กรุงเทพ--15 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. วันนี้ ( 14 มีนาคม 2550 ) กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จัดประชุมหารือด้านการกงสุลระหว่างไทย-ญี่ปุน ครั้งที่ 1 (1st Japan-Thailand Consultations on Consular Matters) ที่กรมการกงสุล โดยมี นายธีรกุล นิยม อธิบดีกรมการกงสุล เป็นประธานการประชุมฝ่ายไทย และนาย Yasuaki Tanizaki อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นประธานการประชุมฝ่ายญี่ปุ่น โดยมีผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมประชุม ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการจัดหางาน กรมเอเชียตะวันออก เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ของการกรอบความร่วมมือนี้ คือเพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือ ส่งเสริมความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับงานกงสุลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการดูแลคนชาติของตนในอีกประเทศหนึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมากจากการเยือนประเทศญี่ปุ่นของอธิบดีกรมการกงสุล ระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2550 นับเป็นการประชุมด้านการกงสุลครั้งแรกที่ไทยมีกับญี่ปุ่น และเป็นครั้งแรกที่ไทยมีการหารือลักษณะนี้กับต่างประเทศ ถือเป็นอีกพัฒนาการหนึ่งของความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะปี 2550 นี้ เป็นปีที่ทั้งสองประเทศฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 120 ปี
3. การประชุมประสบความสำเร็จด้วยดี ทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านกงสุล มีผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่
3.1 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในการป้องกันและปราบปรามขบวนการใช้หนังสือเดินทางปลอมเข้าประเทศ โดยฝ่ายญี่ปุ่นเห็นว่าการที่ไทยและญี่ปุ่นได้นำหนังสือเดินทางที่บรรจุข้อมูลทางชีวภาพ (biometrics) มาใช้ ได้มีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะพิจารณาส่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาประสานงานร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิด้วย
3.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะอำนวยความสะดวกในเรื่องการตรวจลงตราระหว่างกัน สำหรับปัญหาการขอรับการตรวจลงตราเข้าญี่ปุ่นของนักธุรกิจไทยตามคำขอของฝ่ายไทยนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นกำลังพิจารณาขยายอายุการตรวจลงตราประเภทธุรกิจจาก 1 ปี เป็น 5 ปี และพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกการตรวจลงตราประเภทธุรกิจแบบเดินทางเข้าออกหลายครั้งให้แก่นักธุรกิจไทย เป็นการพิเศษ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หากมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กรมส่งเสริมการส่งออก และหอการค้าไทย นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราให้แก่คนไทยที่จำเป็นต้องเดินทางไปญี่ปุ่นด้วยเหตุผลทางครอบครัวบนพื้นฐานมนุษยธรรม โดยจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่คนไทยที่จะไปทำงานเป็นพ่อครัวในร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นด้วย ส่วนฝ่ายไทยพร้อมที่จะพิจารณาอำนวยความสะดวกในการต่ออายุใบอนุญาตทำงานของนักธุรกิจญี่ปุ่นในไทยด้วยดีเช่นกัน
3.3 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแจ้งสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีที่บุคคลชาติตนกระทำผิดและถูกจับโดยเร็วที่สุด ซึ่งฝ่ายไทยได้ย้ำว่า กรณีหญิงไทยหรือคนงานไทยที่ถูกจับกุมในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ จึงขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นปฏิบัติต่อหญิงไทย/แรงงานไทยด้วยดีบนพื้นฐานมนุษยธรรม
3.4 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะทำงานสนับสนุนกรอบความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความร่วมมือกันเมื่อ มิถุนายน 2549 และกำลังจัดทำแนวปฏิบัติ (Standard Operation Procedure) สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกัน และเห็นพ้องที่จะให้มีการพบปะหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูตกับกรมการกงสุลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทั้งที่กรุงเทพ และกรุงโตเกียว เพื่อเป็นกลไกติดตามประสานงานสิ่งที่ได้หารือกันไว้ในการประชุมและความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพอใจกับผลการหารือ และเห็นว่าการประชุมหารือในลักษณะนี้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและญี่ปุ่น โดยฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นในปลายปี 2550 — ต้นปี 2551 ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. วันนี้ ( 14 มีนาคม 2550 ) กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จัดประชุมหารือด้านการกงสุลระหว่างไทย-ญี่ปุน ครั้งที่ 1 (1st Japan-Thailand Consultations on Consular Matters) ที่กรมการกงสุล โดยมี นายธีรกุล นิยม อธิบดีกรมการกงสุล เป็นประธานการประชุมฝ่ายไทย และนาย Yasuaki Tanizaki อธิบดีกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นประธานการประชุมฝ่ายญี่ปุ่น โดยมีผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมประชุม ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการจัดหางาน กรมเอเชียตะวันออก เป็นต้น
