ประท้วงสิงคโปร์ กับข้อดีที่มองเห็นได้
โดยบัญญัติ บรรทัดฐาน
ถ้าจะพูดกันถึงเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากๆ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วล่ะก็ ผมคิดว่าเรื่องประท้วงรัฐบาลสิงคโปร์ โดยรัฐบาลไทย ต่อกรณีสิงคโปร์อนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและให้ใช้ประเทศสิงคโปร์เป็นที่สัมภาษณ์ของสื่อต่างประเทศ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทย น่าจะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและได้รับการพูดถึงมากที่สุด ซึ่งจนบัดนี้ ก็ยังมีการพูดถึงกันอยู่ และทั้งยังมีบางฝ่าย ที่วิตกกังวลกันไปไกลว่า อาจกระทบถึง ความสัมพันธ์ ระหว่างกัน ในเรื่องอื่นๆ ต่อไปอีก เช่น การค้าขายและการลงทุน เพราะมาตรการตอบโต้ ของรัฐบาลไทยทั้ง 3 ประการค่อนข้างจะรุนแรง
มาตรการตอบโต้ 3 ประการที่ว่านี้ก็คือ 1.ระงับความร่วมมือในโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ข้าราชการพลเรือนไทย — สิงคโปร์ ที่เรียกชื่อย่อว่า ซีเสป (CSEP) 2.ยกเลิกการประชุมซีเสปครั้งที่ 8 ที่จะจัดให้มีขึ้นในประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 29 — 31 มกราคมนี้ และ 3. ไทยขอถอนคำเชิญนายจอร์จ เพียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ที่จะมาเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม ซีเสป และร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซีเสป ในระหว่างวันที่ 29 — 30 มกราคมนี้
จะอย่างไรก็แล้วแต่ ผมมีความเห็นว่า ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศอื่น ซึ่งวันดีคืนดี พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เดินทางเข้าไป เพราะสามารถเดินทางเข้าไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แล้วก็ไปกระทำการอย่างที่ว่า อย่างนี้ก็อาจจะมีความรู้สึกได้ว่า มาตรการตอบโต้ที่รัฐบาลไทยกระทำลงไป ก็อาจจะดูรุนแรงไป แต่เมื่อเรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ ประเทศซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว มีความสนิทชิดเชื้อกับกลุ่มผู้นำประเทศมากเป็นพิเศษ กล่าวคือ
1. บริษัทในเครือชินวัตร เคยได้รับความช่วยเหลือจากสิงคโปร์มาก่อน โดยเฉพาะในช่วงแรกๆของการบุกเบิกธุรกิจสื่อสารและหลังจากนั้นก็มีการช่วยเหลือเกื้อกูลในระหว่างกัน และร่วมลงทุนค้าขายกันมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี
2.ตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี อาจกล่าวได้ว่า เป็นยุคทองของสิงคโปร์โดยแท้ เพราะเป็นช่วงเวลาของการแผ่ขยายอาณาจักรทางธุรกิจ ของสิงคโปร์เข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย ที่สำคัญก็คือว่า มีส่วนได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาลทักษิณ ที่เรียกว่า คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ด้วยเช่นเดียวกัน
3. ผลประโยชน์ร่วมอย่างสำคัญ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ก็คือ กรณีการซื้อขายหุ้น ชินคอร์ปอร์เรชั่น มูลค่า 73,000 ล้านบาท ระหว่างกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ กับบริษัทในเครือครอบครัวชินวัตร ซึ่งเป็นเหตุให้บริษัทต่างชาติ ได้ไปทั้งสัญญาสัมปทาน ดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ สถานีโทรทัศน์ และบริษัทการบิน ซึ่งต่างก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ และยังมีปัญหาข้อกฎหมาย ที่จะต้องพิจารณากันต่อไป และแน่นอนว่า หากยังอยู่ในยุคสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ก็คงจะปล่อยให้ผ่านเลยตามเลยกันไป
