ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ออกกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเงินตราต่างประเทศเข้าและออกจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนแจ้งถึง ธพ. ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย ธ.ออมสิน และ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรื่อง การออกกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเงินตรา
ต่างประเทศเข้าและออกจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยประกาศให้ผู้ที่จะเดินทางเข้าหรือออกจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป รวม สหราช
อาณาจักร ที่ถือเงินตราต่างประเทศ รวมถึงธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ดราฟต์ เช็คทุกประเภท และเช็คเดินทาง ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10,000 ยูโร
หรือ 6,800 ปอนด์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 440,000 บาท จะต้องแสดงตนและสำแดงต่อกรมศุลกากร และสรรพากร หากผู้ใดฝ่าฝืนและไม่
สำแดงอาจถูกยึดเงินและสอบสวนได้ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามกฎหมายฉบับใหม่ว่าด้วยการ
ควบคุมเงินทุนไหลเข้าออกจากประเทศของสหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์ )
2. ธปท.ชี้แจงอยู่ระหว่างตรวจสอบกรณีการปล่อยสินเชื่อของ ธ.ทหารไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ถึงกรณีที่นายสมหมายภาษี รมช.คลังและอดีตประธานกรรมการบริหาร ธ.ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เสนอให้ ธปท.เร่งตรวจสอบการปล่อย
สินเชื่อของ ธ.ทหารไทย เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาเอ็นพีแอลและขาดทุนสะสมว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบของ ธปท.กำลังอยู่ระหว่าง
ตรวจสอบประจำปีสำหรับระบบ ธพ. ซึ่งรวมถึง ธ.ทหารไทยด้วย และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงเดือน ก.ค.นี้ โดยแนวทางในการตรวจสอบ
ธปท.จะเข้าดูเรื่องความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการพิจารณาสินเชื่อ ด้านผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกำกับ
สถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบ ธ.ทหารไทยที่ผ่านๆ มา ไม่พบว่ามีการทุจริต อีกทั้งสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์
เสี่ยงของธนาคารก็ยังดีอยู่ (กรุงเทพธุรกิจ 16, ผู้จัดการรายวัน 16-17)
3. จำนวนนักท่องเที่ยวเดือน ม.ค.-พ.ค.50 เติบโตลดลง 13.38% นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า จากการ
เก็บตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวของสมาคมตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค.50 มีอัตราการเติบโตลดลง 13.38% คิดเป็นจำนวน 1.05 แสนคน โดยเฉพาะ
ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากเอเชีย เนื่องจากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจากจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ลดลงต่อเนื่อง
นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าในปี 50 นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวอาจไม่ได้ตามเป้าหมายที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 14.8 ล้านคน โดย
อาจลดลงเหลือ 14.5 ล้านคน (กรุงเทพธุรกิจ 16)
4. ช่วง 8 เดือนแรกปี งปม.50 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 2.4 แสน ล.บาท โฆษก ก.คลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตาม
กระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปี งปม.2550 ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 800,102 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
2.9% ในขณะที่มีการใช้จ่ายเงินทั้งสิ้น 990,363 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.1% ส่งผลให้ดุลเงิน งปม.ในช่วง 8 เดือนแรก
ของปี งปม. ขาดดุล 190,261 ล.บาท โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 60,560 ล.บาท หรือ 46.7% ทั้งนี้ เมื่อรวมกับ
ดุลเงินนอก งปม.ที่ขาดดุลจำนวน 53,582 ล.บาทแล้ว ทำให้ดุลการคลัง(ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 244,113 ล.บาท ซึ่งรัฐบาล
