แท็ก
ธปท.
ตามที่ ธปท. ได้มีมาตรการมาตามลำดับ เพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการนำ เงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ นั้น ธปท. ได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มกราคม 2550 นี้ เพื่อเพิ่มเติมการผ่อนคลายการนำเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ และการถือครองเงินตราต่างประเทศ ดังนี้
1. เพิ่มวงเงินให้บุคคลไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (บุคคลไทยถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10) จากเดิมไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี เป็นไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี
2. อนุญาตให้บุคคลไทยส่งเงินไปลงทุนหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (ถือหุ้นหรือ มีส่วนเป็นเจ้าของในกิจการของบุคคลไทยดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เช่น บริษัทลูกนำเงินไปให้กู้ยืมหรือ ลงทุนในบริษัทแม่ในต่างประเทศ) ไม่เกิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี
3. อนุญาตผู้ลงทุนประเภทสถาบัน 7 ประเภท ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม(ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง ที่ประสงค์จะลงทุนในหลักทรัพย์ของ นิติบุคคลไทยซึ่งออกในต่างประเทศให้ทำได้โดยไม่จำกัดจำนวน หากลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่ไม่ได้ออกโดยนิติบุคคลไทย ให้ลงทุนได้แต่มียอดคงค้าง ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และต้องไม่เกินวงเงินที่หน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ลงทุนและคณะกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารของ ผู้ลงทุนกำหนดซึ่งระเบียบเดิมผู้ต้องการลงทุนต้องยื่นเรื่องขออนุญาตต่อ ธปท.เป็นรายกรณี แต่ระเบียบใหม่สามารถลงทุนได้เลยถ้าไม่เกินวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. หากเกินกว่านี้ต้องขออนุญาต ธปท.
4. ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศสามารถนำเงินที่ได้รับจากต่างประเทศฝากเข้าในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องแสดงภาระการใช้เงิน โดยผู้ประสงค์จะฝากเงินให้แยกเปิดเป็นบัญชีเฉพาะและยอดเงินฝากในบัญชี ณ สิ้นวัน รวมทุกบัญชีที่ไม่ต้องแสดงภาระของผู้ฝากรายนั้นต้องมีจำนวนไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าสำหรับบุคคลธรรมดา หรือ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า สำหรับนิติบุคคล ส่วนเงินฝากที่มีภาระการใช้เงินแสดงยังคงฝากได้ไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับบุคคลธรรมดา และไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับนิติบุคคล การปรับระเบียบข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน ธปท. ในการปรับระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เพิ่มวงเงินให้บุคคลไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (บุคคลไทยถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10) จากเดิมไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี เป็นไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี
2. อนุญาตให้บุคคลไทยส่งเงินไปลงทุนหรือให้กู้ยืมแก่กิจการในต่างประเทศ (ถือหุ้นหรือ มีส่วนเป็นเจ้าของในกิจการของบุคคลไทยดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 เช่น บริษัทลูกนำเงินไปให้กู้ยืมหรือ ลงทุนในบริษัทแม่ในต่างประเทศ) ไม่เกิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดต่อรายต่อปี
3. อนุญาตผู้ลงทุนประเภทสถาบัน 7 ประเภท ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม(ไม่รวมกองทุนส่วนบุคคล) บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้ง ที่ประสงค์จะลงทุนในหลักทรัพย์ของ นิติบุคคลไทยซึ่งออกในต่างประเทศให้ทำได้โดยไม่จำกัดจำนวน หากลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่ไม่ได้ออกโดยนิติบุคคลไทย ให้ลงทุนได้แต่มียอดคงค้าง ณ ขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และต้องไม่เกินวงเงินที่หน่วยงานที่กำกับดูแลผู้ลงทุนและคณะกรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารของ ผู้ลงทุนกำหนดซึ่งระเบียบเดิมผู้ต้องการลงทุนต้องยื่นเรื่องขออนุญาตต่อ ธปท.เป็นรายกรณี แต่ระเบียบใหม่สามารถลงทุนได้เลยถ้าไม่เกินวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. หากเกินกว่านี้ต้องขออนุญาต ธปท.
4. ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศสามารถนำเงินที่ได้รับจากต่างประเทศฝากเข้าในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศโดยไม่ต้องแสดงภาระการใช้เงิน โดยผู้ประสงค์จะฝากเงินให้แยกเปิดเป็นบัญชีเฉพาะและยอดเงินฝากในบัญชี ณ สิ้นวัน รวมทุกบัญชีที่ไม่ต้องแสดงภาระของผู้ฝากรายนั้นต้องมีจำนวนไม่เกิน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าสำหรับบุคคลธรรมดา หรือ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า สำหรับนิติบุคคล ส่วนเงินฝากที่มีภาระการใช้เงินแสดงยังคงฝากได้ไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับบุคคลธรรมดา และไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา สำหรับนิติบุคคล การปรับระเบียบข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนงาน ธปท. ในการปรับระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--