แท็ก
ชายแดนภาคใต้
โดย นายเจะอามิง โตะตาหยง อดีตสส.นราธิวาส / กรรมาธิการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะอาศัยเพียงแต่การใช้กำลังเพียงอย่างเดียว คงจะไม่ใช่กองกำลังถึงแม้นจะเป็นยุทธ์วิธีที่สำคัญ ในการควบคุมสถานการณ์ เพื่อจำกัดกรอบของความรุนแรง ได้บ้างเท่านั้น
การใช้กำลังถึงแม้นจะเป็นจักรที่สำคัญแสดงถึงพลังอำนาจ ให้เกิดความเกรงกลัว อาจจะทำให้ สถานการณ์เบาบางลงได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เหมือนกับตีผ้าในน้ำ ผ้าบริเวณที่ถูกตี อาจจะยุบลงได้เมื่อถูกตี แต่มันจะไปโปงอีกที่หนึ่งเสมอไป
ความรุนแรงอาจจะลดลงได้บ้าง แต่มันกลับไปมีสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นในที่อื่นอีกเสมอ ไม่แตกต่างกับการตีผ้าในน้ำจริงๆ การสร้างความเข้าใจ ระหว่างกัน จำเป็นต้องมีการ สื่อสารที่สามารถสร้างความเข้าใจ จึงจะเป็นการเข้าใจและยุติปัญหา อย่างถาวร และยั่งยืนได้ การแก้ไขสถานการณ์ในภาคใต้ รัฐจำเป็นต้องใช้กระบวนการสร้างความเข้าใจ ระหว่างภาครัฐและประชาชน ให้ได้ เพื่อจะได้เป็นตัวขับเคลื่อนอื่นใดตามมาภายหลัง ทั้งการพัฒนาด้านศึกษา พัฒนาท้องถิ่น ด้านศาสนา เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ เชื่อว่าการแก้ปัญหาความรุนแรง จะไม่ยุติลงด้วยการใช้กำลัง นอกจากจะต้องสร้างความเข้าใจ
ประวัติศาสตร์สถานการณ์ความรุนแรงในอดีต ยุติลงด้วย การใช้หลักการพูดคุย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาอื่นใดตามมาภายหลังไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โลก เช่นกรณี สงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่2 สงครามเวียดนาม แม้กระทั้งสงครามในอีรัคหรือปัญหาปาเลสสไตล์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยุติปัญหาลงได้เพราะขาดการสร้างความเข้าใจ สงครามมีแต่จะสร้างให้เกิดความสูญเสีย ต่อประชากรและประเทศชาติโดยรวม ทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน นอกจากคราบเลือดและน้ำตา ของครอบครัว ผู้สูญเสียเท่านั้น
กระบวนการสร้างความเข้าใจ สามารถเข้าถึงประชาชนในหลายรูปแบบ เช่น การเข้าถึงด้วยตัวเอง การประชุม ชี้แจง ผ่านตัวแทน องค์กร ผ่านประชาสังคม ฯลฯ ผ่านสื่อเป็นตัวกลาง เช่น การโฆษณา ใบปลิว โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ
การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
ข้อดี สามารถรวบรวม ชี้แจง กับคนหมู่มากในเวลาเดียวกัน ใช้เวลาไม่มาก ตอบข้อสงสัย แก้ไข ได้ทันกับสถานการณ์
ข้อเสีย ไม่นำไปชี้แจงหรือถ่ายทอด การถ่ายทอด จะมีความคลาดเคลื่อน
ผ่านสื่อเป็นตัวกลาง
ข้อดี สามารถย้ำเนื้อหา ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ สามารถสื่อสารได้รวดเร็ว เข้าถึงไปยังชุมชน บ้านเรือน ได้อย่างทั่วถึง สามารถถ่ายทอด สื่อสาร ตามที่ต้องการให้ทราบ ถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง สามารถสอดแทรก ด้านศาสนา ข่าว ผลงาน การบันเทิง วัฒนธรรม เป็นไปตามวิถีชีวิตชองกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการสื่อสาร ใช้บุคลากรในการสื่อ สารจำนวนน้อย
ข้อเสีย การลงทุนสูง กระบวนการสร้างความเข้าใจ ระหว่างภาครัฐกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารให้ถึง จำเป็นที่รัฐ จะต้องลงทุน โดยอาศัยหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ให้ถึงกับกลุ่มเป้าหมาย
ประเด็นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ยากสำหรับภาครัฐ แต่ที่ผ่านมารัฐได้ละเลย ไม่ได้ให้ความสำคัญรัฐต้องกลับไปมองดูถึงหลักการประชาสัมพันธ์ สินค้าทางธุรกิจใดที่มีการเน้นประชาสัมพันธ์ จะเป็น สินค้าที่ติดตลาดของผู้ใช้เสมอรัฐสามารถที่จะนำมาปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นการนำเสนอผลงาน นโยบายแห่งรัฐ หรือสร้างความเข้าใจ กับประชาชนได้เป็นอย่างดีสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสื่อสาร ต้องรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร
ในกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นที่จะต้องมีความละเอียดอ่อนกับการใช้ภาษาในการสื่อสาร หากเนื้อหาสาระ ข้อมูลดี แต่สื่อสารด้วยภาษาไม่เข้าใจ จะเป็นการสูญเสีย ทั้งเวลาและงบประมาณ โดยเปล่าประโยชน์
ฉะนั้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีความจำเป็นที่จะสื่อสารทั้งสองภาษา คือภาษาไทย และ มาลายูท้องถิ่น กับหลักการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ในพื้นที่
ข้อเสนอแนะ
