 ซึ่งมาตรฐานสากลคงยอมรับยาก เช่น การไม่ยอมให้คนไม่จบปริญญาสมัครผู้แทนได้ เหล่านี้ก็ได้รับการแก้ไข การใช้อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในเรื่องของการทุจริต คอร์รัปชั่นและการแทรกแซงองค์กรต่าง ๆ ก็ต้องยอมรับว่าเที่ยวนี้เขาก็จริงจังมากขึ้น ในการที่จะปรับดุลอำนาจให้มีความเหมาะสม อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีง่ายขึ้น ประชาชนเข้าชื่อเพื่อถอดถอน ตรวจสอบ ง่ายขึ้น ตรงนี้คนที่เป็นนักการเมืองที่จะไปมีอำนาจ เขาจะบอกว่า คงไม่ชอบ แต่ที่จริงสำหรับเราไม่ใช่ สำหรับเราประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือเป็นฝ่ายค้านเรายืนยันมาตลอดว่า สิทธิ ของการตรวจสอบต้องเข้มแข็ง วันที่เราเป็นรัฐบาล วันที่อดีตหัวหน้าชวน เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง ไม่เคยมีปีไหนครั้งไหนเลย ที่เรากลัวการถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่เคยมีช่วงไหนเลยที่เรากลัวการตั้งกระทู้ถามในสภา เพราะเราถือว่า การตรวจสอบที่เข้มแข็งจะทำให้ได้รัฐบาลที่ดี จะไม่ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแม้มีเสียงข้างมากนั้น เหลิงอำนาจ ลุแก่อำนาจ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังเขียนมาตรการอีกหลายอย่างซึ่งจะช่วยคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความจำเป็นที่ฝ่ายบริหารจะต้องมีความละเอียดในข้อมูลที่ต้องแสดงเวลาที่จะผ่านงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นการเอาสนธิ สัญญาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชน มาให้ตัวแทนของประชาชนรับรอง รวมไปถึงการติดตามตรวจสอบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้กระบวนการของการกระจายอำนาจ มันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย และยังมีการปรับบางเรื่องให้มีความเหมาะสมกับระบบรัฐสภาที่แท้จริงด้วยเช่น การไม่บังคับให้ ส.ส.ที่ไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีผลทำให้รัฐบาลกับสภามีความห่างเหินกัน และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสาระที่เรามองเห็นแล้วว่า มันไปได้ รับได้ มันไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องปัญหาว่า พรรคประชาธิปัตย์กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญหรือคมช. หรือรัฐบาล ไปมีความสัมพันธ์อย่างไร เราว่าไปตามข้อเท็จจริง เนื้อหาสาระ คณะทำงานของท่านอดีตหัวหน้า และหลังจากที่เราได้ปรึกษาหารือกันแล้ว เราก็เห็นว่า โดยเนื้อหาสาระรับได้ ไม่สมบูรณ์ หลายเรื่องมันไม่มีทางถูกใจพวกเราอยู่แล้วครับ ลดจำนวน ส.ส. เราก็เดือดร้อน บัญชีรายชื่อแบบ 8 เขต เขตละ 10 คน เราก็มีความรู้สึกว่า ไม่ค่อยเหมาะ แต่ว่าเราเอาเรื่องเหล่านี้มาใหญ่กว่าภาพรวมการเดินหน้าของประเทศไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือการประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 นี้ ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผ่านความเห็นชอบ บรรยากาศของความแน่นอนทางการเมืองเกิดขึ้น เราจะมีกำหนดการที่ชัดเจนว่า กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และหลังจากนั้นจะต้องมีการเลือกตั้งภายในเมื่อไหร่ ซึ่งคำนวณออกมาแล้วก็คือ ประมาณปลายเดือนธันวาคมนี้ สิ่งนี้มีความสำคัญไม่น้อยเลยนะครับ ไม่ใช่ในแง่ของระบบการเมืองหรอกครับ แต่มีความสำคัญต่อการที่จะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าและประชาชนพ้นจากทุกของเขาในทุกวันนี้