เหล่านี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ ประกอบกับข้อเท็จจริงที่โฆษกกระทรวงต่างประเทศของไทยได้แถลงว่า เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไปเยือนประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2549 ทุกอย่างราบรื่น ด้วยคำมั่นสัญญาของทางผู้ใหญ่สิงคโปร์ ที่ให้ไว้กับนายกรัฐมนตรี คือประธานาธิบดีสิงคโปร์ ได้ให้คำพูดกับ พล.อ.สุรยุทธ์ว่า สิงคโปร์ ไม่ทรยศ จะไม่ทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเข้าใจของทั้ง 2 ประเทศเกิดความเสียหาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ได้มีการพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในระหว่างกันมาก่อนแล้ว และจึงได้รับคำมั่นสัญญา จากทางสิงคโปร์ ด้วยประการต่างๆดังกล่าว และนอกเหนือจากนี้ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของไทย ยังได้แถลงอีกว่า ในคราวไปประชุมระหว่างประเทศที่กรุงเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเร็วๆนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทยและของสิงคโปร์ ก็ได้พูดถึงเรื่องนี้กันอีก เพราะฉะนั้น ที่กระทรวงต่างประเทศของสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า การเข้าพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องส่วนตัว และรัฐบาลไทยก็ไม่เคยได้แจ้งต่อสิงคโปร์ ว่า อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ถูกตั้งข้อหาใดหรือไม่ จึงไม่อาจรับฟังได้ แต่อาจมองได้ว่า เป็นเรื่องรู้กันหรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ ไม่เคยคำนึงถึงความรู้สึกและผลกระทบที่จะมีต่อรัฐบาลไทย และประเทศไทย
การตอบโต้ทางการฑูตที่รัฐบาลไทยกระทำต่อรัฐบาลสิงคโปร์ จึงต้องถือเป็นเรื่องธรรมดา การไม่ตอบโต้เสียด้วยซ้ำ ที่จะดูเป็นเรื่องผิดปกติ ว่าไม่ได้คำนึงถึงความมีศักดิ์ศรีของประเทศ เพราะถ้าถึงขนาดยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ดินแดนเป็นฐานที่ตั้งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยด้วยแล้ว อย่างนี้ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ยอมกันไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ก็คงไม่มีฝ่ายใด ที่ประสงค์จะให้ความสัมพันธ์ในระหว่างกัน ต้องมีอันขัดแย้งบานปลายออกไปอีก การทำความเข้าใจในระหว่างกันต่อไปจะต้องมี แต่ก็คงจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในศักดิ์ศรีและอำนาจอธิปไตยในระหว่างกัน
ในสายตาของผู้ดูที่มองเหตุการณ์จากภายนอก ผมเห็นว่า น่าจะได้ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์จากเหตุการณ์ไทยประท้วงสิงคโปร์ในคราวนี้ หลายข้อด้วยกันกล่าวคือ
1.ได้เห็นการตัดสินใจที่ฉับไวพอสมควร ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ได้สั่งการให้กระทรวงต่างประเทศประเมินสถานการณ์และแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น เพียงแต่ว่า เหตุผลที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ชี้แจงเองในบางตอน ตามแบบฉบับของสุภาพบุรุษ เช่นที่ว่า เกรงว่าจะกระทบทางการเมืองภายในประเทศ เพราะยังมีคนที่ยังรัก และพอใจอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณอยู่มาก ยังไม่ชัดเจนพอ ซึ่งควรจะได้เพิ่มเติมข้อความต่อไปอีก เพื่อความชัดเจน ว่าในขณะเดียวกัน ก็ยังมีประชาชนที่จงเกลียดจงชังอดีตนายกทักษิณ อยู่มากเหมือนกัน ซึ่งหากรัฐบาลโดยกระทรวงต่างประเทศไม่ดำเนินการประท้วง ประชาชนที่จงเกลียดจงชัง จะประท้วงสิงคโปร์เสียเอง และอาจจะไปไกลถึงขนาดเรียกร้องให้ยกเลิกข้อตกลงร่วมกันทางทหาร ที่ให้สิงคโปร์มาใช้ฐานทัพไทย ที่กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี ซึ่งจะยิ่งเป็นปัญหาใหญ่โตมากขึ้นอีก อย่างนี้สิงคโปร์ จึงมองเห็นภาพชัดและเข้าใจได้ง่าย
