1. การผลิตในประเทศ
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณ 6,491.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.7 และในครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการผลิต 13,020.3 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.9 ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เนื่องจากผู้ผลิตสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นร้านขายยา นอกจากนี้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตยังได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างให้ผลิตสินค้าใหม่ๆ รวมถึงขนาดสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย ประเภทของยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ และยาครีม ตัวอย่างของยาเหล่านี้ ได้แก่ ยาเม็ดพาราเซตามอล ยาน้ำแอลกอฮอล์ และยาครีมแก้อักเสบ/แก้คัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.6 ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อในประเทศลดลง โดยลูกค้าได้เปลี่ยนไปซื้อกับผู้ผลิตรายอื่นแทน
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณ 6,109 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.6 และ 3.6 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณ 12,007 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.9 การจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตจัดรายการส่งเสริมการขาย ได้แก่ ลดราคาสินค้า แถมสินค้า และจัดรายการท่องเที่ยว เป็นต้น ทำให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ในขณะที่ผู้ผลิตไม่สามารถปรับเพิ่มราคาสินค้าได้มากนัก เนื่องจากตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันด้านราคาสูง ทำให้มูลค่าการจำหน่ายสินค้าไม่เพิ่มมาก แม้ปริมาณการจำหน่ายจะขยายตัวดี
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรค ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีมูลค่า 6,834.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 8.1 และ 7.2 ตามลำดับ โดยตลาดนำเข้ายารักษาโรคที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,868.8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 42 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2550 มีการนำเข้ายารักษาโรคมูลค่า 13,210.6 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 5,847.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 44.3 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด
ยารักษาโรคที่นำเข้า ส่วนใหญ่เป็นยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้ในประเทศ ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ประกอบกับบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค และการทำประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ส่งผลให้การนำเข้ายารักษาโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีมูลค่า 1,208.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.5 ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 787.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 65.2 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 2,431.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.7 ตลาดส่งออกสำคัญในครึ่งแรกของปี ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,631.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.1 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด ยาที่ส่งออกเป็นยาสามัญ ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยาเป็นสินค้าที่มี Royalty สูง ถ้าผู้สั่งซื้อจากต่างประเทศมั่นใจในมาตรฐานของสินค้าแล้ว ตลาดจะยังสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การส่งออกยารักษาโรคลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.2 ซึ่งเหตุผลหนึ่งเนื่องมาจากมีการส่งออกไปมากช่วงปลายปีก่อน และช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผู้สั่งซื้อจึงยังมีสินค้าคงคลังเหลืออยู่ ส่งผลให้การส่งออกของไทยลดลงในไตรมาสนี้
5. นโยบายรัฐ
ความคืบหน้า (ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2550) จากการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศบังคับใช้สิทธิบัตร กรณียา Efavirenz ของ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ยาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์และ ริโทนาเวียร์ (Lopinavir & Ritonavir) ในสูตรตำรับพิเศษยาเม็ดเคลือบฟิล์มชื่อว่ายาอลูเวีย ของ บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด และ ยาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ของ บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด สรุปได้ดังนี้
1. บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ยืนยันราคายาอลูเวีย ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ/ปี ยังไม่รวมค่าส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีเงื่อนไขว่า กระทรวงสาธารณสุข ต้องไม่บังคับใช้สิทธิ์ยานี้ แต่คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร เห็นว่าราคาดังกล่าวยังสูงอยู่และได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบว่า หากบริษัทฯ เสนอราคาไม่เกินร้อยละ 5 ของราคายาสามัญ กระทรวงสาธารณสุข ยินดีจะซื้อยาจากบริษัทฯ แต่หากบริษัทฯ เสนอราคาเกินกว่านี้ ต้องมีโครงการพิเศษเพิ่มเติมเพื่อขยายการเข้าถึงยาให้มากขึ้น กระทรวงฯ จึงจะรับพิจารณา ซึ่งทางบริษัทฯ รับทราบนโยบายดังกล่าวและจะได้นำไปพิจารณา และนำเสนอราคาใหม่ในโอกาสการเจรจาครั้งต่อไป
2. บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด มีโครงการพิเศษเพื่อขยายการเข้าถึงยา พลาวิกซ์ โดยจะจัดเตรียมยาจำนวน 3.4 ล้านเม็ด/ปี ที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับยาที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยจัดทำในบรรจุภัณฑ์พิเศษ สำหรับผู้ป่วย 34,000 คน ที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งปกติไม่สามารถเข้าถึงยานี้ได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะจ่ายเงินเพียง 1 ล้านเม็ด เท่านั้น แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่าราคายาจากโครงการดังกล่าวยังมีราคาสูงอยู่ จึงเสนอว่าหากบริษัทฯ เสนอราคายาไม่เกินร้อยละ 5 ของราคายาสามัญ กระทรวงฯ ยินดีซื้อยาจากบริษัทฯ หรือหากมีราคาที่สูงกว่านี้ ควรจะมีการจัดทำโครงการพิเศษอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงยา ซึ่งบริษัทฯ รับทราบนโยบายดังกล่าวและจะได้นำไปพิจารณาต่อไป
3. บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อเสนอพิเศษเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงยาเอฟฟาไวเรนซ์สำหรับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วยการสนับสนุนยาน้ำเอฟฟาไวเรนซ์ชนิดแขวนตะกอน สำหรับการรักษาเด็กจำนวน 2,500 คน/ปี พร้อมกับการสนับสนุนงบประมาณการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ และให้การสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตยังได้รับคำสั่งซื้อให้ผลิตสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับปริมาณการจำหน่ายมีการขยายตัว เนื่องจากผู้ผลิตจัดรายการส่งเสริมการขาย ด้านการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขยายตัว ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสนใจสุขภาพของผู้นำเข้า ส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลักยังคงขยายตัวได้ดี
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า จะขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรและยาต้นตำรับเป็นหลัก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณ 6,491.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.7 และในครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการผลิต 13,020.3 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.9 ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เนื่องจากผู้ผลิตสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นร้านขายยา นอกจากนี้ผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตยังได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ว่าจ้างให้ผลิตสินค้าใหม่ๆ รวมถึงขนาดสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย ประเภทของยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ ยาเม็ด ยาน้ำ และยาครีม ตัวอย่างของยาเหล่านี้ ได้แก่ ยาเม็ดพาราเซตามอล ยาน้ำแอลกอฮอล์ และยาครีมแก้อักเสบ/แก้คัน เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณการผลิตลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.6 ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อในประเทศลดลง โดยลูกค้าได้เปลี่ยนไปซื้อกับผู้ผลิตรายอื่นแทน
2. การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณ 6,109 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 5.6 และ 3.6 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายในครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณ 12,007 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.9 การจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตจัดรายการส่งเสริมการขาย ได้แก่ ลดราคาสินค้า แถมสินค้า และจัดรายการท่องเที่ยว เป็นต้น ทำให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ในขณะที่ผู้ผลิตไม่สามารถปรับเพิ่มราคาสินค้าได้มากนัก เนื่องจากตลาดยาในประเทศมีการแข่งขันด้านราคาสูง ทำให้มูลค่าการจำหน่ายสินค้าไม่เพิ่มมาก แม้ปริมาณการจำหน่ายจะขยายตัวดี
3. การนำเข้า
การนำเข้ายารักษาโรค ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีมูลค่า 6,834.8 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 8.1 และ 7.2 ตามลำดับ โดยตลาดนำเข้ายารักษาโรคที่สำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 2,868.8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 42 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2550 มีการนำเข้ายารักษาโรคมูลค่า 13,210.6 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 5,847.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 44.3 ของมูลค่าการนำเข้ายารักษาโรคทั้งหมด
ยารักษาโรคที่นำเข้า ส่วนใหญ่เป็นยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้ในประเทศ ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก โดยนำเข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ประกอบกับบริษัทยาข้ามชาติได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด ผ่านช่องทางการจำหน่ายยาของโรงพยาบาล ซึ่งให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาเลือกใช้ในการรักษาโรค และการทำประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนดูแลสุขภาพ ส่งผลให้การนำเข้ายารักษาโรคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. การส่งออก