ทุกข์ของประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจ ทุกข์ของประชาชนในเรื่องความไม่สงบ ความขัดแย้ง คลายไม่ได้ แก้ไม่ได้หรอกครับ ถ้าเราไม่หวนกลับคืนสู่วิถีทางปกติ ตามระบอบประชาธิปไตย ผมไปพบพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ผมเดินทางไปต่างประเทศ ชาวไทย ชาวต่างชาติ มองไม่ต่างกันว่าความจำเป็นที่จะต้องมีการเลือกตั้งโดยเร็วแน่นอน เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนของเรา ผมคงไม่สามารถไปพูดได้หรอกครับว่า ถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้ แล้วผมก็เคารพผู้ใดก็ตามที่มีเหตุมีผลของตัวเองในการที่จะไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่ผมพูดได้ว่า ถ้าไม่รับความความไม่แน่นอนเกิดขึ้นและบรรยากาศของความไม่แน่นอน ซึ่งอาจจะนำไปสู่อะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง ผมมั่นใจว่าไม่ได้เป็นผลดีกับอนาคตของประเทศชาติบ้านเมือง และประชาชน ผมบอกแล้วว่า ถ้าเลือกเขียนรัฐธรรมนูญได้ เราก็คงไม่เขียนอย่างนี้ ถ้าเลือกได้ว่าจะให้รัฐธรรมนูญมาอย่างไร เราก็คงไม่อยากให้มาอย่างนี้ แต่ผมก็บอกได้เช่นเดียวกันครับว่า ถ้าไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ใครจะเป็นผู้เขียนรัฐธรรมนูญ ก็ คมช. กับรัฐบาล ซึ่งผมก็ประกาศได้เช่นเดียวกันว่า ผมก็ไม่ต้องการให้ คมช. กับรัฐบาล มาเขียนรัฐธรรมนูญโดยการปรับปรุงจากฉบับใด ฉบับหนึ่ง ในระยะเวลา 30 วันแล้วไม่ต้องมาผ่านความเห็นชอบของประชาชนอีก จะเป็นกระบวนการที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองประเทศชาติ เพราะฉะนั้นจุดยืนที่พรรคประกาศออกไป คือจุดยืนที่คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ คือจุดยืนที่สอดคล้องกับหลักที่เราประกาศว่า ประชาชนต้องมาก่อน
วันข้างหน้าครับ จะเป็นฉบับนี้หรือจะเป็นฉบับไหนก็ตาม จะต้องมีการแก้ไขโดยคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว ดังนั้นภาระเฉพาะหน้าของพวกเราจำนวนมากซึ่งจะต้องออกไปพบปะกับประชาชนนั้นก็คงจะต้องได้ให้ข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อพี่น้องประชาชนในการตัดสินใจประกอบเรื่องของการทำประชามติด้วย และเราก็หวังว่า ปีหน้าเมื่อเรามาประชุมอย่างนี้อีก ความชัดเจนของกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งจะเดินหน้าไปสู่การปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือกติกาให้ดีขึ้นนั้น ก็คงจะเป็นที่เข้าใจและมั่นใจและอุ่นใจ ของประชาชนโดยรวม
พี่น้องชาวประชาธิปัตย์ครับ 1 ปีที่ผ่านมานั้น ก็ต้องถือว่าพรรคต้องฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคมาก ผลพวงจากการเลือกตั้ง 2 เมษา ก็ทำให้เราเข้าสู่การเมืองที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน ซึ่งถ้าหากว่า พี่น้องชาวประชาธิปัตย์ไม่สมัครสมานสามัคคีกัน ไม่เดินร่วมกันด้วยความเข้มแข็ง พวกเราคงไม่ได้มานั่งอยู่ตรงนี้ สิ่งที่ผ่านพ้นมาชัดเจนที่สุดก็คือกรณีของคดียุบพรรค เรื่องนี้ก็ต้องถือโอกาสอีกครั้งหนึ่งในการขอบพระคุณท่านอดีตหัวหน้าทั้ง 2 ท่าน ซึ่งได้มีบทบาทสำคัญมากในการเตรียมและต่อสู้คดี (เสียงปรบมือ)
แต่ว่าถ้าท่านถามท่านผู้ว่าคดี คือท่านประธานที่ปรึกษาพรรค ว่าอะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้เราชนะคดี ท่านจะตอบได้สั้น ๆ เลยครับ เราไม่ได้ทำผิด เราบริสุทธิ์ (เสียงปรบมือ)
