กรุงเทพ--9 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายพิริยะ เข็มพล รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ภาพยนตร์ไทยได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์เอเชียที่ฝรั่งเศส
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีสว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 คณะกรรมการตัดสินการประกวดภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์จากเอเชีย ครั้งที่ 9 ที่เมือง Deauville ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศผลการตัดสินให้ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “แสงศตวรรษ” (Syndromes and a Century) กำกับการแสดงโดยนายอภิชาติพงศ์ วีระ -เศรษฐกุล ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Lotus du Meuilleur Film-Grand Prix ก่อนหน้านี้ นายอภิชาติพงศ์ฯ เคยได้รับรางวัล Uncertain Regard หรือ รางวัลภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เมืองคานส์ เมื่อปี ค.ศ. 2002 จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา หรือ Blissfully Yours และเมื่อปี ค.ศ. 2004 ก็ได้รับรางวัล Prix du Jury (Jury Prize) เป็นรางวัลจากคณะกรรมการซึ่งถือได้ว่าเป็นรางวัลที่ 3 ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เมืองคานส์ จากเรื่อง Tropical Malady ด้วย
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนปากีสถาน
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดเดินทางเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานระหว่างวันที่ 4 — 6 เมษายน 2550 เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับรัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นความสัมพันธ์และความร่วมมือที่สำคัญของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะด้านความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย การค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเยือนในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ไทยจะได้หารือกับปากีสถานซึ่งจะเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ OIC ครั้งที่ 34 ที่กรุงอิสลามาบัด ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2550 ด้วย นายสวนิตฯ มีกำหนดหารือกับรัฐมนตรีช่วยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของปากีสถาน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความร่วมมือระหว่างกัน
ไทยและปากีสถานเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน โดยปากีสถานต้องการใช้ไทยเป็นประตูไปสู่ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกอื่น ๆ เพื่อขยายบทบาทของปากีสถานในภูมิภาคนี้ตามนโยบาย Look East Policy ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของไทยที่ต้องการให้กลุ่มประเทศเอเชียมีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ปากีสถานจึงมีความร่วมมือกับไทยด้วยดีเสมอมาทั้งในระดับทวิภาคีและ พหุภาคี ดังจะเห็นได้จากการที่ปากีสถานมีท่าทีแข็งขันในเวที Asia Cooperation Dialogue (ACD) ที่ ไทยเป็นผู้ริเริ่ม นอกจากนี้ ปากีสถานยังขอรับการสนับสนุนจากไทยในการขอเข้าเป็น Full Dialogue Partner ของอาเซียนอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและปากีสถานมีความใกล้ชิดกันมาก โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2548
ไทยได้มอบความช่วยเหลือแก่ปากีสถานภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในรูปของเงินและสิ่งของ (เป็นเงิน 48 ล้านบาทหรือ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ต่อมา เมื่อวันที่ 4 — 5 มกราคม 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงขับเครื่องบินด้วยพระองค์เองเพื่อทรงนำสิ่งของบรรเทาทุกข์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อพระราชทานแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปากีสถาน รวมมูลค่า 18 ล้านบาทด้วย
ไทยและปากีสถานมีความร่วมมือด้านความมั่นคงและข่าวกรองระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมอื่น ๆ (MOU on Counter Terrorism and Certain Other Crimes) ซึ่งได้จัดประชุมคณะทำงานสองฝ่ายครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าวช่วยกระชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย และทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความใกล้ชิดของฝ่ายทหารและฝ่ายความมั่นคงระหว่างกัน
