กฎหมายความมั่นคงที่ทำให้รู้สึกไม่มั่นคง
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
19 กรกฎาคม 2550
เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่มีการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและวิพากษณ์วิจารณ์กันเป็นอันมาก ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ เรื่องของร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการไปแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนที่จะนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ได้มีความพยายามในอันที่จะผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงดังกล่าวนี้ขึ้นมาด้วยเหตุผลที่ว่า ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงทั้งจากบุคคลและกลุ่มบุคคลหลากหลายรูปแบบที่มีความสลับซับซ้อนมีความรุนแรง รวดเร็ว และจะสามารถขยายตัวส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยเป็นภัยอันตรายต่อความสงบสุข และอาจกระทบต่อบูรณภาพแห่งดินแดน และเอกราชของประเทศได้ จึงควรที่จะได้มีกฎหมาย กำหนดให้มีองค์กรที่เป็นหน่วยปฏิบัติหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงอย่างบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันภยันตรายดังกล่าวมาทั้งที่เกิดขึ้นในยามปกติและในยามที่ได้เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในทุกพื้นที่
ส่วนองค์กรที่จะเป็นหน่วยปฏิบัติหลักที่จะมีกฎหมายกำหนดหรือรับรองสถานะที่ว่านี้ก็คือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่เรียกชื่อย่อว่า กอ.รมน. ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่ในสมัยที่ยังมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์นั่นเอง ซึ่งกองทัพบกก็ได้พยายามชี้แจงว่าสาเหตุที่ให้อำนาจ กอ.รมน. เป็นหน่วยปฏิบัติหลักก็เพราะว่า กองทัพบกมีทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงมากที่สุด และก็เลยกำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือ ผบ.ทบ. เป็น ผอ.กอ.รมน.
ผมคิดว่าลำพังเรื่องเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อรับรองสถานภาพของหน่วยปฏิบัติหลักในการดำเนินการบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันภยันตรายต่อความมั่นคงอันมีมาก หลากหลายรูปแบบนั้น ดูก็พอจะเป็นที่เข้าใจและพอรับกันได้ เพราะทุกคนต่างก็ต้องการให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและก็เข้าใจกันดีว่าจะให้บรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายต้องทำงานเสี่ยงภัยโดยไม่มีกฎหมายรองรับนั้นไม่ได้แน่นอน แต่ที่ฟังดูแล้วและมีการโต้แย้งไม่เห็นด้วยเอามาก ๆ ก็คือ เรื่องอำนาจที่กำหนดไว้ในตัวร่างกฎหมาย สำหรับผอ.กอ.รมน. ซึ่งเห็นได้ชัดทีเดียวว่า มีอำนาจมากเหลือเกินมากยิ่งกว่าอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เสียอีก กล่าวคือ
1. อำนาจในการตีความความหมายของ “การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร” และ “การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร” ซึ่งครอบคลุมกว้างขวางมากไปกว่าความหมายของคำ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่อยู่ในอำนาจการตีความของนายกรัฐมนตรี ก่อนการดำเนินการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสั่งการให้มีการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งฟื้นฟูหรือช่อยเหลือประชาชนเสียอีก
2. อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรีจะกระทำได้ก็โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหรือในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นว่าจำเป็นและไม่อาจรอขอความเห็นชอบก่อนได้ ก็ให้ประกาศได้แต่ต้องดำเนินการให้ได้รับความเห็นชอบภายในสามวัน และหากไม่ได้รับความเห็นชอบก็ต้องถือว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
ส่วนอำนาจของ ผอ.กอ.รมน. ตามร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีประกาศอะไร และต้องขอความเห็นชอบจากใครเพียงแต่เมื่อเห็นว่า มีการกระทำที่เข้าข่าย “ก็สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเพื่อ “การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร” ได้เลย
3. การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้มีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการจะต้องมีระยะเวลากำกับที่แน่นอน ซึ่งต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ และหากมีความจำเป็นต้องขยายเวลา ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและขยายได้เป็นคราว ๆ คราวละไม่เกินสามเดือน
ในขณะที่ในร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ ผอ.กอ.รมน.สามารถสั่งดำเนินการได้ตลอดเวลาเพราะไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในเรื่องนี้และจึงเป็นเหตุให้มีการกล่าวเปรียบเทียบในทำนองประชดประชันกันอยู่บ้างว่า สถานการณ์ฉุกเฉินที่เคยได้มีการประกาศในบางเวลาและในบางพื้นที่นั้นจะกลายเป็นการประกาศได้ตลอดเวลาและในทุกพื้นที่