ได้ชดเชยการขาดดุลโดยการใช้เงินคงคลัง 100,453 ล.บาท การออก พธบ.จำนวน 97,115 ล.บาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
46,545 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 16, ไทยโพสต์ 16)
5. ก.คลังเพิ่มทุน ธ.อิสลาม 1.8 พัน ล.บาทภายในเดือน มิ.ย.นี้ นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ รักษาการกรรมการผู้จัดการ
ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเพิ่มทุน ธ.อิสลามว่า ล่าสุด ก.คลังได้ตกลงว่าจะเพิ่มทุน 1.8 พัน ล.บาท
เพียงผู้เดียวภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อช่วยดำรงสถานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารไม่ให้ต่ำกว่า 8.5 เท่า ส่วนการเพิ่มทุนอีก
1.5 พัน ล.บาท จะมีขึ้นในเดือน ต.ค.นี้ ทั้งนี้ ราคาหุ้นเพิ่มทุนของ ธอท.จะอยู่ที่หุ้นละ 1.08 บาท รวม 3.55 พัน ล.หุ้น เป็นวงเงินทั้งสิ้น
3.3 พัน ล.บาท โดยเมื่อ ก.คลังเพิ่มทุนแล้ว สัดส่วนหุ้นของ ก.คลังจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 60% จากเดิมที่อยู่ที่ 16% แต่เมื่อเพิ่มทุนครบทั้งหมดแล้ว
สัดส่วนของ ก.คลังจะเหลือไม่เกิน 49% (ไทยโพสต์)
6. ก.คลังปรับลดประมาณการจัดเก็บรายได้ของทุกหน่วยงานในปี 2551 ลง แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.คลัง
ได้ปรับลดประมาณการจัดเก็บรายได้ของทุกหน่วยงานในปี 2551 ลง หลังจาก ครม.มีมติปรับลดประมาณการรายได้สุทธิของรัฐบาลในปี 51 ลง
2 หมื่น ล.บาท จาก 1,515 ล.บาท เหลือ 1,495 ล.บาท เนื่องจากมีการประเมินว่า การจัดเก็บรายได้ภาพรวมของรัฐบาลในปี 50 จะ
ต่ำกว่าเป้าหมายเพราะเศรษฐกิจในปีนี้อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่มีการปรับลดเป้าหมายจัดเก็บรายได้ลงมากที่สุด
สำหรับเป้าหมายใหม่ในการเก็บรายได้ภาพรวมในปี 2551 ประกอบด้วย กรมสรรพากร 1.208 ล้านล้านบาท ลดลง 1.7 หมื่น ล.บาท
กรมสรรพสามิต 2.928 แสน ล.บาท ลดลง 4 พัน ล.บาท กรมศุลกากร 8.78 หมื่น ล.บาท เพิ่มขึ้น 2 พัน ล.บาท รัฐวิสาหกิจ
9.86 หมื่นล.บาท เท่ากับเป้าหมายเดิม และส่วนราชการอื่นๆ 8.445 หมื่น ล.บาท ลดลง 2 พัน ล.บาท ทั้งนี้ สำนัก งปม.จะเสนอร่าง
พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 ให้ ครม.พิจารณาในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ก่อนจะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 192.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ
สรอ. เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.50 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. ในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น
192.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่เคยมีสัญญาณลดลงจากการปรับประมาณการในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เหลือ 187.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จาก 195.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ค่าเฉลี่ยกลางของผลสำรวจความคิดเห็นนักวิคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 201.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ยังปรับประมาณการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสำหรับปี 49 ลดลงเหลือ 811.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 856.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. และยังได้ปรับลดประมาณการสำหรับปีอื่น ๆ ย้อนหลังไปถึงปี 44 ด้วย แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นสำหรับปี 40 ถึงปี 43 ซึ่ง ก.พาณิชย์ชี้แจงว่า
การปรับปรุงตัวเลขดังกล่าวเป็นการสะท้อนข้อมูลใหม่ที่ได้รับเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด สำหรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรก
ปีนี้เทียบเท่ากับร้อยละ 5.7 ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ขณะที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดตลอดปี 49 คิดเป็น
ร้อยละ 6.1 ของจีดีพี ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 48 ทั้งนี้ การขาดหรือเกินของบัญชีดุลเดินสะพัดของ สรอ. คิดคำนวณจากยอดการค้าของ สรอ.
กับทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงสินค้า บริการ และการไหลเข้าของรายได้ ซึ่งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมหาศาลของ สรอ. ถูกมองว่า
เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจ สรอ. โดยส่วนใหญ่ของยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรายไตรมาสที่เพิ่มขึ้นมาจากยอดสุทธิของการโอน
รายได้ไปให้กับต่างประเทศ เช่น รัฐบาล สรอ. ให้เงินช่วยเหลือไปสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางและการส่งเงินช่วยเหลือแบบลับเฉพาะ โดยมี
ยอดเพิ่มขึ้นเป็น 26.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก จาก 20.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ในขณะที่ยอด
ขาดดุลของสินค้าและบริการลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 176.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก จาก 176.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ใน
ไตรมาสสุดท้ายปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 270.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 266.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้า
สินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 471.0 พันล้านดอลลารณ์ สรอ. จาก 466.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย.50 ของ Euro zone มีจำนวน 3.5 พันล้านยูโรลดลงจากเดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 15 มิ.ย.50 ยอดเกินดุลการค้าของ 13 ประเทศซึ่งใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 3.5 พันล้านยูโร
ในเดือน เม.ย.50 ลดลงจากจำนวน 5.4 พันล้านยูโรในเดือน มี.ค.50 หลังจากยอดนำเข้าสูงขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่
ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ต่อเดือน โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.
และเงินเยนของญี่ปุ่น และผลจากความต้องการในประเทศที่ชะลอตัวลงของ สรอ.ซึ่งเป็นคู่ค้ารายสำคัญอันดับที่ 2 ของ Euro zone รองจาก
อังกฤษ ทั้งนี้ ฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคนี้มียอดเกินดุลการค้าลดลงมากสุดโดยยอดเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย.50
มีจำนวน 0.3 พันล้านยูโรลดลงจาก 1.3 พันล้านยูโรในเดือนก่อน ในขณะที่เยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดใน Euro zone มียอดเกิน
การค้าถึง 6.0 พันล้านยูโรสูงสุดในภูมิภาคนี้ โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าสินค้าฝรั่งเศสส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภค ในขณะที่เยอรมนี
ผลิตสินค้าทุนมากกว่าจึงไปได้ดีกว่า (รอยเตอร์)
3. การส่งออกและนำเข้าของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.50 ลดลงภายหลังการทบทวนตัวเลขใหม่แล้ว รายงานจากโซล เมื่อ
15 มิ.ย.50 กรมศุลกากรเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.50 (ภายหลังการทบทวนตัวเลขใหม่และก่อนปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 อยู่ที่จำนวน 31.12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบต่อปี จากที่รายงานเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.9 อยู่ที่จำนวน 31.25 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การนำเข้าจำนวน 29.72 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4
หลังจากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่ามีจำนวน 29.77 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าในเดือน
พ.ค.จำนวน 1.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากที่รายงานเบื้องต้นว่าเกินดุลจำนวน 1.48 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. รายได้โดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 15 มิ.ย.50
ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รายได้โดยรวมของญี่ปุ่นภายหลังการทบทวนแล้ว (ซึ่งเป็นรายได้ที่รับเป็นเงินสด) ในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.2
เทียบต่อปี หลังจากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าลดลงร้อยละ 0.7 ส่งผลให้ผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขการเติบโตของรายได้การ
จ้างงานที่ชะลอลง อันจะช่วยกระตุ้นการบริโภคส่วนบุคคลให้กระเตื้องขึ้นได้บ้าง ทั้งนี้ การบริโภคส่วนบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ ธ.กลางญี่ปุ่นเฝ้า
ติดตามตัวเลขอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อนึ่ง ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่า จะคงระดับอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
คาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 มิ.ย. 50 15 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.647 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4276/34.7626 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66844 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 744.25/16.07 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.16 66.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ออกกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเงินตราต่างประเทศเข้าและออกจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ
ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนแจ้งถึง ธพ. ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย ธ.ออมสิน และ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เรื่อง การออกกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเงินตรา
ต่างประเทศเข้าและออกจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยประกาศให้ผู้ที่จะเดินทางเข้าหรือออกจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป รวม สหราช
อาณาจักร ที่ถือเงินตราต่างประเทศ รวมถึงธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ดราฟต์ เช็คทุกประเภท และเช็คเดินทาง ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10,000 ยูโร
หรือ 6,800 ปอนด์ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 440,000 บาท จะต้องแสดงตนและสำแดงต่อกรมศุลกากร และสรรพากร หากผู้ใดฝ่าฝืนและไม่
สำแดงอาจถูกยึดเงินและสอบสวนได้ ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามกฎหมายฉบับใหม่ว่าด้วยการ
ควบคุมเงินทุนไหลเข้าออกจากประเทศของสหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป (โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์ )
2. ธปท.ชี้แจงอยู่ระหว่างตรวจสอบกรณีการปล่อยสินเชื่อของ ธ.ทหารไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ถึงกรณีที่นายสมหมายภาษี รมช.คลังและอดีตประธานกรรมการบริหาร ธ.ทหารไทย จำกัด (มหาชน) เสนอให้ ธปท.เร่งตรวจสอบการปล่อย
สินเชื่อของ ธ.ทหารไทย เพราะเกรงว่าจะมีปัญหาเอ็นพีแอลและขาดทุนสะสมว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบของ ธปท.กำลังอยู่ระหว่าง
ตรวจสอบประจำปีสำหรับระบบ ธพ. ซึ่งรวมถึง ธ.ทหารไทยด้วย และคาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงเดือน ก.ค.นี้ โดยแนวทางในการตรวจสอบ
ธปท.จะเข้าดูเรื่องความเสี่ยงการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการพิจารณาสินเชื่อ ด้านผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกำกับ
สถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบ ธ.ทหารไทยที่ผ่านๆ มา ไม่พบว่ามีการทุจริต อีกทั้งสัดส่วนการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์
เสี่ยงของธนาคารก็ยังดีอยู่ (กรุงเทพธุรกิจ 16, ผู้จัดการรายวัน 16-17)
3. จำนวนนักท่องเที่ยวเดือน ม.ค.-พ.ค.50 เติบโตลดลง 13.38% นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า จากการ
เก็บตัวเลขสถิตินักท่องเที่ยวของสมาคมตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค.50 มีอัตราการเติบโตลดลง 13.38% คิดเป็นจำนวน 1.05 แสนคน โดยเฉพาะ
ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจากเอเชีย เนื่องจากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจากจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน ลดลงต่อเนื่อง
นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าในปี 50 นี้ จำนวนนักท่องเที่ยวอาจไม่ได้ตามเป้าหมายที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 14.8 ล้านคน โดย
อาจลดลงเหลือ 14.5 ล้านคน (กรุงเทพธุรกิจ 16)
4. ช่วง 8 เดือนแรกปี งปม.50 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 2.4 แสน ล.บาท โฆษก ก.คลัง เปิดเผยฐานะการคลังของรัฐบาลตาม
กระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปี งปม.2550 ว่า รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 800,102 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน
2.9% ในขณะที่มีการใช้จ่ายเงินทั้งสิ้น 990,363 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.1% ส่งผลให้ดุลเงิน งปม.ในช่วง 8 เดือนแรก