ด้านเศรษฐกิจ ไทยและปากีสถานกำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลง FTA โดยได้มีการหารือใน Joint Study Group ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองประเทศแล้ว 4 ครั้ง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้จัดตั้งกลไก Joint Economic Commission (JEC) เพื่อติดตามความคืบหน้าด้านเศรษฐกิจ โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นประธาน ซึ่งได้ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง การค้าสองฝ่ายได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 772 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวจากปี 2548 ร้อยละ 14 ปากีสถานได้เพิ่มสิทธิการบินแก่การบินไทยในเส้นทาง กรุงเทพฯ — อิสลามาบัด จาก 2 เที่ยว เป็น 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยเริ่มมีผลเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2550 และเส้นทางกรุงเทพฯ — การาจี และกรุงเทพฯ — ละฮอร์ ได้เพิ่มจาก 9 เที่ยวเป็น 14 เที่ยวต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ ปากีสถานมีแหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนาทางตอนเหนือของประเทศ (ตักศิลา) ซึ่งสามารถผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นเรื่องที่ไทยพร้อมจะสนับสนุน เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศพุทธและอิสลามต่อไปด้วย
3. ศูนย์ข้อมูลธุรกิจและ หอการค้าไทยในประเทศจีน
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลธุรกิจและหอการค้าไทยในประเทศจีน เพื่อเป็นฐานข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชนไทยที่เข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศจีนและที่ประสงค์จะดำเนินการติดต่อทางธุรกิจกับจีน โดยข้อมูลต่าง ๆ ในศูนย์ข้อมูลฯ นี้ ล้วนเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน ซึ่งได้ทำการรวบรวมและประมวลมาจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศจีน ผู้สนใจสามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซท์ www.thaibizchina.com นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งหอการค้าไทยในจีนแล้ว โดยใช้ชื่อว่า Thai Chamber of Commerce in China ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวและการสร้างเครือข่ายระหว่างนักธุรกิจไทยที่เข้าไปประกอบธุรกิจในจีนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมายของจีน และยังจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของนักธุรกิจไทย และเพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการช่วยเหลือนักธุรกิจไทยที่เข้าไปทำธุรกิจและลงทุนในจีน ตลอดจนเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนบรรดาสมาชิกหอการค้าไทยในจีนด้วย
4. บัวแก้วจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่บริการประชาชนที่นครสวรรค์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา
ในเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม 2550 กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จะจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
1. จ. นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 17 — 20 เมษายน 2550 ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.30 น.
2. จ. บุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 24 — 27 เมษายน 2550 ณ ศาลาประชาคม (หลังศาลากลางจังหวัด) ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.30 น.
3. จ. นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 — 3 พฤษภาคม 2550 ณ เอ็มซีซีฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.30 น.
5. การประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมไทย - กัมพูชาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ครั้งที่ 2
นายเตช บุนนาค ประธานสมาคมวัฒนธรรมไทย -กัมพูชา ได้นำคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมไทย - กัมพูชาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ในการนี้ ผู้แทนจากอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสมาคมฯ และมีแผนที่จะดำเนินโครงการร่วมกันในกรอบวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวในปี 2549 และ 2550 ดังนี้
คณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านวัฒนธรรม ไทยและกัมพูชามีโครงการจะร่วมกันจัดพิมพ์พจนานุกรมไทย — เขมร และพจนานุกรมเขมร — ไทย รวมทั้งแปลและจัดพิมพ์นิทานพื้นบ้านกัมพูชาฉบับภาษาไทย
คณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านประวัติศาสตร์ ทั้งสองฝ่ายมีแผนดำเนินการแปลและจัดพิมพ์ศิลาจารึกสุโขทัย ฉบับภาษาเขมร และศิลาจารึกพระชัยวรมันที่ 7 ฉบับภาษาไทย รวมทั้งจะดำเนินการแปลและจัดพิมพ์พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ฉบับภาษาเขมร นอกจากนั้น กำลังเตรียมแผนศึกษาแบบเรียนด้านประวัติศาสตร์ชั้นประถม — มัธยมของไทยและกัมพูชา
คณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านการท่องเที่ยว ไทยและกัมพูชาจะร่วมกันจัดทำวารสารท่องเที่ยว “Two Kingdoms, One Destination” คู่มือข้อควรรู้ด้านวัฒนธรรมไทย สำหรับนักท่องเที่ยวกัมพูชา และจัดการฝึกอบรมมักคุเทศก์ของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมของไทยและกัมพูชา
ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งต่อไปจจะจัดขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2550 ณ กรุงพนมเปญ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายพิริยะ เข็มพล รองอธิบดีกรมสารนิเทศและรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ภาพยนตร์ไทยได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์เอเชียที่ฝรั่งเศส