เพียงแต่ว่า ความเข้มแข็งของท่านก็คือการเอาความจริงที่เป็นความบริสุทธิ์นี้ ไปให้เป็นที่ประจักษ์ต่อศาล และต่อสาธารณะ ผมทราบดีว่า เพื่อนสมาชิกจำนวนมากเมื่อเราผ่านพ้นคดีมาได้ ดีใจ บางคนอาจต้องใช้คำว่า ถึงขั้นคึกคะนอง แต่ผมอยากจะเตือนนะครับ การผ่านพ้นคดียุบพรรคมานั้น เราอาจจะคิดว่าเป็นชัยชนะแต่ว่า มันก็เพียงแค่บอกว่าเราสามารถที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้เท่านั้น และคำเตือนของประธานที่ปรึกษาที่บอกว่า อย่าลำพองนั้น เป็นสิ่งที่ผมขอย้ำกับเพื่อนสมาชิกทุกท่าน และคำกล่าวของผมในวันที่มีการตัดสินคดีนั้น ผมขอให้ยึดถือเป็นธงของพี่น้องชาวประชาธิปัตย์ทุกคนว่า ชัยชนะในคดีวันนั้น เราจะต้องนำมาใช้ให้เป็นชัยชนะของประชาชน อุปสรรคปัญหาที่เราฟันฝ่ามา 1 ปีที่ผ่านมานั้น มันไม่หนักหนาเท่ากับ 1 ปีข้างหน้าที่เป็นอุปสรรคปัญหาทั้งของพรรค และของประเทศชาติและประชาชน ใครที่คิดว่าเราผ่านจุดที่ยากลำบากที่สุดมาแล้ว ไม่ใช่ครับ
บ้านเมืองเรา สังคมเรา ในขณะนี้เผชิญกับปัญหาที่หนักหน่วงที่สุดยุคหนึ่ง เพราะสิ่งที่มันเคยเป็นจุดแข็ง ความดีงามในสังคมของเรา หลายจุด ขณะนี้สั่นคลอน ไม่เคยมียุคไหนที่ประชาชนคนไทยมีความขัดแย้ง มีความแตกแยก และยอมรับเรื่องของการใช้ความรุนแรง เท่ากับยุคนี้ ไม่มียุคไหนที่ความท้าทายทางเศรษฐกิจต่อคนไทย ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ พ่อค้า หรือใครก็ตาม มันรุนแรงเท่ากับยุคนี้ และไม่มียุคไหนหรอกครับที่ต้องการภาวะการนำที่เข้มแข็งที่มั่นคง ที่รอบรู้ และพร้อมจะเรียนรู้กับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองและในโลก รวมไปถึงการยึดมั่นในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ความถูกต้อง เท่ากับยุคนี้ ไม่ใช่เรื่องเล่นหรอกครับ
เราในฐานะที่เป็นพรรคการเมืองที่มีประสบการณ์ยาวนาน ยืนหยัดกับประชาชนมาต่อเนื่องที่สุด เราต้องทำให้ตัวเองหยิบยื่นสิ่งนี้ให้กับประชาชนได้ นั่นคือภาระที่หนักหน่วงมาก แต่ว่า เราก็ต้องยืนยันกับพี่น้องประชาชนว่า เรามีความมั่นใจ และเรามีความหวัง ท่ามกลางปัญหาต่าง ๆ เวลาผมออกไปพบปะกับประชาชนในช่วงที่ผ่านมา เพื่อที่จะจัดทำ วาระประชาชน ผมก็ยังมีความมั่นใจและมีความหวังอย่างเต็มเปี่ยม เพราะผมเชื่อในคุณค่าและความสามารถของคนไทย ผมเชื่อว่าเรามีอะไรดี ๆ อยู่หลายอย่าง ซึ่งเราไม่ได้นำมาใช้เพราะว่าเราไม่ได้หยิบยื่นโอกาสให้กับคนของเราเท่าที่ควร ความหวังตรงนี้ ความมั่นใจตรงนี้ครับ เป็นเรื่องที่เราต้องร่วมสร้าง พร้อม ๆ ไปกับประชาชน เพราะผมได้บอกแล้วว่า สภาพปัญหาอย่างที่เป็นอยู่นั้น ไม่มีรัฐบาลชุดไหน รัฐมนตรีคนใด แก้ไขได้ ถ้าประชาชนไม่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเดินไปด้วย
แต่ว่าคนที่คิดจะเป็นรัฐบาลชุดต่อไป จะไปรอนับหนึ่งวันเริ่มต้นเป็นรัฐบาลไม่ได้ครับ ผมถึงเรียกร้องว่าทุกพรรคการเมืองมาทำอย่างที่เราทำ เมื่อรัฐบาล เมื่อสนช. เปิดโอกาสให้จัดตั้งพรรคการเมืองกันได้แล้ว ขอให้เร่งทำเถิดครับ จัดตั้งขึ้นมาแล้วรวมกันเดินเข้าหาประชาชนเพื่อบอกกับประชาชนว่าทางเลือกสำหรับอนาคตของประเทศมีอะไรบ้าง แข่งขันกันอย่างสร้างสรรค์ ผมบอกได้เลยว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะพึงพอใจมาก ประชาธิปัตย์ต้องการการแข่งขัน และต้องการการแข่งขันอย่างสร้างสรรค์ และจะไม่มีวันกลัวการแข่งขันตราบเท่าที่การเลือกตั้งสุจริต เที่ยงธรรม (เสียงปรบมือ)
