สศอ.ชี้อุตฯสิ่งทอฯ สู่ยุคแข่งดุ มีคู่แข่งเพียบ เร่งทำยุทธศาสตร์และแผนแม่บทปี 2550-2554 หวังสู้ศึกอย่างมีเชิง เชื่อผู้ประกอบการไทยยืนหยัดสู้ไหว
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้สนับสนุนสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการร่างยุทธศาสตร์และแผนแม่บทอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภายใต้ “โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนแม่บทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2550-2554” เพื่อวางนโยบายพัฒนาให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย สามารถแข่งขันได้ภายใต้เงื่อนไขของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป และเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไปในทิศทางเดียวกัน สู่การเพิ่มขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมต่อไป
“อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย เสมือนเป็นเส้นเลือดของภาคอุตสาหกรรมมาเป็นเวลายาวนาน มีการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน มีมูลค่าการส่งออกโดยเฉลี่ยปีละกว่า 250,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอได้รับผลกระทบหนักจากประเทศคู่แข่งที่สามารถผลิตสินค้าได้ในจำนวนมากและมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ดังนั้นกลุ่มลูกค้าเดิมที่เคยสั่งสินค้าจากไทย จึงเริ่มที่จะหันไปสั่งซื้อจากคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน และเวียดนาม ซึ่งหากสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปอุตสาหกรรม สิ่งทอของไทยนับวันจะถดถอยลงไป อาจถึงขั้นไม่สามารถแข่งขันได้”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การจัดทำโครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนแม่บทสิ่งทอ ปี 2550-2554 จะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะเป็นเสมือนเข็มทิศสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้มีทิศทางที่ชัดเจน สนับสนุนการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่ง สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness) โดยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ทั้งในด้านของทักษะแรงงาน การบริหารจัดการ และด้านปัจจัยสนับสนุน โดยการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในครั้งนี้ สศอ.เน้นการมีส่วนร่วมเป็นหัวใจหลัก เพื่อสร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม
“สศอ.จะระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงผู้ประกอบการระดับรากแก้วด้วย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์มีความสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งจะก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิต และสร้างความเชื่อมโยงของธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการทำตลาดในเชิงรุก ตลอดจนการสร้างตราสินค้าให้เป็นของตนเอง ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจไทย และสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นดาวเด่นขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมได้อีกครั้ง” ดร.อรรชกา กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้สนับสนุนสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการร่างยุทธศาสตร์และแผนแม่บทอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ภายใต้ “โครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนแม่บทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ปี 2550-2554” เพื่อวางนโยบายพัฒนาให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย สามารถแข่งขันได้ภายใต้เงื่อนไขของตลาดโลกที่เปลี่ยนไป และเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้มีแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไปในทิศทางเดียวกัน สู่การเพิ่มขีดความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมต่อไป
“อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย เสมือนเป็นเส้นเลือดของภาคอุตสาหกรรมมาเป็นเวลายาวนาน มีการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน มีมูลค่าการส่งออกโดยเฉลี่ยปีละกว่า 250,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอได้รับผลกระทบหนักจากประเทศคู่แข่งที่สามารถผลิตสินค้าได้ในจำนวนมากและมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ดังนั้นกลุ่มลูกค้าเดิมที่เคยสั่งสินค้าจากไทย จึงเริ่มที่จะหันไปสั่งซื้อจากคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน และเวียดนาม ซึ่งหากสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปอุตสาหกรรม สิ่งทอของไทยนับวันจะถดถอยลงไป อาจถึงขั้นไม่สามารถแข่งขันได้”
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การจัดทำโครงการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนแม่บทสิ่งทอ ปี 2550-2554 จะเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะเป็นเสมือนเข็มทิศสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยให้มีทิศทางที่ชัดเจน สนับสนุนการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่ง สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness) โดยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ทั้งในด้านของทักษะแรงงาน การบริหารจัดการ และด้านปัจจัยสนับสนุน โดยการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอในครั้งนี้ สศอ.เน้นการมีส่วนร่วมเป็นหัวใจหลัก เพื่อสร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม
“สศอ.จะระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ที่ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงผู้ประกอบการระดับรากแก้วด้วย เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์มีความสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งจะก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิต และสร้างความเชื่อมโยงของธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการทำตลาดในเชิงรุก ตลอดจนการสร้างตราสินค้าให้เป็นของตนเอง ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจไทย และสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นดาวเด่นขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมได้อีกครั้ง” ดร.อรรชกา กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-