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีสว่า เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 คณะกรรมการตัดสินการประกวดภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์จากเอเชีย ครั้งที่ 9 ที่เมือง Deauville ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศผลการตัดสินให้ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “แสงศตวรรษ” (Syndromes and a Century) กำกับการแสดงโดยนายอภิชาติพงศ์ วีระ -เศรษฐกุล ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Lotus du Meuilleur Film-Grand Prix ก่อนหน้านี้ นายอภิชาติพงศ์ฯ เคยได้รับรางวัล Uncertain Regard หรือ รางวัลภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เมืองคานส์ เมื่อปี ค.ศ. 2002 จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา หรือ Blissfully Yours และเมื่อปี ค.ศ. 2004 ก็ได้รับรางวัล Prix du Jury (Jury Prize) เป็นรางวัลจากคณะกรรมการซึ่งถือได้ว่าเป็นรางวัลที่ 3 ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่เมืองคานส์ จากเรื่อง Tropical Malady ด้วย
2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนปากีสถาน
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดเดินทางเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานระหว่างวันที่ 4 — 6 เมษายน 2550 เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับรัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นความสัมพันธ์และความร่วมมือที่สำคัญของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะด้านความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย การค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเยือนในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ไทยจะได้หารือกับปากีสถานซึ่งจะเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ OIC ครั้งที่ 34 ที่กรุงอิสลามาบัด ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2550 ด้วย นายสวนิตฯ มีกำหนดหารือกับรัฐมนตรีช่วยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของปากีสถาน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความร่วมมือระหว่างกัน
ไทยและปากีสถานเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน โดยปากีสถานต้องการใช้ไทยเป็นประตูไปสู่ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกอื่น ๆ เพื่อขยายบทบาทของปากีสถานในภูมิภาคนี้ตามนโยบาย Look East Policy ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของไทยที่ต้องการให้กลุ่มประเทศเอเชียมีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ปากีสถานจึงมีความร่วมมือกับไทยด้วยดีเสมอมาทั้งในระดับทวิภาคีและ พหุภาคี ดังจะเห็นได้จากการที่ปากีสถานมีท่าทีแข็งขันในเวที Asia Cooperation Dialogue (ACD) ที่ ไทยเป็นผู้ริเริ่ม นอกจากนี้ ปากีสถานยังขอรับการสนับสนุนจากไทยในการขอเข้าเป็น Full Dialogue Partner ของอาเซียนอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและปากีสถานมีความใกล้ชิดกันมาก โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2548
ไทยได้มอบความช่วยเหลือแก่ปากีสถานภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในรูปของเงินและสิ่งของ (เป็นเงิน 48 ล้านบาทหรือ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ต่อมา เมื่อวันที่ 4 — 5 มกราคม 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงขับเครื่องบินด้วยพระองค์เองเพื่อทรงนำสิ่งของบรรเทาทุกข์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อพระราชทานแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปากีสถาน รวมมูลค่า 18 ล้านบาทด้วย
ไทยและปากีสถานมีความร่วมมือด้านความมั่นคงและข่าวกรองระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมอื่น ๆ (MOU on Counter Terrorism and Certain Other Crimes) ซึ่งได้จัดประชุมคณะทำงานสองฝ่ายครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าวช่วยกระชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย และทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความใกล้ชิดของฝ่ายทหารและฝ่ายความมั่นคงระหว่างกัน