ผมเข้าใจว่าอำนาจของ ผอ.กอ.รมน. ซึ่งก็คือ ผบ.ทบ.ตามร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ ที่มีมากอย่างเหลือเกินโดยปราศจากการควบคุมเช่นนี้ นับเป็นเหตุผลอย่างสำคัญที่ทำให้มีการโต้แย้ง คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้กันมาก นอกเหนือจากเหตุผลอื่น ๆ อีก เช่น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทำนองเดียวกัน มากพอแล้ว ทั้งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพระพุทธศักราช 2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และที่สำคัญก็คือประสบการณ์ของการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เพิ่งจะผ่านไป ที่คิดและทำไปโดยอ้างว่าเพื่อป้องกันและรักษาความมั่นคงของชาตินั้น ได้กลายเป็นการก่อให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเสียอีก เพราะอำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยปราศจากการควบคุมก็คือ ดาบสองคมที่อาจทำร้ายได้ทั้งคนร้ายและคนดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไปตกอยู่ในมือคนไม่ดีที่ลืมตัวและเมามัวอำนาจ
ในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ดังกล่าวนี้ของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีการแก้ไขปรับปรุง ตามข้อวิพากษ์วิจารณ์มากน้อยเพียงใดยังไม่มีใครทราบได้ แต่ก็ยังนับเป็นที่น่ายินดีที่สองบิ๊กผู้ยิ่งใหญ่ คือ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ และประธาน คมช. พลเอกสนธิ ต่างแสดงออกให้เห็นว่า พร้อมจะยอมรับการแก้ไขในประเด็นที่จำเป็นและเหมาะสม และก็ดูจะมีรายงานข่าวว่าที่ร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ฉบับนี้เคยมีอยู่ในบัญชีร่างพ.ร.บ.ที่ครม.เห็นสมควรให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายใน 30 กันยายนนี้ดูจะไม่มีอยู่ในบัญชีที่ว่าแล้ว ซึ่งก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอีกเช่นเดียวกัน เพราะร่างกฎหมายที่นำเสนอเข้ามาไม่ถูกเวลาเช่นนี้ คือการนำเสนอร่างกฎหมายที่มีแต่จะกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในขณะที่มีการรณรงค์ให้มีการออกเสียงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ย้ำแล้วย้ำอีกว่าจุดเด่นของรัฐธรรมนูญนี้ก็คือการขยายการรับรองและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่มากขึ้นกว่าเดิม เพียงเท่านี้ก็พอจะมองเห็นได้แล้วว่า จะควรหรือไม่ประการใดและถ้าหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงตามข้อวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดแล้วละก็ ร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงเจ้าปัญหาฉบับนี้ก็คงจะเป็นได้เพียงกฎหมายความมั่นคงที่ทำให้รู้สึกไม่มั่นคงมากยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ก.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
19 กรกฎาคม 2550
เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่มีการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งและวิพากษณ์วิจารณ์กันเป็นอันมาก ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ เรื่องของร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการไปแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนที่จะนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ได้มีความพยายามในอันที่จะผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงดังกล่าวนี้ขึ้นมาด้วยเหตุผลที่ว่า ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงทั้งจากบุคคลและกลุ่มบุคคลหลากหลายรูปแบบที่มีความสลับซับซ้อนมีความรุนแรง รวดเร็ว และจะสามารถขยายตัวส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยเป็นภัยอันตรายต่อความสงบสุข และอาจกระทบต่อบูรณภาพแห่งดินแดน และเอกราชของประเทศได้ จึงควรที่จะได้มีกฎหมาย กำหนดให้มีองค์กรที่เป็นหน่วยปฏิบัติหลักเพื่อรับผิดชอบดำเนินการรักษาความมั่นคงอย่างบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันภยันตรายดังกล่าวมาทั้งที่เกิดขึ้นในยามปกติและในยามที่ได้เกิดสถานการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงในทุกพื้นที่
ส่วนองค์กรที่จะเป็นหน่วยปฏิบัติหลักที่จะมีกฎหมายกำหนดหรือรับรองสถานะที่ว่านี้ก็คือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่เรียกชื่อย่อว่า กอ.รมน. ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่ในสมัยที่ยังมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมูนิสต์นั่นเอง ซึ่งกองทัพบกก็ได้พยายามชี้แจงว่าสาเหตุที่ให้อำนาจ กอ.รมน. เป็นหน่วยปฏิบัติหลักก็เพราะว่า กองทัพบกมีทรัพยากรในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงมากที่สุด และก็เลยกำหนดให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือ ผบ.ทบ. เป็น ผอ.กอ.รมน.
