กรุงเทพ--6 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (5 มิถุนายน 2550) นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และ นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม บรรยายสรุปให้แก่คณะทูตต่างประเทศและตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ เรื่องคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณียุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ณ กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้มีคณะทูตจาก 39 ประเทศ โดยเป็นเอกอัครราชทูต 17 คน และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศในประเทศไทย 12 คน เข้ารับฟังการบรรยายสรุป สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- ประเด็นความเป็นอิสระ บูรณภาพ และความยุติธรรม ของตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญทุกคนมาจากฝ่ายตุลาการทั้งสิ้น และตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนล้วนเป็นผู้พิพากษาอาวุโสระดับสูงจากทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด โดยมีประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดร่วมอยู่ในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญด้วย ประธานศาลทั้งสองคน (ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในศาลทั้งสอง มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว) ทำหน้าที่ประธานและรองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง ระบบตุลาการของประเทศไทยเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ ดังเช่นธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลยุติธรรมเป็นสิ่งที่ไม่อาจโต้แย้งได้และคงความอิสระมาโดยตลอด
- ประเด็นกระบวนการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญคดีเกี่ยวกับคดีกระทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการพิจารณารายละเอียดและพยานหลักฐานทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อลดความสับสนเกี่ยวกับประเด็นความจริงของคดีการกระทำผิดกฏหมายเลือกตั้งดังกล่าวที่มีอยู่อย่างมาก ก่อนการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้เป็นไปโดยเอกฉันท์
- การมีผลใช้ย้อนหลังของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 มาตรา 3
ประกาศดังกล่าวสามารถมีผลใช้ย้อนหลังได้เนื่องจากว่าผลการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญมิได้มีบทลงโทษทางอาญา แต่เป็นเพียงมาตรการทางกฏหมายเท่านั้น
หลังจากการบรรยายสรุป ปลัดกระทรวงทั้งสองได้ตอบคำถามของคณะทูตต่างประเทศและตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. การเพิกถอนสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน จะมีผลครอบคลุมอะไรบ้าง
ผลกระทบหลักรวมถึง การไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้ก่อตั้งหรือคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมือง และรับตำแหน่งทางการเมือง เป็นเวลา 5 ปี อย่างไรก็ดีคณะกรรมการบริหารฯ ทั้ง 111 คนสามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและได้รับการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการพูดและการแสดงออก
2. คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยสามารถยื่นอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวได้หรือไม่
ตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นศาลสูงสุดเพียงศาลเดียว ดังที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยและตัดสินคดีจะต้องผ่านกระบวนการและองค์กรที่เกี่ยวข้องหลายขั้นตอนก่อนที่จะได้รับการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ
3. การไม่ให้พรรคไทยรักไทยร่วมการเลือกตั้งปลายปีจะทำให้การเลือกตั้งไม่สมบูรณ์หรือไม่ เนื่องจากจะมีจำนวนพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งน้อยลง
ประชาธิปไตยในประเทศไทยยังมีพัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่อง และกรณีดังกล่าวสามารถมองเป็นโอกาสสำหรับนักการเมืองรุ่นใหม่และพรรคการเมืองใหม่ ในการแข่งขันเข้าร่วมการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปีนี้
4. สมาชิกพรรคไทยรักไทยสามารถที่จะตั้งพรรคใหม่โดยใช้ชื่อเดิมได้หรือไม่
ประเด็นดังกล่าวอยู่ภายใต้อำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ที่จะมีการแต่งตั้งในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (5 มิถุนายน 2550) นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และ นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม บรรยายสรุปให้แก่คณะทูตต่างประเทศและตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ เรื่องคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ กรณียุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ณ กระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้มีคณะทูตจาก 39 ประเทศ โดยเป็นเอกอัครราชทูต 17 คน และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศในประเทศไทย 12 คน เข้ารับฟังการบรรยายสรุป สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- ประเด็นความเป็นอิสระ บูรณภาพ และความยุติธรรม ของตุลาการรัฐธรรมนูญ
ตุลาการรัฐธรรมนูญทุกคนมาจากฝ่ายตุลาการทั้งสิ้น และตุลาการรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คนล้วนเป็นผู้พิพากษาอาวุโสระดับสูงจากทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด โดยมีประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดร่วมอยู่ในคณะตุลาการรัฐธรรมนูญด้วย ประธานศาลทั้งสองคน (ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในศาลทั้งสอง มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว) ทำหน้าที่ประธานและรองประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง ระบบตุลาการของประเทศไทยเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ ดังเช่นธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลยุติธรรมเป็นสิ่งที่ไม่อาจโต้แย้งได้และคงความอิสระมาโดยตลอด
- ประเด็นกระบวนการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญคดีเกี่ยวกับคดีกระทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการพิจารณารายละเอียดและพยานหลักฐานทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อลดความสับสนเกี่ยวกับประเด็นความจริงของคดีการกระทำผิดกฏหมายเลือกตั้งดังกล่าวที่มีอยู่อย่างมาก ก่อนการตัดสินของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้เป็นไปโดยเอกฉันท์
- การมีผลใช้ย้อนหลังของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 27 มาตรา 3
ประกาศดังกล่าวสามารถมีผลใช้ย้อนหลังได้เนื่องจากว่าผลการตัดสินของตุลาการรัฐธรรมนูญมิได้มีบทลงโทษทางอาญา แต่เป็นเพียงมาตรการทางกฏหมายเท่านั้น
หลังจากการบรรยายสรุป ปลัดกระทรวงทั้งสองได้ตอบคำถามของคณะทูตต่างประเทศและตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ สรุปได้ดังนี้
1. การเพิกถอนสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน จะมีผลครอบคลุมอะไรบ้าง
ผลกระทบหลักรวมถึง การไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นผู้ก่อตั้งหรือคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมือง และรับตำแหน่งทางการเมือง เป็นเวลา 5 ปี อย่างไรก็ดีคณะกรรมการบริหารฯ ทั้ง 111 คนสามารถเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและได้รับการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการพูดและการแสดงออก
2. คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยสามารถยื่นอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวได้หรือไม่
ตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นศาลสูงสุดเพียงศาลเดียว ดังที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยและตัดสินคดีจะต้องผ่านกระบวนการและองค์กรที่เกี่ยวข้องหลายขั้นตอนก่อนที่จะได้รับการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ
3. การไม่ให้พรรคไทยรักไทยร่วมการเลือกตั้งปลายปีจะทำให้การเลือกตั้งไม่สมบูรณ์หรือไม่ เนื่องจากจะมีจำนวนพรรคการเมืองที่สมัครรับเลือกตั้งน้อยลง
ประชาธิปไตยในประเทศไทยยังมีพัฒนาการอยู่อย่างต่อเนื่อง และกรณีดังกล่าวสามารถมองเป็นโอกาสสำหรับนักการเมืองรุ่นใหม่และพรรคการเมืองใหม่ ในการแข่งขันเข้าร่วมการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปีนี้
4. สมาชิกพรรคไทยรักไทยสามารถที่จะตั้งพรรคใหม่โดยใช้ชื่อเดิมได้หรือไม่
ประเด็นดังกล่าวอยู่ภายใต้อำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ที่จะมีการแต่งตั้งในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-