ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ในด้านอุปสงค์ เครื่องชี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางชะลอลง
ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลหลักยังคงขยายตัวได้ดีแต่ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
จากการชะลอตัวทั้งราคาและผลผลิต เช่นเดียวกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอลงจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น
โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในฝั่งอันดามัน
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามหมวดยานยนต์ที่หดตัวตาม
การผลิตรถยนต์นั่งซึ่งผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอรถยนต์รุ่นใหม่ และหมวดสิ่งทอและหมวดเครื่องเรือนที่ประสบภาวะแข่งขันสูง อย่างไรก็ตาม
การผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวดีตามการผลิต Hard Disk Drive หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการเร่งผลิตเครื่องปรับอากาศเพื่อส่งออก
หลังจากเกิดปัญหาความล่าช้าในการผลิตในเดือนก่อน และหมวดอาหาร เพิ่มขึ้นตามการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งและน้ำตาลเป็นสำคัญ
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.5 ลดลงจากร้อยละ 76.3 ในเดือนก่อนตามปัจจัย
ฤดูกาลที่เดือนนี้มีจำนวนวันทำการน้อยและบางหมวดมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์เคมีและหมวดกระดาษ อย่างไรก็ดี
เมื่อปรับฤดูกาลแล้วตราการใช้กำลังการผลิตใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามเครื่องชี้ที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและ
รถจักรยานยนต์ซึ่งยังคงหดตัว ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภครอการเปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน
และแก๊สโซฮอล์และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับการลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มชะลอตัว
ต่อเนื่องตามเครื่องชี้ที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์และปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องจาก
เดือนก่อน
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 117.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ตามการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภคเป็นสำคัญ ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะภาษียาสูบ สำหรับภาษีจากฐานรายได้ชะลอลงตามภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน แม้ว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและรายได้ปิโตรเลียมยังคง
ขยายตัว ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 97.1 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลง 75.3 พันล้านบาทมาอยู่ที่ 44.5 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ เดือนมกราคม 2550 ดุลการค้า เกินดุล 808 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 17.8 คิดเป็นมูลค่า 10,373 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก และผลิตภัณฑ์เคมี ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 9,565 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอตัวตามการนำเข้าสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภค เมื่อรวมกับดุลบริการแล้ว ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1,536 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุล 2,430 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนจากเดือนก่อน ที่เกินดุล 1,442 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากภาคธนาคารพาณิชย์ที่มีเงินทุนไหลออกจากการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นสำคัญ แม้ว่าภาคธุรกิจอื่นมีการเกินดุลจากเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยรวมแล้วดุลการชำระเงินเกินดุล 147 ล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เนื่องจากกรมศุลกากรเลื่อนกำหนดการเผยแพร่ข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลด้านการค้าในเดือนนี้ สำหรับ
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 541 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผล
ภาคเอกชน ทั้งนี้ ดุลการชำระเงิน เกินดุล 834 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2550 อยู่ที่ระดับ 68.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ มียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิจำนวน 8.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ลดลงจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อนหน้า จากการปรับลดลงของราคาในหมวดอาหารและ
เครื่องดื่ม หมวดพาหนะ และหมวดเคหสถาน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงจากร้อยละ 1.6 ในเดือนก่อน ตามการชะลอลง
ของค่าโดยสารสาธารณะ อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เทียบกับร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาในหมวด
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะข้าวสาร ไม้วีเนียร์ เยื่อกระดาษ พลาสติก ปูนซีเมนต์ เหล็ก และทองคำ
6. ภาวะการเงิน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน1/ ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมกราคม สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งขยายตัวใกล้เคียงกับ
เดือนมกราคม อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคมสินเชื่อเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ
ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ฐานเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ยังอยู่ในทิศทางชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับ
เดือนมกราคม ฐานเงินที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชน เนื่องจากเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ปริมาณเงิน
ตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 6.0 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่สถาบันการเงิน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย
ระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับลดลงจากเดือนมกราคมที่เฉลี่ยร้อยละ 4.84 และ 4.86 ต่อปี มาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.74 และร้อยละ 4.77 ต่อปี
ตามลำดับ ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
สำหรับช่วงวันที่ 1-23 มีนาคม 2550 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน
ปรับลดลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.50 และ 4.55 ต่อปี ตามลำดับ ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการ
นโยบายการเงินเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ค่าเงินบาทและ
ดัชนีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากเดือนมกราคมจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่องโดยค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 35.74 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 76.98 ในเดือนมกราคมมาอยู่ที่ระดับ 77.36 จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับค่าเงินของคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ
ระหว่างวันที่ 1-23 มีนาคม 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 35.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ จากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจากข่าวความกังวลต่อคุณภาพหนี้ในตลาดสินเชื่อ
ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศมาจากการที่ผู้ส่งออกคาดว่าอาจมีการยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้า
ระยะสั้น ส่งผลให้ผู้ส่งออกเร่งขายเงินดอลลาร์ สรอ.
