กรุงเทพ--19 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับไปรษณีย์ไทยและไปรษณีย์สวิตเซอร์แลนด์ทำบัตรภาพตราไปรษณียากรไทย-สวิส เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี (ร่วมแถลงโดยนายประดาป พิบูลสงคราม รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นางสาวจีรกานต์ ใคร่ครวญ ผู้จัดการฝ่ายตลาดตราไปรษณียากร และนายสมบูรณ์
บุญโพธิ์ทอง หัวหน้างานจัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึก บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด)
กระทรวงการต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ร่วมกับไปรษณีย์สวิตเซอร์แลนด์ และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้จัดทำบัตรภาพตราไปรษณียากรไทย-สวิส จำนวน 2,000 ชุด โดยจะจัดจำหน่ายในประเทศไทย 700 ชุด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และฉลอง 75 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้ รายได้ทั้งหมดจากการจัดจำหน่ายจะมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนา
การจัดพิพม์บัตรภาพไปรษณียากรครั้งนี้ เป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกับสวิตเซอร์แลนด์มีความสัมพันธ์ระหว่างกันมายาวนาน โดยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อปี 2474 ซึ่งไทยและสวิสเซอร์แลนด์ต่างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาโดยตลอด โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยประทับและทรงศึกษาที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
บัตรภาพตราไปรษณียากร 1 ชุด ประกอบด้วย บัตรภาพ 3 ใบ โดยบัตรภาพ แต่ละใบบรรจุดวงตราไปรษณียากรไทย 2 ดวง และดวงตราไปรษณียากรสวิส 1 ดวง รวมทั้งสิ้น 9 ดวง โดยจะมีการตอกตราประทับคู่กรุงเทพฯ และกรุงเบิร์น ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2549 จำหน่ายราคาชุดละ 999 บาท
ผู้สนใจสามารถสั่งจองได้ทางเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น rtebern@gmail.com และรับบัตรภาพตราไปรษณียากรฯ พร้อมชำระเงินได้ที่นายสุวพงศ์ ศิริสรณ์ กองยุโรป 3 กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 02 643-5143
2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 20-25 เมษายน 2550 ซึ่งเป็นการเยือนตะวันออกกลางครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นมิตรประเทศที่สำคัญของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนาน
ราชอาณาจักรบาห์เรน (20 — 22 เมษายน 2550)
ระหว่างการเยือน นายนิตย์ฯ มีกำหนดเข้าเฝ้า H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีและจะเข้าพบ H.E. Shaikh Khalid bin Ahmed Al Khalifa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยคาดว่า ทั้งสองฝ่ายจะได้หารือประเด็นความสัมพันธ์ และความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างกัน คือ การจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน ครั้งที่ 2 และการขอรับการสนับสนุนเพื่อเชื่อมไทยกับตะวันออกกลางโดยเฉพาะในเวทีการประชุมองค์การการประชุมอิสลาม นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงให้ฝ่ายบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทราบถึงแนวทางของรัฐบาล และพัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนแนวทางและความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทยด้วย
ในด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะหารือเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจของไทยในการใช้บาห์เรนเป็นฐานในการเข้าสู่ตะวันออกกลางทั้งในด้านสินค้าและบริการ อาทิ สินค้าฮาลาล นอกจากนี้ ยังมีกำหนดเยี่ยมชมศูนย์ Thai Business Center และเยี่ยมเยือนคนไทยในบาห์เรน ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2,000 คน ด้วย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (22 — 25 เมษายน 2550)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการเข้าเฝ้า H.H. General Sheikh Mohammed bin Zayed Al Nahyan มกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี พบหารือกับ H.E. Mohammed Hussein Al Shaali รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านการต่างประเทศ และเข้าเฝ้า H.H. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเจ้าผู้ครองรัฐดูไบ
ทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือประเด็นทวิภาคีต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะการส่งเสริมการค้าและการลงทุน เช่น การส่งออกอาหารฮาลาล การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการบริการทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งนี้ จะมีการลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการไทย-สหรัฐอาหรับ-เอมิเรตส์ เพื่อตั้งคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ของสองประเทศ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานในการเปิดการสัมมนาระดมสมองเพื่อเน้นการขยายโอกาสของนักธุรกิจไทยในรัฐดูไบ และจะเข้าพบ Dr. Omar bin Sulaiman ผู้ว่าการ Dubai International Financial Centre (DIFC) และจะเข้าเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุปโครงการทางเศรษฐกิจต่างๆ ในดูไบ ตลอดจนเยี่ยมเยียนนักเรียน/นักศึกษาไทยที่ได้รับทุนรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษาด้วย
3. รัฐบาลอียิปต์ทูลเกล้าฯ ถวายต้นมะกอกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 นาย Mohamed Ashraf Mohamed Kamel El Kholy ออท.อียิปต์ประจำประเทศไทย ได้เข้าพบนายพิษณุ จันทร์วิทัน อธิบดีกรมเอเชียใต้ฯ และแจ้งว่า ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา รัฐบาลอียิปต์มีความประสงค์ที่จะทูลเกล้าฯ ถวายต้นมะกอกสายพันธุ์อียิปต์จำนวน 80 ต้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยรัฐบาลอียิปต์จะได้ประสานกับเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรของอียิปต์ในการส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินในประเทศไทยว่า มีความเหมาะสมหรือไม่
ในชั้นนี้ คาดว่า ประเทศไทยมีความเหมาะสมในการปลูกต้นมะกอกซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
4. กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยร่วมมือกับรัฐบาลกัมพูชาเดินหน้าโครงการ
การพัฒนาเด็กเคลื่อนที่ และโครงการจัดตั้งหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 นายอิทธิพร บุญประคอง รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และนายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทย เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดำเนินโครงการการพัฒนาเด็กเคลื่อนที่บนถนนหมายเลข 67 (สะงำ - อันลองเวง - เสียมราฐ) ในจังหวัดอุดรมีชัย และโครงการจัดตั้งหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนถนนหมายเลข 48 (เกาะกง - สแรอัมเบิล) ในจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา ตามที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาได้เห็นชอบร่วมกันไว้
โครงการการพัฒนาเด็กเคลื่อนที่ฯ เป็นโครงการนำร่องเพื่อปูทางไปสู่การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กอย่างถาวร ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 11 และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จะเข้าไปดำเนินการในลักษณะเคลื่อนที่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2550 โดยทำการคัดเลือกอาสาสมัครเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักวิชาการเพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่บิดามารดา/ผู้ปกครองของเด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณถนนหมายเลข 67 (สะงำ - อันลองเวง - เสียมราฐ) ต่อไป
โครงการจัดตั้งหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนเป้าหมายบริเวณถนนหมายเลข 48 (เกาะกง - สแรอัมเบิล) ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อช่วยในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านให้ดีขึ้น อันจะช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้าใจกันระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศในที่สุด ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 2 และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตราด จะเริ่มดำเนินโครงการฯ ในช่วงเดือนเมษายน - กันยายน 2550
ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่กัมพูชาในการพัฒนาถนนหมายเลข 48 และหมายเลข 67 เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงภาคตะวันออกของไทยกับภาคตะวันตกของกัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยกับภาคเหนือของกัมพูชา โดยนอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการไปมาหาสู่กันซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศอีกด้วย
ดังนั้น การดำเนินโครงการทั้งสองข้างต้น จึงเป็นอีกความพยายามหนึ่งของรัฐบาลที่จะ “สานต่อ” ความช่วยเหลือที่ให้กับกัมพูชา และช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนกัมพูชาในท้องถิ่น เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาถนนหมายเลข 48 และ 67 ได้อย่างเต็มที่ต่อไปในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับไปรษณีย์ไทยและไปรษณีย์สวิตเซอร์แลนด์ทำบัตรภาพตราไปรษณียากรไทย-สวิส เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี (ร่วมแถลงโดยนายประดาป พิบูลสงคราม รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นางสาวจีรกานต์ ใคร่ครวญ ผู้จัดการฝ่ายตลาดตราไปรษณียากร และนายสมบูรณ์