2. การประท้วงสิงคโปร์คราวนี้ เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจน ไปยังประเทศอื่นๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ อาจเดินทางเข้าไปต่อไปอีก ให้ได้เข้าใจถึงความรู้สึกของรัฐบาลไทย ต่อสถานภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ และจะเป็นเหตุผลให้ประเทศเหล่านั้นได้ปฏิเสธเหตุผลและการร้องขอจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ถ้ามีได้ด้วยความสะดวกใจ
3. เป็นการส่งสัญญาณไปถึงสถานฑูตไทย ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อฑูตและข้าราชการสถานฑูตที่เจริญเติบโตมาภายใต้ระบอบทักษิณ ถึงความควรหรือไม่ควรอย่างไร ในการประพฤติและปฏิบัติหน้าที่
4. เป็นการหยุดยั้ง การเคลื่อนไหวทางการเมืองตามทฤษฎี การตลาดภายนอก นำการเมืองภายใน ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ได้ผลมาโดยตลอด เพื่อสร้างความเข้าใจผิด และเห็นอกเห็นใจจากภายนอกประเทศ เพื่อกดดันรัฐบาลไทย พร้อมๆ สร้างความฮึกเหิมให้เกิดขึ้นกับเครือข่ายภายในประเทศ
5.โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ใช้การตลาดภายนอกดังกล่าว อย่างได้ผลมาแล้วระดับหนึ่ง ประกอบกับการมีแนวร่วม กับบางประเทศในลักษณะของผลประโยชน์ร่วม ทำนองเดียวกันกับสิงคโปร์ การกดดันรัฐบาลไทย จากภายนอกในรูปแบบใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นได้ต่อไปอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการต่างประเทศ จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อจำแนกให้ได้ว่า เป็นความกดดัน ของกระบวนการประชาธิปไตย ตามธรรมดา หรือเป็นการรุมเร้าของกระบวนการตัวแทน เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ร่วม ที่ได้มาในยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ให้คงอยู่ต่อไป แล้วรัฐบาลก็จะได้ตั้งรับ และรุกได้ถูกต้อง
ทั้งหมดนี้ พอจะเรียกได้ว่า เป็นข้อดีที่พอจะมองเห็นได้จากเหตุการณ์ประท้วงสิงคโปร์ ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลและ คมช. อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้
............................................................................................
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ม.ค. 2550--จบ--
โดยบัญญัติ บรรทัดฐาน
ถ้าจะพูดกันถึงเรื่องที่อยู่ในความสนใจมากๆ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วล่ะก็ ผมคิดว่าเรื่องประท้วงรัฐบาลสิงคโปร์ โดยรัฐบาลไทย ต่อกรณีสิงคโปร์อนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีและให้ใช้ประเทศสิงคโปร์เป็นที่สัมภาษณ์ของสื่อต่างประเทศ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทย น่าจะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและได้รับการพูดถึงมากที่สุด ซึ่งจนบัดนี้ ก็ยังมีการพูดถึงกันอยู่ และทั้งยังมีบางฝ่าย ที่วิตกกังวลกันไปไกลว่า อาจกระทบถึง ความสัมพันธ์ ระหว่างกัน ในเรื่องอื่นๆ ต่อไปอีก เช่น การค้าขายและการลงทุน เพราะมาตรการตอบโต้ ของรัฐบาลไทยทั้ง 3 ประการค่อนข้างจะรุนแรง
มาตรการตอบโต้ 3 ประการที่ว่านี้ก็คือ 1.ระงับความร่วมมือในโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ข้าราชการพลเรือนไทย — สิงคโปร์ ที่เรียกชื่อย่อว่า ซีเสป (CSEP) 2.ยกเลิกการประชุมซีเสปครั้งที่ 8 ที่จะจัดให้มีขึ้นในประเทศไทย ในระหว่างวันที่ 29 — 31 มกราคมนี้ และ 3. ไทยขอถอนคำเชิญนายจอร์จ เพียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ที่จะมาเยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม ซีเสป และร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซีเสป ในระหว่างวันที่ 29 — 30 มกราคมนี้
จะอย่างไรก็แล้วแต่ ผมมีความเห็นว่า ถ้าเรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศอื่น ซึ่งวันดีคืนดี พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เดินทางเข้าไป เพราะสามารถเดินทางเข้าไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แล้วก็ไปกระทำการอย่างที่ว่า อย่างนี้ก็อาจจะมีความรู้สึกได้ว่า มาตรการตอบโต้ที่รัฐบาลไทยกระทำลงไป ก็อาจจะดูรุนแรงไป แต่เมื่อเรื่องนี้เกิดขึ้นในประเทศสิงคโปร์ ประเทศซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว มีความสนิทชิดเชื้อกับกลุ่มผู้นำประเทศมากเป็นพิเศษ กล่าวคือ