ของปี งปม. ขาดดุล 190,261 ล.บาท โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 60,560 ล.บาท หรือ 46.7% ทั้งนี้ เมื่อรวมกับ
ดุลเงินนอก งปม.ที่ขาดดุลจำนวน 53,582 ล.บาทแล้ว ทำให้ดุลการคลัง(ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 244,113 ล.บาท ซึ่งรัฐบาล
ได้ชดเชยการขาดดุลโดยการใช้เงินคงคลัง 100,453 ล.บาท การออก พธบ.จำนวน 97,115 ล.บาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
46,545 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 16, ไทยโพสต์ 16)
5. ก.คลังเพิ่มทุน ธ.อิสลาม 1.8 พัน ล.บาทภายในเดือน มิ.ย.นี้ นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ รักษาการกรรมการผู้จัดการ
ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเพิ่มทุน ธ.อิสลามว่า ล่าสุด ก.คลังได้ตกลงว่าจะเพิ่มทุน 1.8 พัน ล.บาท
เพียงผู้เดียวภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อช่วยดำรงสถานะเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารไม่ให้ต่ำกว่า 8.5 เท่า ส่วนการเพิ่มทุนอีก
1.5 พัน ล.บาท จะมีขึ้นในเดือน ต.ค.นี้ ทั้งนี้ ราคาหุ้นเพิ่มทุนของ ธอท.จะอยู่ที่หุ้นละ 1.08 บาท รวม 3.55 พัน ล.หุ้น เป็นวงเงินทั้งสิ้น
3.3 พัน ล.บาท โดยเมื่อ ก.คลังเพิ่มทุนแล้ว สัดส่วนหุ้นของ ก.คลังจะเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 60% จากเดิมที่อยู่ที่ 16% แต่เมื่อเพิ่มทุนครบทั้งหมดแล้ว
สัดส่วนของ ก.คลังจะเหลือไม่เกิน 49% (ไทยโพสต์)
6. ก.คลังปรับลดประมาณการจัดเก็บรายได้ของทุกหน่วยงานในปี 2551 ลง แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.คลัง
ได้ปรับลดประมาณการจัดเก็บรายได้ของทุกหน่วยงานในปี 2551 ลง หลังจาก ครม.มีมติปรับลดประมาณการรายได้สุทธิของรัฐบาลในปี 51 ลง
2 หมื่น ล.บาท จาก 1,515 ล.บาท เหลือ 1,495 ล.บาท เนื่องจากมีการประเมินว่า การจัดเก็บรายได้ภาพรวมของรัฐบาลในปี 50 จะ
ต่ำกว่าเป้าหมายเพราะเศรษฐกิจในปีนี้อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่มีการปรับลดเป้าหมายจัดเก็บรายได้ลงมากที่สุด
สำหรับเป้าหมายใหม่ในการเก็บรายได้ภาพรวมในปี 2551 ประกอบด้วย กรมสรรพากร 1.208 ล้านล้านบาท ลดลง 1.7 หมื่น ล.บาท
กรมสรรพสามิต 2.928 แสน ล.บาท ลดลง 4 พัน ล.บาท กรมศุลกากร 8.78 หมื่น ล.บาท เพิ่มขึ้น 2 พัน ล.บาท รัฐวิสาหกิจ
9.86 หมื่นล.บาท เท่ากับเป้าหมายเดิม และส่วนราชการอื่นๆ 8.445 หมื่น ล.บาท ลดลง 2 พัน ล.บาท ทั้งนี้ สำนัก งปม.จะเสนอร่าง
พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551 ให้ ครม.พิจารณาในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ก่อนจะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ. ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรกปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 192.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศ
สรอ. เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.50 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. ในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น
192.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่เคยมีสัญญาณลดลงจากการปรับประมาณการในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เหลือ 187.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จาก 195.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ค่าเฉลี่ยกลางของผลสำรวจความคิดเห็นนักวิคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 201.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
นอกจากนี้ ก.พาณิชย์ยังปรับประมาณการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสำหรับปี 49 ลดลงเหลือ 811.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 856.7 พันล้านดอลลาร์
สรอ. และยังได้ปรับลดประมาณการสำหรับปีอื่น ๆ ย้อนหลังไปถึงปี 44 ด้วย แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นสำหรับปี 40 ถึงปี 43 ซึ่ง ก.พาณิชย์ชี้แจงว่า
การปรับปรุงตัวเลขดังกล่าวเป็นการสะท้อนข้อมูลใหม่ที่ได้รับเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด สำหรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรก
ปีนี้เทียบเท่ากับร้อยละ 5.7 ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ขณะที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดตลอดปี 49 คิดเป็น
ร้อยละ 6.1 ของจีดีพี ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 48 ทั้งนี้ การขาดหรือเกินของบัญชีดุลเดินสะพัดของ สรอ. คิดคำนวณจากยอดการค้าของ สรอ.
กับทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงสินค้า บริการ และการไหลเข้าของรายได้ ซึ่งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมหาศาลของ สรอ. ถูกมองว่า
เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของเศรษฐกิจ สรอ. โดยส่วนใหญ่ของยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรายไตรมาสที่เพิ่มขึ้นมาจากยอดสุทธิของการโอน
รายได้ไปให้กับต่างประเทศ เช่น รัฐบาล สรอ. ให้เงินช่วยเหลือไปสู่ภูมิภาคตะวันออกกลางและการส่งเงินช่วยเหลือแบบลับเฉพาะ โดยมี
ยอดเพิ่มขึ้นเป็น 26.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก จาก 20.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ในขณะที่ยอด
ขาดดุลของสินค้าและบริการลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 176.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสแรก จาก 176.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ใน
ไตรมาสสุดท้ายปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 270.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 266.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้า
สินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 471.0 พันล้านดอลลารณ์ สรอ. จาก 466.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย.50 ของ Euro zone มีจำนวน 3.5 พันล้านยูโรลดลงจากเดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลส์
เมื่อ 15 มิ.ย.50 ยอดเกินดุลการค้าของ 13 ประเทศซึ่งใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมีจำนวน 3.5 พันล้านยูโร
ในเดือน เม.ย.50 ลดลงจากจำนวน 5.4 พันล้านยูโรในเดือน มี.ค.50 หลังจากยอดนำเข้าสูงขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะที่
ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ต่อเดือน โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าเป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโรเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.
และเงินเยนของญี่ปุ่น และผลจากความต้องการในประเทศที่ชะลอตัวลงของ สรอ.ซึ่งเป็นคู่ค้ารายสำคัญอันดับที่ 2 ของ Euro zone รองจาก
อังกฤษ ทั้งนี้ ฝรั่งเศสซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคนี้มียอดเกินดุลการค้าลดลงมากสุดโดยยอดเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย.50
มีจำนวน 0.3 พันล้านยูโรลดลงจาก 1.3 พันล้านยูโรในเดือนก่อน ในขณะที่เยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดใน Euro zone มียอดเกิน
การค้าถึง 6.0 พันล้านยูโรสูงสุดในภูมิภาคนี้ โดยนักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าสินค้าฝรั่งเศสส่วนใหญ่เป็นสินค้าสำหรับผู้บริโภค ในขณะที่เยอรมนี
ผลิตสินค้าทุนมากกว่าจึงไปได้ดีกว่า (รอยเตอร์)
3. การส่งออกและนำเข้าของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.50 ลดลงภายหลังการทบทวนตัวเลขใหม่แล้ว รายงานจากโซล เมื่อ
15 มิ.ย.50 กรมศุลกากรเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค.50 (ภายหลังการทบทวนตัวเลขใหม่และก่อนปรับปัจจัย
ทางฤดูกาล) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 อยู่ที่จำนวน 31.12 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบต่อปี จากที่รายงานเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.9 อยู่ที่จำนวน 31.25 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่การนำเข้าจำนวน 29.72 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4
หลังจากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่ามีจำนวน 29.77 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าในเดือน
พ.ค.จำนวน 1.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากที่รายงานเบื้องต้นว่าเกินดุลจำนวน 1.48 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. รายได้โดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 15 มิ.ย.50
ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รายได้โดยรวมของญี่ปุ่นภายหลังการทบทวนแล้ว (ซึ่งเป็นรายได้ที่รับเป็นเงินสด) ในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.2
เทียบต่อปี หลังจากที่รายงานเบื้องต้นก่อนหน้านี้ว่าลดลงร้อยละ 0.7 ส่งผลให้ผ่อนคลายความกังวลเกี่ยวกับตัวเลขการเติบโตของรายได้การ
จ้างงานที่ชะลอลง อันจะช่วยกระตุ้นการบริโภคส่วนบุคคลให้กระเตื้องขึ้นได้บ้าง ทั้งนี้ การบริโภคส่วนบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ ธ.กลางญี่ปุ่นเฝ้า
ติดตามตัวเลขอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อนึ่ง ธ.กลางญี่ปุ่นคาดว่า จะคงระดับอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่
คาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 มิ.ย. 50 15 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.647 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4276/34.7626 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66844 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 744.25/16.07 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,650/10,750 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.16 66.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--