ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า หลังออกมาตรการหักกัน
สำรองร้อยละ 30 เพื่อควบคุมเงินทุนไหลเข้าที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.49 ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค
โดยจากการสำรวจข้อมูลของ ธปท. ระหว่างวันที่ 15 ธ.ค.49 — 15 ม.ค.50 พบว่า ค่าเงินบาทอ่อนลงมาแล้วร้อยละ 2 เงินวอนของเกาหลี
อ่อนค่าลงร้อยละ 1.5 อินโดนีเซียอ่อนค่าลงร้อยละ 0.3 เงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าลงร้อยละ 1.9 ยังมีแต่มาเลเซียและฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ
1.4 และ ร้อยละ 1 ตามลำดับ ทั้งนี้ ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติโยกเงินจาก สรอ. เข้ามาในไทยจำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่าการลงทุนที่ไทย
ไม่ว่าในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 5 และได้กำไรจากค่าเงินแข็งค่าอีกร้อยละ 17 สรุปแล้วจะมีกำไรประมาณ
ร้อยละ 22 ทำให้เงินทุนจาก สรอ. ไหลมาที่ไทยจำนวนมาก ต่างจากการเข้าไปลงทุนในตลาดฮ่องกง จีน และสิงคโปร์ ที่อัตราแลกเปลี่ยนผูกติด
อยู่กับเงินดอลลาร์ สรอ. อยู่แล้ว โอกาสกำไรก็น้อย สำหรับเงินลงทุนเฉลี่ยที่ไหลเข้ามาในช่วงเดือน พ.ย.49 ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ต่อสัปดาห์ แต่เดือน ธ.ค. เพิ่มเป็น 900 ดอลลาร์ สรอ. ต่อสัปดาห์ ทำให้ ธปท. จำเป็นต้องออกมาตรการมาดูแลเงินทุนไหลเข้าที่มีผลกระทบ
ต่อค่าเงินบาท (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธ.พาณิชย์เตรียมหารือพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า
ธนาคารอยู่ระหว่างหารือกับคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้ ธ.พาณิชย์ในระบบปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ยังต้องพิจารณาจากสภาพคล่องของธนาคาร โดยหากมีสภาพคล่องเหลืออยู่จำนวนมากและทิศททางของตลาดมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง ธนาคารก็
จำเป็นต้องปรับลดตามไปด้วย ด้าน นายจงรัก บุญชยานุรักษ์ ผอ.ฝ่ายบริหารเงิน ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารคงจะมีการประชุมหารือเรื่อง
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะสภาพคล่องและการแข่งขันระหว่างธนาคาร แต่ธนาคาร
จะไม่ใช่ผู้นำในการปรับลดอย่างแน่นอน ในขณะนี้ นายเชาว์ เก่งชน รอง กก.ผจก. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของ ธปท. เร็วกว่าที่คาดไว้ สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเรื่องแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ศูนย์วิจัยฯ ยังไม่มีการปรับลด
ประมาณการเศรษฐกิจลงในขณะนี้ เนื่องจากต้องรอดูตัวเลขการส่งออกปี 50 ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญ อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยคง
ขยายตัวไม่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 4 — 5 หากตัวเลขการส่งออกไม่ลดลงมากนัก (มติชน)
3. ธ.พาณิชย์ตั้งสำรองเพิ่มตามเกณฑ์ใหม่ทำให้กำไรปี 49 ลดลง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เปิดเผยผลการดำเนินงานของ
ธนาคารและบริษัทย่อยปี 49 สิ้นสุด 31 ธ.ค.49 ว่า มีกำไรสุทธิ 13,664.04 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 265.81 หรือลดลง
ร้อยละ 1.9 นอกจากนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองรวม 32,993 ล้านบาท เกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดร้อยละ 128.47 ส่วนเอ็นพีแอลลดลงตาม
เกณฑ์การกันสำรองใหม่ร้อยละ 6.84 ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 8.88 สำหรับเอ็นพีแอลสุทธิตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท.
อยู่ในระดับร้อยละ 4.13 ด้าน คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิปี 49 สิ้นสุด
31 ธ.ค.49 จำนวน 13,286 ล้านบาท ลดลง 5,596 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.6 เนื่องจากมีการหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากการ
ตั้งสำรองใหม่ของ ธปท. ส่วนเอ็นพีแอลสุทธิตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท. อยู่ในระดับร้อยละ 3.4 ขณะที่ น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วย กก.ผจก.
ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย แจ้งสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 49 สิ้นสุด 31 ธ.ค.49 ว่า มีกำไรสุทธิ 4,257.79 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกัน
ของปีก่อน 2,007.19 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 32.03 ส่วน นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กก.ผจก.ใหญ่ ธ.เกียรตินาคิน แจ้งผลการดำเนินงาน
ของธนาคารรวมบริษัทย่อยปี 49 สิ้นสุด 31 ธ.ค.49 ว่า มีกำไรสุทธิ 2,033.70 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 402.3 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 16.51 (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่ายอดหนี้สาธารณะปี 50 อาจสูงกว่าร้อยละ 41 ต่อจีดีพี นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
กล่าวว่า ยอดหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน พ.ย.49 มีจำนวน 3,185 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 40.78 ของจีดีพี ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
และคาดว่าน่าจะลดลงได้อีกในเดือน ธ.ค.49 โดยประเมินจากยอดหนี้ของแต่ละหน่วยงานที่มีการรายงานเข้ามาซึ่งปรับลดลงทุกหน่วยงาน
สาเหตุเพราะการบริหารหนี้ที่ดีและได้รับผลดีจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลง ส่วนการที่ สบน. ต้องกู้เงินเพื่อนำมาชดเชยผลขาดดุล งปม.
จำนวน 1.46 แสนล้านบาท จะส่งผลให้หนี้สาธารณะปรับเพิ่มขึ้นหลังจากเดือน ธ.ค.49 โดยในปี 50 หนี้สาธารณะอาจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 41
ของจีดีพี ทั้งนี้ ยอดหนี้สาธารณะล่าสุด 3,185 ล้านล้านบาท แยกเป็นหนี้ของรัฐบาลที่กู้โดยตรง 1.96 ล้านล้านบาท หนี้ของรัฐวิสากิจที่ไม่ใช่
สถาบันการเงิน 9.03 แสนล้านบาท หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ 2.56 แสนล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 6.4 หมื่นล้านบาท เทียบกับเดือนก่อน
ลดลง 2.84 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะดังกล่าวแบ่งเป็นหนี้ต่างประเทศ 4.73 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 14.84 และหนี้ในประเทศ
2.71 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 85.16 และเป็นหนี้ระยะยาว 2.68 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 84.04 และหนี้ระยะสั้น 5.08 แสนล้านบาท
หรือร้อยละ 15.96 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 18 ม.ค.50 ก.แรงงาน
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และสูงกว่า
การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือนของราคาพลังงาน
ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือนตามภาวะราคาพลังงานโลกที่ชะลอลง โดยราคาพลังงานดังกล่าว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และ
เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า
ยังคงให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการเกิดภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะมีแนวโน้มที่ดีก็ตาม โดย ธ.กลาง สรอ. คาดว่า จะยังคง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินปลายเดือนนี้ (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 0.25 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 18 ม.ค.50 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 0.25 ต่อไป ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำสุด
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่นกล่าวว่า การตัดสินใจในครั้งนี้เป็นการพิจารณาอย่างระมัดระวัง โดยไม่ได้ประเมินจากปัจจัย
สถานการณ์เศรษฐกิจและราคาสินค้า เท่านั้น แต่ยังประเมินปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิเช่น การใช้จ่ายภายในประเทศที่แม้จะมีทิศทางขยายตัวแต่ก็
เป็นระดับปานกลางเท่านั้น ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางญี่ปุ่นดังกล่าว ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปีนับ
ตั้งแต่เดือน มี.ค.46 โดยอยู่ที่ระดับ 121.45 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการคาดหมายว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วที่สุดในต้นเดือนหน้า (รอยเตอร์)
3. จีนมีเป้าหมายที่จะลดการเกินดุลการค้าจำนวนมากลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 50 นาย Gao Hucheng รอง