30 มีนาคม 2550
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์
โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639
e-mail: punpilay@bot.or.th
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่สังคมเชื่อถือและศรัทธา
1/ สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกแว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลหลักยังคงขยายตัวได้ดีแต่ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
จากการชะลอตัวทั้งราคาและผลผลิต เช่นเดียวกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอลงจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น
โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในฝั่งอันดามัน
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้อลดลงจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามหมวดยานยนต์ที่หดตัวตาม
การผลิตรถยนต์นั่งซึ่งผู้บริโภคชะลอการซื้อเพื่อรอรถยนต์รุ่นใหม่ และหมวดสิ่งทอและหมวดเครื่องเรือนที่ประสบภาวะแข่งขันสูง อย่างไรก็ตาม
การผลิตในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวดีตามการผลิต Hard Disk Drive หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการเร่งผลิตเครื่องปรับอากาศเพื่อส่งออก
หลังจากเกิดปัญหาความล่าช้าในการผลิตในเดือนก่อน และหมวดอาหาร เพิ่มขึ้นตามการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งและน้ำตาลเป็นสำคัญ
สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.5 ลดลงจากร้อยละ 76.3 ในเดือนก่อนตามปัจจัย
ฤดูกาลที่เดือนนี้มีจำนวนวันทำการน้อยและบางหมวดมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์เคมีและหมวดกระดาษ อย่างไรก็ดี
เมื่อปรับฤดูกาลแล้วตราการใช้กำลังการผลิตใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามเครื่องชี้ที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและ
รถจักรยานยนต์ซึ่งยังคงหดตัว ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภครอการเปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน
และแก๊สโซฮอล์และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับการลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มชะลอตัว
ต่อเนื่องตามเครื่องชี้ที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์และปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศที่ลดลงต่อเนื่องจาก
เดือนก่อน
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 117.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ตามการขยายตัวของภาษีจากฐานการบริโภคเป็นสำคัญ ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะภาษียาสูบ สำหรับภาษีจากฐานรายได้ชะลอลงตามภาษีเงินได้นิติบุคคลที่หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน แม้ว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและรายได้ปิโตรเลียมยังคง
ขยายตัว ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 97.1 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลง 75.3 พันล้านบาทมาอยู่ที่ 44.5 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ เดือนมกราคม 2550 ดุลการค้า เกินดุล 808 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 17.8 คิดเป็นมูลค่า 10,373 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก และผลิตภัณฑ์เคมี ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 9,565 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอตัวตามการนำเข้าสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภค เมื่อรวมกับดุลบริการแล้ว ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 1,536 ล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุล 2,430 ล้านดอลลาร์ สรอ. เปลี่ยนจากเดือนก่อน ที่เกินดุล 1,442 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากภาคธนาคารพาณิชย์ที่มีเงินทุนไหลออกจากการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นสำคัญ แม้ว่าภาคธุรกิจอื่นมีการเกินดุลจากเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยรวมแล้วดุลการชำระเงินเกินดุล 147 ล้านดอลลาร์ สรอ.
สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เนื่องจากกรมศุลกากรเลื่อนกำหนดการเผยแพร่ข้อมูล จึงไม่มีข้อมูลด้านการค้าในเดือนนี้ สำหรับ
ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 541 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน จากรายรับจากการท่องเที่ยวที่ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ
เดือนก่อน ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นจากรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเนื่องจากมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผล
ภาคเอกชน ทั้งนี้ ดุลการชำระเงิน เกินดุล 834 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2550 อยู่ที่ระดับ 68.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ มียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิจำนวน 8.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ลดลงจากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อนหน้า จากการปรับลดลงของราคาในหมวดอาหารและ
เครื่องดื่ม หมวดพาหนะ และหมวดเคหสถาน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงจากร้อยละ 1.6 ในเดือนก่อน ตามการชะลอลง
ของค่าโดยสารสาธารณะ อย่างไรก็ดี ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เทียบกับร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาในหมวด
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะข้าวสาร ไม้วีเนียร์ เยื่อกระดาษ พลาสติก ปูนซีเมนต์ เหล็ก และทองคำ
6. ภาวะการเงิน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน1/ ขยายตัวร้อยละ 6.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมกราคม สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 2.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งขยายตัวใกล้เคียงกับ
เดือนมกราคม อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคมสินเชื่อเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ
ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ฐานเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ยังอยู่ในทิศทางชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับ
เดือนมกราคม ฐานเงินที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชน เนื่องจากเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ปริมาณเงิน
ตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 6.0 ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่สถาบันการเงิน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย
ระหว่างธนาคารระยะ 1 วันปรับลดลงจากเดือนมกราคมที่เฉลี่ยร้อยละ 4.84 และ 4.86 ต่อปี มาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.74 และร้อยละ 4.77 ต่อปี
ตามลำดับ ตามทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
สำหรับช่วงวันที่ 1-23 มีนาคม 2550 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน
ปรับลดลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 4.50 และ 4.55 ต่อปี ตามลำดับ ภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการ
นโยบายการเงินเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550
7. ค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินบาท (Nominal Effective Exchange Rate: NEER) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ค่าเงินบาทและ
ดัชนีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากเดือนมกราคมจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่องโดยค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 35.74 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 76.98 ในเดือนมกราคมมาอยู่ที่ระดับ 77.36 จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับค่าเงินของคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ
ระหว่างวันที่ 1-23 มีนาคม 2550 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 35.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ จากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศ ได้แก่ ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องจากข่าวความกังวลต่อคุณภาพหนี้ในตลาดสินเชื่อ
ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศมาจากการที่ผู้ส่งออกคาดว่าอาจมีการยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้า
ระยะสั้น ส่งผลให้ผู้ส่งออกเร่งขายเงินดอลลาร์ สรอ.
30 มีนาคม 2550
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์
โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639
e-mail: punpilay@bot.or.th
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่สังคมเชื่อถือและศรัทธา
1/ สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกแว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--