ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงสามารถขยายตัวได้ เป็นผลมาจากความต้องการในตลาดจีน อินเดีย และประเทศกำลังพัฒนาในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นปัจจัยขับดันที่สำคัญ ตรงข้ามกับเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งเคยเป็นตัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่ใหญ่ที่สุดกลับประสบภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง สาเหตุหลักจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องของ สินเชื่อ Sub-prime Mortgage ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายของประชาชน การค้าปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต
สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ซึ่งมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (ร้อยละ 6.1) โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 นี้ มีแรงขับเคลื่อนหลักจากการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิ รวมทั้งรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลที่ขยายตัว ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5
ภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 เช่น อัตราการใช้กำลังการผลิตที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก การลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ชะลอลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมก็ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 71,781.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 36,775.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 35,005.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.1 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 1,769.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 61,032.18 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -12.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 22,886.49 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 38,145.69 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 310 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.97 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 176,500 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.58 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 100 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 100 โครงการ เป็นเงินลงทุน 50,200 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 โดยพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.26 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 20.12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ semiconductor ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3.71 โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.38 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์
เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ผงซักฟอกและแชมพู : ในไตรมาส 2 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์ อนินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 2 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 46.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดการณ์ว่าจุดต่ำสุดของวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะเกิดขึ้นในปี 2552-2554 จะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตพร้อมกันในจำนวนมหาศาลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจก่อให้เกิดความตึงตัวในหลายๆ ปัจจัย สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทได้ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวางแผนการผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมการเกษตร จะได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพในปัจจุบัน
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีการผลิตลดลง ร้อยละ 12.68 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 5.81 ขณะที่มูลค่าและปริมาณการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.32 และ 4.02 มูลค่าและปริมาณการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.70 และ 45.28 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยในส่วนของความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากภาคก่อสร้างโดยโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ ขณะที่โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 305,901 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.21, 5.79 และ 0.19 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่ 2 กับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 โดยมีการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัว สถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค และนักลงทุน
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ คาดว่าในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 โดยอาศัยการขยายตัวของส่งออก ในขณะที่ตลาดภายในประเทศมีสัญญาณที่ดีจากการที่ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี ความชัดเจนทางการเมือง และการที่บริษัทรถยนต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
พลาสติก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2550 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าในไตรมาสที่ 2 นี้ประเทศไทยได้ดุลการค้าอยู่ประมาณ 107.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เนื่องจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถูกตัด GSP จากประเทศสหรัฐอเมริกา อันอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกควรที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตโดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือขยายตลาดเพื่อรักษามูลค่าการส่งออกของไทยเอาไว้ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นการผลิตต่ำกว่า
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมรองเท้าไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว รายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ส่วนอุตสาหกรรมหนัง, ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและเครื่องใช้สำหรับเดินทางไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ยังมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 และ 14.0 ตามลำดับ
แนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อไปยังประเทศจีนและเวียดนาม เพราะได้เปรียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบต่ำ อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน ส่วนรองเท้าประเภทอื่นๆรวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องหนังโดยทั่วไปยังมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
อาหาร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง ปศุสัตว์ และประมง ลดลงร้อยละ 85.9 50.4 10 และ 5.9 ตามลำดับ โดยการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็นผลจากผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช การผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 50.4 และ 8.7 จากระดับราคาที่สูงขึ้นตามการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ส่งออกได้ลดลง