และสำหรับเพื่อนสมาชิก ผมก็อยากจะบอกว่า อุปสรรคทางการเมืองมีมากครับ เราสัมผัสมาโดยตลอด เราก็รู้วันที่พรรคประชาธิปัตย์ ผ่านพ้นคดีมา บางฝ่ายก็ผิดหวัง วันที่เราเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ก็มีหลายคนที่ผิดหวัง และในยามที่ผม และพรรคประชาธิปัตย์กำลังท้าทายหลายเรื่องซึ่งเป็นเหมือนสารพิษตกค้างจากการเมืองเก่านั้น ก็ย่อมมีปฏิกิริยาที่รุนแรงจากบางฝ่าย เราต้องพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคปัญหาเหล่านี้ครับ
นักวิเคราะห์นักวิจารณ์ สื่อสาร บางกลุ่มบางคน เราก็เห็นอยู่ครับ เขียนถึงเรา เขียนถึงผมเปิดมาก็เดาได้ว่าไม่ดีหรอก ไม่เป็นไรครับ อย่างน้อยประชาธิปัตย์ให้สิทธิ์ท่านในการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าเราจะเป็นหรือไม่เป็นรัฐบาล (เสียงปรบมือ)
แต่อยากจะบอกเช่นเดียวกันว่าเราไม่หวั่นไหวหรอกครับ วันนี้ผมก็เห็นพาดพิงมาอีก บ้านเมืองมันแย่ นักการเมืองที่เก่ง ที่ฉลาด ที่ช่ำชอง ที่มีกึ๋นทั้งหลาย ก็คงปล่อยให้พรรคประชาธิปัตย์ และอภิสิทธิ์ไปเป็นเหยื่อไป บังเอิญเราไม่ได้มองการเมืองอย่างนั้นครับ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์และผมจะต้องนำพาประเทศชาติไปนะครับ แล้วเกิดวิกฤตแล้วเราพาประเทศรอด แต่ตัวผมไม่รอด ผมยินดีทำ (เสียงปรบมือ)
และผมไม่คิดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคซึ่งจะปฏิเสธความรับผิดชอบเวลาปัญหาของบ้านเมืองหนัก แล้วก็รอคอยเพียงแค่ว่า ในช่วงใดก็ตามที่ต้องแก้วิกฤตแล้วทำอะไรที่มันขัดใจคนบ้าง ก็ปล่อยคนอื่นเขาทำแล้วฉวยโอกาส มาเสวยสุข จากการตัดสินใจที่ยากลำบากของคนที่เขาแก้วิกฤต เราไม่ใช่อย่างนั้น และผมคิดว่าแม้ว่าในบางช่วง บางยุค บางขณะ พอเราทำอย่างนั้นเราก็ต้องเผชิญปัญหาทางการเมืองอย่างรุนแรง คะแนนความนิยมตกหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เราอยู่รอดและบ้านเมืองไม่เคยวิกฤตในมือเรา (เสียงปรบมือ)
ฉะนั้น 1 ปีข้างหน้า ขอให้เรายึดมั่นขอให้เรามั่น ขอให้เรามั่นใจในแนวทางและอุดมการณ์ของเรา ผมเชื่อครับว่า เราจะมีส่วนสำคัญในการที่จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตทำให้พี่น้องประชาชนลืมตาอ้าปาก ทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้อีก แต่ว่าสิ่งเหล่านี้เราต้องทำงานหนัก ในช่วง 2 วันข้างหน้า ในช่วงของการประชุมที่เราจะทำกิจกรรมนั้น ขอให้พวกเราทุ่มเทอย่างเต็มที่ และจากนี้ไปอีกหลายเดือนก็ต้องขยันมากขึ้นอีกหลายเท่าในการที่จะเข้าไปถึงจิตใจของพี่น้องประชาชน เพื่อดึงพลังทั้งหลายที่มีอยู่ในทุกส่วนของประเทศไทย และคนไทยทุกคนออกมา เพื่อผลักดันประเทศเดินไปข้างหน้าให้ได้
และผมขอถือโอกาสนี้พูดผ่านไปยังพี่น้องประชาชนทั้งประเทศ 60 กว่าล้านคนว่าขอเชิญชวนเถิดครับ ท่านจะเป็นหรือไม่เป็นสมาชิกพรรค ท่านจะเป็นผู้สนับสนุนหรือไม่สนับสนุนพรรคก็ตาม ประชาธิปัตย์ต้องการความร่วมมือจากท่านในการเดินหน้าประเทศไทย และเราได้ประกาศไปแล้วว่า หลักการของเรา คำขวัญของเราคือ “ประชาชนต้องมาก่อน” ซึ่งหมายถึงประชาชนทุกคน ตรงนี้ผมมั่นใจว่าเป็นธง ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนกับเราสามารถร่วมกันทำงานเพื่อความผาสุกของคนไทยทั้งประเทศต่อไปได้
ผมขอเปิดการประชุมใหญ่สามัญพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2549 ณ บัดนี้ครับ (เสียงปรบมือ)
*********************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ก.ค. 2550--จบ--