สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
---------------------------------
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๘ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกครบองค์ประชุมแล้ว ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้นำสำเนารายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ - ครั้งที่ ๔/๒๕๕๐ วางไว้บริเวณห้องรับรอง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ และห้องสมุดรัฐสภา ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๓ เพื่อให้สมาชิกฯ ได้ตรวจดูรายงานดังกล่าว ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๐ แต่เนื่องจากมีสมาชิกฯ บางท่านไม่ทราบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงได้นำสำเนารายงานการประชุมมาวางไว้บริเวณดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐ ก่อนที่จะบรรจุระเบียบวาระการประชุมเพื่อให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญรับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้ง
๑.๒ เนื่องจากในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๐ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่จังหวัดชลบุรีเป็นเวลา ๕ วัน ดังนั้นจึงขอเลื่อนการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (เป็นพิเศษ) ในวันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา และในวันจันทร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นวันหยุดชดเชย จึงขอเลื่อนการประชุมเป็นวันอังคารที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ได้รายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ ๓ กรอบด้วยกัน คือ
กรอบที่ ๑ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ เรื่องการเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือเสนอ ร่างกฎหมายและการถอดถอนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งทางตรงและ ทางอ้อม
กรอบที่ ๒ ว่าด้วยสถาบันการเมือง อาทิ เรื่องการลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ วุฒิการศึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา การกำหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตละคนแบบเดิม การให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้คะแนนลำดับถัดไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ ที่มาของนายกรัฐมนตรี การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
กรอบที่ ๓ ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล อาทิ เรื่องการกำหนดอายุความในการฟ้องคดีนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐทุจริต การกำหนดงบประมาณให้แก่องค์กรอิสระในจำนวนที่ ชัดเจนตามสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
จากนั้น นายภุชงค์ นุตราวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านการ มีส่วนร่วมได้รายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยผ่านช่องทาง ๑๐ ช่องทางของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดทั้ง ๗๖ จังหวัด ดังนี้
๑. เปิดตู้ ปณ.
๒. แสดงความคิดเห็นโดยตรงผ่านสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
๓. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด
๔. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
๕. ทำแบบสอบถาม
๖. จัดประชุมสัมมนา
๗. เปิดเว็ปไซด์
๘. ทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
๙. จัดเจ้าหน้าที่รับฟังความคิดเห็นในระดับตำบล หมู่บ้าน
๑๐. เสียงตามสาย (หอกระจายข่าว)
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายเรียกร้องให้สื่อของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ทำความเข้าใจกับประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสมาชิกฯ บางคนได้เสนอให้ช่อง ๙ อสมท. จัดเวลาเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายสิทธิศักดิ์ เอกพจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ชี้แจงว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม อสมท. ได้ใช้สื่อทั้งโทรทัศน์และวิทยุดำเนินการจัด รายการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งช่วงข่าวภาคค่ำได้มีสกู๊ปพิเศษเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญทุกคืนและวันเสาร์ช่วงเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ก็จะมีรายการพิเศษ และยังริเริ่มที่จะจัดรายการช่วงบ่ายวันพุธและวันศุกร์ และสถานีวิทยุยังมีรายการรัฐธรรมนูญในช่วงเช้าและเย็น ช่วงละ ๑ ชั่วโมง ที่คลื่นความถี่ เอฟ เอ็ม ๙๖.๕ และ ๑๐๐.๕ เมกะเฮิร์ต
หลังจากที่สมาชิกฯ ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในประเด็นต่าง ๆ จากผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ ๔ ภาคแล้วนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติได้รายงานถึงแผนการทำงานหลังร่างรัฐธรรมนูญว่าร่างแรกเสร็จวันที่ ๑๙ เมษายนนี้แล้ว จะเดินสายรับฟังเสียงประชาชนและจะนำข้อเสนอ มาให้คณะ กรรมาธิการยกร่างฯ พิจารณาและจะนำประเด็นใหม่ ๆ ที่ยังไม่ได้รับฟังจากประชาชนในครั้งแรก ไปถามประชาชน พร้อมกับจะส่งตัวร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และจะมีหนังสือคำอธิบายเหตุผลรายมาตราของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ รวมทั้งให้คณะกรรมาธิการ ยกร่างฯ เดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ เพื่ออธิบายข้อสงสัย พร้อมจะบันทึกเทปคำอธิบายที่คณะ กรรมาธิการยกร่างฯ ต้องการอธิบายประเด็นละ ๕-๘ นาที จัดทำเป็นซีดีแจกจ่ายไปยัง ๗๖ จังหวัด หรือให้ประชาชนเรียนรู้และพร้อมลงประชามติ
จากนั้น นายปกรณ์ ปรียาภรณ์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ชี้แจงว่า ร่างแรกจะเสร็จในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐ และจะใช้เวลาพิมพ์ ๑ สัปดาห์ โดยจะแจกจ่ายให้สื่อ เพื่อนำไปตีพิมพ์ แต่ได้มีสมาชิกฯ เห็นว่า ถ้าเสร็จช้าไปเพียง ๑ สัปดาห์ แผนการทำงานของ คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนภาคต่าง ๆ จะเสียไป และมีปัญหาการเข้าถึงประชาชน
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (เลื่อนการพิจารณา)
๕. เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