รัฐควรให้ความสำคัญในกิจการนี้เป็นการเฉพาะ โดยมีหน่วยงานเพื่อดูแลกิจการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ให้มากที่สุด***
*******************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 พ.ค. 2550--จบ--
การใช้กำลังถึงแม้นจะเป็นจักรที่สำคัญแสดงถึงพลังอำนาจ ให้เกิดความเกรงกลัว อาจจะทำให้ สถานการณ์เบาบางลงได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เหมือนกับตีผ้าในน้ำ ผ้าบริเวณที่ถูกตี อาจจะยุบลงได้เมื่อถูกตี แต่มันจะไปโปงอีกที่หนึ่งเสมอไป
ความรุนแรงอาจจะลดลงได้บ้าง แต่มันกลับไปมีสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นในที่อื่นอีกเสมอ ไม่แตกต่างกับการตีผ้าในน้ำจริงๆ การสร้างความเข้าใจ ระหว่างกัน จำเป็นต้องมีการ สื่อสารที่สามารถสร้างความเข้าใจ จึงจะเป็นการเข้าใจและยุติปัญหา อย่างถาวร และยั่งยืนได้ การแก้ไขสถานการณ์ในภาคใต้ รัฐจำเป็นต้องใช้กระบวนการสร้างความเข้าใจ ระหว่างภาครัฐและประชาชน ให้ได้ เพื่อจะได้เป็นตัวขับเคลื่อนอื่นใดตามมาภายหลัง ทั้งการพัฒนาด้านศึกษา พัฒนาท้องถิ่น ด้านศาสนา เศรษฐกิจ และสังคม ฯลฯ เชื่อว่าการแก้ปัญหาความรุนแรง จะไม่ยุติลงด้วยการใช้กำลัง นอกจากจะต้องสร้างความเข้าใจ
ประวัติศาสตร์สถานการณ์ความรุนแรงในอดีต ยุติลงด้วย การใช้หลักการพูดคุย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาอื่นใดตามมาภายหลังไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โลก เช่นกรณี สงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งที่2 สงครามเวียดนาม แม้กระทั้งสงครามในอีรัคหรือปัญหาปาเลสสไตล์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยุติปัญหาลงได้เพราะขาดการสร้างความเข้าใจ สงครามมีแต่จะสร้างให้เกิดความสูญเสีย ต่อประชากรและประเทศชาติโดยรวม ทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน นอกจากคราบเลือดและน้ำตา ของครอบครัว ผู้สูญเสียเท่านั้น
กระบวนการสร้างความเข้าใจ สามารถเข้าถึงประชาชนในหลายรูปแบบ เช่น การเข้าถึงด้วยตัวเอง การประชุม ชี้แจง ผ่านตัวแทน องค์กร ผ่านประชาสังคม ฯลฯ ผ่านสื่อเป็นตัวกลาง เช่น การโฆษณา ใบปลิว โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ
การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
ข้อดี สามารถรวบรวม ชี้แจง กับคนหมู่มากในเวลาเดียวกัน ใช้เวลาไม่มาก ตอบข้อสงสัย แก้ไข ได้ทันกับสถานการณ์
ข้อเสีย ไม่นำไปชี้แจงหรือถ่ายทอด การถ่ายทอด จะมีความคลาดเคลื่อน
ผ่านสื่อเป็นตัวกลาง
ข้อดี สามารถย้ำเนื้อหา ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ สามารถสื่อสารได้รวดเร็ว เข้าถึงไปยังชุมชน บ้านเรือน ได้อย่างทั่วถึง สามารถถ่ายทอด สื่อสาร ตามที่ต้องการให้ทราบ ถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง สามารถสอดแทรก ด้านศาสนา ข่าว ผลงาน การบันเทิง วัฒนธรรม เป็นไปตามวิถีชีวิตชองกลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการสื่อสาร ใช้บุคลากรในการสื่อ สารจำนวนน้อย
ข้อเสีย การลงทุนสูง กระบวนการสร้างความเข้าใจ ระหว่างภาครัฐกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารให้ถึง จำเป็นที่รัฐ จะต้องลงทุน โดยอาศัยหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ให้ถึงกับกลุ่มเป้าหมาย
ประเด็นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ยากสำหรับภาครัฐ แต่ที่ผ่านมารัฐได้ละเลย ไม่ได้ให้ความสำคัญรัฐต้องกลับไปมองดูถึงหลักการประชาสัมพันธ์ สินค้าทางธุรกิจใดที่มีการเน้นประชาสัมพันธ์ จะเป็น สินค้าที่ติดตลาดของผู้ใช้เสมอรัฐสามารถที่จะนำมาปรับเปลี่ยนมาใช้เป็นการนำเสนอผลงาน นโยบายแห่งรัฐ หรือสร้างความเข้าใจ กับประชาชนได้เป็นอย่างดีสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสื่อสาร ต้องรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร
ในกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นที่จะต้องมีความละเอียดอ่อนกับการใช้ภาษาในการสื่อสาร หากเนื้อหาสาระ ข้อมูลดี แต่สื่อสารด้วยภาษาไม่เข้าใจ จะเป็นการสูญเสีย ทั้งเวลาและงบประมาณ โดยเปล่าประโยชน์
ฉะนั้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีความจำเป็นที่จะสื่อสารทั้งสองภาษา คือภาษาไทย และ มาลายูท้องถิ่น กับหลักการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ในพื้นที่
ข้อเสนอแนะ
รัฐควรให้ความสำคัญในกิจการนี้เป็นการเฉพาะ โดยมีหน่วยงานเพื่อดูแลกิจการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน ให้มากที่สุด***
*******************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 พ.ค. 2550--จบ--