การส่งออกยารักษาโรคในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีมูลค่า 1,208.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.5 ตลาดส่งออกสำคัญในไตรมาสนี้ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 787.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 65.2 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด สำหรับในครึ่งแรกของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออก 2,431.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 18.7 ตลาดส่งออกสำคัญในครึ่งแรกของปี ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ มาเลเซีย และฮ่องกง โดยการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่ารวม 1,631.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.1 ของมูลค่าการส่งออกยารักษาโรคทั้งหมด ยาที่ส่งออกเป็นยาสามัญ ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยาเป็นสินค้าที่มี Royalty สูง ถ้าผู้สั่งซื้อจากต่างประเทศมั่นใจในมาตรฐานของสินค้าแล้ว ตลาดจะยังสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน การส่งออกยารักษาโรคลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 1.2 ซึ่งเหตุผลหนึ่งเนื่องมาจากมีการส่งออกไปมากช่วงปลายปีก่อน และช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผู้สั่งซื้อจึงยังมีสินค้าคงคลังเหลืออยู่ ส่งผลให้การส่งออกของไทยลดลงในไตรมาสนี้
5. นโยบายรัฐ
ความคืบหน้า (ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2550) จากการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศบังคับใช้สิทธิบัตร กรณียา Efavirenz ของ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ยาสูตรผสมระหว่างโลพินาเวียร์และ ริโทนาเวียร์ (Lopinavir & Ritonavir) ในสูตรตำรับพิเศษยาเม็ดเคลือบฟิล์มชื่อว่ายาอลูเวีย ของ บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด และ ยาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ของ บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด สรุปได้ดังนี้
1. บริษัท แอ๊บบอต แลบอราตอรีส (ประเทศไทย) จำกัด ได้ยืนยันราคายาอลูเวีย ที่ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ/ปี ยังไม่รวมค่าส่งและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีเงื่อนไขว่า กระทรวงสาธารณสุข ต้องไม่บังคับใช้สิทธิ์ยานี้ แต่คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร เห็นว่าราคาดังกล่าวยังสูงอยู่และได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบว่า หากบริษัทฯ เสนอราคาไม่เกินร้อยละ 5 ของราคายาสามัญ กระทรวงสาธารณสุข ยินดีจะซื้อยาจากบริษัทฯ แต่หากบริษัทฯ เสนอราคาเกินกว่านี้ ต้องมีโครงการพิเศษเพิ่มเติมเพื่อขยายการเข้าถึงยาให้มากขึ้น กระทรวงฯ จึงจะรับพิจารณา ซึ่งทางบริษัทฯ รับทราบนโยบายดังกล่าวและจะได้นำไปพิจารณา และนำเสนอราคาใหม่ในโอกาสการเจรจาครั้งต่อไป
2. บริษัท ซาโนฟี อเวนติส (ประเทศไทย) จำกัด มีโครงการพิเศษเพื่อขยายการเข้าถึงยา พลาวิกซ์ โดยจะจัดเตรียมยาจำนวน 3.4 ล้านเม็ด/ปี ที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับยาที่จำหน่ายเชิงพาณิชย์ โดยจัดทำในบรรจุภัณฑ์พิเศษ สำหรับผู้ป่วย 34,000 คน ที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งปกติไม่สามารถเข้าถึงยานี้ได้ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะจ่ายเงินเพียง 1 ล้านเม็ด เท่านั้น แต่คณะกรรมการฯ เห็นว่าราคายาจากโครงการดังกล่าวยังมีราคาสูงอยู่ จึงเสนอว่าหากบริษัทฯ เสนอราคายาไม่เกินร้อยละ 5 ของราคายาสามัญ กระทรวงฯ ยินดีซื้อยาจากบริษัทฯ หรือหากมีราคาที่สูงกว่านี้ ควรจะมีการจัดทำโครงการพิเศษอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงยา ซึ่งบริษัทฯ รับทราบนโยบายดังกล่าวและจะได้นำไปพิจารณาต่อไป
3. บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อเสนอพิเศษเพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงยาเอฟฟาไวเรนซ์สำหรับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วยการสนับสนุนยาน้ำเอฟฟาไวเรนซ์ชนิดแขวนตะกอน สำหรับการรักษาเด็กจำนวน 2,500 คน/ปี พร้อมกับการสนับสนุนงบประมาณการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ และให้การสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตสามารถหาลูกค้ารายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ผลิตที่รับจ้างผลิตยังได้รับคำสั่งซื้อให้ผลิตสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับปริมาณการจำหน่ายมีการขยายตัว เนื่องจากผู้ผลิตจัดรายการส่งเสริมการขาย ด้านการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขยายตัว ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสนใจสุขภาพของผู้นำเข้า ส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลักยังคงขยายตัวได้ดี
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 คาดว่า การผลิตและการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์ เภสัชกรรมในประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เนื่องจากผู้สั่งซื้อจะสั่งสินค้าในปริมาณมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี และจะทยอยระบายสินค้าที่ซื้อมา เพื่อบริหารสินค้าคงคลัง ไม่ให้เหลือสูงมากในไตรมาสที่ 4 สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่า จะขยายตัวได้ดี หากผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ส่วนมูลค่าการนำเข้าคาดว่า จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยยังคงเป็นการนำเข้ายาสิทธิบัตรและยาต้นตำรับเป็นหลัก
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-