1. บริษัทในเครือชินวัตร เคยได้รับความช่วยเหลือจากสิงคโปร์มาก่อน โดยเฉพาะในช่วงแรกๆของการบุกเบิกธุรกิจสื่อสารและหลังจากนั้นก็มีการช่วยเหลือเกื้อกูลในระหว่างกัน และร่วมลงทุนค้าขายกันมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี
2.ตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี อาจกล่าวได้ว่า เป็นยุคทองของสิงคโปร์โดยแท้ เพราะเป็นช่วงเวลาของการแผ่ขยายอาณาจักรทางธุรกิจ ของสิงคโปร์เข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย ที่สำคัญก็คือว่า มีส่วนได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาลทักษิณ ที่เรียกว่า คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ด้วยเช่นเดียวกัน
3. ผลประโยชน์ร่วมอย่างสำคัญ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ก็คือ กรณีการซื้อขายหุ้น ชินคอร์ปอร์เรชั่น มูลค่า 73,000 ล้านบาท ระหว่างกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ กับบริษัทในเครือครอบครัวชินวัตร ซึ่งเป็นเหตุให้บริษัทต่างชาติ ได้ไปทั้งสัญญาสัมปทาน ดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ สถานีโทรทัศน์ และบริษัทการบิน ซึ่งต่างก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ และยังมีปัญหาข้อกฎหมาย ที่จะต้องพิจารณากันต่อไป และแน่นอนว่า หากยังอยู่ในยุคสมัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ก็คงจะปล่อยให้ผ่านเลยตามเลยกันไป
เหล่านี้เมื่อนำมาวิเคราะห์ ประกอบกับข้อเท็จจริงที่โฆษกกระทรวงต่างประเทศของไทยได้แถลงว่า เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไปเยือนประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2549 ทุกอย่างราบรื่น ด้วยคำมั่นสัญญาของทางผู้ใหญ่สิงคโปร์ ที่ให้ไว้กับนายกรัฐมนตรี คือประธานาธิบดีสิงคโปร์ ได้ให้คำพูดกับ พล.อ.สุรยุทธ์ว่า สิงคโปร์ ไม่ทรยศ จะไม่ทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเข้าใจของทั้ง 2 ประเทศเกิดความเสียหาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ได้มีการพูดถึงปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ในระหว่างกันมาก่อนแล้ว และจึงได้รับคำมั่นสัญญา จากทางสิงคโปร์ ด้วยประการต่างๆดังกล่าว และนอกเหนือจากนี้ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของไทย ยังได้แถลงอีกว่า ในคราวไปประชุมระหว่างประเทศที่กรุงเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเร็วๆนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทยและของสิงคโปร์ ก็ได้พูดถึงเรื่องนี้กันอีก เพราะฉะนั้น ที่กระทรวงต่างประเทศของสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่า การเข้าพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องส่วนตัว และรัฐบาลไทยก็ไม่เคยได้แจ้งต่อสิงคโปร์ ว่า อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ถูกตั้งข้อหาใดหรือไม่ จึงไม่อาจรับฟังได้ แต่อาจมองได้ว่า เป็นเรื่องรู้กันหรืออย่างน้อยที่สุดก็คือ ไม่เคยคำนึงถึงความรู้สึกและผลกระทบที่จะมีต่อรัฐบาลไทย และประเทศไทย
การตอบโต้ทางการฑูตที่รัฐบาลไทยกระทำต่อรัฐบาลสิงคโปร์ จึงต้องถือเป็นเรื่องธรรมดา การไม่ตอบโต้เสียด้วยซ้ำ ที่จะดูเป็นเรื่องผิดปกติ ว่าไม่ได้คำนึงถึงความมีศักดิ์ศรีของประเทศ เพราะถ้าถึงขนาดยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ดินแดนเป็นฐานที่ตั้งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลไทยด้วยแล้ว อย่างนี้ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ยอมกันไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ก็คงไม่มีฝ่ายใด ที่ประสงค์จะให้ความสัมพันธ์ในระหว่างกัน ต้องมีอันขัดแย้งบานปลายออกไปอีก การทำความเข้าใจในระหว่างกันต่อไปจะต้องมี แต่ก็คงจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในศักดิ์ศรีและอำนาจอธิปไตยในระหว่างกัน