2. วัตถุประสงค์ของการกรอบความร่วมมือนี้ คือเพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือ ส่งเสริมความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับงานกงสุลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการดูแลคนชาติของตนในอีกประเทศหนึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมากจากการเยือนประเทศญี่ปุ่นของอธิบดีกรมการกงสุล ระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2550 นับเป็นการประชุมด้านการกงสุลครั้งแรกที่ไทยมีกับญี่ปุ่น และเป็นครั้งแรกที่ไทยมีการหารือลักษณะนี้กับต่างประเทศ ถือเป็นอีกพัฒนาการหนึ่งของความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะปี 2550 นี้ เป็นปีที่ทั้งสองประเทศฉลองการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 120 ปี
3. การประชุมประสบความสำเร็จด้วยดี ทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านกงสุล มีผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่
3.1 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในการป้องกันและปราบปรามขบวนการใช้หนังสือเดินทางปลอมเข้าประเทศ โดยฝ่ายญี่ปุ่นเห็นว่าการที่ไทยและญี่ปุ่นได้นำหนังสือเดินทางที่บรรจุข้อมูลทางชีวภาพ (biometrics) มาใช้ ได้มีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะพิจารณาส่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมาประสานงานร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไทย ที่สนามบินสุวรรณภูมิด้วย
3.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะอำนวยความสะดวกในเรื่องการตรวจลงตราระหว่างกัน สำหรับปัญหาการขอรับการตรวจลงตราเข้าญี่ปุ่นของนักธุรกิจไทยตามคำขอของฝ่ายไทยนั้น ฝ่ายญี่ปุ่นกำลังพิจารณาขยายอายุการตรวจลงตราประเภทธุรกิจจาก 1 ปี เป็น 5 ปี และพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกการตรวจลงตราประเภทธุรกิจแบบเดินทางเข้าออกหลายครั้งให้แก่นักธุรกิจไทย เป็นการพิเศษ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หากมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กรมส่งเสริมการส่งออก และหอการค้าไทย นอกจากนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะอำนวยความสะดวกในการตรวจลงตราให้แก่คนไทยที่จำเป็นต้องเดินทางไปญี่ปุ่นด้วยเหตุผลทางครอบครัวบนพื้นฐานมนุษยธรรม โดยจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่คนไทยที่จะไปทำงานเป็นพ่อครัวในร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นด้วย ส่วนฝ่ายไทยพร้อมที่จะพิจารณาอำนวยความสะดวกในการต่ออายุใบอนุญาตทำงานของนักธุรกิจญี่ปุ่นในไทยด้วยดีเช่นกัน
3.3 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแจ้งสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีที่บุคคลชาติตนกระทำผิดและถูกจับโดยเร็วที่สุด ซึ่งฝ่ายไทยได้ย้ำว่า กรณีหญิงไทยหรือคนงานไทยที่ถูกจับกุมในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ จึงขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นปฏิบัติต่อหญิงไทย/แรงงานไทยด้วยดีบนพื้นฐานมนุษยธรรม
3.4 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะทำงานสนับสนุนกรอบความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความร่วมมือกันเมื่อ มิถุนายน 2549 และกำลังจัดทำแนวปฏิบัติ (Standard Operation Procedure) สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกัน และเห็นพ้องที่จะให้มีการพบปะหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูตกับกรมการกงสุลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทั้งที่กรุงเทพ และกรุงโตเกียว เพื่อเป็นกลไกติดตามประสานงานสิ่งที่ได้หารือกันไว้ในการประชุมและความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพอใจกับผลการหารือ และเห็นว่าการประชุมหารือในลักษณะนี้เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและญี่ปุ่น โดยฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 2 ที่ประเทศญี่ปุ่นในปลายปี 2550 — ต้นปี 2551 ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-