ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนวายุภักษ์ 2 ไม่กระทบภาพรวมของระบบ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังมีสูง นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผอ.อาวุโส
ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า หากกองทุนวายุภักษ์ 2 ออกมาก็ไม่น่าจะกระทบต่อภาพรวมของระบบ เพราะตามรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ
ในเดือน ม.ค.50 พบว่าสภาพคล่องในระบบยังมีสูง เนื่องจาก ธ.พาณิชย์ไม่มั่นใจภาวะเศรษฐกิจจึงชะลอการปล่อยสินเชื่อ อีกทั้ง ธปท. ได้
ลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งหาก รมว.คลังมีการอนุมัติจริงคงต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งด้านบวกและลบอีกครั้ง ทั้งนี้ ตามรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ
ฉบับเดือน ม.ค.50 สัดส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝากของระบบ ธ.พาณิชย์ยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน พ.ย.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ
82.7 ด้านนายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผอ.ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า คงไม่กระทบกับสภาพคล่อง เพราะขณะนี้ดุลการ
ชำระเงินเกินดุลกว่า 1 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเกินดุลต่อเนื่อง รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพิ่ม ขณะที่ระบบธนาคารมีสภาพคล่อง
กว่า 4 แสนล้านบาท ดังนั้น กองทุนวายุภักษ์ 2 จะเข้ามาช่วยดูดสภาพคล่องส่วนเกินที่มีจำนวนมากออกไป ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัว
ขึ้นเล็กน้อย ส่วนดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรจะปรับลดลงจากร้อยละ 4.75 เหลือร้อยละ 3.0-3.5 ในสิ้นปีนี้ ในขณะที่ นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วย
กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า หากกองทุนวายุภักษ์ 2 ออกขายประชาชนรายย่อยจะกระทบกับเงินฝาก 1 แสนล้านบาท ผลที่ตามมา
คือดอกเบี้ยจะลดลงในอัตราช้าลง โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝาก สำหรับภาพรวมระบบธนาคารคงไม่ได้รับผลกระทบจากเงินฝากที่จะไหลออกไปซื้อ
กองทุนวายุภักษ์ 2 ยกเว้นธนาคารบางแห่งที่ต้องการสภาพคล่องจะเหนื่อยขึ้น ซึ่งธนาคารที่ต้องการสภาพคล่องคือธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อต่อ
เงินฝากสูง อาทิ ธ.ทหารไทย ธ.กรุงไทย ส่วนธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำ ได้แก่ ธ.กสิกรไทย และ ธ.กรุงศรีอยุธยา (โพสต์ทูเดย์)
2. ยอดการลงทุนและบริโภคช่วงไตรมาส 4 ปี 49 ในภาคใต้ลดลง รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจในภาคใต้
ช่วงไตรมาส 4 ปี 49 ว่า การลงทุนภาคเอกชนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลมีจำนวนรายลดลง
ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากปัจจัยลบเรื่องราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 13.5
หดตัวจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะราคายางพาราที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องและราคาปาล์มน้ำมันที่ปรับลดลงค่อนข้างมาก ส่งผลให้รายได้ของ
เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชหลักลดลงร้อยละ 6.6 จากไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เป็นผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง โดยการจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 2.5 จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ร้อยละ 7.5
ตามด้วยรถบรรทุกส่วนบุคคลที่ลดลงร้อยละ 4.2 ประกอบกับด้านประมงทะเลซบเซาจากต้นทุนที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งการ
ทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านเข้มงวด ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 11.5 แต่
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 อย่างไรก็ตาม สำหรับภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ยังถือว่าขยายตัวดีตามความต้องการของต่างประเทศ
โดยมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็งขยายตัวร้อยละ 2.7 ตามการนำเข้าวัตถุดิบ
ส่วนอุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องขยายตัวลดลง และถุงมือยางมีการผลิตลดลงทำให้ปริมาณการส่งออกลดลงตามไปด้วยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ขณะ
ที่ภาคการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว (ข่าวสด)
3. รัฐเก็บรายได้ 4 เดือนแรกของปี งปม.50 จำนวน 4.04 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ นายสมชัย สัจจพงษ์
รก.ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า การเก็บรายได้เดือน ม.ค.50 มีจำนวน 1.04 แสนล้านบาท เกินเป้า
