วันนี้(6พ.ค.50)นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช แถลงว่า ที่ประชุมอดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่6 พฤษภาคมนี้ ได้หารือถึงผลจากการรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับรับฟังความคิดเห็น โดยได้นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง และมีความเห็นร่วมกันว่า มี3 ประเด็นหลักที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)ควรจะนำไปพิจารณาทบทวนร่างของคณะกรรมาธิการยกร่างฯ เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยและสนองตอบผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนี้
ประเด็นแรก เรื่องจำนวนส.ส. ที่ประชุมเสนอว่า ควรกำหนดให้ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งมีจำนวน 400 คน โดยยึดฐานจำนวนประชากร 15 0,000 คนต่อส.ส. 1 คน โดยประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้สัมพันธ์ระหว่างส.ส.กับประชาชนเป็นจริง สามารถดูแลรับรู้และสะท้อนปัญหาของประชาชนเข้าสู่ระระบบการเมืองได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีส.ส.ระบบสัดส่วน หรือระบบบัญชีรายชื่อ ส่วนเขตเลือกตั้งจะเป็นแบบเขตเดียวคนเดียวหรือเขตละ 3 คน ก็ได้
ประเด็นที่สอง เรื่องสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่ประชุมเสนอว่า ให้มีจำนวนส.ว. 150 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั่วประเทศ 100 คน คิดสัดส่วนประชากรประมาณ 600,000 คน ต่อส.ว. 1 คน โดยให้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกส.ว.ได้อย่างน้อยจังหวัดละ 1 คน ส่วนอีก 50 คนมาจากการสรรหา จากกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วยบุคคลตามมาตรา 107 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งนี้ให้ส.ว.มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายเป็นหลัก
ประเด็นที่สาม ให้ตัดมาตรา 68 วรรคสอง ที่ระบุให้มีการระชุมร่วมของคณะบุคคลคณะหนึ่งทำหน้าที่แก้ไขภาวะวิกฤตของประเทศ เนื่องจากเห็นว่า เป็นการก้าวก่ายอำนาจของรัฐสภา และเป็นองค์กรที่ซ้ำซ้อน กลายเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--
ประเด็นแรก เรื่องจำนวนส.ส. ที่ประชุมเสนอว่า ควรกำหนดให้ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้งมีจำนวน 400 คน โดยยึดฐานจำนวนประชากร 15 0,000 คนต่อส.ส. 1 คน โดยประมาณ ทั้งนี้เพื่อให้สัมพันธ์ระหว่างส.ส.กับประชาชนเป็นจริง สามารถดูแลรับรู้และสะท้อนปัญหาของประชาชนเข้าสู่ระระบบการเมืองได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีส.ส.ระบบสัดส่วน หรือระบบบัญชีรายชื่อ ส่วนเขตเลือกตั้งจะเป็นแบบเขตเดียวคนเดียวหรือเขตละ 3 คน ก็ได้
ประเด็นที่สอง เรื่องสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่ประชุมเสนอว่า ให้มีจำนวนส.ว. 150 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั่วประเทศ 100 คน คิดสัดส่วนประชากรประมาณ 600,000 คน ต่อส.ว. 1 คน โดยให้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เลือกส.ว.ได้อย่างน้อยจังหวัดละ 1 คน ส่วนอีก 50 คนมาจากการสรรหา จากกระบวนการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วยบุคคลตามมาตรา 107 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งนี้ให้ส.ว.มีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายเป็นหลัก
ประเด็นที่สาม ให้ตัดมาตรา 68 วรรคสอง ที่ระบุให้มีการระชุมร่วมของคณะบุคคลคณะหนึ่งทำหน้าที่แก้ไขภาวะวิกฤตของประเทศ เนื่องจากเห็นว่า เป็นการก้าวก่ายอำนาจของรัฐสภา และเป็นองค์กรที่ซ้ำซ้อน กลายเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--