วันที่ 1 กรกฎาคม 50 ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรณีที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคมช. ออกมาพูดถึงประเด็นการเลือกตั้งที่คาดว่าจะไม่ทันปลายปีนี้นั้นว่า ทำให้เกิดความสับสนในหมู่ประชาชน และทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่ากำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนนั้นจะเป็นวันไหน
นายสาธิต กล่าวโดยสรุปว่าสถานการณ์และกำหนดการต่าง ๆ มีความชัดเจนตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นตารางที่กฎหมายรธน.ที่สสร.ได้กำหนดอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีหลังจากที่สสร.ได้รับร่างรธน. ซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าจะเป็นวันที่ 6 กค. และในกม.รธน.ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่าการร่างกฎหมายลูกนั้นจะต้องเสร็จภายใน 45 วัน และหาก สนช. ไม่สามารถพิจารณากม.ลูกให้เสร็จภายใน 45 วัน ก็ให้ยึดถือร่างของกรรมาธิการ สนช. นอกจากนี้หากกม.ลูกได้ประกาศใช้แล้วรัฐบาลต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน หากนับตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. ก็จะทำให้เสร็จสิ้นในวันที่ 5 ม.ค. ฉะนั้นกำหนดการหรือความพร้อมที่จะใช้ในการเลือกตั้งก็ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งกำลังจะผ่านสสร. ในวันที่ 6 กค.นี้
ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายสาธิต มีความเห็นว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่ให้เกิดความสับสนในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง หรือภาคเอกชนก็ตาม รัฐบาลควรจะมีการประชุมหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ สสร. กกต. เพื่อประกาศวันเลือกตั้งให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง
“ที่สำคัญที่สุดควรจะมีคนพูดเรื่องนี้เพียงคนเดียวเท่านั้น ท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งมีความรับผิดชอบ มีอำนาจในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ก็ควรที่จะเป็นคนแถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ” นายสาธิตกล่าว
นอกจากนี้ที่เกรงกันว่าจะมีเหตุการณ์อีกหลายเหตุการณ์ที่จะเป็นอุปสรรคในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงประชามตินั้น นายสาธิตกล่าวว่า หากวันที่ 19 สค. สมมติว่าประชาชนลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จะเป็นอำนาจของ คมช. ที่มีเวลา 30 วัน ที่จะหยิบยกเอารัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตามมาบังคับใช้ ซึ่งเข้าใจว่า ประธานคมช. ก็กล่าวสาธารณชนอย่างชัดเจนว่าจะหยิบกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาใช้ และถ้าดูและศึกษาตามตารางกำหนดการต่าง ๆ ก็คงจะไม่มีปัญหาและอุปสรรคที่รัฐบาลจะเตรียมความพร้อมและประกาศวันเลือกตั้งให้ชัดเจนได้
นายสาธิตยังได้เรียกร้องถึงหัวใจของการเลือกตั้งว่าที่เป็นหน้าที่หลักของรัฐบาล และกกต. ที่ต้องประชาสัมพันธ์และปลุกจิตสำนึกของประชาชน เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งสำคัญที่จะถึงนี้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรมอย่างแท้จริง อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอว่าเรื่องนี้ต้องเป็นวาระแห่งชาติ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ก.ค. 2550--จบ--
นายสาธิต กล่าวโดยสรุปว่าสถานการณ์และกำหนดการต่าง ๆ มีความชัดเจนตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นตารางที่กฎหมายรธน.ที่สสร.ได้กำหนดอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีหลังจากที่สสร.ได้รับร่างรธน. ซึ่งได้กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าจะเป็นวันที่ 6 กค. และในกม.รธน.ก็กำหนดไว้ชัดเจนว่าการร่างกฎหมายลูกนั้นจะต้องเสร็จภายใน 45 วัน และหาก สนช. ไม่สามารถพิจารณากม.ลูกให้เสร็จภายใน 45 วัน ก็ให้ยึดถือร่างของกรรมาธิการ สนช. นอกจากนี้หากกม.ลูกได้ประกาศใช้แล้วรัฐบาลต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน หากนับตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. ก็จะทำให้เสร็จสิ้นในวันที่ 5 ม.ค. ฉะนั้นกำหนดการหรือความพร้อมที่จะใช้ในการเลือกตั้งก็ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ซึ่งกำลังจะผ่านสสร. ในวันที่ 6 กค.นี้
ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ โดยนายสาธิต มีความเห็นว่า เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่ให้เกิดความสับสนในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง หรือภาคเอกชนก็ตาม รัฐบาลควรจะมีการประชุมหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ สสร. กกต. เพื่อประกาศวันเลือกตั้งให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง
“ที่สำคัญที่สุดควรจะมีคนพูดเรื่องนี้เพียงคนเดียวเท่านั้น ท่านนายกรัฐมนตรีซึ่งมีความรับผิดชอบ มีอำนาจในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ก็ควรที่จะเป็นคนแถลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ” นายสาธิตกล่าว
นอกจากนี้ที่เกรงกันว่าจะมีเหตุการณ์อีกหลายเหตุการณ์ที่จะเป็นอุปสรรคในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงประชามตินั้น นายสาธิตกล่าวว่า หากวันที่ 19 สค. สมมติว่าประชาชนลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จะเป็นอำนาจของ คมช. ที่มีเวลา 30 วัน ที่จะหยิบยกเอารัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตามมาบังคับใช้ ซึ่งเข้าใจว่า ประธานคมช. ก็กล่าวสาธารณชนอย่างชัดเจนว่าจะหยิบกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาใช้ และถ้าดูและศึกษาตามตารางกำหนดการต่าง ๆ ก็คงจะไม่มีปัญหาและอุปสรรคที่รัฐบาลจะเตรียมความพร้อมและประกาศวันเลือกตั้งให้ชัดเจนได้
นายสาธิตยังได้เรียกร้องถึงหัวใจของการเลือกตั้งว่าที่เป็นหน้าที่หลักของรัฐบาล และกกต. ที่ต้องประชาสัมพันธ์และปลุกจิตสำนึกของประชาชน เพื่อให้การเลือกตั้งครั้งสำคัญที่จะถึงนี้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรมอย่างแท้จริง อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์เคยเสนอว่าเรื่องนี้ต้องเป็นวาระแห่งชาติ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ก.ค. 2550--จบ--