ด้านเศรษฐกิจ ไทยและปากีสถานกำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลง FTA โดยได้มีการหารือใน Joint Study Group ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองประเทศแล้ว 4 ครั้ง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้จัดตั้งกลไก Joint Economic Commission (JEC) เพื่อติดตามความคืบหน้าด้านเศรษฐกิจ โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นประธาน ซึ่งได้ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง การค้าสองฝ่ายได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 772 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวจากปี 2548 ร้อยละ 14 ปากีสถานได้เพิ่มสิทธิการบินแก่การบินไทยในเส้นทาง กรุงเทพฯ — อิสลามาบัด จาก 2 เที่ยว เป็น 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยเริ่มมีผลเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2550 และเส้นทางกรุงเทพฯ — การาจี และกรุงเทพฯ — ละฮอร์ ได้เพิ่มจาก 9 เที่ยวเป็น 14 เที่ยวต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ ปากีสถานมีแหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนาทางตอนเหนือของประเทศ (ตักศิลา) ซึ่งสามารถผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นเรื่องที่ไทยพร้อมจะสนับสนุน เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศพุทธและอิสลามต่อไปด้วย
3. ศูนย์ข้อมูลธุรกิจและ หอการค้าไทยในประเทศจีน
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลธุรกิจและหอการค้าไทยในประเทศจีน เพื่อเป็นฐานข้อมูล และอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชนไทยที่เข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศจีนและที่ประสงค์จะดำเนินการติดต่อทางธุรกิจกับจีน โดยข้อมูลต่าง ๆ ในศูนย์ข้อมูลฯ นี้ ล้วนเป็นข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน ซึ่งได้ทำการรวบรวมและประมวลมาจากสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศจีน ผู้สนใจสามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซท์ www.thaibizchina.com นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งหอการค้าไทยในจีนแล้ว โดยใช้ชื่อว่า Thai Chamber of Commerce in China ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวและการสร้างเครือข่ายระหว่างนักธุรกิจไทยที่เข้าไปประกอบธุรกิจในจีนซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมายของจีน และยังจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของนักธุรกิจไทย และเพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการช่วยเหลือนักธุรกิจไทยที่เข้าไปทำธุรกิจและลงทุนในจีน ตลอดจนเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนบรรดาสมาชิกหอการค้าไทยในจีนด้วย
4. บัวแก้วจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่บริการประชาชนที่นครสวรรค์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา
ในเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม 2550 กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จะจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่ไปให้บริการประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
1. จ. นครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 17 — 20 เมษายน 2550 ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.30 น.
2. จ. บุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 24 — 27 เมษายน 2550 ณ ศาลาประชาคม (หลังศาลากลางจังหวัด) ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.30 น.
3. จ. นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 — 3 พฤษภาคม 2550 ณ เอ็มซีซีฮอลล์ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์นครราชสีมา ตั้งแต่เวลา 08.00 — 16.30 น.
5. การประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมไทย - กัมพูชาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ครั้งที่ 2
นายเตช บุนนาค ประธานสมาคมวัฒนธรรมไทย -กัมพูชา ได้นำคณะผู้แทนไทยไปร่วมการประชุมคณะอนุกรรมาธิการร่วมไทย - กัมพูชาเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2550 ในการนี้ ผู้แทนจากอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่ายได้หารือร่วมกันในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสมาคมฯ และมีแผนที่จะดำเนินโครงการร่วมกันในกรอบวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวในปี 2549 และ 2550 ดังนี้
คณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านวัฒนธรรม ไทยและกัมพูชามีโครงการจะร่วมกันจัดพิมพ์พจนานุกรมไทย — เขมร และพจนานุกรมเขมร — ไทย รวมทั้งแปลและจัดพิมพ์นิทานพื้นบ้านกัมพูชาฉบับภาษาไทย
คณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านประวัติศาสตร์ ทั้งสองฝ่ายมีแผนดำเนินการแปลและจัดพิมพ์ศิลาจารึกสุโขทัย ฉบับภาษาเขมร และศิลาจารึกพระชัยวรมันที่ 7 ฉบับภาษาไทย รวมทั้งจะดำเนินการแปลและจัดพิมพ์พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ฉบับภาษาเขมร นอกจากนั้น กำลังเตรียมแผนศึกษาแบบเรียนด้านประวัติศาสตร์ชั้นประถม — มัธยมของไทยและกัมพูชา
คณะอนุกรรมาธิการร่วมด้านการท่องเที่ยว ไทยและกัมพูชาจะร่วมกันจัดทำวารสารท่องเที่ยว “Two Kingdoms, One Destination” คู่มือข้อควรรู้ด้านวัฒนธรรมไทย สำหรับนักท่องเที่ยวกัมพูชา และจัดการฝึกอบรมมักคุเทศก์ของทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมของไทยและกัมพูชา
ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งต่อไปจจะจัดขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน 2550 ณ กรุงพนมเปญ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-