รมว.การค้าของจีนเปิดเผยว่า จีนให้คำมั่นว่าจะลดการเกินดุลการค้าจำนวนมากลง โดยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และเพิ่มการนำเข้า
และเน้นว่าทางการจีนมีความวิตกเรื่องการไม่สมดุลทางการค้า อย่างไรก็ตามการเกินดุลการค้าดังกล่าวจะยังคงเป็นไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจากการ
ส่งออกยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่จีนจะพยายามทำอย่างดีที่สุดเพื่อลดการเกินดุลการค้าจำนวนมากดังกล่าว แต่ก็ต้องขึ้นกับสถานการณ์ในตลาด
ทั้งนี้ในด้านหนึ่งจีนก็รู้สึกพอใจที่ประเทศเกินดุลทางการค้า แต่อีกด้านหนึ่งก็ประสบความยากลำบาก โดยเมื่อปีที่แล้วจีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
74 ทำสถิติสูงสุดถึง 177.47 พัน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20 ซึ่งตัวเลข
ดังกล่าวส่งผลให้จีนถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนโยบายค่าเงินหยวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศ สรอ. ที่กล่าวว่าเงินหยวนยังคงมีค่าต่ำกว่าความ
เป็นจริง ส่งผลให้ผู้ส่งออกของจีนได้เปรียบทางการค้าในตลาดโลก (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค. จะสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
18 ม.ค. 50 ภายหลังจากภาวะน้ำท่วมในรัฐทางตอนใต้ของมาเลเซียส่งผลให้พืชผักได้รับความเสียหายดังนั้นสิงคโปร์ซึ่งนำเข้าพืชผักจากมาเลเซีย
สูงถึงร้อยละ 45 ของพืชผักที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดจึงมีต้นทุนการนำเข้าที่สูงตามไปด้วย ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ม.ค. แม้ว่าผลกระทบโดยรวมจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆก็ตาม โดยนาย
Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup คาดว่าผลดังกล่าวจะกระทบต่อ CPI ในเดือน ม.ค. ซึ่งราคาอาหารมีน้ำหนักในการคำนวณ
ดัชนีราคาผู้บริโภคถึงร้อยละ 23 ในขณะที่ต้นทุนค่าขนส่งและค่าธรรมเนียมอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับเพิ่มไปล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้คาดว่า CPI ในเดือน
ม.ค. และเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 1.0 — 1.5 ซึ่งนับว่าส่งผลกระทบอย่างมาก แต่หลังจากนั้นจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ส่วนเดือน
ธ.ค. คาดว่า CPI จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ย. ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาสิงคโปร์มี
ภาวะเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ตาม เนื่องจากได้รับผลดีจากการลดลงของราคารถยนต์และการ
แข็งขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ม.ค. 50 18 ม.ค. 50 29 ธ.ค. 49
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.061 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.8407/36.1670 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.88688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 654.89/10.01 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.67 50.29 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.19*/22.54** 25.59/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50 ** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า หลังออกมาตรการหักกัน
สำรองร้อยละ 30 เพื่อควบคุมเงินทุนไหลเข้าที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.49 ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค
โดยจากการสำรวจข้อมูลของ ธปท. ระหว่างวันที่ 15 ธ.ค.49 — 15 ม.ค.50 พบว่า ค่าเงินบาทอ่อนลงมาแล้วร้อยละ 2 เงินวอนของเกาหลี
อ่อนค่าลงร้อยละ 1.5 อินโดนีเซียอ่อนค่าลงร้อยละ 0.3 เงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าลงร้อยละ 1.9 ยังมีแต่มาเลเซียและฟิลิปปินส์ที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ
1.4 และ ร้อยละ 1 ตามลำดับ ทั้งนี้ ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติโยกเงินจาก สรอ. เข้ามาในไทยจำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่าการลงทุนที่ไทย
ไม่ว่าในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 5 และได้กำไรจากค่าเงินแข็งค่าอีกร้อยละ 17 สรุปแล้วจะมีกำไรประมาณ
ร้อยละ 22 ทำให้เงินทุนจาก สรอ. ไหลมาที่ไทยจำนวนมาก ต่างจากการเข้าไปลงทุนในตลาดฮ่องกง จีน และสิงคโปร์ ที่อัตราแลกเปลี่ยนผูกติด