ผมคิดว่าลำพังเรื่องเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อรับรองสถานภาพของหน่วยปฏิบัติหลักในการดำเนินการบูรณาการและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันภยันตรายต่อความมั่นคงอันมีมาก หลากหลายรูปแบบนั้น ดูก็พอจะเป็นที่เข้าใจและพอรับกันได้ เพราะทุกคนต่างก็ต้องการให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและก็เข้าใจกันดีว่าจะให้บรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายต้องทำงานเสี่ยงภัยโดยไม่มีกฎหมายรองรับนั้นไม่ได้แน่นอน แต่ที่ฟังดูแล้วและมีการโต้แย้งไม่เห็นด้วยเอามาก ๆ ก็คือ เรื่องอำนาจที่กำหนดไว้ในตัวร่างกฎหมาย สำหรับผอ.กอ.รมน. ซึ่งเห็นได้ชัดทีเดียวว่า มีอำนาจมากเหลือเกินมากยิ่งกว่าอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เสียอีก กล่าวคือ
1. อำนาจในการตีความความหมายของ “การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร” และ “การกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร” ซึ่งครอบคลุมกว้างขวางมากไปกว่าความหมายของคำ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่อยู่ในอำนาจการตีความของนายกรัฐมนตรี ก่อนการดำเนินการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสั่งการให้มีการใช้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งฟื้นฟูหรือช่อยเหลือประชาชนเสียอีก
2. อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของนายกรัฐมนตรีจะกระทำได้ก็โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีหรือในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นว่าจำเป็นและไม่อาจรอขอความเห็นชอบก่อนได้ ก็ให้ประกาศได้แต่ต้องดำเนินการให้ได้รับความเห็นชอบภายในสามวัน และหากไม่ได้รับความเห็นชอบก็ต้องถือว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
ส่วนอำนาจของ ผอ.กอ.รมน. ตามร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีประกาศอะไร และต้องขอความเห็นชอบจากใครเพียงแต่เมื่อเห็นว่า มีการกระทำที่เข้าข่าย “ก็สามารถสั่งการให้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเพื่อ “การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร” ได้เลย
3. การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยนายกรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้มีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการจะต้องมีระยะเวลากำกับที่แน่นอน ซึ่งต้องไม่เกินสามเดือนนับแต่วันประกาศ และหากมีความจำเป็นต้องขยายเวลา ก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและขยายได้เป็นคราว ๆ คราวละไม่เกินสามเดือน
ในขณะที่ในร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ ผอ.กอ.รมน.สามารถสั่งดำเนินการได้ตลอดเวลาเพราะไม่มีข้อจำกัดใด ๆ ในเรื่องนี้และจึงเป็นเหตุให้มีการกล่าวเปรียบเทียบในทำนองประชดประชันกันอยู่บ้างว่า สถานการณ์ฉุกเฉินที่เคยได้มีการประกาศในบางเวลาและในบางพื้นที่นั้นจะกลายเป็นการประกาศได้ตลอดเวลาและในทุกพื้นที่
ผมเข้าใจว่าอำนาจของ ผอ.กอ.รมน. ซึ่งก็คือ ผบ.ทบ.ตามร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงฯ ที่มีมากอย่างเหลือเกินโดยปราศจากการควบคุมเช่นนี้ นับเป็นเหตุผลอย่างสำคัญที่ทำให้มีการโต้แย้ง คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้กันมาก นอกเหนือจากเหตุผลอื่น ๆ อีก เช่น มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทำนองเดียวกัน มากพอแล้ว ทั้งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพระพุทธศักราช 2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และที่สำคัญก็คือประสบการณ์ของการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐในยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เพิ่งจะผ่านไป ที่คิดและทำไปโดยอ้างว่าเพื่อป้องกันและรักษาความมั่นคงของชาตินั้น ได้กลายเป็นการก่อให้เกิดปัญหาความไม่มั่นคงเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเสียอีก เพราะอำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยปราศจากการควบคุมก็คือ ดาบสองคมที่อาจทำร้ายได้ทั้งคนร้ายและคนดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไปตกอยู่ในมือคนไม่ดีที่ลืมตัวและเมามัวอำนาจ
ในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ดังกล่าวนี้ของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีการแก้ไขปรับปรุง ตามข้อวิพากษ์วิจารณ์มากน้อยเพียงใดยังไม่มีใครทราบได้ แต่ก็ยังนับเป็นที่น่ายินดีที่สองบิ๊กผู้ยิ่งใหญ่ คือ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ และประธาน คมช. พลเอกสนธิ ต่างแสดงออกให้เห็นว่า พร้อมจะยอมรับการแก้ไขในประเด็นที่จำเป็นและเหมาะสม และก็ดูจะมีรายงานข่าวว่าที่ร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงฯ ฉบับนี้เคยมีอยู่ในบัญชีร่างพ.ร.บ.ที่ครม.เห็นสมควรให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายใน 30 กันยายนนี้ดูจะไม่มีอยู่ในบัญชีที่ว่าแล้ว ซึ่งก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอีกเช่นเดียวกัน เพราะร่างกฎหมายที่นำเสนอเข้ามาไม่ถูกเวลาเช่นนี้ คือการนำเสนอร่างกฎหมายที่มีแต่จะกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในขณะที่มีการรณรงค์ให้มีการออกเสียงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ย้ำแล้วย้ำอีกว่าจุดเด่นของรัฐธรรมนูญนี้ก็คือการขยายการรับรองและคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่มากขึ้นกว่าเดิม เพียงเท่านี้ก็พอจะมองเห็นได้แล้วว่า จะควรหรือไม่ประการใดและถ้าหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงตามข้อวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใดแล้วละก็ ร่าง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงเจ้าปัญหาฉบับนี้ก็คงจะเป็นได้เพียงกฎหมายความมั่นคงที่ทำให้รู้สึกไม่มั่นคงมากยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ก.ค. 2550--จบ--