195 ล้านบาท โดยกรมสรรพสามิตเก็บภาษีเกินเป้า 726 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจส่งรายได้เกินเป้า 586 ล้านบาท ขณะที่กรมสรรพากรเก็บภาษี
ต่ำกว่าเป้า 1.47 พันล้านบาท และกรมศุลกากรเก็บภาษีต่ำกว่าเป้า 586 ล้านบาท ส่วนการเก็บรายได้ของรัฐบาลช่วง 4 เดือนแรกของปี
งปม.50 (ต.ค.49-ม.ค.50) มีจำนวนรวม 4.04 แสนล้านบาท มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 4.08 พันล้านบาท เทียบกับยอดเกินเป้าสุทธิของ
3 เดือนแรกของปี งปม.50 จำนวน 1.07 หมื่นล้านบาท ถือว่ายอดเกินเป้าสุทธิลดลงจากเดิม 6 พันล้านบาท โดยในรอบ 4 เดือนแรก
กรมสรรพากรเก็บภาษีได้ 2.82 แสนล้านบาท เกินเป้า 1.16 พันล้านบาท กรมสรรพสามิตเก็บภาษีได้ 9.98 หมื่นล้านบาท เกินเป้า
8.01 พันล้านบาท กรมศุลกากรเก็บภาษีได้ 2.99 หมื่นล้านบาท เกินเป้า 138 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 3.33 หมื่นล้านบาท
เกินเป้า 4.24 พันล้านบาท (บ้านเมือง, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ประสิทธิภาพในการผลิตของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
7 ก.พ.50 ก.แรงงานของ สรอ.รายงานประสิทธิภาพในการผลิตของคนงานในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่อปีใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 49 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี หลังจากประสิทธิภาพในการผลิตลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49
ส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 ต่อปีหลังจากเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.2 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49 แม้ว่าค่าแรงต่อชั่วโมงใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 49 จะสูงขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปีก็ตาม ในขณะที่ค่าแรงต่อชั่วโมงในไตรมาสที่ 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี
เมื่อคำนวณตลอดทั้งปี 49 ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 อันเป็นผลจากประสิทธิภาพในการผลิต
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี ต่ำสุดในรอบ 9 ปี ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยที่สูงขึ้นสร้างความกังวลให้ ธ.กลาง สรอ.ว่าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่ม
สูงขึ้นอีก ในขณะที่ประสิทธิภาพในการผลิตที่ลดลงทำให้อัตราที่เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้โดยไม่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้
ธ.กลาง สรอ.ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25 ต่อปีมาตั้งแต่กลางปี 49 และเป็นที่คาดกันว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันต่อไปจนถึง
กลางปี 50 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 7 ก.พ.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือน ธ.ค.49 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 ตรงข้าม
กับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 โดยมีสาเหตุจากผลผลิตน้ำมันและก๊าซที่ลดลงถึงร้อยละ 4.1 เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่น
ผิดปกติส่งผลให้ความต้องการพลังงานสำหรับทำความร้อนลดลง รวมถึงการเปิดใช้ท่อส่งก๊าซใหม่จำนวน 2 แห่ง ทำให้ทางการอังกฤษต้องนำเข้า
ก๊าซเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณที่ดี
เนื่องจากผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเหนือความคาดหมายร้อยละ 0.2 แต่บรรดานักวิเคราะห์มีความเห็นว่า
อาจเป็นสัญญาณที่ดีเพียงในระยะสั้น เนื่องจากผู้ผลิตยังคงต้องประสบกับภาวะต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นและภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจ
กระทบต่อความต้องการสินค้าอุตสาหกรรม อนึ่ง ONS ยังคงเชื่อมั่นว่าตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมจะไม่สงผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ซึ่งประมาณการว่าจะเติบโตร้อยละ 0.8 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากโซลเมื่อ 8 ก.พ.50 ธ.กลางเกาหลีใต้
เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 4.50
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 หลังจากที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ในช่วงระหว่างเดือน ต.ค.49-ส.ค.50 เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ
และสกัดกั้นการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากของราคาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ว่ากำลังประสบภาวะชะลอตัว (รอยเตอร์)
4. คาดว่าในเดือน ธ.ค. การส่งออกของมาเลเซียชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 50
ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า ในเดือน ธ.ค. 49 การส่งออกของมาเลเซียชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ที่ร้อยละ 8.5 หลังจาก
ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในเดือน พ.ย. ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 17.5 เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวทำให้คำสั่งซื้อสินค้าลดลง
ทั้งนี้รัฐบาลมาเลเซียมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการส่งออกอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้เวลา 12.01 น ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์
เห็นว่าการลดลงของการส่งออกในเดือน ธ.ค. ดังกล่าวเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศในภูมิภาคเอเชียอาทิ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
ที่การส่งออกชะลอตัวเช่นเดียวกัน โดยมีความเป็นไปได้ว่าการส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค. ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปี
ก่อนหน้าถึงร้อยละ 14.2 บ่งชี้ว่าความต้องการสินค้าจากทั่วโลกที่อ่อนตัวลงเริ่มกระทบต่อการส่งออกของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแล้ว
อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการแข็งค่าของเงินริงกิตอาจมีส่วนกระทบต่อการส่งออกของมาเลเซียบ้างในเดือนหน้า แต่มิได้เป็นเหตุผล
สำคัญที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวเนื่องจากเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคเอเชียต่างก็แข็งค่าด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ในปีนี้เงินริงกิตมาเลเซียเป็นหนึ่งใน
สกุลเงินที่ดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งที่ผ่านมาเงินริงกิตได้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.พ. 50 7 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.787 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5811/35.9146 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 675.33/11.59 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.79 55.73 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50 25.59*/23.34** 25.59*/22.94 26.49/23.34 ปตท.
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กองทุนวายุภักษ์ 2 ไม่กระทบภาพรวมของระบบ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังมีสูง นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผอ.อาวุโส
ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า หากกองทุนวายุภักษ์ 2 ออกมาก็ไม่น่าจะกระทบต่อภาพรวมของระบบ เพราะตามรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ
ในเดือน ม.ค.50 พบว่าสภาพคล่องในระบบยังมีสูง เนื่องจาก ธ.พาณิชย์ไม่มั่นใจภาวะเศรษฐกิจจึงชะลอการปล่อยสินเชื่อ อีกทั้ง ธปท. ได้
ลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งหาก รมว.คลังมีการอนุมัติจริงคงต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งด้านบวกและลบอีกครั้ง ทั้งนี้ ตามรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ
ฉบับเดือน ม.ค.50 สัดส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝากของระบบ ธ.พาณิชย์ยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน พ.ย.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ
82.7 ด้านนายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผอ.ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า คงไม่กระทบกับสภาพคล่อง เพราะขณะนี้ดุลการ
ชำระเงินเกินดุลกว่า 1 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มว่าจะเกินดุลต่อเนื่อง รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลเพิ่ม ขณะที่ระบบธนาคารมีสภาพคล่อง
กว่า 4 แสนล้านบาท ดังนั้น กองทุนวายุภักษ์ 2 จะเข้ามาช่วยดูดสภาพคล่องส่วนเกินที่มีจำนวนมากออกไป ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัว
ขึ้นเล็กน้อย ส่วนดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรจะปรับลดลงจากร้อยละ 4.75 เหลือร้อยละ 3.0-3.5 ในสิ้นปีนี้ ในขณะที่ นายตรรก บุนนาค ผู้ช่วย
กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า หากกองทุนวายุภักษ์ 2 ออกขายประชาชนรายย่อยจะกระทบกับเงินฝาก 1 แสนล้านบาท ผลที่ตามมา
คือดอกเบี้ยจะลดลงในอัตราช้าลง โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝาก สำหรับภาพรวมระบบธนาคารคงไม่ได้รับผลกระทบจากเงินฝากที่จะไหลออกไปซื้อ
กองทุนวายุภักษ์ 2 ยกเว้นธนาคารบางแห่งที่ต้องการสภาพคล่องจะเหนื่อยขึ้น ซึ่งธนาคารที่ต้องการสภาพคล่องคือธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อต่อ
เงินฝากสูง อาทิ ธ.ทหารไทย ธ.กรุงไทย ส่วนธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำ ได้แก่ ธ.กสิกรไทย และ ธ.กรุงศรีอยุธยา (โพสต์ทูเดย์)