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า จะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งผลของมาตรการรองรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่างๆ ทั้งในเรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่า และภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่แน่นอน ยังต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้มาตรการเกิดประสิทธิผล ทำให้ผู้บริโภคอาจมีความกังวลและระมัดระวังในเรื่องการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกอื่นๆ เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จากภาวะโลกร้อน และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.43 และ 5.47 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบหลักคือไม้ยางพารา ส่งผลให้ราคาไม้ยางพาราอยู่ในระดับสูง อีกทั้งผลกระทบของราคาน้ำมันและปัจจัยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้ปริมาณการผลิตชะลอตัวลง
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าจะยังทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง แต่ยังมีผลกระทบของปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทที่แข็งและราคาน้ำมันที่ผันผวน
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตยางแท่ง และมีปริมาณการผลิตยางแผ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.89 และ 40.27 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 และลดลงร้อยละ 19.35 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลกระทบให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการในตลาดโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังขยายตัวมากขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าการขยายตัวจะชะลอตัวลงตามการส่งออกที่ชะลอการรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 146.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และ 6.9 เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเตรียมรองรับการพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้า คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ แต่ยังคงมีปัจจัยบวกจากการพิมพ์และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณ 6,491.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.7 เนื่องจากผู้ผลิตสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นร้านขายยา นอกจากนี้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตยังได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างให้ผลิตสินค้าใหม่ๆ รวมถึงขนาดสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า จะขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรและยาต้นตำรับเป็นหลัก
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยรวมลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกาย ลดลงร้อยละ 5.6 , 12.9 และ 2.8 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 4.0 เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการ
ลงนามข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งคาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมา ทั้งนี้จากข้อมูลการส่งออกของไทย ยังพบว่าไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขันของเสื้อผ้าสำเร็จรูปบางประเภท เช่น เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากไหม เป็นต้น
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 19.07 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.77 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวม ลดลงร้อยละ 4.60 และ 9.54 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดที่ลดลง เพราะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550
มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีความแน่นอน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพจะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชน แต่คาดว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านการโหวตและการเลือกตั้งเกิดได้เร็ว สถานการณ์น่าจะดีขึ้นในช่วงกลางปี 2551 สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักในแถบอาเซียนและตลาดใหม่ คือ ประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรปขยายตัวดีขึ้น
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 35.74 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.71 และ 0.35 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในขณะที่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.76 และ 3.28 ตามลำดับ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด และของชำร่วยเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารยังคงมีแนวโน้มลดลงมาตลอดโดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีแนวโน้มลดลงด้วย
อัญมณีและเครื่องประดับ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีการชะลอตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่หดตัวลดลงกว่าร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา อีกทั้งการจำหน่ายได้หดตัวลดลงร้อยละ 14.59 ด้านการส่งออกมีการหดตัวอย่างมากคือ ลดลงร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เนื่องจากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่าที่สูง และการนำเข้าวัตถุดิบก็มีมูลค่าสูงมากเช่นกัน ดังนั้นการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออกและการนำเข้า ด้านการส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเน้นการเพิ่มมูลค่า จึงส่งออกและจำหน่ายในตลาดระดับกลางถึงตลาดระดับบนขึ้นไป ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ราคาสูง ทำให้ปัญหาปัจจัยค่าเงินบาทแข็งมีผลกระทบเล็กน้อย ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าของอุตสาหกรรมนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ย่อมได้รับผลดีจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีในการมีวัตถุดิบที่ต้นทุนถูกลง สามารถนำมาผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ซึ่งมีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 (ร้อยละ 6.1) โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 นี้ มีแรงขับเคลื่อนหลักจากการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิ รวมทั้งรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลที่ขยายตัว ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2550 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 — 4.5
ภาคอุตสาหกรรมไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ตัวชี้วัดต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549 เช่น อัตราการใช้กำลังการผลิตที่จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 53 กลุ่ม ตามการจัดประเภทอุตสาหกรรมมาตรฐานสากล (ISIC) ในระดับ 4 หลัก การลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ชะลอลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและธุรกิจ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมก็ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาและไตรมาสเดียวกันของปี 2549
สถานการณ์การค้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีทิศทางเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 71,781.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 36,775.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 35,005.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.1 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ดุลการค้าเกินดุล 1,769.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคม มีมูลค่ารวม 61,032.18 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -12.06 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 22,886.49 ล้านบาท และเดือนพฤษภาคม 38,145.69 ล้านบาท สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 310 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.97 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีเงินลงทุน 176,500 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.58 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 100 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 25,000 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 100 โครงการ เป็นเงินลงทุน 50,200 ล้านบาท
ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 โดยพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.26 เนื่องจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 20.12 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินค้าฮาร์ตดิสไดรฟ์ (HDD) และ semiconductor ในขณะที่การผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 3.71 โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สีขนาดเล็ก พัดลม สายไฟฟ้า และกระติกน้ำร้อน
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ประมาณการจากแบบจำลองภาวะอุตสาหกรรมรายสาขาของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 7.38 ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวจากผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงค์จากตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ตลาดอียู สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 พบว่า ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 11.20 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นใน HDD ในอัตราการขยายตัวเดียวกันกับภาพรวมอิเล็กทรอนิกส์
เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี ผงซักฟอกและแชมพู : ในไตรมาส 2 ปี 2550 การนำเข้าเคมีภัณฑ์ อนินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 3.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะได้รับผลประโยชน์จากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้ามากกว่าการส่งออก ดังนั้นในช่วงที่ค่าเงินบาทกำลังแข็งค่าขึ้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะสั่งซื้อวัตถุดิบการผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกในอนาคต
ปิโตรเคมี ในไตรมาส 2 ปี 2550 การส่งออกปิโตรเคมีขั้นต้นมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 46.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปิโตรเคมีขั้นกลางมีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปิโตรเคมีขั้นปลายมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.28 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดการณ์ว่าจุดต่ำสุดของวัฏจักรอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่จะเกิดขึ้นในปี 2552-2554 จะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตพร้อมกันในจำนวนมหาศาลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจก่อให้เกิดความตึงตัวในหลายๆ ปัจจัย สำหรับประเทศไทย ปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันและความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาทได้ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและการวางแผนการผลิต ซึ่งอุตสาหกรรมที่ใช้เม็ดพลาสติกเป็นวัตถุดิบหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมการเกษตร จะได้รับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจะได้รับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีเสียรภาพในปัจจุบัน
เหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีการผลิตลดลง ร้อยละ 12.68 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 5.81 ขณะที่มูลค่าและปริมาณการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.32 และ 4.02 มูลค่าและปริมาณการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.70 และ 45.28 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยในส่วนของความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากภาคก่อสร้างโดยโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ ขณะที่โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
ยานยนต์ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 305,901 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.38 โดยมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.21, 5.79 และ 0.19 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่ 2 กับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.18 โดยมีการส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ในขณะที่ตลาดภายในประเทศชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัว สถานการณ์ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค และนักลงทุน
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ คาดว่าในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 โดยอาศัยการขยายตัวของส่งออก ในขณะที่ตลาดภายในประเทศมีสัญญาณที่ดีจากการที่ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี ความชัดเจนทางการเมือง และการที่บริษัทรถยนต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
พลาสติก ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ในส่วนของการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2550 มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากตัวเลขนำเข้า — ส่งออก ของผลิตภัณฑ์พลาสติก พบว่าในไตรมาสที่ 2 นี้ประเทศไทยได้ดุลการค้าอยู่ประมาณ 107.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เนื่องจากค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถูกตัด GSP จากประเทศสหรัฐอเมริกา อันอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกควรที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตโดยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือขยายตลาดเพื่อรักษามูลค่าการส่งออกของไทยเอาไว้ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นการผลิตต่ำกว่า
รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง อุตสาหกรรมรองเท้าไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว รายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ส่วนอุตสาหกรรมหนัง, ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและเครื่องใช้สำหรับเดินทางไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ยังมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 และ 14.0 ตามลำดับ
แนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อไปยังประเทศจีนและเวียดนาม เพราะได้เปรียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบต่ำ อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน ส่วนรองเท้าประเภทอื่นๆรวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องหนังโดยทั่วไปยังมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
อาหาร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) ลดลงร้อยละ 17.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เนื่องจากการผลิตในกลุ่มผักผลไม้ ธัญพืชและแป้ง ปศุสัตว์ และประมง ลดลงร้อยละ 85.9 50.4 10 และ 5.9 ตามลำดับ โดยการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็นผลจากผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดจำนวนมาก ในส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช การผลิตลดลงจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 50.4 และ 8.7 จากระดับราคาที่สูงขึ้นตามการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ส่งออกได้ลดลง
