กระทรวงการคลังโดยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทยโดย Fitch Ratings เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2550 เวลาประมาณ 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย โดย Fitch ได้ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Long-term Foreign Currency Rating) ที่ระดับ BBB+ ระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Long - term Local Currency Rating) ที่ระดับ A และระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้น (Short — term Rating) ที่ระดับ F2 พร้อมทั้งยืนยันระดับเครดิตของประเทศ (Country Ceiling) ที่ระดับ A- โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ดังนี้
1. ความแข็งแกร่งทางสถานะด้านการเงินต่างประเทศและการคลังของรัฐบาลที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ Fitch ยังคงยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทย แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่ โดยความยุ่งเหยิงทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบทางลบต่อพื้นฐานทางเครดิตของประเทศไทยแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม Fitch ยังให้ความเห็นอีกว่าแนวโน้มความน่าเชื่อถือของประเทศอาจจะมีปัญหาได้ หากสถานการณ์ทางการเมืองยังคงยืดเยื้อต่อไป ขณะที่รัฐบาลชั่วคราวไม่สามารถบริหารนโยบายทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
2. Fitch เห็นว่า มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าที่ประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2549 ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ อย่างไรก็ดี ต่อมาได้มีการประกาศผ่อนปรนมาตรการดังกล่าว ทำให้สถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น สถานะด้านต่างประเทศของไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP ในปี 2549 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากดุลการค้าที่เกินดุล สินทรัพย์ต่างประเทศ (Gross External Asset) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37 ในขณะที่หนี้ต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงเหลือร้อยละ 29.6 ของ GDP สถานะการเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิของไทยจึงแข็งแกร่งขึ้นด้วย โดยมีสถานะเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิประมาณร้อยละ 16 ของ GDP
3. สถานะด้านการคลัง การขาดดุลการคลังของรัฐบาลลดลงเหลือร้อยละ 0.3 ของ GDP (ซึ่งมีระดับที่ดีกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ในปีงบประมาณ 2549 จากเดิมอยู่ทีร้อยละ 1.8 ในปีงบประมาณ 2548 การลดลงอย่างเห็นได้ชัดในการใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง เป็นสาเหตุหลักในการปรับตัวดีขึ้นของการขาดดุลการคลัง หนี้โดยตรงของรัฐบาลลดลงเหลือร้อยละ 28.7 ของ GDP (ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ในปีงบประมาณ 2549 จากเดิมร้อยละ 31.9 ในปีงบประมาณ 2548 จากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลกลางและหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
4. Fitch คาดว่าดุลการคลังจะขาดดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในปีงบประมาณ 2550 เนื่องจากการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นจากภาระทางการคลังที่เกิดจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ก่อนที่จะลดลงเหลือร้อยละ 1.4 ในปีงบประมาณ 2551 อันเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และแม้จะมีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นจากโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (mass-transit projects) ระหว่างปี 2550-2556 (มูลค่า 219 พันล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของ GDP ณ ปี 2549) Fitch คาดว่า หนี้ของรัฐบาลจะยังคงที่ในระดับร้อยละ 28 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2550-2551
5. Fitch มีความเห็นว่า แม้ว่าการลือกตั้งจะมีขึ้นในปลายปี 2550 แต่ยังคงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้ง รวมทั้งนโยบายและความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจจะมีอยู่ในปี 2551 โดย Fitch คาดการณ์ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ในปี 2550 เนื่องจากการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน อย่าไรก็ตาม หากสถานการณ์ทางเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นจากการฟื้นคืนของระบอบประชาธิปไตย Fitch คาดว่า อุปสงค์ภายในประเทศจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้สามารถขยายตัวได้สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2551
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง
0-2265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 40/2550 11 พฤษภาคม 50--
1. ความแข็งแกร่งทางสถานะด้านการเงินต่างประเทศและการคลังของรัฐบาลที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ Fitch ยังคงยืนยันระดับเครดิตของประเทศไทย แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนทางการเมืองอยู่ โดยความยุ่งเหยิงทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบทางลบต่อพื้นฐานทางเครดิตของประเทศไทยแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม Fitch ยังให้ความเห็นอีกว่าแนวโน้มความน่าเชื่อถือของประเทศอาจจะมีปัญหาได้ หากสถานการณ์ทางการเมืองยังคงยืดเยื้อต่อไป ขณะที่รัฐบาลชั่วคราวไม่สามารถบริหารนโยบายทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
2. Fitch เห็นว่า มาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าที่ประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2549 ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ อย่างไรก็ดี ต่อมาได้มีการประกาศผ่อนปรนมาตรการดังกล่าว ทำให้สถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น สถานะด้านต่างประเทศของไทยยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และการเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP ในปี 2549 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากดุลการค้าที่เกินดุล สินทรัพย์ต่างประเทศ (Gross External Asset) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37 ในขณะที่หนี้ต่างประเทศมีแนวโน้มลดลงเหลือร้อยละ 29.6 ของ GDP สถานะการเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิของไทยจึงแข็งแกร่งขึ้นด้วย โดยมีสถานะเจ้าหนี้ต่างประเทศสุทธิประมาณร้อยละ 16 ของ GDP
3. สถานะด้านการคลัง การขาดดุลการคลังของรัฐบาลลดลงเหลือร้อยละ 0.3 ของ GDP (ซึ่งมีระดับที่ดีกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ในปีงบประมาณ 2549 จากเดิมอยู่ทีร้อยละ 1.8 ในปีงบประมาณ 2548 การลดลงอย่างเห็นได้ชัดในการใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง เป็นสาเหตุหลักในการปรับตัวดีขึ้นของการขาดดุลการคลัง หนี้โดยตรงของรัฐบาลลดลงเหลือร้อยละ 28.7 ของ GDP (ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศในกลุ่มที่มีระดับเครดิต BBB) ในปีงบประมาณ 2549 จากเดิมร้อยละ 31.9 ในปีงบประมาณ 2548 จากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลกลางและหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
4. Fitch คาดว่าดุลการคลังจะขาดดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในปีงบประมาณ 2550 เนื่องจากการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นจากภาระทางการคลังที่เกิดจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ก่อนที่จะลดลงเหลือร้อยละ 1.4 ในปีงบประมาณ 2551 อันเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และแม้จะมีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นจากโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ (mass-transit projects) ระหว่างปี 2550-2556 (มูลค่า 219 พันล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของ GDP ณ ปี 2549) Fitch คาดว่า หนี้ของรัฐบาลจะยังคงที่ในระดับร้อยละ 28 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2550-2551
5. Fitch มีความเห็นว่า แม้ว่าการลือกตั้งจะมีขึ้นในปลายปี 2550 แต่ยังคงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้ง รวมทั้งนโยบายและความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจจะมีอยู่ในปี 2551 โดย Fitch คาดการณ์ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ในปี 2550 เนื่องจากการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน อย่าไรก็ตาม หากสถานการณ์ทางเมืองมีความชัดเจนมากขึ้นจากการฟื้นคืนของระบอบประชาธิปไตย Fitch คาดว่า อุปสงค์ภายในประเทศจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้สามารถขยายตัวได้สูงกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2551
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
กระทรวงการคลัง
0-2265-8050 ต่อ 5214
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 40/2550 11 พฤษภาคม 50--