บุญโพธิ์ทอง หัวหน้างานจัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึก บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด)
กระทรวงการต่างประเทศโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ร่วมกับไปรษณีย์สวิตเซอร์แลนด์ และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้จัดทำบัตรภาพตราไปรษณียากรไทย-สวิส จำนวน 2,000 ชุด โดยจะจัดจำหน่ายในประเทศไทย 700 ชุด เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และฉลอง 75 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้ รายได้ทั้งหมดจากการจัดจำหน่ายจะมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนา
การจัดพิพม์บัตรภาพไปรษณียากรครั้งนี้ เป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกับสวิตเซอร์แลนด์มีความสัมพันธ์ระหว่างกันมายาวนาน โดยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อปี 2474 ซึ่งไทยและสวิสเซอร์แลนด์ต่างมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาโดยตลอด โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยประทับและทรงศึกษาที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
บัตรภาพตราไปรษณียากร 1 ชุด ประกอบด้วย บัตรภาพ 3 ใบ โดยบัตรภาพ แต่ละใบบรรจุดวงตราไปรษณียากรไทย 2 ดวง และดวงตราไปรษณียากรสวิส 1 ดวง รวมทั้งสิ้น 9 ดวง โดยจะมีการตอกตราประทับคู่กรุงเทพฯ และกรุงเบิร์น ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2549 จำหน่ายราคาชุดละ 999 บาท
ผู้สนใจสามารถสั่งจองได้ทางเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น rtebern@gmail.com และรับบัตรภาพตราไปรษณียากรฯ พร้อมชำระเงินได้ที่นายสุวพงศ์ ศิริสรณ์ กองยุโรป 3 กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 02 643-5143
2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการ
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางเยือนราชอาณาจักรบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 20-25 เมษายน 2550 ซึ่งเป็นการเยือนตะวันออกกลางครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นมิตรประเทศที่สำคัญของไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนาน
ราชอาณาจักรบาห์เรน (20 — 22 เมษายน 2550)
ระหว่างการเยือน นายนิตย์ฯ มีกำหนดเข้าเฝ้า H.H. Shaikh Khalifa bin Salman Al Khalifa นายกรัฐมนตรีและจะเข้าพบ H.E. Shaikh Khalid bin Ahmed Al Khalifa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยคาดว่า ทั้งสองฝ่ายจะได้หารือประเด็นความสัมพันธ์ และความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างกัน คือ การจัดประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-บาห์เรน ครั้งที่ 2 และการขอรับการสนับสนุนเพื่อเชื่อมไทยกับตะวันออกกลางโดยเฉพาะในเวทีการประชุมองค์การการประชุมอิสลาม นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะได้ใช้โอกาสนี้ชี้แจงให้ฝ่ายบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทราบถึงแนวทางของรัฐบาล และพัฒนาการด้านการเมืองและเศรษฐกิจของไทย ตลอดจนแนวทางและความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาภาคใต้ของไทยด้วย
ในด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะหารือเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจของไทยในการใช้บาห์เรนเป็นฐานในการเข้าสู่ตะวันออกกลางทั้งในด้านสินค้าและบริการ อาทิ สินค้าฮาลาล นอกจากนี้ ยังมีกำหนดเยี่ยมชมศูนย์ Thai Business Center และเยี่ยมเยือนคนไทยในบาห์เรน ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2,000 คน ด้วย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (22 — 25 เมษายน 2550)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการเข้าเฝ้า H.H. General Sheikh Mohammed bin Zayed Al Nahyan มกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี พบหารือกับ H.E. Mohammed Hussein Al Shaali รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านการต่างประเทศ และเข้าเฝ้า H.H. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและเจ้าผู้ครองรัฐดูไบ
ทั้งสองฝ่ายจะมีการหารือประเด็นทวิภาคีต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะการส่งเสริมการค้าและการลงทุน เช่น การส่งออกอาหารฮาลาล การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการบริการทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ทั้งนี้ จะมีการลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและวิชาการไทย-สหรัฐอาหรับ-เอมิเรตส์ เพื่อตั้งคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ของสองประเทศ
