ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตือนให้ ธพ.ระวังการบริหารความเสี่ยงด้านเอ็นพีแอลมากขึ้น กรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย ในฐานะประธาน
สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียกผู้บริหารสถาบันการเงินมาร่วมประชุมประจำปีในวันที่ 8 ส.ค.
ที่ผ่านมา โดยในครั้งนี้ ธปท.ได้สรุปภาวะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี 50 มีเอ็นพีแอลของ ธพ.อยู่
ที่ 2.54 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 4.41 ของสินเชื่อรวม หรือเพิ่มขึ้น 1.4 หมื่นล้านบาท ธปท. จึงขอให้ผู้บริหารติดตามดูแลหนี้เอ็นพีแอล
อย่างใกล้ชิด และระมัดระวังเรื่องการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประธานสมาคมธนาคารไทยเห็นว่า เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นเป็น
เพียงบางจุด และเชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ภาวะเอ็นพีแอลก็น่าจะดีขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เป้าหมายของ ธปท.ที่จะให้ลดเอ็นพีแอลเหลือ
ร้อยละ 2.0 ให้ได้ภายในปลายปีนั้น คาดว่าจะเป็นไปได้ยาก (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน,
แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ยอดจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในเดือน ก.ค.50 ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 4.7 ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
การคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยยอดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลว่า ในเดือน ก.ค.50 รัฐบาล
จัดเก็บรายได้สุทธิ 87,069 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเอกสาร งปม. 4,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 สาเหตุจากภาวะค่าเงินบาท
ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,180 ล้านบาท และ 425 ล้านบาท ตามลำดับ รองลงมา
ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 450 ล้านบาท ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 484 ล้านบาท
เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่ได้นำส่งรายได้ และรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้เลื่อนการนำส่งไปเดือนหน้า ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ
ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษียาสูบ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 892 754 และ 727 ล้านบาทตามลำดับ สำหรับช่วง 10 เดือนแรก
ของปี งปม.50 (ต.ค.49-ก.ค.50) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,130,375 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 234 ล้านบาท
หรือร้อยละ 0.02 เป็นผลจากกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท และการคืนภาษีของ
กรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย ขณะที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ และรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่าย
พันธบัตร (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, มติชน, แนวหน้า)
3. สศค.ปรับวิธีคำนวณการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ได้ปรับปรุงวิธีการคำนวณการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าที่ผลิตในประเทศเพื่อการส่งออก
หรือภาษีมุมน้ำเงินให้กับผู้ส่งออกเสร็จเรียบร้อยแล้ว และนำเสนอ รมว.คลังพิจารณาในรายละเอียดทั้งหมด คาดว่าภายในเร็ว ๆ นี้จะประกาศ
ใช้อย่างเป็นทางการได้ ทั้งนี้ โดยหลักการของการแก้ไขภาษีมุมน้ำเงิน ผู้ส่งออกจะเสียประโยชน์น้อยที่สุด หรือใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ส่งออกเคย
ได้รับประโยชน์ (โพสต์ทูเดย์)
4. รมว.พลังงานอนุมัติให้เรียกเก็บเงินจากน้ำมันเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่มอีกลิตรละ 20 สต. รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า
ได้มอบหมายให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเรียกเก็บเงินในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 เพิ่มอีกลิตรละ 20 สต.ส่งผลให้การเก็บเงิน
เข้ากองทุนน้ำมันในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มเป็น 3.66 บาทต่อลิตร และเบนซิน 91 ลิตรละ 3.46 บาทต่อลิตร สาเหตุที่เก็บเงินเข้า
กองทุนน้ำมันในส่วนของน้ำมันเบนซินเพิ่ม เพราะกองทุนน้ำมันยังมีภาระติดค้างหนี้จากการตรึงราคาน้ำมันในอดีตอีกประมาณ
17,000-18,000 ล้านบาท เมื่อราคาน้ำมันลดลง ควรจะเร่งเก็บเงินใช้หนี้ดังกล่าวให้หมดโดยเร็ว ทั้งนี้ ในวันนี้ (9 ส.ค.50) ผู้ค้าน้ำมัน
ทุกราย ได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดลงอีกลิตรละ 40 สต.(เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งของ สรอ. ในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 50 ก. พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 398.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เท่ากับเดือน พ.ค.
และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ก่อนหน้านั้นเล็กน้อยว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทรถยนต์
และสินค้าที่มิใช่สินค้าคงทน ส่วนยอดค้าส่งในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่ 359.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.3 เมื่อเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายเพิ่มขึ้นทุกในประเภทสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ในระดับมืออาชีพ อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ เครื่องนุ่งห่ม และยา สำหรับสัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายของเดือน มิ.ย. ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดระยะเวลาที่จะขายสินค้าหมด
สต็อกอยู่ที่ 1.11 เดือน ซึ่งเท่ากับที่ทำสถิติต่ำสุดเมื่อเดือน พ.ค. ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าสัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายที่ลดลงทำสถิติ
ต่ำสุดเช่นนี้จะทำให้ยอดสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับยอดจำหน่ายซึ่งการเพิ่มของสินค้าคงคลังของธุรกิจดังกล่าวจะส่งผล
ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงในเดือน มิ.ย.50 สาเหตุจากมูลค่าการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น รายงานจากปารีสเมื่อ 8 ส.ค.50
สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.50 เยอรมนีเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 14.9 พัน ล.ยูโร ลดลงจากจำนวน 17.4 พัน ล.ยูโรใน
เดือนก่อนหน้า เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 6.7 เป็นจำนวน 65.9 พัน ล.ยูโร ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย.45 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นจำนวน 80.7 พัน ล.ยูโร สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.49 อย่างไรก็ตาม เยอรมนีก็ยัง
คงอันดับความเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับต้นๆ ของโลกอยู่ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีลง โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs เปิดเผยว่า ได้ปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีลงที่ระดับร้อยละ 0.5 จากระดับร้อยละ 0.7 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมและดุลการค้าใน
เดือน มิ.ย. อนึ่ง ทางการเยอรมนีจะเปิดเผยประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
3. สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 7 - 8 ต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
8 ส.ค.50 ก.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 7 - 8 ต่อปีจาก
ร้อยละ 5 - 7 ต่อปีในประมาณการครั้งก่อน จากการขยายตัวของภาคการผลิตและภาคการก่อสร้าง ทำให้อัตราการเติบโตในปีนี้ใกล้เคียง
กับปีก่อนซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.9 ต่อปี หลังจากคาดว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี โดยจาก
ตัวเลขเบื้องต้นคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อไตรมาสและร้อยละ 8.2 ต่อปี แต่นักเศรษฐศาสตร์
คาดว่าตัวเลขจริงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อปีของไตรมาสที่ 2 ซึ่ง ก.การค้าและอุตสาหกรรมจะประกาศในวันที่ 10 ส.ค.50 นี้
อาจถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.7 ต่อปี ทั้งนี้ สิงคโปร์พยายามเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว การบริการทางการเงินและการก่อสร้าง
จากที่ส่วนใหญ่พึ่งพาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยาและแท่นขุดเจาะน้ำมันเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน มิ.ย.50 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ
8 ส.ค.50 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ซึ่งเป็นดัชนีสำหรับชี้วัดผลผลิตโรงงาน เหมืองแร่ และไฟฟ้า
ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบต่อปี ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.4 สำหรับผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่มีสัดส่วน
เป็น 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี ขณะที่ผลผลิตเหมืองแร่และไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ
3.1 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ส.ค. 50 8 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.953 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.7180/34.0505 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.39500 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 831.64/17.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.09 70.09 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.79/25.74 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตือนให้ ธพ.ระวังการบริหารความเสี่ยงด้านเอ็นพีแอลมากขึ้น กรรมการผู้จัดการ ธ.กรุงไทย ในฐานะประธาน
สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียกผู้บริหารสถาบันการเงินมาร่วมประชุมประจำปีในวันที่ 8 ส.ค.