2. ยอดการลงทุนและบริโภคช่วงไตรมาส 4 ปี 49 ในภาคใต้ลดลง รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจในภาคใต้
ช่วงไตรมาส 4 ปี 49 ว่า การลงทุนภาคเอกชนในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลมีจำนวนรายลดลง
ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากปัจจัยลบเรื่องราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 13.5
หดตัวจากไตรมาสก่อน โดยเฉพาะราคายางพาราที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องและราคาปาล์มน้ำมันที่ปรับลดลงค่อนข้างมาก ส่งผลให้รายได้ของ
เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชหลักลดลงร้อยละ 6.6 จากไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เป็นผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง โดยการจดทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 2.5 จากไตรมาสก่อนอยู่ที่ร้อยละ 7.5
ตามด้วยรถบรรทุกส่วนบุคคลที่ลดลงร้อยละ 4.2 ประกอบกับด้านประมงทะเลซบเซาจากต้นทุนที่สูงขึ้นและสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งการ
ทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านเข้มงวด ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 11.5 แต่
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 อย่างไรก็ตาม สำหรับภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ยังถือว่าขยายตัวดีตามความต้องการของต่างประเทศ
โดยมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็งขยายตัวร้อยละ 2.7 ตามการนำเข้าวัตถุดิบ
ส่วนอุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋องขยายตัวลดลง และถุงมือยางมีการผลิตลดลงทำให้ปริมาณการส่งออกลดลงตามไปด้วยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ขณะ
ที่ภาคการก่อสร้างขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว (ข่าวสด)
3. รัฐเก็บรายได้ 4 เดือนแรกของปี งปม.50 จำนวน 4.04 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้ นายสมชัย สัจจพงษ์
รก.ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า การเก็บรายได้เดือน ม.ค.50 มีจำนวน 1.04 แสนล้านบาท เกินเป้า
195 ล้านบาท โดยกรมสรรพสามิตเก็บภาษีเกินเป้า 726 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจส่งรายได้เกินเป้า 586 ล้านบาท ขณะที่กรมสรรพากรเก็บภาษี
ต่ำกว่าเป้า 1.47 พันล้านบาท และกรมศุลกากรเก็บภาษีต่ำกว่าเป้า 586 ล้านบาท ส่วนการเก็บรายได้ของรัฐบาลช่วง 4 เดือนแรกของปี
งปม.50 (ต.ค.49-ม.ค.50) มีจำนวนรวม 4.04 แสนล้านบาท มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 4.08 พันล้านบาท เทียบกับยอดเกินเป้าสุทธิของ
3 เดือนแรกของปี งปม.50 จำนวน 1.07 หมื่นล้านบาท ถือว่ายอดเกินเป้าสุทธิลดลงจากเดิม 6 พันล้านบาท โดยในรอบ 4 เดือนแรก
กรมสรรพากรเก็บภาษีได้ 2.82 แสนล้านบาท เกินเป้า 1.16 พันล้านบาท กรมสรรพสามิตเก็บภาษีได้ 9.98 หมื่นล้านบาท เกินเป้า
8.01 พันล้านบาท กรมศุลกากรเก็บภาษีได้ 2.99 หมื่นล้านบาท เกินเป้า 138 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 3.33 หมื่นล้านบาท
เกินเป้า 4.24 พันล้านบาท (บ้านเมือง, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ประสิทธิภาพในการผลิตของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 สูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
7 ก.พ.50 ก.แรงงานของ สรอ.รายงานประสิทธิภาพในการผลิตของคนงานในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่อปีใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 49 สูงกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี หลังจากประสิทธิภาพในการผลิตลดลงร้อยละ 0.1 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49
ส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 ต่อปีหลังจากเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.2 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49 แม้ว่าค่าแรงต่อชั่วโมงใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 49 จะสูงขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปีก็ตาม ในขณะที่ค่าแรงต่อชั่วโมงในไตรมาสที่ 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี
เมื่อคำนวณตลอดทั้งปี 49 ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 อันเป็นผลจากประสิทธิภาพในการผลิต
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี ต่ำสุดในรอบ 9 ปี ต้นทุนค่าแรงต่อหน่วยที่สูงขึ้นสร้างความกังวลให้ ธ.กลาง สรอ.ว่าอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่ม
สูงขึ้นอีก ในขณะที่ประสิทธิภาพในการผลิตที่ลดลงทำให้อัตราที่เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้โดยไม่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อลดลงตามไปด้วย ทั้งนี้
