กรุงเทพ--28 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 นาง Ursula Plassnik รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรีย ได้เข้าพบ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสที่มาเยือนประเทศไทย ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรีย ได้ร่วมกันให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ดร.กันตธีร์ฯ แสดงความเสียใจต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อชาวออสเตรียจาก เหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ และแสดงความตั้งใจของฝ่ายไทยที่จะร่วมกับออสเตรียในการตามหาชาวออสเตรียที่ยังสูญหายต่อไป
2. นาง Plassnik กล่าวชื่นชมความมีน้ำใจของคนไทยที่มีต่อชาวต่างชาติในการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ คนออสเตรียซาบซึ้งถึงสิ่งที่คนไทยทำ และมีความต้องการจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีก
3. ทั้งสองประเทศถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคของตน โดยไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรียเป็นศูนย์กลางของยุโรป ดร.กันตธีร์ฯ ได้ขอให้นาง Plassnik ชักชวนให้ชาวยุโรปเข้ามาลงทุนโดยใช้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตลาดการค้าเสรี AFTA รวมทั้งประเทศในข้อตกลง FTA ต่างๆ ซึ่งการเข้ามาของนักลงทุน ออสเตรียจะสร้างประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่าย ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ “กระทิงแดง” ซึ่งเป็นการ ร่วมหุ้นกันระหว่างไทย-ออสเตรียที่ประสบความสำเร็จเป็นเครื่องหมายการค้าที่คนทั่วโลกรู้จัก
4. ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังนั้นไทยกับออสเตรียสามารถเป็นพันธมิตรกันได้อย่างแท้จริง และทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความ ร่วมมือต่างๆระหว่างไทย — ออสเตรีย อาทิ
- ประเด็นเรื่อง เครือข่ายความมั่นคงมนุษย์ (Human Security Network) ที่ไทยจะได้เป็นประธานการประชุมในเดือนพฤษภาคม ศกนี้
- การสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยของทั้ง 2 ประเทศที่มีมายาวนานกว่า 20 ปี โดยจะมีการสนับสนุนให้นักศึกษาของไทยได้ไปเรียนในออสเตรีย โดยทางฝ่ายออสเตรียจะมีทุนการศึกษาให้มากขึ้นซึ่งทางฝ่ายออสเตรียนั้นมีความชำนาญในสาขาวิทยาศาสตร์ และดนตรี
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศออสเตรียถึงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในสหประชาชาตินับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 โดยทั้งไทยและออสเตรียต่างมีบทบาทที่ตรงกันในการพยายามรักษาสันตภาพในมุมต่างๆ ของโลก และในโอกาสนี้ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายออสเตรียพิจารณาสนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีในการสมัครเข้าชิงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ซึ่งทางฝ่าย ออสเตรียก็ได้รับจะพิจารณา
6. ประเทศไทยและออสเตรียมีนโยบายร่วมกันในการช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนา โดยประเทศไทยมีความต้องการที่จะช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่มีดินแดนติดกับไทย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคอื่นๆด้วย เช่นแอฟริกา
7. ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับ GSP ซึ่งทำให้คนไทยประสบความเดือดร้อน โดยเฉพาะเมื่อสหภาพยุโรปตัด GSP ที่เคยให้แก่ไทย ในขณะที่ประเทศคู่แข่งมิได้ถูกตัดสิทธิพิเศษดังกล่าว ทำให้ไทยเสียเปรียบทางการค้า จึงขอให้ EU พิจารณาคืนให้ GSP โดยเฉพาะด้านการประมง ซึ่งฝ่ายออสเตรียรับที่จะประสานงานให้ GSP ใหม่ให้แก่ไทยโดยเร็ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 นาง Ursula Plassnik รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรีย ได้เข้าพบ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสที่มาเยือนประเทศไทย ภายหลังการหารือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรีย ได้ร่วมกันให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
1. ดร.กันตธีร์ฯ แสดงความเสียใจต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อชาวออสเตรียจาก เหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ และแสดงความตั้งใจของฝ่ายไทยที่จะร่วมกับออสเตรียในการตามหาชาวออสเตรียที่ยังสูญหายต่อไป
2. นาง Plassnik กล่าวชื่นชมความมีน้ำใจของคนไทยที่มีต่อชาวต่างชาติในการ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ คนออสเตรียซาบซึ้งถึงสิ่งที่คนไทยทำ และมีความต้องการจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีก
3. ทั้งสองประเทศถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคของตน โดยไทยเป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรียเป็นศูนย์กลางของยุโรป ดร.กันตธีร์ฯ ได้ขอให้นาง Plassnik ชักชวนให้ชาวยุโรปเข้ามาลงทุนโดยใช้ประเทศไทยเป็นประตูสู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตลาดการค้าเสรี AFTA รวมทั้งประเทศในข้อตกลง FTA ต่างๆ ซึ่งการเข้ามาของนักลงทุน ออสเตรียจะสร้างประโยชน์ให้กับทั้งสองฝ่าย ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ “กระทิงแดง” ซึ่งเป็นการ ร่วมหุ้นกันระหว่างไทย-ออสเตรียที่ประสบความสำเร็จเป็นเครื่องหมายการค้าที่คนทั่วโลกรู้จัก
4. ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังนั้นไทยกับออสเตรียสามารถเป็นพันธมิตรกันได้อย่างแท้จริง และทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความ ร่วมมือต่างๆระหว่างไทย — ออสเตรีย อาทิ
- ประเด็นเรื่อง เครือข่ายความมั่นคงมนุษย์ (Human Security Network) ที่ไทยจะได้เป็นประธานการประชุมในเดือนพฤษภาคม ศกนี้
- การสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างกัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยของทั้ง 2 ประเทศที่มีมายาวนานกว่า 20 ปี โดยจะมีการสนับสนุนให้นักศึกษาของไทยได้ไปเรียนในออสเตรีย โดยทางฝ่ายออสเตรียจะมีทุนการศึกษาให้มากขึ้นซึ่งทางฝ่ายออสเตรียนั้นมีความชำนาญในสาขาวิทยาศาสตร์ และดนตรี
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแจ้งแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศออสเตรียถึงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในสหประชาชาตินับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 โดยทั้งไทยและออสเตรียต่างมีบทบาทที่ตรงกันในการพยายามรักษาสันตภาพในมุมต่างๆ ของโลก และในโอกาสนี้ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายออสเตรียพิจารณาสนับสนุน ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรีในการสมัครเข้าชิงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ซึ่งทางฝ่าย ออสเตรียก็ได้รับจะพิจารณา
6. ประเทศไทยและออสเตรียมีนโยบายร่วมกันในการช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนา โดยประเทศไทยมีความต้องการที่จะช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านที่มีดินแดนติดกับไทย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคอื่นๆด้วย เช่นแอฟริกา
7. ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับ GSP ซึ่งทำให้คนไทยประสบความเดือดร้อน โดยเฉพาะเมื่อสหภาพยุโรปตัด GSP ที่เคยให้แก่ไทย ในขณะที่ประเทศคู่แข่งมิได้ถูกตัดสิทธิพิเศษดังกล่าว ทำให้ไทยเสียเปรียบทางการค้า จึงขอให้ EU พิจารณาคืนให้ GSP โดยเฉพาะด้านการประมง ซึ่งฝ่ายออสเตรียรับที่จะประสานงานให้ GSP ใหม่ให้แก่ไทยโดยเร็ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-