อยู่กับเงินดอลลาร์ สรอ. อยู่แล้ว โอกาสกำไรก็น้อย สำหรับเงินลงทุนเฉลี่ยที่ไหลเข้ามาในช่วงเดือน พ.ย.49 ประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ต่อสัปดาห์ แต่เดือน ธ.ค. เพิ่มเป็น 900 ดอลลาร์ สรอ. ต่อสัปดาห์ ทำให้ ธปท. จำเป็นต้องออกมาตรการมาดูแลเงินทุนไหลเข้าที่มีผลกระทบ
ต่อค่าเงินบาท (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ธ.พาณิชย์เตรียมหารือพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า
ธนาคารอยู่ระหว่างหารือกับคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้ ธ.พาณิชย์ในระบบปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ยังต้องพิจารณาจากสภาพคล่องของธนาคาร โดยหากมีสภาพคล่องเหลืออยู่จำนวนมากและทิศททางของตลาดมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลง ธนาคารก็
จำเป็นต้องปรับลดตามไปด้วย ด้าน นายจงรัก บุญชยานุรักษ์ ผอ.ฝ่ายบริหารเงิน ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารคงจะมีการประชุมหารือเรื่อง
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะสภาพคล่องและการแข่งขันระหว่างธนาคาร แต่ธนาคาร
จะไม่ใช่ผู้นำในการปรับลดอย่างแน่นอน ในขณะนี้ นายเชาว์ เก่งชน รอง กก.ผจก. บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของ ธปท. เร็วกว่าที่คาดไว้ สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเรื่องแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ศูนย์วิจัยฯ ยังไม่มีการปรับลด
ประมาณการเศรษฐกิจลงในขณะนี้ เนื่องจากต้องรอดูตัวเลขการส่งออกปี 50 ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้สำคัญ อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยคง
ขยายตัวไม่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 4 — 5 หากตัวเลขการส่งออกไม่ลดลงมากนัก (มติชน)
3. ธ.พาณิชย์ตั้งสำรองเพิ่มตามเกณฑ์ใหม่ทำให้กำไรปี 49 ลดลง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เปิดเผยผลการดำเนินงานของ
ธนาคารและบริษัทย่อยปี 49 สิ้นสุด 31 ธ.ค.49 ว่า มีกำไรสุทธิ 13,664.04 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 265.81 หรือลดลง
ร้อยละ 1.9 นอกจากนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองรวม 32,993 ล้านบาท เกินกว่าเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนดร้อยละ 128.47 ส่วนเอ็นพีแอลลดลงตาม
เกณฑ์การกันสำรองใหม่ร้อยละ 6.84 ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 8.88 สำหรับเอ็นพีแอลสุทธิตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท.
อยู่ในระดับร้อยละ 4.13 ด้าน คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิปี 49 สิ้นสุด
31 ธ.ค.49 จำนวน 13,286 ล้านบาท ลดลง 5,596 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 29.6 เนื่องจากมีการหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากการ
ตั้งสำรองใหม่ของ ธปท. ส่วนเอ็นพีแอลสุทธิตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท. อยู่ในระดับร้อยละ 3.4 ขณะที่ น.ส.อังคณา สวัสดิ์พูน ผู้ช่วย กก.ผจก.
ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย แจ้งสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 49 สิ้นสุด 31 ธ.ค.49 ว่า มีกำไรสุทธิ 4,257.79 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกัน
ของปีก่อน 2,007.19 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 32.03 ส่วน นายธวัชไชย สุทธิกิจพิศาล กก.ผจก.ใหญ่ ธ.เกียรตินาคิน แจ้งผลการดำเนินงาน
ของธนาคารรวมบริษัทย่อยปี 49 สิ้นสุด 31 ธ.ค.49 ว่า มีกำไรสุทธิ 2,033.70 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน 402.3 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 16.51 (มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่ายอดหนี้สาธารณะปี 50 อาจสูงกว่าร้อยละ 41 ต่อจีดีพี นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
กล่าวว่า ยอดหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน พ.ย.49 มีจำนวน 3,185 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 40.78 ของจีดีพี ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
และคาดว่าน่าจะลดลงได้อีกในเดือน ธ.ค.49 โดยประเมินจากยอดหนี้ของแต่ละหน่วยงานที่มีการรายงานเข้ามาซึ่งปรับลดลงทุกหน่วยงาน
สาเหตุเพราะการบริหารหนี้ที่ดีและได้รับผลดีจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลง ส่วนการที่ สบน. ต้องกู้เงินเพื่อนำมาชดเชยผลขาดดุล งปม.