ธ.กลาง สรอ.ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25 ต่อปีมาตั้งแต่กลางปี 49 และเป็นที่คาดกันว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันต่อไปจนถึง
กลางปี 50 (รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 7 ก.พ.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษในเดือน ธ.ค.49 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 ตรงข้าม
กับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 โดยมีสาเหตุจากผลผลิตน้ำมันและก๊าซที่ลดลงถึงร้อยละ 4.1 เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่น
ผิดปกติส่งผลให้ความต้องการพลังงานสำหรับทำความร้อนลดลง รวมถึงการเปิดใช้ท่อส่งก๊าซใหม่จำนวน 2 แห่ง ทำให้ทางการอังกฤษต้องนำเข้า
ก๊าซเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าต้องนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังมีสัญญาณที่ดี
เนื่องจากผลผลิตโรงงานซึ่งเป็นส่วนประกอบของผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเหนือความคาดหมายร้อยละ 0.2 แต่บรรดานักวิเคราะห์มีความเห็นว่า
อาจเป็นสัญญาณที่ดีเพียงในระยะสั้น เนื่องจากผู้ผลิตยังคงต้องประสบกับภาวะต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นและภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่อาจ
กระทบต่อความต้องการสินค้าอุตสาหกรรม อนึ่ง ONS ยังคงเชื่อมั่นว่าตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมจะไม่สงผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ซึ่งประมาณการว่าจะเติบโตร้อยละ 0.8 ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 49 (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 รายงานจากโซลเมื่อ 8 ก.พ.50 ธ.กลางเกาหลีใต้
เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 4.50
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 หลังจากที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ในช่วงระหว่างเดือน ต.ค.49-ส.ค.50 เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ
และสกัดกั้นการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากของราคาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
เกาหลีใต้ว่ากำลังประสบภาวะชะลอตัว (รอยเตอร์)
4. คาดว่าในเดือน ธ.ค. การส่งออกของมาเลเซียชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.5 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 50
ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่า ในเดือน ธ.ค. 49 การส่งออกของมาเลเซียชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ที่ร้อยละ 8.5 หลังจาก
ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในเดือน พ.ย. ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 17.5 เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวทำให้คำสั่งซื้อสินค้าลดลง
ทั้งนี้รัฐบาลมาเลเซียมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขการส่งออกอย่างเป็นทางการในวันศุกร์นี้เวลา 12.01 น ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์
เห็นว่าการลดลงของการส่งออกในเดือน ธ.ค. ดังกล่าวเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของบางประเทศในภูมิภาคเอเชียอาทิ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
ที่การส่งออกชะลอตัวเช่นเดียวกัน โดยมีความเป็นไปได้ว่าการส่งออกสินค้าที่มิใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ธ.ค. ที่ลดลงจากระยะเดียวกันปี
ก่อนหน้าถึงร้อยละ 14.2 บ่งชี้ว่าความต้องการสินค้าจากทั่วโลกที่อ่อนตัวลงเริ่มกระทบต่อการส่งออกของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแล้ว
อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการแข็งค่าของเงินริงกิตอาจมีส่วนกระทบต่อการส่งออกของมาเลเซียบ้างในเดือนหน้า แต่มิได้เป็นเหตุผล
สำคัญที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวเนื่องจากเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคเอเชียต่างก็แข็งค่าด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ในปีนี้เงินริงกิตมาเลเซียเป็นหนึ่งใน
สกุลเงินที่ดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งที่ผ่านมาเงินริงกิตได้แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 ก.พ. 50 7 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.787 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5811/35.9146 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 675.33/11.59 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 53.79 55.73 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50 25.59*/23.34** 25.59*/22.94 26.49/23.34 ปตท.
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--