ในสายตาของผู้ดูที่มองเหตุการณ์จากภายนอก ผมเห็นว่า น่าจะได้ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์จากเหตุการณ์ไทยประท้วงสิงคโปร์ในคราวนี้ หลายข้อด้วยกันกล่าวคือ
1.ได้เห็นการตัดสินใจที่ฉับไวพอสมควร ของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ได้สั่งการให้กระทรวงต่างประเทศประเมินสถานการณ์และแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น เพียงแต่ว่า เหตุผลที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ชี้แจงเองในบางตอน ตามแบบฉบับของสุภาพบุรุษ เช่นที่ว่า เกรงว่าจะกระทบทางการเมืองภายในประเทศ เพราะยังมีคนที่ยังรัก และพอใจอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณอยู่มาก ยังไม่ชัดเจนพอ ซึ่งควรจะได้เพิ่มเติมข้อความต่อไปอีก เพื่อความชัดเจน ว่าในขณะเดียวกัน ก็ยังมีประชาชนที่จงเกลียดจงชังอดีตนายกทักษิณ อยู่มากเหมือนกัน ซึ่งหากรัฐบาลโดยกระทรวงต่างประเทศไม่ดำเนินการประท้วง ประชาชนที่จงเกลียดจงชัง จะประท้วงสิงคโปร์เสียเอง และอาจจะไปไกลถึงขนาดเรียกร้องให้ยกเลิกข้อตกลงร่วมกันทางทหาร ที่ให้สิงคโปร์มาใช้ฐานทัพไทย ที่กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี ซึ่งจะยิ่งเป็นปัญหาใหญ่โตมากขึ้นอีก อย่างนี้สิงคโปร์ จึงมองเห็นภาพชัดและเข้าใจได้ง่าย
2. การประท้วงสิงคโปร์คราวนี้ เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจน ไปยังประเทศอื่นๆ ที่พ.ต.ท.ทักษิณ อาจเดินทางเข้าไปต่อไปอีก ให้ได้เข้าใจถึงความรู้สึกของรัฐบาลไทย ต่อสถานภาพของ พ.ต.ท.ทักษิณ และจะเป็นเหตุผลให้ประเทศเหล่านั้นได้ปฏิเสธเหตุผลและการร้องขอจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ถ้ามีได้ด้วยความสะดวกใจ
3. เป็นการส่งสัญญาณไปถึงสถานฑูตไทย ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อฑูตและข้าราชการสถานฑูตที่เจริญเติบโตมาภายใต้ระบอบทักษิณ ถึงความควรหรือไม่ควรอย่างไร ในการประพฤติและปฏิบัติหน้าที่
4. เป็นการหยุดยั้ง การเคลื่อนไหวทางการเมืองตามทฤษฎี การตลาดภายนอก นำการเมืองภายใน ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ได้ผลมาโดยตลอด เพื่อสร้างความเข้าใจผิด และเห็นอกเห็นใจจากภายนอกประเทศ เพื่อกดดันรัฐบาลไทย พร้อมๆ สร้างความฮึกเหิมให้เกิดขึ้นกับเครือข่ายภายในประเทศ
5.โดยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ใช้การตลาดภายนอกดังกล่าว อย่างได้ผลมาแล้วระดับหนึ่ง ประกอบกับการมีแนวร่วม กับบางประเทศในลักษณะของผลประโยชน์ร่วม ทำนองเดียวกันกับสิงคโปร์ การกดดันรัฐบาลไทย จากภายนอกในรูปแบบใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นได้ต่อไปอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการต่างประเทศ จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อจำแนกให้ได้ว่า เป็นความกดดัน ของกระบวนการประชาธิปไตย ตามธรรมดา หรือเป็นการรุมเร้าของกระบวนการตัวแทน เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ร่วม ที่ได้มาในยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ให้คงอยู่ต่อไป แล้วรัฐบาลก็จะได้ตั้งรับ และรุกได้ถูกต้อง
ทั้งหมดนี้ พอจะเรียกได้ว่า เป็นข้อดีที่พอจะมองเห็นได้จากเหตุการณ์ประท้วงสิงคโปร์ ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลและ คมช. อาจนำไปใช้ประโยชน์ได้
............................................................................................
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ม.ค. 2550--จบ--