แท็ก
ปลาดุก
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 — 7 ม.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 877.97 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 418.49 ตัน สัตว์น้ำจืด 459.48 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.96 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.58 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.42 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.31 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 47.73 ตัน
การตลาด
การเลี้ยงกุ้งทะเลอินทรีย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันตลาดโลก
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอัตราการขยายตัวของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลก มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 25% โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ประมาณ 44% สหภาพยุโรป 41% ขณะที่ตลาดเอเชีย มีมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท ซึ่งกุ้งกุลาดำอินทรีย์ นับเป็นสินค้าสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่ตลาดโลกกำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ผลิตสำคัญอย่างประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ก็ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพระบบการผลิตสินค้ากุ้งทะเลอินทรีย์ของไทยให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก มกอช.จึงเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากภาครัฐ เอกชน ตัวแทนเกษตรกร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และระดมความคิดเห็นต่อการจัดทำร่างมาตรฐาน “การเลี้ยงกุ้งทะเลอินทรีย์” เพื่อปรับปรุงและนำเข้าสู่ขั้นตอนการร่างมาตรฐาน ก่อนเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณารับรองเป็นมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้อย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในโลกที่สนับสนุนการผลิตกุ้งกุลาดำอินทรีย์ จากการเลี้ยงแบบพัฒนามาตั้งแต่ปี 2545 แต่การรับรองมาตรฐานสินค้ากุ้งอินทรีย์เพื่อการส่งออกในขณะนี้ เกษตรกรต้องอาศัยหน่วยงาน Naturland ซึ่งเป็นหน่วยรับรองของเอกชนจากประเทศเยอรมนี เป็นผู้รับรองสินค้าให้ ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งสร้างมาตรฐานของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่เกษตรกร รวมทั้งเป็นแนวทางในการตรวจประเมิน และรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลอินทรีย์ของผู้ประกอบการ ซึ่งมีประมาณ 5 ราย จากผู้เลี้ยงกุ้งที่ขึ้นทะเบียน และได้รับการรับรองฟาร์ม ในระดับ GAP ทั้งหมด 38,000 ฟาร์ม และระดับ CoC จำนวน 412 ฟาร์มทั่วประเทศ
การเลี้ยงกุ้งอินทรีย์ เป็นระบบมาตรฐานที่สูงกว่า CoC ทำให้สินค้ากุ้งอินทรีย์ที่เป็นพรีเมียมเกรด (Premium Grade) มีราคาสูงกว่ากุ้งปกติ ประมาณ 10-20% ถึงแม้ว่าขณะนี้ ส่วนแบ่งตลาดจะไม่ใหญ่โตนัก แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานสินค้า เพื่อรักษาความ เป็นหนึ่งทั้งด้านปริมาณและคุณภาพกุ้งส่งออก รวมทั้งด้านวิธีการเลี้ยงและความหลากหลายของสินค้า เพื่อรักษาตลาดกุ้งในเวทีการค้าโลกตลอดไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.11 บาท สัปดาห์ก่อน 7.11 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.11 บาท สัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.78 บาท สัปดาห์ก่อน 5.22 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 - 19 ม.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15-21 มกราคม 2550--
-พห-
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 — 7 ม.ค. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 877.97 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 418.49 ตัน สัตว์น้ำจืด 459.48 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.96 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.58 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 77.42 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 12.31 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 47.73 ตัน
การตลาด
การเลี้ยงกุ้งทะเลอินทรีย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันตลาดโลก
นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอัตราการขยายตัวของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลก มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 25% โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ประมาณ 44% สหภาพยุโรป 41% ขณะที่ตลาดเอเชีย มีมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท ซึ่งกุ้งกุลาดำอินทรีย์ นับเป็นสินค้าสัตว์น้ำชนิดหนึ่งที่ตลาดโลกกำลังมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ผลิตสำคัญอย่างประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ก็ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพระบบการผลิตสินค้ากุ้งทะเลอินทรีย์ของไทยให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล ตลอดจนสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก มกอช.จึงเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากภาครัฐ เอกชน ตัวแทนเกษตรกร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และระดมความคิดเห็นต่อการจัดทำร่างมาตรฐาน “การเลี้ยงกุ้งทะเลอินทรีย์” เพื่อปรับปรุงและนำเข้าสู่ขั้นตอนการร่างมาตรฐาน ก่อนเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณารับรองเป็นมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศใช้อย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในโลกที่สนับสนุนการผลิตกุ้งกุลาดำอินทรีย์ จากการเลี้ยงแบบพัฒนามาตั้งแต่ปี 2545 แต่การรับรองมาตรฐานสินค้ากุ้งอินทรีย์เพื่อการส่งออกในขณะนี้ เกษตรกรต้องอาศัยหน่วยงาน Naturland ซึ่งเป็นหน่วยรับรองของเอกชนจากประเทศเยอรมนี เป็นผู้รับรองสินค้าให้ ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้น ไทยจึงต้องเร่งสร้างมาตรฐานของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่เกษตรกร รวมทั้งเป็นแนวทางในการตรวจประเมิน และรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลอินทรีย์ของผู้ประกอบการ ซึ่งมีประมาณ 5 ราย จากผู้เลี้ยงกุ้งที่ขึ้นทะเบียน และได้รับการรับรองฟาร์ม ในระดับ GAP ทั้งหมด 38,000 ฟาร์ม และระดับ CoC จำนวน 412 ฟาร์มทั่วประเทศ
การเลี้ยงกุ้งอินทรีย์ เป็นระบบมาตรฐานที่สูงกว่า CoC ทำให้สินค้ากุ้งอินทรีย์ที่เป็นพรีเมียมเกรด (Premium Grade) มีราคาสูงกว่ากุ้งปกติ ประมาณ 10-20% ถึงแม้ว่าขณะนี้ ส่วนแบ่งตลาดจะไม่ใหญ่โตนัก แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานสินค้า เพื่อรักษาความ เป็นหนึ่งทั้งด้านปริมาณและคุณภาพกุ้งส่งออก รวมทั้งด้านวิธีการเลี้ยงและความหลากหลายของสินค้า เพื่อรักษาตลาดกุ้งในเวทีการค้าโลกตลอดไป
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.11 บาท สัปดาห์ก่อน 7.11 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 119.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.05 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.11 บาท สัปดาห์ก่อน 0.11 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.78 บาท สัปดาห์ก่อน 5.22 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 15 - 19 ม.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 15-21 มกราคม 2550--
-พห-