สรุปผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงการคลังและธนาคารกลางของอาเซียน+3
อย่างเป็นทางการ (Formal ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: Formal AFDM+3)
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 อย่างเป็นทางการโดยมีปลัดกระทรวงการคลัง และ มร. ลี ยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมในการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ได้ร่วมกันพิจารณามาตรการริเริ่มต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Development Initiative: ABMI) ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในด้าน การเพิ่มอุปทานด้วยการพัฒนาตราสารหนี้ประเภทใหม่ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนากลไกการค้ำประกันความน่าเชื่อถือและการลงทุน และการเชื่อมโยงการปฏิบัติของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ภายในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานระยะสั้นของคณะทำงานด้านต่างๆ ภายใต้ ABMI และเนื่องจากคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้มาตรการนี้ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ที่ประชุมจึงขอให้มีการประเมินการดำเนินงานของทุกคณะทำงานต่อไปในอนาคต
2. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการยกระดับความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค ด้วยการพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่จากความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคี (Bilateral Swap Agreement: BSA) ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปสู่ความตกลงที่มีลักษณะพหุภาคี (CMI Multilateralisation) เพื่อเสริมสร้างกลไกการเสริมสภาพคล่องทางการเงินระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือทางการเงินระหว่างสมาชิกอาเซียน+3 ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบรูปแบบและสถานะทางกฎหมายของการจัดทำ CMI Multilateralisation ที่เหมาะสม รวมทั้งให้แนวทางการดำเนินการของคณะทำงานในระยะที่ 2 เพื่อจัดทำรายละเอียดของรูปแบบการจัดทำ CMI Multilateralisation ต่อไป
3. ASEAN+3 Research Group ได้รายงานผลการวิจัยเรื่อง “Toward Greater Financial Stability in the Asia Region: Exploring Steps to Create a Regional Monetary Unit ” ซึ่งนำเสนอรูปแบบที่เป็นไปได้และแนวทางการพัฒนาหน่วยการเงิน (Regional Monetary Unit: RMU) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพด้านการเงินในภูมิภาค และเรื่อง “Financial Conglomerations in the East Asian Region: A Recent Trend and Implications for Regional Financial Market Development” ซึ่งศึกษาวิวัฒนาการของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ( Financial Conglomerations) ต่อพัฒนาการทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายในการกำกับดูแลสถาบันการเงินขนาดใหญ่ดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบหัวข้อการศึกษาสำหรับปี 2550-51 ได้แก่ (1) Toward Greater Financial Stability in the Asian Region: Measures for Possible Use of RMU for Surveillance and Transaction (2) Development of Database on Corporate Credit Information และ (3) Development of Capital Market to Widen and Diversify SME Financing in the East Asian Region
ทั้งนี้ จะมีการนำเสนอผลการประชุม Formal AFDM+3 ครั้งนี้ ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2550 ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 24/2550 4 เมษายน 50--
อย่างเป็นทางการ (Formal ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: Formal AFDM+3)
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2550 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 อย่างเป็นทางการโดยมีปลัดกระทรวงการคลัง และ มร. ลี ยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำหน้าที่ประธานร่วมในการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ได้ร่วมกันพิจารณามาตรการริเริ่มต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Development Initiative: ABMI) ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียทั้งในด้าน การเพิ่มอุปทานด้วยการพัฒนาตราสารหนี้ประเภทใหม่ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนากลไกการค้ำประกันความน่าเชื่อถือและการลงทุน และการเชื่อมโยงการปฏิบัติของหน่วยงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ภายในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในตลาดพันธบัตรเอเชียมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานระยะสั้นของคณะทำงานด้านต่างๆ ภายใต้ ABMI และเนื่องจากคณะทำงานต่าง ๆ ภายใต้มาตรการนี้ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ที่ประชุมจึงขอให้มีการประเมินการดำเนินงานของทุกคณะทำงานต่อไปในอนาคต
2. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการยกระดับความร่วมมือทางการเงินในภูมิภาค ด้วยการพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่จากความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคี (Bilateral Swap Agreement: BSA) ที่มีอยู่ในปัจจุบันไปสู่ความตกลงที่มีลักษณะพหุภาคี (CMI Multilateralisation) เพื่อเสริมสร้างกลไกการเสริมสภาพคล่องทางการเงินระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือทางการเงินระหว่างสมาชิกอาเซียน+3 ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบรูปแบบและสถานะทางกฎหมายของการจัดทำ CMI Multilateralisation ที่เหมาะสม รวมทั้งให้แนวทางการดำเนินการของคณะทำงานในระยะที่ 2 เพื่อจัดทำรายละเอียดของรูปแบบการจัดทำ CMI Multilateralisation ต่อไป
3. ASEAN+3 Research Group ได้รายงานผลการวิจัยเรื่อง “Toward Greater Financial Stability in the Asia Region: Exploring Steps to Create a Regional Monetary Unit ” ซึ่งนำเสนอรูปแบบที่เป็นไปได้และแนวทางการพัฒนาหน่วยการเงิน (Regional Monetary Unit: RMU) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเสถียรภาพด้านการเงินในภูมิภาค และเรื่อง “Financial Conglomerations in the East Asian Region: A Recent Trend and Implications for Regional Financial Market Development” ซึ่งศึกษาวิวัฒนาการของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ( Financial Conglomerations) ต่อพัฒนาการทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายในการกำกับดูแลสถาบันการเงินขนาดใหญ่ดังกล่าว
นอกจากนี้ที่ประชุมเห็นชอบหัวข้อการศึกษาสำหรับปี 2550-51 ได้แก่ (1) Toward Greater Financial Stability in the Asian Region: Measures for Possible Use of RMU for Surveillance and Transaction (2) Development of Database on Corporate Credit Information และ (3) Development of Capital Market to Widen and Diversify SME Financing in the East Asian Region
ทั้งนี้ จะมีการนำเสนอผลการประชุม Formal AFDM+3 ครั้งนี้ ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2550 ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 24/2550 4 เมษายน 50--