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า จะยังคงมีทิศทางการผลิต การจำหน่ายในประเทศและส่งออกที่ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งผลของมาตรการรองรับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่างๆ ทั้งในเรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่า และภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่แน่นอน ยังต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้มาตรการเกิดประสิทธิผล ทำให้ผู้บริโภคอาจมีความกังวลและระมัดระวังในเรื่องการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอกอื่นๆ เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จากภาวะโลกร้อน และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ
ไม้และเครื่องเรือน ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 9.43 และ 5.47 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบหลักคือไม้ยางพารา ส่งผลให้ราคาไม้ยางพาราอยู่ในระดับสูง อีกทั้งผลกระทบของราคาน้ำมันและปัจจัยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาก ทำให้ปริมาณการผลิตชะลอตัวลง
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าจะยังทรงตัว เพราะถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง แต่ยังมีผลกระทบของปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัว ค่าเงินบาทที่แข็งและราคาน้ำมันที่ผันผวน
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตยางแท่ง และมีปริมาณการผลิตยางแผ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.89 และ 40.27 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 และลดลงร้อยละ 19.35 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลกระทบให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการในตลาดโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังขยายตัวมากขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าการขยายตัวจะชะลอตัวลงตามการส่งออกที่ชะลอการรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง
เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีค่าดัชนีผลผลิต 146.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และ 6.9 เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้เยื่อกระดาษสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับเตรียมรองรับการพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้า คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ แต่ยังคงมีปัจจัยบวกจากการพิมพ์และประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับคาดว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ความต้องการสื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น
ยา การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณ 6,491.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.7 เนื่องจากผู้ผลิตสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นร้านขายยา นอกจากนี้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตยังได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างให้ผลิตสินค้าใหม่ๆ รวมถึงขนาดสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย
แนวโน้มในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า จะขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรและยาต้นตำรับเป็นหลัก
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอโดยรวมลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกาย ลดลงร้อยละ 5.6 , 12.9 และ 2.8 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 4.0 เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มการผลิตในไตรมาสที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีการ
ลงนามข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Japan-Thailand Economics Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งคาดว่าจะดึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติกลับมา ทั้งนี้จากข้อมูลการส่งออกของไทย ยังพบว่าไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขันของเสื้อผ้าสำเร็จรูปบางประเภท เช่น เสื้อผ้าเด็กอ่อน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากไหม เป็นต้น
ปูนซีเมนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 19.07 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.77 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวม ลดลงร้อยละ 4.60 และ 9.54 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดที่ลดลง เพราะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ
แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550
มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีความแน่นอน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพจะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชน แต่คาดว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านการโหวตและการเลือกตั้งเกิดได้เร็ว สถานการณ์น่าจะดีขึ้นในช่วงกลางปี 2551 สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักในแถบอาเซียนและตลาดใหม่ คือ ประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรปขยายตัวดีขึ้น
เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 35.74 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.08 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.71 และ 0.35 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในขณะที่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตเซรามิกยังคงลดลงตามภาวะซบเซาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ โดยการผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลง ร้อยละ 7.76 และ 3.28 ตามลำดับ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะเครื่องสุขภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักทุกตลาด และของชำร่วยเครื่องประดับที่เพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารยังคงมีแนวโน้มลดลงมาตลอดโดยเฉพาะในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งขยายตลาดใหม่เพื่อทดแทนตลาดเดิมที่มีแนวโน้มลดลงด้วย
อัญมณีและเครื่องประดับ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีการชะลอตัวอย่างมากทั้งด้านการผลิตที่หดตัวลดลงกว่าร้อยละ 17.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา อีกทั้งการจำหน่ายได้หดตัวลดลงร้อยละ 14.59 ด้านการส่งออกมีการหดตัวอย่างมากคือ ลดลงร้อยละ 17.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เนื่องจากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่าที่สูง และการนำเข้าวัตถุดิบก็มีมูลค่าสูงมากเช่นกัน ดังนั้นการที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นย่อมมีผลกระทบต่อการส่งออกและการนำเข้า ด้านการส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเน้นการเพิ่มมูลค่า จึงส่งออกและจำหน่ายในตลาดระดับกลางถึงตลาดระดับบนขึ้นไป ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ราคาสูง ทำให้ปัญหาปัจจัยค่าเงินบาทแข็งมีผลกระทบเล็กน้อย ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าของอุตสาหกรรมนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ ย่อมได้รับผลดีจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีในการมีวัตถุดิบที่ต้นทุนถูกลง สามารถนำมาผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-