ที่ผ่านมา โดยในครั้งนี้ ธปท.ได้สรุปภาวะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ว่า ในช่วงไตรมาส 2 ปี 50 มีเอ็นพีแอลของ ธพ.อยู่
ที่ 2.54 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 4.41 ของสินเชื่อรวม หรือเพิ่มขึ้น 1.4 หมื่นล้านบาท ธปท. จึงขอให้ผู้บริหารติดตามดูแลหนี้เอ็นพีแอล
อย่างใกล้ชิด และระมัดระวังเรื่องการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประธานสมาคมธนาคารไทยเห็นว่า เอ็นพีแอลที่เพิ่มขึ้นเป็น
เพียงบางจุด และเชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ภาวะเอ็นพีแอลก็น่าจะดีขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เป้าหมายของ ธปท.ที่จะให้ลดเอ็นพีแอลเหลือ
ร้อยละ 2.0 ให้ได้ภายในปลายปีนั้น คาดว่าจะเป็นไปได้ยาก (เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, บ้านเมือง, มติชน,
แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ยอดจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในเดือน ก.ค.50 ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 4.7 ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
การคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยยอดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลว่า ในเดือน ก.ค.50 รัฐบาล
จัดเก็บรายได้สุทธิ 87,069 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการเอกสาร งปม. 4,280 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 สาเหตุจากภาวะค่าเงินบาท
ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,180 ล้านบาท และ 425 ล้านบาท ตามลำดับ รองลงมา
ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 450 ล้านบาท ส่วนการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการ 484 ล้านบาท
เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่ได้นำส่งรายได้ และรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้เลื่อนการนำส่งไปเดือนหน้า ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ
ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษียาสูบ และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 892 754 และ 727 ล้านบาทตามลำดับ สำหรับช่วง 10 เดือนแรก
ของปี งปม.50 (ต.ค.49-ก.ค.50) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,130,375 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสาร งปม. 234 ล้านบาท
หรือร้อยละ 0.02 เป็นผลจากกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท และการคืนภาษีของ
กรมสรรพากรที่สูงกว่าเป้าหมาย ขณะที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ และรัฐบาลได้รับรายได้พิเศษจากส่วนเกินการจำหน่าย
พันธบัตร (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, มติชน, แนวหน้า)
3. สศค.ปรับวิธีคำนวณการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ได้ปรับปรุงวิธีการคำนวณการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าที่ผลิตในประเทศเพื่อการส่งออก
หรือภาษีมุมน้ำเงินให้กับผู้ส่งออกเสร็จเรียบร้อยแล้ว และนำเสนอ รมว.คลังพิจารณาในรายละเอียดทั้งหมด คาดว่าภายในเร็ว ๆ นี้จะประกาศ
ใช้อย่างเป็นทางการได้ ทั้งนี้ โดยหลักการของการแก้ไขภาษีมุมน้ำเงิน ผู้ส่งออกจะเสียประโยชน์น้อยที่สุด หรือใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ส่งออกเคย
ได้รับประโยชน์ (โพสต์ทูเดย์)
4. รมว.พลังงานอนุมัติให้เรียกเก็บเงินจากน้ำมันเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่มอีกลิตรละ 20 สต. รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า
ได้มอบหมายให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเรียกเก็บเงินในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 และเบนซิน 91 เพิ่มอีกลิตรละ 20 สต.ส่งผลให้การเก็บเงิน
เข้ากองทุนน้ำมันในส่วนของน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มเป็น 3.66 บาทต่อลิตร และเบนซิน 91 ลิตรละ 3.46 บาทต่อลิตร สาเหตุที่เก็บเงินเข้า
กองทุนน้ำมันในส่วนของน้ำมันเบนซินเพิ่ม เพราะกองทุนน้ำมันยังมีภาระติดค้างหนี้จากการตรึงราคาน้ำมันในอดีตอีกประมาณ
17,000-18,000 ล้านบาท เมื่อราคาน้ำมันลดลง ควรจะเร่งเก็บเงินใช้หนี้ดังกล่าวให้หมดโดยเร็ว ทั้งนี้ ในวันนี้ (9 ส.ค.50) ผู้ค้าน้ำมัน
ทุกราย ได้ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันทุกชนิดลงอีกลิตรละ 40 สต.(เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังในระดับค้าส่งของ สรอ. ในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 50 ก. พาณิชย์ สรอ.
เปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. สินค้าคงคลังของผู้ค้าส่งเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 398.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เท่ากับเดือน พ.ค.
และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ก่อนหน้านั้นเล็กน้อยว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทรถยนต์
และสินค้าที่มิใช่สินค้าคงทน ส่วนยอดค้าส่งในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่ 359.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.3 เมื่อเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายเพิ่มขึ้นทุกในประเภทสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องมือและอุปกรณ์ในระดับมืออาชีพ อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ เครื่องนุ่งห่ม และยา สำหรับสัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายของเดือน มิ.ย. ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดระยะเวลาที่จะขายสินค้าหมด
สต็อกอยู่ที่ 1.11 เดือน ซึ่งเท่ากับที่ทำสถิติต่ำสุดเมื่อเดือน พ.ค. ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าสัดส่วนสินค้าคงคลังต่อยอดขายที่ลดลงทำสถิติ
ต่ำสุดเช่นนี้จะทำให้ยอดสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับยอดจำหน่ายซึ่งการเพิ่มของสินค้าคงคลังของธุรกิจดังกล่าวจะส่งผล
ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงในเดือน มิ.ย.50 สาเหตุจากมูลค่าการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น รายงานจากปารีสเมื่อ 8 ส.ค.50
สำนักงานสถิติ เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย.50 เยอรมนีเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 14.9 พัน ล.ยูโร ลดลงจากจำนวน 17.4 พัน ล.ยูโรใน
เดือนก่อนหน้า เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 6.7 เป็นจำนวน 65.9 พัน ล.ยูโร ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน
มิ.ย.45 ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นจำนวน 80.7 พัน ล.ยูโร สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.49 อย่างไรก็ตาม เยอรมนีก็ยัง
คงอันดับความเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับต้นๆ ของโลกอยู่ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีลง โดยนักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs เปิดเผยว่า ได้ปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเยอรมนีลงที่ระดับร้อยละ 0.5 จากระดับร้อยละ 0.7 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมและดุลการค้าใน
เดือน มิ.ย. อนึ่ง ทางการเยอรมนีจะเปิดเผยประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า (รอยเตอร์)
3. สิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 7 - 8 ต่อปี รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
8 ส.ค.50 ก.การค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เป็นร้อยละ 7 - 8 ต่อปีจาก
ร้อยละ 5 - 7 ต่อปีในประมาณการครั้งก่อน จากการขยายตัวของภาคการผลิตและภาคการก่อสร้าง ทำให้อัตราการเติบโตในปีนี้ใกล้เคียง
กับปีก่อนซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราร้อยละ 7.9 ต่อปี หลังจากคาดว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี โดยจาก
ตัวเลขเบื้องต้นคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อไตรมาสและร้อยละ 8.2 ต่อปี แต่นักเศรษฐศาสตร์
คาดว่าตัวเลขจริงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อปีของไตรมาสที่ 2 ซึ่ง ก.การค้าและอุตสาหกรรมจะประกาศในวันที่ 10 ส.ค.50 นี้
อาจถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.7 ต่อปี ทั้งนี้ สิงคโปร์พยายามเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว การบริการทางการเงินและการก่อสร้าง
จากที่ส่วนใหญ่พึ่งพาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยาและแท่นขุดเจาะน้ำมันเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน มิ.ย.50 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ
8 ส.ค.50 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ซึ่งเป็นดัชนีสำหรับชี้วัดผลผลิตโรงงาน เหมืองแร่ และไฟฟ้า
ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบต่อปี ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ขณะที่เมื่อเทียบต่อเดือนผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 0.4 สำหรับผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่มีสัดส่วน
เป็น 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี ขณะที่ผลผลิตเหมืองแร่และไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ
3.1 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 ส.ค. 50 8 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.953 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.7180/34.0505 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.39500 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 831.64/17.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.09 70.09 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.79/25.74 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--