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นประธานในการเปิดการสัมมนาระดมสมองเพื่อเน้นการขยายโอกาสของนักธุรกิจไทยในรัฐดูไบ และจะเข้าพบ Dr. Omar bin Sulaiman ผู้ว่าการ Dubai International Financial Centre (DIFC) และจะเข้าเยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุปโครงการทางเศรษฐกิจต่างๆ ในดูไบ ตลอดจนเยี่ยมเยียนนักเรียน/นักศึกษาไทยที่ได้รับทุนรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษาด้วย
3. รัฐบาลอียิปต์ทูลเกล้าฯ ถวายต้นมะกอกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 นาย Mohamed Ashraf Mohamed Kamel El Kholy ออท.อียิปต์ประจำประเทศไทย ได้เข้าพบนายพิษณุ จันทร์วิทัน อธิบดีกรมเอเชียใต้ฯ และแจ้งว่า ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา รัฐบาลอียิปต์มีความประสงค์ที่จะทูลเกล้าฯ ถวายต้นมะกอกสายพันธุ์อียิปต์จำนวน 80 ต้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยรัฐบาลอียิปต์จะได้ประสานกับเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรของอียิปต์ในการส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินในประเทศไทยว่า มีความเหมาะสมหรือไม่
ในชั้นนี้ คาดว่า ประเทศไทยมีความเหมาะสมในการปลูกต้นมะกอกซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
4. กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยร่วมมือกับรัฐบาลกัมพูชาเดินหน้าโครงการ
การพัฒนาเด็กเคลื่อนที่ และโครงการจัดตั้งหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2550 นายอิทธิพร บุญประคอง รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ และนายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทย เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการดำเนินโครงการการพัฒนาเด็กเคลื่อนที่บนถนนหมายเลข 67 (สะงำ - อันลองเวง - เสียมราฐ) ในจังหวัดอุดรมีชัย และโครงการจัดตั้งหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนถนนหมายเลข 48 (เกาะกง - สแรอัมเบิล) ในจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา ตามที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาได้เห็นชอบร่วมกันไว้
โครงการการพัฒนาเด็กเคลื่อนที่ฯ เป็นโครงการนำร่องเพื่อปูทางไปสู่การจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กอย่างถาวร ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 11 และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ จะเข้าไปดำเนินการในลักษณะเคลื่อนที่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2550 โดยทำการคัดเลือกอาสาสมัครเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักวิชาการเพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่บิดามารดา/ผู้ปกครองของเด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณถนนหมายเลข 67 (สะงำ - อันลองเวง - เสียมราฐ) ต่อไป
โครงการจัดตั้งหมู่บ้านตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ เป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนเป้าหมายบริเวณถนนหมายเลข 48 (เกาะกง - สแรอัมเบิล) ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อช่วยในการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านให้ดีขึ้น อันจะช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้าใจกันระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศในที่สุด ทั้งนี้ ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 2 และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตราด จะเริ่มดำเนินโครงการฯ ในช่วงเดือนเมษายน - กันยายน 2550
ประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนแก่กัมพูชาในการพัฒนาถนนหมายเลข 48 และหมายเลข 67 เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงภาคตะวันออกของไทยกับภาคตะวันตกของกัมพูชา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยกับภาคเหนือของกัมพูชา โดยนอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการไปมาหาสู่กันซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศอีกด้วย
ดังนั้น การดำเนินโครงการทั้งสองข้างต้น จึงเป็นอีกความพยายามหนึ่งของรัฐบาลที่จะ “สานต่อ” ความช่วยเหลือที่ให้กับกัมพูชา และช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนกัมพูชาในท้องถิ่น เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาถนนหมายเลข 48 และ 67 ได้อย่างเต็มที่ต่อไปในอนาคต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-