---------------------------------------
วันจันทร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐
---------------------------------
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๘ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกครบองค์ประชุมแล้ว ประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้นำสำเนารายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ - ครั้งที่ ๔/๒๕๕๐ วางไว้บริเวณห้องรับรอง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ และห้องสมุดรัฐสภา ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๓ เพื่อให้สมาชิกฯ ได้ตรวจดูรายงานดังกล่าว ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๐ แต่เนื่องจากมีสมาชิกฯ บางท่านไม่ทราบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงได้นำสำเนารายงานการประชุมมาวางไว้บริเวณดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐ ก่อนที่จะบรรจุระเบียบวาระการประชุมเพื่อให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญรับรองรายงานการประชุมทั้ง ๔ ครั้ง
๑.๒ เนื่องจากในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๐ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญที่จังหวัดชลบุรีเป็นเวลา ๕ วัน ดังนั้นจึงขอเลื่อนการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (เป็นพิเศษ) ในวันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา และในวันจันทร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๐ เป็นวันหยุดชดเชย จึงขอเลื่อนการประชุมเป็นวันอังคารที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ได้รายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ ๓ กรอบด้วยกัน คือ
กรอบที่ ๑ ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ เรื่องการเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือเสนอ ร่างกฎหมายและการถอดถอนการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งทางตรงและ ทางอ้อม
กรอบที่ ๒ ว่าด้วยสถาบันการเมือง อาทิ เรื่องการลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ วุฒิการศึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา การกำหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตละคนแบบเดิม การให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้คะแนนลำดับถัดไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ ที่มาของนายกรัฐมนตรี การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
กรอบที่ ๓ ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล อาทิ เรื่องการกำหนดอายุความในการฟ้องคดีนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐทุจริต การกำหนดงบประมาณให้แก่องค์กรอิสระในจำนวนที่ ชัดเจนตามสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
จากนั้น นายภุชงค์ นุตราวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านการ มีส่วนร่วมได้รายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยผ่านช่องทาง ๑๐ ช่องทางของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดทั้ง ๗๖ จังหวัด ดังนี้
๑. เปิดตู้ ปณ.
๒. แสดงความคิดเห็นโดยตรงผ่านสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
๓. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด
๔. จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น
๕. ทำแบบสอบถาม
๖. จัดประชุมสัมมนา
๗. เปิดเว็ปไซด์
๘. ทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
๙. จัดเจ้าหน้าที่รับฟังความคิดเห็นในระดับตำบล หมู่บ้าน
๑๐. เสียงตามสาย (หอกระจายข่าว)
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายเรียกร้องให้สื่อของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ทำความเข้าใจกับประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสมาชิกฯ บางคนได้เสนอให้ช่อง ๙ อสมท. จัดเวลาเพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายสิทธิศักดิ์ เอกพจน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ได้ชี้แจงว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม อสมท. ได้ใช้สื่อทั้งโทรทัศน์และวิทยุดำเนินการจัด รายการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งช่วงข่าวภาคค่ำได้มีสกู๊ปพิเศษเกี่ยวกับเรื่องรัฐธรรมนูญทุกคืนและวันเสาร์ช่วงเวลา ๒๒.๐๐ นาฬิกา ก็จะมีรายการพิเศษ และยังริเริ่มที่จะจัดรายการช่วงบ่ายวันพุธและวันศุกร์ และสถานีวิทยุยังมีรายการรัฐธรรมนูญในช่วงเช้าและเย็น ช่วงละ ๑ ชั่วโมง ที่คลื่นความถี่ เอฟ เอ็ม ๙๖.๕ และ ๑๐๐.๕ เมกะเฮิร์ต
หลังจากที่สมาชิกฯ ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในประเด็นต่าง ๆ จากผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ ๔ ภาคแล้วนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติได้รายงานถึงแผนการทำงานหลังร่างรัฐธรรมนูญว่าร่างแรกเสร็จวันที่ ๑๙ เมษายนนี้แล้ว จะเดินสายรับฟังเสียงประชาชนและจะนำข้อเสนอ มาให้คณะ กรรมาธิการยกร่างฯ พิจารณาและจะนำประเด็นใหม่ ๆ ที่ยังไม่ได้รับฟังจากประชาชนในครั้งแรก ไปถามประชาชน พร้อมกับจะส่งตัวร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และจะมีหนังสือคำอธิบายเหตุผลรายมาตราของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ รวมทั้งให้คณะกรรมาธิการ ยกร่างฯ เดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ เพื่ออธิบายข้อสงสัย พร้อมจะบันทึกเทปคำอธิบายที่คณะ กรรมาธิการยกร่างฯ ต้องการอธิบายประเด็นละ ๕-๘ นาที จัดทำเป็นซีดีแจกจ่ายไปยัง ๗๖ จังหวัด หรือให้ประชาชนเรียนรู้และพร้อมลงประชามติ
จากนั้น นายปกรณ์ ปรียาภรณ์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้ชี้แจงว่า ร่างแรกจะเสร็จในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐ และจะใช้เวลาพิมพ์ ๑ สัปดาห์ โดยจะแจกจ่ายให้สื่อ เพื่อนำไปตีพิมพ์ แต่ได้มีสมาชิกฯ เห็นว่า ถ้าเสร็จช้าไปเพียง ๑ สัปดาห์ แผนการทำงานของ คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนภาคต่าง ๆ จะเสียไป และมีปัญหาการเข้าถึงประชาชน
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (เลื่อนการพิจารณา)
๕. เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๔๕ นาฬิกา
---------------------------------------