จำนวน 1.46 แสนล้านบาท จะส่งผลให้หนี้สาธารณะปรับเพิ่มขึ้นหลังจากเดือน ธ.ค.49 โดยในปี 50 หนี้สาธารณะอาจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 41
ของจีดีพี ทั้งนี้ ยอดหนี้สาธารณะล่าสุด 3,185 ล้านล้านบาท แยกเป็นหนี้ของรัฐบาลที่กู้โดยตรง 1.96 ล้านล้านบาท หนี้ของรัฐวิสากิจที่ไม่ใช่
สถาบันการเงิน 9.03 แสนล้านบาท หนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ 2.56 แสนล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 6.4 หมื่นล้านบาท เทียบกับเดือนก่อน
ลดลง 2.84 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะดังกล่าวแบ่งเป็นหนี้ต่างประเทศ 4.73 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 14.84 และหนี้ในประเทศ
2.71 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 85.16 และเป็นหนี้ระยะยาว 2.68 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 84.04 และหนี้ระยะสั้น 5.08 แสนล้านบาท
หรือร้อยละ 15.96 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือน ธ.ค.49 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 18 ม.ค.50 ก.แรงงาน
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และสูงกว่า
การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือนของราคาพลังงาน
ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกหลังจากที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือนตามภาวะราคาพลังงานโลกที่ชะลอลง โดยราคาพลังงานดังกล่าว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และ
เป็นไปตามการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั้งปี 49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง สรอ. เปิดเผยว่า
ยังคงให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับการเกิดภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะมีแนวโน้มที่ดีก็ตาม โดย ธ.กลาง สรอ. คาดว่า จะยังคง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินปลายเดือนนี้ (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 0.25 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 18 ม.ค.50 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 0.25 ต่อไป ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับต่ำสุด
ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่นกล่าวว่า การตัดสินใจในครั้งนี้เป็นการพิจารณาอย่างระมัดระวัง โดยไม่ได้ประเมินจากปัจจัย
สถานการณ์เศรษฐกิจและราคาสินค้า เท่านั้น แต่ยังประเมินปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิเช่น การใช้จ่ายภายในประเทศที่แม้จะมีทิศทางขยายตัวแต่ก็
เป็นระดับปานกลางเท่านั้น ทั้งนี้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางญี่ปุ่นดังกล่าว ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบเกือบ 4 ปีนับ
ตั้งแต่เดือน มี.ค.46 โดยอยู่ที่ระดับ 121.45 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการคาดหมายว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายอย่างเร็วที่สุดในต้นเดือนหน้า (รอยเตอร์)
3. จีนมีเป้าหมายที่จะลดการเกินดุลการค้าจำนวนมากลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 50 นาย Gao Hucheng รอง
รมว.การค้าของจีนเปิดเผยว่า จีนให้คำมั่นว่าจะลดการเกินดุลการค้าจำนวนมากลง โดยการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และเพิ่มการนำเข้า
และเน้นว่าทางการจีนมีความวิตกเรื่องการไม่สมดุลทางการค้า อย่างไรก็ตามการเกินดุลการค้าดังกล่าวจะยังคงเป็นไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจากการ
ส่งออกยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่จีนจะพยายามทำอย่างดีที่สุดเพื่อลดการเกินดุลการค้าจำนวนมากดังกล่าว แต่ก็ต้องขึ้นกับสถานการณ์ในตลาด
ทั้งนี้ในด้านหนึ่งจีนก็รู้สึกพอใจที่ประเทศเกินดุลทางการค้า แต่อีกด้านหนึ่งก็ประสบความยากลำบาก โดยเมื่อปีที่แล้วจีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
74 ทำสถิติสูงสุดถึง 177.47 พัน ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 20 ซึ่งตัวเลข
ดังกล่าวส่งผลให้จีนถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนโยบายค่าเงินหยวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศ สรอ. ที่กล่าวว่าเงินหยวนยังคงมีค่าต่ำกว่าความ
เป็นจริง ส่งผลให้ผู้ส่งออกของจีนได้เปรียบทางการค้าในตลาดโลก (รอยเตอร์)
4. คาดว่าการอัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค. จะสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
18 ม.ค. 50 ภายหลังจากภาวะน้ำท่วมในรัฐทางตอนใต้ของมาเลเซียส่งผลให้พืชผักได้รับความเสียหายดังนั้นสิงคโปร์ซึ่งนำเข้าพืชผักจากมาเลเซีย
สูงถึงร้อยละ 45 ของพืชผักที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมดจึงมีต้นทุนการนำเข้าที่สูงตามไปด้วย ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI) ซึ่งแสดงภาวะเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน ม.ค. แม้ว่าผลกระทบโดยรวมจะเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆก็ตาม โดยนาย
Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup คาดว่าผลดังกล่าวจะกระทบต่อ CPI ในเดือน ม.ค. ซึ่งราคาอาหารมีน้ำหนักในการคำนวณ
ดัชนีราคาผู้บริโภคถึงร้อยละ 23 ในขณะที่ต้นทุนค่าขนส่งและค่าธรรมเนียมอสังหาริมทรัพย์ได้ปรับเพิ่มไปล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้คาดว่า CPI ในเดือน
ม.ค. และเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 1.0 — 1.5 ซึ่งนับว่าส่งผลกระทบอย่างมาก แต่หลังจากนั้นจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ส่วนเดือน
ธ.ค. คาดว่า CPI จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ย. ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าร้อยละ 0.5 อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาสิงคโปร์มี
ภาวะเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ตาม เนื่องจากได้รับผลดีจากการลดลงของราคารถยนต์และการ
แข็งขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19 ม.ค. 50 18 ม.ค. 50 29 ธ.ค. 49
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.061 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.8407/36.1670 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.88688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 654.89/10.01 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 48.67 50.29 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.19*/22.54** 25.59/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50 ** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--